สถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน
中国中央电视台
จงกั๋วจงยางเตี้ยนชื่อไถ
ประเภทสื่อของรัฐ
ประเทศจีน
เริ่มออกอากาศ 
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2501; 65 ปีก่อน
ก่อตั้งปักกิ่ง
คำขวัญรับผิดชอบต่อชาติ วิสัยทัศน์สากล เห็นอกเห็นใจผู้อื่น
สำนักงานใหญ่สำนักงานใหญ่สถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน, ปักกิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน
พื้นที่ฉาย
ทั่วโลก
เจ้าของ ฝ่ายประชาสัมพันธ์พรรคคอมมิวนิสต์จีน[1]
จีน คณะมนตรีรัฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีน[1]
ผู้ปกครองไชนามีเดียกรุป
ชื่อเดิม
สถานีวิทยุโทรทัศน์ปักกิ่ง
ช่องฟรี
30 ช่อง
ช่องแบบเสียค่าบริการ
17 ช่อง
สัญญาณเรียกขานวอยซ์ออฟไชน่า (Voice of China) (ภายนอก)
Affiliationไชนา โกลบอล เทเลวิชั่น เน็ตเวิร์ก (CGTN)
เว็บไซต์ทางการ
english.cctv.com แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
Subsidiaryไชนา โกลบอล เทเลวิชั่น เน็ตเวิร์ก (CGTN)
สถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน
อักษรจีนตัวย่อ中国中央电视台
อักษรจีนตัวเต็ม中國中央電視台
ความหมายตามตัวอักษรChina Central Television Station
Chinese abbreviation
อักษรจีนตัวย่อ央视
อักษรจีนตัวเต็ม央視
ความหมายตามตัวอักษรCentral-Vision

สถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (อังกฤษ: China Central Television: CCTV; จีน: 中国中央电视台) เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งชาติของประเทศจีน, ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2501 เพื่อเป็นสื่อโฆษณาชวนเชื่อ มีช่องรายการต่างๆ 50 ช่อง และออกอากาศรายการต่างๆ แก่ผู้ชมมากกว่าหนึ่งพันล้านคนในหกภาษา[2][3] ดำเนินการโดยสำนักงานบริหารกิจการวิทยุและโทรทัศน์แห่งรัฐ ซึ่งขึ้นตรงต่อกรมโฆษณาชวนเชื่อกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน[4][5][2]

ประวัติ[แก้]

ที่ตั้งสถานีโทรทัศน์ปักกิ่งในยุคแรก

สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี เริ่มทดลองออกอากาศ ในระบบขาวดำเป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อว่า สถานีโทรทัศน์ปักกิ่ง (อังกฤษ: Beijing Television จีน: 北京电视台) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 และเริ่มแพร่ภาพอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 2 กันยายน ปีเดียวกัน ในช่วงแรกนั้นออกอากาศเพียง 3 วันต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30 นาที และมีเจ้าหน้าที่ของสถานีเพียง 30 คน ส่วนใหญ่จะมาจากสถานีวิทยุประชาชนกลางของจีน (CNR), สตูดิโอสารคดีข่าวและภาพยนตร์ และปักกิ่งออกัสเฟิสต์ฟิล์มสตูดิโอ

ต่อมา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 สถานีโทรทัศน์ปักกิ่ง เริ่มทดลองแพร่ภาพในระบบสี พัล-ดี ทางช่องสัญญาณที่ 2 ทุกวันอังคาร วันพฤหัสบดี และวันเสาร์ โดยออกอากาศอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ในปีเดียวกัน หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็นซีซีทีวี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2521

ปลายปี ค.ศ. 1970 มีรายการที่ออกอากาศในช่วงเย็นเท่านั้น โดยปกติจะยุติการแพร่ภาพ ในเวลา 24.00 น. ช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาว โดยบางครั้งจะแพร่ภาพในช่วงกลางวัน ทั้งรายการสำหรับนักศึกษา (ในช่วงปิดภาคเรียน) พ.ศ. 2523 ซีซีทีวีทดลองถ่ายทอดข่าวจากท้องถิ่น มายังห้องส่งของสถานีฯ ด้วยระบบไมโครเวฟ ต่อมา พ.ศ. 2528 ซีซีทีวีกลายเป็นผู้นำเครือข่ายโทรทัศน์ของจีนแล้ว ความนิยมของซีซีทีวี ที่สำคัญคือ การปรับตัวอย่างน่าเชื่อถือ และการนำเสนอละครชุดเรื่อง ความฝันในหอแดง (อังกฤษ: Dream of the Red Chamber) ซึ่งออกอากาศทั้งหมด 35 ตอน นับเป็นละครโทรทัศน์เรื่องแรก ที่ผลิตเป็นดีวีดีออกจำหน่ายทั่วโลก และยังคงมีชื่อเสียงอย่างมาก ในปีเดียวกัน ซีซีทีวีส่งออกรายการโทรทัศน์ทั้งหมด 10,216 รายการ ให้กับสถานีโทรทัศน์ในต่างประเทศถึง 77 แห่ง

ในปี พ.ศ. 2531 ได้ย้ายที่ทำการถาวรแห่งแรก ที่อาคารเลขที่ 11 ถนนฟู่ซิง ซึ่งสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2526 และแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2529 และได้รับอนุญาตให้ทำการโฆษณาเชิงพาณิชย์ได้

เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 ซีซีทีวีเปิดอาคารที่ทำการ และสำนักงานใหญ่หลังใหม่ เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 50 ปีของสถานีฯ

การควบคุมเนื้อหา[แก้]

อาคารซีซีทีวีหลังเก่า (ปัจจุบันเป็นสำนักงานใหญ่ของ CMG)

ในยุคแรก เนื้อหาที่ออกอากาศ ถูกควบคุมตามประกาศคำสั่ง ว่าด้วยการออกอากาศเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ของสำนักงานโฆษณา แห่งคณะกรรมการศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน แต่หลังจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนปฏิรูปการปกครองประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2533 ซีซีทีวีให้ความอิสระซึ่งเป็นที่ยอมรับ มาเป็นบรรทัดฐาน เนื่องจากมีความต้องการสั่งซื้อรายการของซีซีทีวีเข้ามาอย่างมาก ขณะที่ก่อนหน้านั้นมีศูนย์กลางในการควบคุมความเป็นอิสระนั้นอยู่

การปรับปรุงรูปแบบครั้งนี้ ก็เพื่อป้องกันการแพร่ภาพที่ผิดวัตถุประสงค์ และปกป้องระบบสังคมนิยม ลัทธิคอมมิวนิสต์ เพศสัมพันธ์ ตลอดจนเนื้อหาที่รุนแรง ไม่ให้ไปถึงผู้ชมสื่อ ทั้งในและนอกประเทศจีนจำนวนมาก ในปีนั้น ซีซีทีวีแจ้งว่า ปริมาณเงินทุนสนับสนุนของสถานีฯ ลดลงอย่างมากโดยทันที ซึ่งมีสาเหตุมาจากความพยายามสร้างสมดุล ระหว่างบทบาททั้งสองของสถานีฯ กล่าวคือ การเป็นกระบอกเสียงของรัฐบาล และการเป็นสื่อกลางเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและโฆษณา

ระบบการออกอากาศ[แก้]

เสาส่งซีซีทีวี ณ กรุงปักกิ่ง

ปัจจุบัน ซีซีทีวี มี 22 ช่องรายการในระดับชาติ (ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555) ส่วนมากจะออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน และใช้ช่องความละเอียดสูง (High Definition channel) รวมทั้งปรับปรุงระบบเสียงดอลบี สเตอริโอ (Dolby Stereo), ดอลบีรอบทิศทาง (Dolby Surround), ดอลบี เอสอาร์ (Dolby SR), ดอลบีเพิ่มความละเอียดของคุณภาพเสียง (Dolby Digital Advanced Sound Quality Definition) และการปรับปรุงระบบเสียงเหล่านี้ ได้รับการพัฒนาโดย ห้องปฏิบัติการดอลบี (Dolby Laboratories), DTS (ระบบเสียง) (สนับสนุนการขยายเสียงระบบสเตอริโอ Stereo Expansion Support)) และ โซนี่ ไดนามิค ดิจิทัล ซาวด์ (Sony Dynamic Digital Sound) (ควบคู่กันกับSDDS) เพื่อให้ผู้ชมจากทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศจีน สามารถรับฟังเสียงจากสถานีฯได้ เนื่องจากทางสถานีฯ มีศักยภาพในการพัฒนาที่ดีกว่า (ลักษณะเหล่านี้ยังไม่ได้ใช้ จนกว่ายุคของการแพร่ภาพโทรทัศน์จะได้พัฒนาต่อไป) และยังรวมถึง ระบบเสียงมัลติแชแนลปรับปรุง กับระบบเสียงดอลบี (Dolby) เพื่อให้เสียงสมจริง

เหตุเพลิงไหม้ในปี พ.ศ. 2552[แก้]

อาคารซีซีทีวีหลังใหม่ที่ถูกเพลิงไหม้
อาคารซีซีทีวีหลังใหม่

ขณะที่สถานีโทรทัศน์กลางจีนได้เฉลิมฉลองในวันตรุษจีน เกิดเปลวไฟโหมกระหน่ำที่ทำให้โครงสร้างอาคาร 42 ชั้น ขณะที่กำลังก่อสร้าง สร้างไม่เสร็จทันตามกำหนด เพราะว่าสังกะสี ไทเทเนียม และโลหะ รวมถึงพื้นผิวรอบนอกกลายมาเป็นเชื้อเพลิงในการโหมกระหน่ำเปลวเพลิง โรงแรมแมนดาเรียนโอเลนเติ้ลได้ถูกทำลายก่อนที่คาดว่าจะเปิดตัวในปี ค.ศ. 2009 เหตุการณ์นี้ทำให้นักผจญเพลิงเสียชีวิตไปหนึ่งคน

ไฟนำมาซึ่งไปยังการเฉลิมฉลองของสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวีซึ่งไม่เป็นที่นิยมแล้ว เพราะว่าเป็นการปกครองของสื่อ เหตุการณ์นี้เป็นการล้อเลียนต่อ netizens บุคคลที่นำสำเนาจากภาพถ่ายที่เกิดเหตุไฟใหม้และถูกวิจารณ์ CCTV จะตรวจการรายงานข่าวว่าเป็นความจริงหรือไม่ รูปภาพนั้นถูกนำไปแเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต เกือบทุกเว็บไซต์

การจัดรูปแบบองค์กร[แก้]

สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี ซึ่งมีผู้ว่าจ้างประมาณ 10,000 คน และมีรายได้ประจำปีรวมแล้ว 1.2 ล้าหยวนในปี ค.ศ. 2006 ตกอยู่ในภายใต้การดูแลของ สถานะการจัดการทางวิทยุ ภายนตร์ และโทรทัศน์ ซึ่งเอยู่ในหน้าที่บังคับบัญชา ไปถึง สถานะสภาสธารณรัฐประชาชนจีน รองนายกรัฐมนตรี ต่อมาคณะรัฐมนตรี ให้ไปเป็นประธานสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี องค์กรมีความสัมพันธ์กับสถานีโทรทัศน์ประจำภูมิภาคดำเนินการโดยรัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งต้องสำรองที่เพิ่มถึง 2 ช่องสำหรับการในการแพร่ภาพ

เครือข่ายผู้อำนวยการสูงสุด และ เจ้าหน้าที่ อื่นๆ ได้รับแต่งตั้ง อันเองมาจกสถานะ และ เจ้าหน้าที่สูงสุดเช่นกันที่สถานีโทรทัศน์ทั่วไปในจีนแผ่นดินใหญ่ เกือบทั้งหมดถูกจำกัดไปถึงการแพร่ภาพกระจายเสียงภายใน เหล่านั้นเป็นเจ้าของในส่วนภูมิภาค หรือ เป็นเทศบาล รับชมแพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี บรรณาธิการอิสระ ในห้วข้อพิจารณานโยบายของรัฐบาล และดังนั้น เป็นการแต่งตั้งอยู่ที่ "การประชาสัมพันธ์ มุ่งหมายเพื่อผู้ชมล้างสมอง (propaganda aimed at brainwashing the audience) ในอดีตเป็นรายการข่าวมาก่อน จดหมายถูกเขียนโดยบุคคลที่มัสติปัญญาสุงจากประเทศจีน เรียกร้องคัดค้านเรื่องการเป็นสถานะภาพสื่อสารมวลชน อีกด้วย คือถูกประกาศทางเว็บไซต์พื้นฐานของสหรัฐ และได้ถูกหมุนเวียนไปยังเว็บไซต์ในประเทศจีนไปจนเสร้จสิ้น องค์กรตัวท่านเองเป็นส่วนหนึ่งของ สามองค์กรยักษ์ใหญ่ ของประเทศจีน คล้ายกันกับ พีเพิ้ลเดลี (People' s Daily) และ ซินหัว (Xinhua)

รายชื่อช่องรายการที่ออกอากาศ[แก้]

ช่องหลัก
  1. ซีซีทีวี 1 ทั่วไป
  2. ซีซีทีวี 2 เศรษฐกิจ
  3. ซีซีทีวี 3 ศิลปวัฒนธรรม
  4. ซีซีทีวี 4 ช่องนานาชาติ (การออกอากาศแบ่งเป็นทวีป แต่ตารางการออกอากาศไม่เหมือนกัน เช่น ซีซีทีวี 4 ยุโรป, ซีซีทีวี 4 อเมริกา และ ซีซีทีวี 4 เอเชีย)
  5. ซีซีทีวี 5 กีฬา
  6. ซีซีทีวี 6 ภาพยนตร์
  7. ซีซีทีวี 7 ทหาร
  8. ซีซีทีวี 8 ซีรีส์จีน
  9. ซีซีทีวี 9 ช่องสาระความรู้
  10. ซีซีทีวี 10 การศึกษา
  11. ซีซีทีวี 11 อุปรากรจีน
  12. ซีซีทีวี 12 สังคมและกฎหมาย
  13. ซีซีทีวี 13 ข่าว
  14. ซีซีทีวี 14 เพื่อเด็ก
  15. ซีซีทีวี 15 ดนตรี
  16. ซีซีทีวี 16 เกมส์
  17. ซีซีทีวี 17 การเกษตร
  18. ซีซีทีวี 5 พลัส กีฬา (แทนที่ ซีซีทีวี 22)
  19. ซีซีทีวี 4 เค ช่องความคมชัดสูงยิ่งยวด (UHD 4K)
ซีจีทีเอ็น
  1. ซีจีทีเอ็น ข่าวภาษาอังกฤษ
  2. ซีจีทีเอ็น ฟร็องแซ ภาษาฝรั่งเศส
  3. ซีจีทีเอ็น เอสปาโญล ภาษาสเปน
  4. ซีจีทีเอ็น อะรอบียะฮฺ ภาษาอาหรับ
  5. ซีจีทีเอ็น รุสสกีย์ ภาษารัสเซีย

อนึ่ง ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 ซีซีทีวี ได้เปลี่ยนการแสดงอัตลักษณ์ใหม่ โดยจะเป็นรหัสช่อง และคำภาษาจีนระบุช่องรายการ (ยกเว้นช่องซีซีทีวี 9 ภาคภาษาอังกฤษ จะเป็นคำภาษาอังกฤษว่า "CCTV-9 Documentary")

รายการต่างๆ ของสถานีฯ[แก้]

สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี เป็นผู้ผลิตข่าวนำไปเผยแพร่ 3 ช่วงเวลา คือ ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีอิทธิพลและ ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์เป็นจำนวนมาก ข่าวภาคค่ำจะออกอากาศเป็นเวลา 30 นาที ซินเหวินเหลียนปัว จะออกอากาศทุกวันเวลา 19.00 น. (ตามเวลาประเทศจีน) เป็นอย่างมาก เป็นความรู้โดยส่วนมาก การรับชมรายการข่าวในประเทศจีน สิ่งที่จีนแผ่นดินใหญ่การรับชมรายการยกไว้ให้กับการเมืองของรัฐบาล สถานีโทนทัศน์ท้องถิ่นต้องการเพื่อรับชมราการข่าว CCTV 19.00 น.โดยจะแพร่ภาพการนำเสนอข่าวเป็นหลัก กลุ่มสำรวจภายในสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวีแสดงไว้ว่า เกือบ 500 ล้านคน ทั่วประเทศจีนโดยปกติจะรับชมรายการนี้ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขตกฮวบเมื่อไม่นาน รายการคิดเป็นร้อยละ 10 ของการประเมินผล เปรียบเทียบโดย ร้อยละ 40 ก่อน 1998 และประมาณ 72.8 ล้านคนรับชมรายการ ซินเหวินเหลียนปัว ในเวลานี้

ถึงแม้ว่าการปฏิรูปข่าวที่มีชื่อเสียงเป็นเครือข่ายของสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี ข่าวภาคค่ำเนื้อหาของข่าวยังเหมือนเดิม เหมือนกับตั้งแต่การปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ 1980 โดยส่วนใหญ่จุดสนใจของผู้นำประเทศต้อนรับแขก และ ไปเยือนผู้นำประเทศ ผู้นำ CPC ได้เริ่มต้นการประชุมหรือการปรึกษาเรื่องราวของความกล้าหาญสิ่งนั้นถูกสมมุติยกตัวอย่าง จากหนึ่ง หรือ สิ่งอื่นๆของลัทธิคอมมิวนิสต์ เนื่องจากแพร่ภาพเรื่องราวเกี่ยวกับรายการข่าวการเมืองจำนวนมากเป็นสิ่งสำคัญ

จุดสนใจเป็นรายการที่ได้รับความนิยมทางสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี อีกด้วย เริ่มครั้งแรก ค.ศ. 1994 โดยปกติรายการการสนทนาได้ถูกเปิดเผยออกมากซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดต่อผู้นำท้องถิ่น สิ่งที่ดึงดูดความสนสนใจมาจากรัฐบาลระดับสูงเป็นไปอย่างจริงจัง และ เป็นการประชุมที่กล่าวถึงปัญหาโดยเฉพาะ ต่อมารายการได้ประกาศเกี่ยวรัฐบาลจีนจัดการแก้ปัญหาประเทศ รายการเป็นโอกาสสำคัญเพื่อตรวจสอบวรสารศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ

รายการพิเศษเนื่องในวันตรุษจีนซึ่งจะจัดเป็นประจำทุกปี งานวันปีใหม่กับ CCTV (CCTV New Year's Gala) จะมีผู้ชมมากที่สุด ในปี 2007 ข้อมูลการวิจัยแสดงถึงงานรื่นเริงจะมีผู้ชมมากถึงกว่า 800 ล้านคนทั้งหมดทั่วทุกมุมโลก เริ่มตั้งแต่แรกในปี ค.ศ. 1980 แต่ละปี นักร้องและตลกกลายมาเป็นบุคคลชื่อเสียงเพราะว่าคืนนั้นเป็นการแสดงเพียงคืนเดียว

เครือข่ายของทางสถานีที่พิจรณาอย่างถี่ถ้วนซึ่งเชื่อถือได้ส่วนมากในจีน โดยปกติบทบาทที่ดีที่สุดสำหรับการโฆษณาที่จะชนะผู้บริโภคที่ไว้วางใจของผลิตภันฑ์ และการแข่งกันกับช่องเคเบิลท้องถิ่น

ในปี ค.ศ. 2003 CCTV ได้เพิ่มช่องรายการข่าว 24 ชั่วโมงเป็นที่แรก เสนอแก่ผู้ชมทางเคเบิลทีวี ภายใต้ชื่อ ซีซีทีวี-ซินเหวิน

อัตลักษณ์[แก้]

ตราสัญลักษณ์ซีซีทีวีเก่า

ในระยะแรก ยังใช้ข้อความ 中央电视台-x ไว้บนมุมจอ (x นั้น เป็นเลขช่อง) ต่อมาในช่วงปลายปี พ.ศ. 2534 จึงปรากฏหลักฐานการออกแบบตราสัญลักษณ์ขึ้นมา เพื่อให้มีเอกลักษณ์น่าจดจำ เป็นอักษรภาษาอังกฤษ ตัว C สองตัวไขว้กัน มีตัวอักษร TV อยู่ตรงกลาง ปัจจุบันยุติการใช้งานแล้ว แต่ยังคงมีปรากฏให้เห็นอยู่บนหัวไมโครโฟน และสวนหน้าอาคารสถานี ในปีพ.ศ. 2540 แบบแรกจะเป็นตัวอักษรคำว่า CCTV อย่างเดียว และแบบที่ 2 เป็นตัวอักษร CCTV เรียงกัน เดินเส้นสองแนว ลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของซีเอ็นเอ็น โดยมีสีดำทั้งหมด ยกเว้น ตัว C ตัวที่ 2 เป็นสีแดง สัญลักษณ์ที่แสดงบนจอจะเป็นวาวคล้ายแก้วใส บางช่องอาจมีอัตลักษณ์รองลงมา เช่น ซีซีทีวี 2 จะมีลักษณะเป็นรูปตัวอักษร V สองตัว ทำกราฟิกให้เหมือนเลข 2 ซีซีทีวี 5 จะเป็นอัตลักษณ์เลข 5 และซีซีทีวี 6 จะเป็นภาพแผ่นฟิลม์ภาพยนตร์พันกันเป็นตัวอักษร M

นาฬิกา[แก้]

  • ปี 2526 นาฬิกาอนาล็อก พิ้นสีน้ำเงิน เสียง:เข็มวินาที
  • ปี 2535-ปัจจุบัน นาฬืกาอนาล็อก มีภาพโฆษณาสินค้าเป็นพิ้นหลัง เสียง:เสียงบิป+โฆษกพูดโฆษณาสินค้า

นาฬิกาบนจอ[แก้]

เป็นนาฬิกาดิจิทัล เป็นรูปวงกลมมีตัวเลขดิจิทัลในวงกลม นาฬิกาจะนับก่อนเริ่มรายการข่าวและหลังจบรายการข่าว และนับก่อนเปิดสถานี

ภาพทดสอบ[แก้]

การเปิดและปิดสถานี[แก้]

ปัจจุบัน (พ.ศ. 2561) ซีซีทีวีหลายช่องออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง ยกเว้นช่องต่อไปนี้ซึ่งจะมีเวลาเปิด-ปิดสถานีในแต่ละช่อง[ต้องการอ้างอิง] (เวลาตาม GMT+8)

หน่วยงานของซีซีทีวี[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า สถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน ถัดไป
สถานีโทรทัศน์ปักกิ่ง (北京电视台)
(2 กันยายน พ.ศ. 2501 - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2521)
สถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน
(1 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 - ปัจจุบัน)
ยังดำเนินการอยู่
  1. 1.0 1.1 "Ownership and control of Chinese media". 14 June 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 July 2021. สืบค้นเมื่อ 30 July 2021.
  2. 2.0 2.1 Brady, Anne-Marie (2009-11-16). Marketing Dictatorship: Propaganda and Thought Work in Contemporary China (ภาษาอังกฤษ). Rowman & Littlefield Publishers. pp. 17, 167. ISBN 978-0-7425-6790-0.
  3. Barboza, David (22 August 2008). "Olympics Are Ratings Bonanza for Chinese TV". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2016. สืบค้นเมื่อ 1 September 2016.
  4. Pan, Jennifer; Shao, Zijie; Xu, Yiqing (2021). "How government-controlled media shifts policy attitudes through framing". Political Science Research and Methods (ภาษาอังกฤษ). 10 (2): 317–332. doi:10.1017/psrm.2021.35. ISSN 2049-8470. S2CID 243422723.
  5. Buckley, Chris (2018-03-21). "China Gives Communist Party More Control Over Policy and Media". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-11-12.