ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
JackieBot (คุย | ส่วนร่วม)
Fix URL prefix
บรรทัด 28: บรรทัด 28:
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมาเป็นพระราชโอรสใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]และ[[สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] ประสูติเมื่อวันที่ [[12 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2432]] เมื่อทรงพระเยาว์สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนีทรงออกทรงพระนามว่า "'''เอียดเล็ก'''" ชางวังออกพระนามว่า "'''ทูลกระหม่อมเอียดเล็ก'''"<ref>[[จุลลดา ภักดีภูมินทร์]], [http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetail.asp?stauthorid=13&stcolcatid=2&stcolumnid=176&stissueid=2388 พระโอรสและพระธิดาในรัชการที่ ๕], สกุลไทย, ฉบับที่ 2388, ปีที่ 46, ประจำวันอังคารที่ 25 กรกฎาคม 2543</ref>
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมาเป็นพระราชโอรสใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]และ[[สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] ประสูติเมื่อวันที่ [[12 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2432]] เมื่อทรงพระเยาว์สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนีทรงออกทรงพระนามว่า "'''เอียดเล็ก'''" ชางวังออกพระนามว่า "'''ทูลกระหม่อมเอียดเล็ก'''"<ref>[[จุลลดา ภักดีภูมินทร์]], [http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetail.asp?stauthorid=13&stcolcatid=2&stcolumnid=176&stissueid=2388 พระโอรสและพระธิดาในรัชการที่ ๕], สกุลไทย, ฉบับที่ 2388, ปีที่ 46, ประจำวันอังคารที่ 25 กรกฎาคม 2543</ref>


พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาขั้นต้นที่[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย|โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ]] ต่อมาในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2446 ได้ทรงผนวชเป็น[[สามเณร]] ณ พระอุโบสถ [[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] โดยมี[[สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส|พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส]] เป็นพระอุปัชฌาย์ [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า|หม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรต]] ประทานสรณคมน์และสิกขาบท ผนวชแล้วเสด็จไปประทับ ณ [[วัดบวรนิเวศวิหาร]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2446/015/226.PDF ข่าวสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครราชสีมา ทรงผนวชเป็นสามเณร], เล่ม ๒๐, ตอน ๑๘, ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๔๖, หน้า ๒๒๖-๙</ref>
พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาขั้นต้นที่[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย|โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ]] ต่อมาในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2446 ได้ทรงผนวชเป็น[[สามเณร]] ณ พระอุโบสถ [[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] โดยมี[[สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส|พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส]] เป็นพระอุปัชฌาย์ [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า|หม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรต]] ประทานสรณคมน์และสิกขาบท ผนวชแล้วเสด็จไปประทับ ณ [[วัดบวรนิเวศวิหาร]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2446/015/226.PDF ข่าวสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครราชสีมา ทรงผนวชเป็นสามเณร], เล่ม ๒๐, ตอน ๑๘, ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๔๖, หน้า ๒๒๖-๙</ref>


หลังจากลาผนวช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ทรงเดินทางไปศึกษาต่อที่[[ประเทศอังกฤษ]] พร้อมกับ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย|เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก]]และ[[สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก|เจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช]] เมื่อ พ.ศ. 2448 ทรงศึกษาวิชาทหารเป็นระยะเวลาสั้น ๆ แล้วจึงเสด็จกลับ[[ประเทศไทย]]มาศึกษาใน[[โรงเรียนนายร้อยทหารบก]] พระองค์ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการกองพล ยศพลตรี แล้วจึงไปดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือ ยศพลเรือเอก
หลังจากลาผนวช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ทรงเดินทางไปศึกษาต่อที่[[ประเทศอังกฤษ]] พร้อมกับ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย|เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก]]และ[[สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก|เจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช]] เมื่อ พ.ศ. 2448 ทรงศึกษาวิชาทหารเป็นระยะเวลาสั้น ๆ แล้วจึงเสด็จกลับ[[ประเทศไทย]]มาศึกษาใน[[โรงเรียนนายร้อยทหารบก]] พระองค์ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการกองพล ยศพลตรี แล้วจึงไปดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือ ยศพลเรือเอก

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:39, 23 พฤศจิกายน 2557

สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา

สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
ประสูติ12 พฤษภาคม พ.ศ. 2432
สิ้นพระชนม์9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467
หม่อม
พระนามเต็ม
สมเด็จเจ้าฟ้าชายอัษฎางค์เดชาวุธ วิสิฏฐวิสุทธิลักษณโสภณ อุบัติดลกาลนิยม ปฐมปริวัตรรัตนโกสินทรศก ศตสาธกอัษโฎดดร สถาพรมงคลสมัย นราธิปไตยบรมนาถ จุฬาลงกรณ์ราชวโรรส อดุลยยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภโตปักษ์วิสุทธิกษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

พลเรือเอก สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2432

พระประวัติ

ไฟล์:เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ-หม่อมแผ้ว.jpg
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา และหม่อมแผ้ว

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมาเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2432 เมื่อทรงพระเยาว์สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนีทรงออกทรงพระนามว่า "เอียดเล็ก" ชางวังออกพระนามว่า "ทูลกระหม่อมเอียดเล็ก"[1]

พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ต่อมาในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2446 ได้ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ หม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรต ประทานสรณคมน์และสิกขาบท ผนวชแล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร[2]

หลังจากลาผนวช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ทรงเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ พร้อมกับเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลกและเจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช เมื่อ พ.ศ. 2448 ทรงศึกษาวิชาทหารเป็นระยะเวลาสั้น ๆ แล้วจึงเสด็จกลับประเทศไทยมาศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหารบก พระองค์ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการกองพล ยศพลตรี แล้วจึงไปดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือ ยศพลเรือเอก

ในปี พ.ศ. 2441 พระองค์ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมที่ "กรมขุนนครราชสีมา"[3] และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้รับการเลื่อนกรมที่ "กรมหลวงนครราชสีมา" เมื่อปี พ.ศ. 2459[4]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา มีพระกรณียกิจที่สำคัญในกองทัพเรือ คือ ทรงดำรงตำแหน่งผู้กำกับราชการกระทรวงทหารเรือ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 ต่อจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ และทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2467 ทรงเปลี่ยนระเบียบการปกครองบังคับบัญชาเรือหลวงใหม่ แต่เดิมนั้นการบังคับบัญชาในเรือหลวง แบ่งออกเป็น 2 กระบวนเรือ แต่ละกระบวนเรือต่างก็เป็นอิสระแก่กัน ขึ้นตรงต่อกระทรวงทหารเรือ พระองค์ทรงเห็นว่าไม่เหมาะสม ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ไม่เป็นแบบฉบับเดียวกัน จึงให้รวมกระบวนเรือทั้งสองเป็นหนึ่งเดียว แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า กองทัพเรือ มีผู้บังคับบัญชากองทัพเรือเป็นผู้บังคับบัญชา ขึ้นตรงต่อกระทรวงทหารเรือ และให้แบ่งแยกกองทัพเรือออกเป็น 3 กองเรือ คือ กองเรือปืน กองเรือใช้ตอร์ปิโด และกองเรือช่วยรบ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ ทรงอภิเษกสมรสกับแผ้ว สุทธิบูรณ์ ไม่มีพระโอรสและพระธิดา พระองค์ประชวรด้วยพระโรคพระวักกะอักเสบ (โรคไต) และสิ้นพระชนม์ที่พระตำหนักวังสวนกุหลาบ พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467 สิริพระชนมายุได้ 36 พรรษา

พระองค์มีพระนามอย่างเต็มว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายอัษฎางค์เดชาวุธ วิสิฏฐวิสุทธิลักษณโสภณ อุบัติดลกาลนิยม ปฐมปริวัตรรัตนโกสินทรศก ศตสาธกอัษโฎดดร สถาพรมงคลสมัย นราธิปไตยบรมนาถ จุฬาลงกรณ์ราชวโรรส อดุลยยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภโตปักษ์วิสุทธิกษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ราชตระกูล

อ้างอิง

  1. จุลลดา ภักดีภูมินทร์, พระโอรสและพระธิดาในรัชการที่ ๕, สกุลไทย, ฉบับที่ 2388, ปีที่ 46, ประจำวันอังคารที่ 25 กรกฎาคม 2543
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครราชสีมา ทรงผนวชเป็นสามเณร, เล่ม ๒๐, ตอน ๑๘, ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๔๖, หน้า ๒๒๖-๙
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ในการประราชทานพระสุพรรณบัตร, เล่ม ๑๕, ตอน ๔๒, ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๑๘๙๙, หน้า ๔๔๑
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาเลื่อนกรม พระพุททธศักราช ๒๔๕๙, เล่ม ๓๓, ตอน ๐ก, ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๙, หน้า ๒๑๘
  5. "พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (41): 710. 10 มกราคม พ.ศ. 2446. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  6. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 (32): 564. 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  7. พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน
  8. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0ง): 2409. 11 มกราคม พ.ศ. 2453. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ถัดไป
จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
ผู้กำกับราชการกระทรวงทหารเรือ
(1 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2466)
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
ผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือ
(1 เมษายน พ.ศ. 2467 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467)
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร