ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดหนองบัวลำภู"

พิกัด: 17°12′N 102°26′E / 17.2°N 102.44°E / 17.2; 102.44
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 25: บรรทัด 25:
| อันดับหนาแน่น = 32
| อันดับหนาแน่น = 32
<!-- ข้อมูลศูนย์ราชการ (ข้อมูลเพิ่มเติม) -->
<!-- ข้อมูลศูนย์ราชการ (ข้อมูลเพิ่มเติม) -->
| ศูนย์ราชการ = ศูนย์ราชการจังหวัดหนองบัวลำภู ถนนหนองบัวลำภู-เลย ตำบลลำภู [[อำเภอเมืองหนองบัวลำภู]] จังหวัดหนองบัวลำภู 39000
| ศูนย์ราชการ = ศูนย์ราชการจังหวัดหนองบัวลำภู ถนนหนองบัวลำภู-เลย ตำบลหนองบัวลำภู [[อำเภอเมืองหนองบัวลำภู]] จังหวัดหนองบัวลำภู 39000
| โทรศัพท์ = 0 4231 2916
| โทรศัพท์ = 0 4231 2916
| โทรสาร =
| โทรสาร =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:12, 8 กรกฎาคม 2558

จังหวัดหนองบัวลำภู
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Nong Bua Lam Phu
คำขวัญ: 
ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ แผ่นดินธรรมหลวงปู่ขาว เด่นสกาวถ้ำเอราวัณ
นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน

ข้อผิดพลาด: ต้องระบุภาพในบรรทัดแรก

แผนที่ประเทศไทย จังหวัดหนองบัวลำภูเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ นายอำนวย ตั้งเจริญชัย[1]
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2558)
พื้นที่
 • ทั้งหมด3,859.086 ตร.กม.[2] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 55
ประชากร
 (พ.ศ. 2557)
 • ทั้งหมด508,864 คน[3] คน
 • อันดับอันดับที่ 53
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 32
รหัส ISO 3166TH-39
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้พะยูง
 • ดอกไม้บัวหลวง
ศาลากลางจังหวัด
 • โทรศัพท์0 4231 2916
เว็บไซต์http://www.nongbualamphu.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นหนึ่งในสามจังหวัดที่แยกตัวออกมาจากอุดรธานีเมื่อ พ.ศ. 2536 พร้อมกับจังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดสระแก้ว

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ตราประจำจังหวัด: ภาพพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชประทับยืนหน้าศาลของพระองค์ ซึ่งตั้งอยู่หน้าหนองบัวลำภู
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกบัวหลวง (Nymphaea lotus)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: พะยูง (Dalbergia cochinchinensis)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อุทยานแห่งชาติภูเก้าภูพานคำ แผ่นดินธรรมหลวงปู่ขาว เด่นสกาวถ้ำเอราวัณ นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน
ดอกบัวหลวง ดอกไม้ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู

อาณาเขตติดต่อ

จังหวัดหนองบัวลำภู มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ประวัติศาสตร์

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ - สมัยทวารวดี- สมัยขอมหรือเขมร

จังหวัดหนองบัวลำภูเป็นดินแดนที่อยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประว้ติศาสตร์ ดังหลักฐานที่ขุดค้นพบ จากแหล่งโบราณคดีกุดกวางสร้อยกุดค้อเมย[4] ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ กำไลสำริด กำไลหิน แม่พิมพ์ทำจากหินทรายสำหรับใช้หล่อหัวขวานสำริด เครื่องมือเหล็ก ลูกปัดแก้ว เป็นต้น อายุประมาณ 2,500 ปี ซึ่งสถานที่ขุดค้นพบอยู่ที่บ้านกุดกวางสร้อยและบ้านกุดค้อเมย อำเภอโนนสัง บริเวณเชิงเขาภูพานด้านทิศตะวันตกและเชิงเขาภูเก้าด้านทิศตะวันออก ซึ่งแหล่งโบราณคดีสองแห่งนี้มีอายุใกล้เคียงกับวัฒนธรรมบ้านเชียง

ประมาณ พ.ศ. 1100 - พ.ศ. 1500 ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภูได้ค้นพบวัตถุสมัยทวารวดี เช่น ใบเสมา ที่ภูน้อย วัดพระธาตุเมืองพิณ อำเถอนากลาง และวัดป่าโนนคำวิเวก อำเภอสุวรรรคูหา

ประมาณ พ.ศ. 1500 - พ.ศ. 1700 ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภูได้รับวัฒนธรรมขอมหรือเขมร พบโบราณสถานหรือโบราณวัตถุที่เป็นศิปละขอมหรือเขมร เช่น ฐานวิหารศิลาแลง ศิลาจารึกวัดพระธาตุเมืองพิณ และอักษารขอมโบราณที่วัดป่าโนนคำวิเวก อำเภอสุวรรณคูหา

สมัยสุโขทัย

พ.ศ. 1896 - พ.ศ. 1961 ในสมัยสุโขทัย เป็นสมัยอาณาจักรล้านช้างก่อกำเนิดในภาคอีสาน ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระเจ้างุ้มฟ้าและพระเจ้าสามแสน[5] พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับอิทธิพลและเป็นเขตอาณาจักรล้านช้าง ครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนจนไปถึงแอ่งโคราช และกระจายชุมชนเข้ามาสู่แอ่งสกลนครจนไปถึงบริเวณพระธาตุพนม เลยลงไปถึงแดนเขมรจนปัจจุบันเรียกว่า อีสานใต้ (จากพงศาวดารล้านช้าง) พื้นที่ในจังหวัดหนองบัวลำภูจึงได้รับอิทธิพลล้านช้างซึ่งแพร่หลายในขณะนั้นในบริเวณแอ่งสกลนคร และรับศาสนาพุทธลัทธิลังกาวงศ์ (นิกายเถรวาท) เป็นศาสนาประจำถิ่นตามผู้ปกครองอาณาจักร

สมัยอยุธยา

ประมาณ พ.ศ. 2106 พระไชยเชษฐาธิราชกษัตริย์แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต (กรุงเวียงจันทน์)[6] ได้นำผู้คนอพยพจากหลวงพระบางเและเวียงจันทร์มาอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ในปีพ.ศ. 2106 หลังจากที่สร้างเมืองเวียงจันทร์ในปีพ.ศ. 2103 และก็อยู่ในระหว่างการสร้างพระธาตุศรีสองรัก ซึ่งภาคอีสานก็อยู่ในเขตอาณาจักรล้านช้าง ดังหลักฐานที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกและได้สร้างพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ในวัดถ้ำสวรรณคูหา อำเภอสุวรรณคูหา และนำไพร่พลมาบูรณะสร้างบ้านสร้างสาเมืองนครหนองบัวลุ่มภูขึ้นใหม่อีกครั้งที่ริมหนองบัว (หนองซำซ้าง) ซึ่งเป็นเมืองเก่าสมัยขอมเรืองอำนาจ พระไชยเชษฐาธิราชได้สร้างพระพุทธรูป วิหาร และขุดบ่อน้ำในบริเวณวัดศรีคูณเมือง[7] และยกฐานะเป็นเมือง "เวียงจำปานครกาบแก้วบัวบาน" มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทน์ คนทั่วไปนิยมเรียกว่า "หนองบัวลุ่มภู" ซึ้งปัจจุบันเรียกเพี้ยนมาว่าหนองบัวลำภูถือว่าเป็นเมืองเอกล้านช้างตะวันตกของอาณาจักรล้านช้าง

ปี พ.ศ. 2117 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในระหว่างที่ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 ให้แก่พม่าสมัยพระเจ้าหงสาวดี[ต้องการอ้างอิง] สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชได้ยกกองทัพช่วยพม่ารบกับกรุงเวียงจันทน์ โดยมีสมเด็จพระนเรศวรตามเสด็จพระราชบิดาช่วยรบ เนื่องจากพระไชยเชษฐาธิราชได้หายสาบสูญไปในระหว่างการรบปราบญวน เวียงจันทน์เกิดการแย่งชิงราชสมบัติจึงได้ถือโอกาสเข้าตีกรุงเวียงจันทน์ สมเด็จพระมหาธรรมราชาและสมเด็จพระนเรศวร นำกองทัพเสด็จประทับแรมที่บริเวณหนองบัว เนื่องจากมีทัศนียภาพที่สวยงามและมีแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคในบริเวณนั้น สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงพระประชวรด้วยไข้ทรพิษ พระเจ้าหงสาวดีได้รับข่าวจึงอนุญาตให้สมเด็จพระนเรศวรเดินทางกลับเพื่อรักษาพระองค์

ประมาณปี พ.ศ. 2302 ตรงกับสมัยพระเจ้าเอกทัศน์กษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าสุวรรณปางคำปาหลังพร้อมเสนาบดีจากเมืองเชียงรุ่งและพระวอซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็นพระวรราชภักดีและพระตา มีภูมิลำเนาเดิมที่บ้านหินโงม เป็นเสนาบดีของพระเจ้ากรุงเวียงจันทน์ มาตั้งแต่สมัย พระเจ้าอนุวงษ์ไทธิราช เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ฝ่ายนอกของกษัตริย์กรุงเวียงจันทน์ มีเรื่องขัดใจกับพระเจ้าศิริบุญสารผู้เป็นโอรส พระวอและพระตาได้อพยพไพร่พลข้ามลำน้ำโขงมาตั้งภูมิลำเนา มาบูรณะสร้างบ้านแปลงเมืองที่ "เวียงจำปานครกาบแก้วบัวบาน"ให้เป็นเวียงใหม่เป็นเวียงนครใหญ่ชื่อว่า เวียงใหม่นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ซึ่งเป็นเอกเทศราชไม่ขึ้นต่อผู้ใด มีกฏบัญญัติบ้านเมือง มีกษัตริย์ปกครอง มีดินแดนกำแพงคูเมืองล้อมรอบพร้อมประตูเวียง มีแม่น้ำแม่พระเนียงเป็นสายหลัก มีเมืองหน้าด้านของตัวเอง ได้แก่เมืองนาด้วง ภูเวียง ผาขาว พรรณา พร้อมผู้คนและช้างเผือกคู่เวียง

สมัยธนบุรี

ประมาณ พ.ศ. 2310 ตรงกับต้นสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช[8] พระเจ้าศิริบุญสารแห่งเมืองเวียงจันทน์ยกทัพมาตีพระวอพระตาที่เมือง "นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน"(ชื่อจังหวัดหนองบัวลำภูในสมัยนั้น) ทำการสู้รบกันที่ช่องน้ำจั่น(น้ำตกเฒ่าโต้) บนภูพานคำใช้เวลาอยู่ประมาณ 3 ปี ฝ่ายเวียงจันทน์ขอกำลังจากพม่ามาช่วยรบ จึงสามารถตีเมืองแตกได้ พระตาถูกข้าศึกฆ่าในสนามรบ ส่วนพระวออพยพไพร่พลไปขอพึงบารมีเจ้าเมืองจำปาศักดิ์ ต่อมาได้แยกมาสร้างบ้านแปงเมืองอยู่ที่ดอนมดแดง(ปัจจุบันคือจังหวัดอุบลราชธานี) แล้วขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระเจ้ากรุงธนบุรี

ปี พ.ศ. 2321 พระเจ้าศิริบุญสารได้ยกกองทัพมารุกรานพระวอ และปราบพระวอได้ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบรีทราบ โปรดสั่งให้เจ้าพระยาจักรียกกองทัพไปมาช่วยพระวอ แล้วยกกองทัพติดตามเข้าโจมตีเมืองเวียงจันทน์จนได้ชัยชนะ และได้นำพระแก้วมรกตซึ่งพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชนำไปจากเมืองเชียงใหม่กลับมาคืนสู่เมืองไทยดังเดิม พระยาจักรีได้รับบำเหน็จความชอบเป็น "เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก" กรุงเวียงจันทน์ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของไทยในฐานะเมืองประเทศราช และเมือง "นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน" จึงได้ขึ้นกับราชอาณาจักรไทยตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน

สมัยรัตนโกสินทร์

ปี พ.ศ. 2369 ในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงษ์แห่งเวียงจันทน์ได้ก่อกบฏ ยกทัพมาบุกยึดเมืองนครราชสีมา[9] ทางกรุงเทพได้ส่งกองทัพมาปราบ ฝ่ายเจ้าอนุวงษ์ได้ถอยร่มไปตั้งรับอยู่ที่เมือง"หนองบัวลุ่มภู"ต่อสูรบกันเป็นสามารถ และติดตามจับเจ้าอนุวงษ์ได้ที่เมืองเวียงจันทน์ แล้วนำตัวไปพิจารณาโทษที่กรุงเทพด้วยการทรมานและประจานอยู่หลายวันจนเสียชีวิตในกรงขัง

ปี พ.ศ. 2433 สมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯให้จัดระเบียบปกครองเมืองทางลุ่มแม่น้ำโขงใหม่ โดยให้ข้าหลวงเมืองหนองคายบังคับบัญชา ช่วงนี้เมืองหนองบัวลำภูขึ้นอยู่กับเมืองหนองคาย ต่อมาได้โปรดเกล้าฯให้แต่งข้าหลวงใหญ่ล้วนเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 พระองค์ในปี พ.ศ. 2434 คือ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เรียกว่า "ข้าหลวงเมืองลาวกาว" เป็นข้าหลวงประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี และในปี พ.ศ. 2436 กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงใหญ่ประทับ ณ เมืองอุดรธานี เรียกว่า "ข้าหลวงเมืองลาวพวน" และกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นข้าหลวงใหญประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี เรียกว่า "ข้าหลวงหัวเมืองลาวกาว" หนองบัวลำภูขึ้นสังกัดกับเมืองลาวพวนและแต่งตั้ง "พระวิชดยดมกมุทเขต" มาครองเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ซึ่งมีฐานะเป็นเมืองเอกของมณฑลลาวพวนและเปลี่ยนชือเมืองใหม่ว่า "เมืองกมุทธาไสยบุรีรมย์" และเป็นข้าหลวงคนสุดท้ายของเมือง

ปี พ.ศ. 2443 รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เปลี่ยนชือมณฑลฝ่ายเหนือเป็นมณฑลอุดรและรวมผังเมืองต่างๆ ในมณลอุดรเป็น 5 บริเวณ ได้แก่ บริเวณบ้านหมากแข้ง บริเวณธาตุพนม บริเวณสกลนคร บริเวณพาชี บริเวณน้ำเหือง เมืองกมุทธาสัยได้ถูกรวมอยู่ในบริเวณบ้านหมากแข้งประกอบด้วย 7 เมืองคือ เมืองหมากแข้ง หนองคาย หนองหาน กมภวาปี กมุทะาสัย โพนพิสัย และรัตนวาปี[10] ตั้งที่ว่าการอยู่ที่บ้านหมากแข้ง

ปี พ.ศ. 2449 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองกมุทธาสัยมาเป็น "เมืองหนองบัวลุ่มภูและเพี้ยนเป็นหนองบัวลำภูในปัจจุบัน"ขึ้นกับบริเวณบ้านหมากแข้ง

ปี พ.ศ. 2450 ได้โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทยรวมเมืองต่างๆ ในบริเวณบ้านหมากแข้งตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า "เมืองอุดรธานี" ส่วนเมืองในสังกัดบริเวณให้มีฐานะเป็นอำเภอ เมืองหนองบัวลำภู จึงกลายเป็น "อำเภอหนองบัวลำภู" และมีอำเภอที่เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน โดยจัดตั้งขึ้นตามลำดับ 4 กิ่งอำเภอ คือ

1. กิ่งอำเภอโนนสัง เมื่อปี พ.ศ. 2491

2. กิ่งอำเภอศรีบุญเรื่อง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2508

3. กิ่งอำเภอนากลาง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2508

4. กิ่งอำเภอสุวรรณคูหา เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2516

ปี พ.ศ. 2536 ประกาศแต่งตั้งเป็น "จังหวัดหนองบัวลำภู" เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 โดยประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 110 ตอนที่ 125 ลงวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2536

รายนามผู้ว่าราชการจังหวัด

รายนามของผู้ว่าราชการจังหวัด
วาระดำรงตำแหน่ง
1. นายประภา ยุวานนท์ 1 ธันวาคม 2536 - วันที่ 30 มิถุนายน 2537
2. นายขวัญชัย วศวงศ์ 1 ตุลาคม 2537 - วันที่ 30 เมษายน 2540
3. นายนิคม บูรณพันธุ์ศรี 1 พฤษภาคม 2540 - วันที่ 16 เมษายน 2541
4. นายนิรัช วัจนะภูมิ 17 เมษายน 2541 - วันที่ 30 กันยายน 2542
5. นายปัญญารัตน์ ปานทอง 1 ตุลาคม 2542 - วันที่ 30 กันยายน 2544
6. นายสุขุมรัฐ สาริบุตร 1 ตุลาคม 2544 - วันที่ 30 กันยายน 2546
7. นายจารึก ปริญญาพล 1 ตุลาคม 2546 - วันที่ 30 กันยายน 2547
8. นายต่อพงษ์ อ่ำพันธุ์ 1 ตุลาคม 2547 - วันที่ 4 มิถุนายน 2549
9. นายไพรัตน์ สกลพันธุ์ 5 มิถุนายน 2549 - วันที่ 30 กันยายน 2550
10. นายเดชา ตันติยวรงค์ 1 ตุลาคม 2550 - 5 พฤษภาคม 2551
11. นายอธิคม สุพรรณพงศ์ 6 พฤษภาคม 2551 - 30 กันยายน 2552
12. นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต 1 ตุลาคม 2552 - 30 กันยายน 2553
13. นายวินัย บัวประดิษฐ์ 1 ตุลาคม 2553 - 27 พฤศจิกายน 2554
14. นายระพี ผ่องบุพกิจ 28 พฤศจิกายน 2554 - 30 กันยายน 2556
15. นายชยพล ธิติศักดิ์ 1 ตุลาคม 2556 - 1 กุมภาพันธ์ 2558
16. นายอำนวย ตั้งเจริญชัย 1 กุมภาพันธ์ 2558 - ปัจจุบัน

ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดหนองบัวลำภู มีพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง บางส่วนเป็นพื้นที่ลูกคลื่นลาดตื้นถึงลาดลึก แล้วลาดลงไปทางทิศใต้ และทิศตะวันออก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 200 เมตร ทางตอนบนของจังหวัดจะเป็นพื้นที่ภูเขาสูง โดยยอดดอยหรือภูเขาที่สูงที่สุดของจังหวัด ได้แก่ดอยผาเวียง ภูสามยอดโดยสูงเฉลี่ย 900เมตรและเป็นต้นน้ำสายย้อยต่างๆ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินปนทรายและลูกรังไม่สามารถเก็บกักน้ำหรืออุ้มน้ำในฤดูแล้ง

ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะอากาศในจังหวัดหนองบัวลำภู แบ่งออกเป็น 3 ฤดู เช่นเดียวกับจังหวัดอื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับมรสุมที่พัดผ่านประจำปี จัดอยู่ในประเภทภูมิอากาศแบบพื้นเมืองร้อนเฉพาะฤดู กล่าวคือ จะมีฝนตกเฉพาะในฤดูฝน สลับกับช่วงแห้งแล้งในฤดูหนาวและฤดูร้อน

  • ฤดูร้อน อยู่ในระหว่างเดือน มีนาคมถึงเมษายน อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34 - 36 องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน อยู่ในระหว่างเดือน พฤษภาคมถึงตุลาคม และจะตกมากในเดือน สิงหาคม-กันยายน เนื่องจากอิทธิพลพายุดีเปรสชัน
  • ฤดูหนาว อยู่ในระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ อากาศจะหนาวมากในช่วงเดือนธันวาคม– มกราคม โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 15 - 16 องศาเซลเซียส

ลักษณธภูมิอากาศเป็นแบบสะวันนาคือฤดูฝนสลับกับฤดูแล้งอย่างชัดเจน ปริมาณฝนที่ตกในจังหวัดหนองบัวลำภูโดยเฉลี่ยอยู่ในช่วงระหว่าง 978.3 - 1,348.9 มิลลิเมตรต่อปี อำเภอสุวรรณคูหา มีปริมาณฝนตกโดยเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ อำเภอนากลาง ส่วนพื้นที่ที่มีฝนตกน้อยที่สุด ได้แก่ อำเภอเมือง ซึ่งมีปริมาณโดยเฉลี่ยประมาณ 978.3 มิลลิเมตรต่อปี

ประชากร

กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อยู่ในจังหวัดหนองบัวลำภูมีชาติพันธุ์ต่างๆ มีดังนี้

  • กลุ่มไท - ลาว อพยพมาจากเวียงจันทน์ ประเทศลาว โดยมีกลุ่มพระวอ - พระตาเป็นเชื้อสายลาวเวียงจันทน์
  • กลุ่มไท - เขมร อพยพมาจาก บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ
  • กลุ่มไท - สยาม อพยพมาจากภาคกลางของประเทศไทย
  • กลุ่มคนจีนและคนญวน อพยพมาเพื่อประกอบอาชีพค้าขาย และได้มีการแต่งแต่งงานกับคนในท้องถิ่น เกิดเป็นเชื้อสายจีนและเชื้อสายญวน แต่ยังมีจำนวนน้อย

ประชากรที่อาศัยอยู่ในจังหวัดหนองบัวลำภูสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1. กลุ่มลาวพุงขาว (ล้านช้างเวียงจันทร์) กลุ่มชนนี้เป็นชนพื้นเมืองเดิมที่อาศัยอยู่บริเวณรอบนอกเมือง และเป็นกลุ่มใหญ่ของจังหวัดหนองบัวลำภู โดยมีสัญลักษณ์การสักลายดำใต้สะเอวลงมาและมีกินหมาก ปัจจุบันกลุ่มชนพื้นเมืองดังกล่าวเป็นคนฟันขาวเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ห้ามประชาชนทั่วไปกินหมากและสักลายหำ

2. กลุ่มคนจีน-ญวน ลักษณะเป็นคนผิวขาวเหลือง อพยพมาจากมณฑลกวางตุ้ง ยูนหนาน ในสมัยรัชการที่ 4 ที่มีพระราชดำริให้คนจีนกระจายอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ ในภาคอีสาน และภายหลังได้ย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดหนองบัวลำภู

3. กลุ่มคนไต กลุ่มชนนี้เป็นเผ่าไตหรือไท ซึ่งอพยพเข้ามาในเขตจังหวัดหนองบัวบัวลำภูช่วยสงครามเดียนเบียนฟู (สงครามเวียดนาม - ฝรั่งเศส) ภายหลังสงครามสงบลงกลุ่มคนไตบางส่วนได้เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมและบางส่วนตั้งรกรากอยู่ที่จังหวัดหนองบัวลำภู

ลักษณะเฉพาะถิ่น

จังหวัดหนองบัวลำภูเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มั่งคั่งด้วยมรดกทางศิลปะและมรดกทางวัฒธรรมที่สั่งสมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เช่น การแต่งกายการปั่นหม้อดินเผา ภาษาประจำถิ่น

1. การแต่งกาย

ลักษณะการแต่งกายของชาวจังหวัดหนองบัวลำภูในอดีต

  • ผู้หญิงสวมเสื้อขาวเป็นพื้นเบี่ยงแพร ส่วนผ้าถุงจะเป็นผ้าไหมหมี่ขิด มีหัวซิ่นและตีนซิ่นที่ทอและหูกถึงสามหูก นำมาเย็บติดปะต่อกันเรียกว่า "สามทรวง" มีการทัดดอกไม้สำหรับหญิงสาวผู้เฒ่าผู้แก่แล้วแต่จะใส่อ้ม (ต้นอ้ม ใบมีกลิ่นหอม เมื่อนำใบมาเผาไฟพอลวก ๆ จะมีกลิ่นหอม)ไว้ทรงผมมวยสูงหรือดอกทุ่ม
  • ผู้ชายสวมเสื้อสีดำหรือสีหม้อนิล(สีครามทางเหนือเรียกหม้อฮ้อม)เป็นพื้น ใสผ้าโสร่งไหม มีกางเกงหัวรูดเป็นผ้าชั้นในหรือใส่นุ่งเล่นตามบ้านเรือนทั่วไป

ลักษณะการแต่งกายของชาวจังหัวดหนองบัวลำภูปัจจุบัน

  • ผู้หญิงวัยรุ่น แต่งกายตามสมัยนิยมใส่ เสื้อยืดหรือเสื้อเชิร์ตแขนสั้นและแขนยาว กระโปรงหรือกางเกงขาสั้นหรือขายาว หรือชุดแซก มีเครื่องประดับต่างๆ เช่น สร้อยคอ แหวน ต่างหู กำไลแขน ฯลฯ นิยมใส่รองเท้าหุ้มส้นเมื่อร่วมกิจกรรมนอกบ้าน ใส่รองเท้ามีส้นเมื่อร่วมกิจกรรมรื่นเริงและสังสรรค์
  • ผู้หญิงสูงวัย แต่งกายด้วยเสื้อลายปักต่างๆ ทั้งแขนสั้นและแขนยาว หรือเสื้อเชิร์ตแขนสั้นและแขนยาว ใส่ผ้าซิ่นลายต่างๆ ของท้องถิ่น หรือกางเกงขายาวพื้นสีดำทั้งขาสั้นและแขนยาว
  • ผู้ชายวัยรุ่น แต่งกายด้วยเสื้อยืดหรือเสื้อเชิร์ตแขนสั้นและแขนยาว ใส่กางเกงขาสั้นหรือขายาว กางเกงยืนหรือกางเกงสแล็ค
  • ผู้ชายสูงวัย แต่งกายด้วยเสื้อยืดหรือเสื้อเชิร์ตแขนสั้นและแขนยาว ใส่โสร่ง ผ้าขาวม้า ใส่กางเกงขาสั้นหรือขายาว กางเกงยืนหรือกางเกงสแล็ค

2. เครื่องปั้นดินเผา

เครื่องปั้นดินเผา คือ เอาดินเหนียวมาตีและปั้นเครื่องใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวันและนำไปใช้ในการประกอบพิธีกรรมด้วย จังหวัดหนองบัวลำภูมีมรดกทางวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผามาตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ประมาณ 3,500 - 4,000 ปีล่วงมาแล้ว จากการขุดค้นโดยชาวบ้านก่อนพุทธศักราช 2514 กรมศิลปกรขุดค้นเพื่อการศึกษาในพุทธศักราช 2538 ที่ป่าพร้าว บ้านกุดคำเมย ตำบลกุดดู่ และบ้านโนนกล้วย (ดอนกลาง) บ้านกุดกวางสร้อย อำเภอโนนสัง ปัจจุบันการปั้นดินเผามีอยู่ที่บ้านโค้งสวรรค์ ตำบลโนนทัน อำเภอเมืองหนองบัวลำภู เครื่องปั้นดินเผาดังกล่าวจะทำเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่าที่จะใช้ประกอบพิธีกรรม

หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 6 อำเภอ 59 ตำบล 636 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองหนองบัวลำภู
  2. อำเภอนากลาง
  3. อำเภอโนนสัง
  4. อำเภอศรีบุญเรือง
  5. อำเภอสุวรรณคูหา
  6. อำเภอนาวัง
แผนที่


ประชากรในจังหวัด

อำเภอ/ปี 2556 (คน) 2555 (คน) 2554 (คน) 2553 (คน) 2552 (คน) 2551 (คน) 2550 (คน)
เมืองหนองบัวลำภู 134,457 133,761 133,063 132,901 132,282 131,794 131,256
ศรีบุญเรือง 110,309 109,836 109,208 109,771 109,385 109,156 108,501
นากลาง 91,982 91,468 91,095 90,974 90,568 90,346 90,217
สุวรรณคูหา 68,132 67,995 67,685 67,559 67,247 67,168 66,384
โนนสัง 64,823 64,699 64,318 64,459 64,404 64,294 64,157
นาวัง 37,434 37,312 37,182 37,204 37,027 36,952 36,866
รวมทั้งจังหวัด 507,137 505,071 502,551 502,868 500,913 499,520 497,603
  • อ้างอิง: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[11]

การคมนาคม

ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอใกล้เคียง

ระยะทางจากจังหวัดหนองบัวลำภูไปยังจังหวัดใกล้เคียง

การเดินทาง

รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรี บริเวณกิโลเมตรที่ 107 แยกเข้าทาง หลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวง หมายเลข 210 ผ่านอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ถึงจังหวัดหนองบัวลำภู รวมระยะทาง 608 กิโลเมตร หรือ เมื่อถึงจังหวัดขอนแก่นแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2109 (น้ำพอง-เขื่อนอุบลรัตน์) เข้าอำเภอโนนสังถึง จังหวัดหนองบัวลำภู รวมระยะทางประมาณ 559 กิโลเมตร รถโดยสาร มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน สายกรุงเทพฯ-หนองบัวลำภู ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 ชั่วโมง

เส้นทางรถโดยสารที่มีในจังหวัดหหนองบัวลำภู

เส้นทางรถโดยสารในจังหวัด

รถสองแถว
  • หนองบัวลำภู - นากลาง - นาวัง
  • หนองบัวลำภู - โนนสัง
  • หนองบัวลำภู - ศรีบุญเรือง
  • หนองบัวลำภู - สุวรรณคูหา
  • หนองบัวลำภู - ภูพระ
  • หนองบัวลำภู - ทรายมูล
  • หนองบัวลำภู - ทุ่งโปร่ง
  • หนองบัวลำภู - กุดจิก
  • โนนสมบูรณ์ - บ้านขาม

เส้นทางรถโดยสารระหว่างจังหวัด

รถโดยสารสายอุดรธานี - เชียงใหม่
  • หนองบัวลำภู - ท่าบ่อ - หนองคาย
  • หนองบัวลำภู - บ้านผือ - สังคม
  • หนองบัวลำภู - ภูเวียง - ขอนแก่น
  • หนองบัวลำภู - อุบลรัตน์ - ขอนแก่น
  • อุดรธานี - หนองบัวลำภู - เลย
  • อุดรธานี - หนองบัวลำภู - ชุมแพ
  • หนองคาย - หนองบัวลำภู - ชัยภูมิ
  • อุดรธานี - หนองบัวลำภู - พิษณุโลก
  • อุดรธานี - หนองบัวลำภู - เชียงใหม่
  • นครพนม - หนองบัวลำภู - เชียงราย

สถานที่ท่องเที่ยว

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

ไฟล์:หนองบัวลำภู.jpg
ภาพถ่ายเมืองหนองบัวลำภูจากภูพานน้อย
ไฟล์:อช.ภูเก้าภูพานคำ.JPG
อุทยานแห่งชาติภูเก้า - ภูพานคำ

สถานที่ท่องเที่ยวทางศิลปะและวัฒนธรรม

ภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่แหล่งโบราณคดีภูผายา
  • หมู่บ้านหัตถกรรมปั้นหม้อบ้านโค้งสวรรค์
  • หมู่บ้านหัตถกรรมจักสานกระติบข้าวต้นคล้า
  • ศูนย์พัฒนาอาชีพวัดสว่างศิลา
  • กลุ่มทอผ้าไหมบ้านกุดแห่
  • แหล่งโบราณคดีภูผายา
  • แหล่งโบราณคดีบ้านกุดกวางสร้งและกุดค้อเมย

ถนนที่สำคัญในจังหวัดหนองบัวลำภู

  • ถนนทางหลวงหมายเลข 210
  • ถนนทางหลวงหมายเลข 228
  • ถนนรอบเมือง
  • ถนนวิจารณ์รังสรรค์
  • ถถนบ้านหาดสรรค์
  • ถนนวิไสยอุดรกิจ
  • ถนนวิริโยธิน
  • ถนนพระวอ-พระตา
  • ถนนศรีคุณาธาร

สถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนาและความเชื่อ

ถ้ำเอราวัณถ่ายจากมุมสูง
  • วัดถ้ำกลองเพล
    • พิพิธภัณฑ์อัฐบริขารของหลวงปู่ขาว
    • กุฏิเก่าของหลวงปู่ขาว
    • พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่ขาว
    • เจดีย์หลวงปู่ขาว
    • มณฑปหลวงปู่ขาว
  • ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
  • ศาลพระวอ - พระตา
  • พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลอด ปโมทิตะเจดีย์
  • วัดศรีคูณเมือง
  • วัดพระพุทธบาทภูเก้า
  • วัดป่าภูน้อย รอยพระพุทธบาทและเสมาหิน
  • สิมไม้ (โบสถ์ไม้) วัดเจริญทรงธรรม
  • โนนวัดป่า
  • วัดถ้ำผาเวียง
  • พระธาตุเมีองพิณ
  • พระธาตุหาญเทาว์
  • สิม วัดเจริญทรงธรรม

เทศกาลและงานประเพณี

การประกวดธิดากาชาดเมืองหนองบัวลำภู
ขบวนนางรำในประเพณีบุณบั้งไฟ อำเภอศรีบุญเรือง

อำเภอเมืองหนองบัวลำภู

  • งานบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกาชาดหนองบัวลำภู (จัดเป็นประจำทุกปี ระหว่างวันที่ 18 - 27 มกราคม ณ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สนามนเรศวรมหาราช)
  • เทศกาลน้ำตกเฒ่าโต้ (จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีช่วงเดือนกันยายน บริเวณวนอุทยานเฒ่าโต้)
  • เทศกาลเที่ยวหอยหิน กินลำไย ไหว้หลวงปู่ขาว (จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีช่วงเดือนสิงหาคม บริเวณชุมชนบ้านห้วยเดื่อ ตำบลโนนทัน)

อำเภอนากลาง

  • งานวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวามหาราช (สนามหน้าศูนย์ราชการอำเภอนากลาง)

อำเภอโนนสัง

  • เทศกาลกินปลา (จัดขึ้นทุกปีบริเวณเทศบาลโนนสัง)
  • ประเพณีแข่งเรือยาว (จัดขึ้นทุกปีบริเวณเขื่อนอุบลรัตน์)
  • ประเพณีบุญผะเหวด (จัดขึ้นทุกปีบริเวณเทศบาลโนนสัง)

อำเภอศรีบุญเรือง

  • งานบุญบั้งไฟ (จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ช่วงเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน บริเวณศูนย์ราชการอำเภอศรีบุญเรือง)

อำเภอสุวรรณคูหา

  • งานบุญข้าวจี่ยักษ์ (จัดขึ้นทุกปีช่วงเดือนเมษายน บริเวณเทศบาลตำบลสุวรรณคูหาและถ้ำสุวรรณคูหา)

อำเภอนาวัง

  • งานเทศกาลขึ้นเขาไหว้พระถ้ำเอราวัณ (จัดเป็นประจำทุกปี ระหว่างวันที่ 12 - 16 เมษายน บริเวณถ้ำเอราวัณ)

การศึกษา

สถาบันอุดมศึกษา

สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

การสาธารณสุข

โรงพยาบาลหนองบัวลำภู
  • โรงพยาบาลหนองบัวลำภู
  • โรงพยาบาลศรีบุญเรือง
  • โรงพยาบาลนากลาง
  • โรงพยาบาลนาวัง
  • โรงพยาบาลสุวรรณคูหา
  • โรงพยาบาลโนนสัง
  • โรงพยาบาลวีระพลการแพทย์ (เอกชน)

โรงพยาบาลเอกชน

  • โรงพยาบาลวีรพลการแพทย์

ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น

อำเภอเมือง

ข้างฮาง ผลิตภัณฑ์จากข้าวไทย
  • ผ้าไหมมัดหมี่ ตำบลโนนทัน
  • ผ้าไหมมัดหมี่ ตำบลนาคำไฮ
  • ผ้าฝ้ายลายฉลุ ตำบลป่าไม้งาม
  • ผ้าสไป ตำบลหนองสวรรค์
  • ขนมทองม้วนสมุนไพร ตำบลบ้านขาม
  • ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว ตำบลหัวนา
  • ข้าวกล้อง ตำบลหนองภัยศูนย์

อำเภอโนนสัง

  • ปลาส้ม ตำบลโนนสัง
  • ศิลปะจากใบลาน ตำบลบ้านค้อ
  • ผ้าขิดยกดอก/ปลาส้ม ตำบลโคกม่วง
  • ผ้าฝ้ายยกดอก ตำบลหนองเรือ
  • ผ้าขิดย้อมคราม/ผ้าขิดหมักโคลน ตำบลโนนเมือง
  • ผ้าลายขิด ตำบลกุดดู่

อำเภอศรีบุญเรือง

  • น้ำผึ้งแท้สุวรรณฟาร์ม/กระติ๊บข้าว ตำบลหนองบัวใต้
  • เสื้อเย็บด้วยมือ ตำบลเมืองใหม่
  • ผ้าไหมมัดหมี่ ตำบลโนนม่วง
  • กระติ๊บข้าว ตำบลทรายทอง
  • ผ้าลายสายฝน ตำบลหนองแก

อำเภอนากลาง

  • ผ้าขิดไหม ตำบลกุดแห่
  • นาฬิกา 12 ราศี/ข้าวฮาง ตำบลฝั่งแดง
  • ผ้าหุ่มสำลี ตำบลกุดดินจี่
  • เอ็นวัวทอดกรอบ ตำบลโนนเมือง

อำเภอสุวรรณคูหา

  • ผลิตภัณฑ์จากใยบวบ ตำบลนาดี
  • ผ้าฝ้ายลายน้ำไหล ตำบลนาสี
  • ผ้าฝ้ายทอมือ ตำบลนาด่าน

อำเภอนาวัง

  • ถ่านอัดแท่ง ตำบลวังปลาป้อม
  • ผ้าลายสายฝน ตำบลเทพคีรี
  • ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ไทยนิยม ตำบลวังทอง
  • ผักปลอดสารพิษ ตำบลวังทอง

ชาวหนองบัวลำภูที่มีชื่อเสียง

อ้างอิง

  1. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1422372723
  2. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  3. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
  4. http://www.thai-tour.com/thai-tour/northeast/nongbualampoo/data/place/souce-archaeology.html
  5. http://www.baanjomyut.com/library/laos/index.html
  6. http://www.laos-discovery.com/chetthahis.html
  7. http://nbp.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=116&Itemid=148
  8. http://www.wangdermpalace.org/kingtaksin/thai_thegreat.html
  9. http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
  10. http://blog.eduzones.com/clip/17914
  11. สถิติประชากรในจังหวัดหนองบัวลำภู

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

17°12′N 102°26′E / 17.2°N 102.44°E / 17.2; 102.44