ราชอาณาจักรปรัสเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อาณาจักรปรัสเซีย)
ราชอาณาจักรปรัสเซีย

ค.ศ. 1701–ค.ศ. 1919
ธงชาติราชอาณาจักรปรัสเซีย
ธงชาติ
(ค.ศ. 1803–1892)
ของราชอาณาจักรปรัสเซีย
ตราแผ่นดิน
เพลงชาติพร็อยเซินลีด
เพลงปรัสเซีย
เพลงสรรเสริญพระบารมี
ไฮล์เดียร์อิมซีเกอร์ครันทซ์
ราชอาณาจักรปรัสเซียเมื่อขยายใหญ่ที่สุดในสมัยจักรวรรดิเยอรมัน ค.ศ. 1871
ราชอาณาจักรปรัสเซียเมื่อขยายใหญ่ที่สุดในสมัยจักรวรรดิเยอรมัน ค.ศ. 1871
เมืองหลวงเบอร์ลิน
ภาษาทั่วไปภาษาเยอรมัน
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
(จนถึง ค.ศ. 1848)
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
(ตั้งแต่ ค.ศ. 1848)
พระมหากษัตริย์ 
• 1701-1713
ฟรีดริชที่ 1 (องค์แรก)
• 1888-1918
วิลเฮล์มที่ 2 (องค์สุดท้าย)
ประวัติศาสตร์ 
• บรมราชาภิเษกพระเจ้าฟรีดริชที่ 1
18 มกราคม ค.ศ. 1701 ค.ศ. 1701
14 ตุลาคม ค.ศ. 1806
9 กันยายน ค.ศ. 1815
5 ธันวาคม ค.ศ. 1848
18 มกราคม ค.ศ. 1871
9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1919
ประชากร
• ค.ศ. 1816
10349031 คน
• ค.ศ. 1871
24689000 คน
• ค.ศ. 1910
34472509 คน
สกุลเงินไรคชทาลเลอร์
ถึง ค.ศ. 1750)

ปรัสเซียทาลเลอร์
(ค.ศ. 1750-1857)

เฟอร์ไรนชตาลเลอร์
(ค.ศ. 1857-1871)

โกลด์มาร์คเยอรมัน
(ค.ศ. 1871-1914)
พาพีร์มาร์คเยอรมัน
(ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1914)
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ดัชชีปรัสเซีย
ปรัสเซียหลวง
นครเสรีดันซิก
พอเมอเรเนียของสวีเดน
รัฐผู้คัดเลือกเฮสเซอ
นครเสรีฟรังค์ฟุร์ท
ดัชชีนัสเซา
ราชอาณาจักรฮันโนเฟอร์
ดัชชีฮ็อลชไตน์
ดัชชีชเลสวิช
ซัคเซิน-เลาเอินบวร์ค
เสรีรัฐปรัสเซีย

ราชอาณาจักรปรัสเซีย (อังกฤษ: Kingdom of Prussia) หรือ ราชอาณาจักรพร็อยเซิน (เยอรมัน: Königreich Preußen) เป็นหนึ่งในแคว้นชาวเยอรมัน ดำรงอยู่ระหว่างปี 1701 ถึง 1918[1] ปรัสเซียเป็นผู้นำการรวมชาติเยอรมันในปี 1871 และกลายเป็นแคว้นเอกของจักรวรรดิเยอรมัน

ก่อนที่จะมีฐานะเป็นราชอาณาจักร ปรัสเซียมีฐานะเป็นแคว้นระดับราชรัฐที่ชื่อว่า "บรันเดินบวร์ค-ปรัสเซีย" แคว้นแห่งนี้กลายเป็นแคว้นที่ทรงอำนาจทางทหารในสมัยฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม ดยุกแห่งปรัสเซีย[2] ต่อมาเมื่อยกฐานะเป็นราชอาณาจักรแล้ว ปรัสเซียก็ยังคงเรืองอำนาจต่อไป และเรืองอำนาจอย่างก้าวกระโดดในสมัยพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 หรือที่นิยมเรียกฟรีดริชมหาราช พระองค์ทรงเปิดฉากสงครามเจ็ดปี (1756–1763) นำทัพสู้รบกับออสเตรีย, รัสเซีย, ฝรั่งเศส และสวีเดน และนำพาปรัสเซียผงาดเป็นชาติมหาอำนาจใหม่แห่งยุโรป[3]

ภายหลังสิ้นสุดสงครามนโปเลียน (1803–1815) แว่นแคว้นเยอรมันที่เคยแตกคอกันในช่วงสงครามได้ร่วมกันจัดตั้งสมาพันธรัฐเยอรมัน เพื่อฟื้นฟูความเป็นบ้านพี่เมืองน้องกันอีกครั้ง ปรัสเซียเกิดความคิดที่จะผนวกแคว้นเยอรมันเล็กน้อยทั้งหลายเข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจของราชสำนักกรุงเบอร์ลินแห่งปรัสเซีย จนก่อให้เกิดความบาดหมางกับราชสำนักกรุงเวียนนาแห่งออสเตรีย แต่ในขั้นนี้ แว่นแคว้นเยอรมันเอนเอียงไปทางออสเตรียมากกว่า ปรัสเซียจึงทำอะไรไม่ได้

กระนั้น ความพยายามรวมชาติที่มีออสเตรียเป็นผู้นำก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จ แว่นแคว้นเยอรมันทั้งหลายอยากมีรัฐธรรมนูญเป็นของตนเอง[1] มีความพยายามปฏิวัติในหลายแคว้น การรวมชาติจึงล้มเหลวร่ำไป สมาพันธรัฐเยอรมันสิ้นสภาพในปี 1866 เมื่อเกิดสงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย เพื่อชิงความเป็นใหญ่เหนือแว่นแคว้นเยอรมันทั้งหลาย สงครามจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายปรัสเซีย ออสเตรียสูญเสียอิทธิพลเหนือแว่นแคว้นเยอรมันใต้ทั้งหมด

ปรัสเซียเป็นผู้นำจัดตั้งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือในปี 1867 และเมื่อปรัสเซียได้รับชัยชนะในสงครามกับฝรั่งเศสในปี 1871 ปรัสเซียก็นำแว่นแคว้นเยอรมันทั้งหมดประกาศสถาปนาเป็นจักรวรรดิเยอรมัน ระบบกฎหมายแทบทั้งหมดยังคงใช้กฎหมายของสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ

ประวัติศาสตร์[แก้]

ก่อนการสถาปนาเป็นราชอาณาจักร ปรัสเซียเป็นเพียงรัฐหนึ่งเท่านั้นเรียกว่า "ดัชชีปรัสเซีย" และตกอยู่ใต้อิทธิพลของโปแลนด์และสวีเดน แต่ด้วยชั้นเชิงทางการทูตและการทหารของ ฟรีดริช วิลเฮล์ม ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์ค ทำให้ปรัสเซียได้รับอิสรภาพจากสวีเดนในปี 1656 และได้สถาปนาขึ้นเป็นราชอาณาจักรในปี 1701 เดิมนั้นปรัสเซียมีอาณาเขตไม่ใหญ่มากนัก จนกระทั่งมาถึงสมัยของ พระเจ้าฟรีดริชมหาราช ปรัสเซียยึดครองมณฑลไซลีเซียจากออสเตรีย และสามารถรักษาไว้ได้ในระหว่างสงครามเจ็ดปีที่ยุติลงในปี ค.ศ. 1763 ซึ่งทำให้ปรัสเซียมีอำนาจขึ้นทางตอนเหนือของเยอรมนี ต่อมาปรัสเซียก็ได้ขยายดินแดนโดยการผนวกดินแดนต่างๆ ของเยอรมนีด้วยวิธีต่างๆ ที่รวมทั้งการสมรส และการเข้าครอบครองเช่นในโพเมอราเนียในฝั่งทะเลบอลติก

ปรัสเซียเข้าสู่สงครามในการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1792 มาจนถึงสมัยของสงครามนโปเลียน ซึ่งทำให้ปรัสเซียสูญเสียดินแดนบางส่วน แต่เมื่อสงครามสิ้นสุดลง การประชุมใหญ่แห่งเวียนนาก็มอบดินแดนคืนให้แก่ปรัสเซียที่รวมทั้ง ไรน์ลันท์ และเว็สท์ฟาเลิน กับดินแดนอีกบางส่วนในแถบตะวันตก

เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์[แก้]

การขยายตัวของบรันเดินบวร์ค[แก้]

เมื่อฟรีดริช วิลเฮล์ม ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์ค ถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1688 ปรัสเซียก็ตกไปเป็นของดยุกฟรีดริชที่ 3 ซึ่งต่อมาได้สถาปนาปรัสเซียเป็นราชอาณาจักรและขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งปรัสเซีย ระหว่างปี ค.ศ. 1701 ถึง 1713 นอกไปจากปรัสเซียแล้วบรันเดินบวร์คทั้งหมดก็เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮับส์บูร์ก เพราะพระเจ้าฟริดริชเป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งเยอรมันองค์เดียวในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จึงทรงสามารถเรียกร้องตำแหน่ง กษัตริย์แห่งปรัสเซีย ในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1701 จากจักรพรรดิเลโอโปลด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นการแลกเปลี่ยนกับการเป็นพันธมิตรในการต่อสู้กับฝรั่งเศสในสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน ตำแหน่งนี้มาเป็นตำแหน่งทางการใน สนธิสัญญาอูเทร็คท์ ค.ศ. 1713

พัฒนาการของอาณาจักร[แก้]

ราชอาณาปรัสเซียที่ก่อตั้งใหม่เป็นราชอาณาจักรที่ยังยากจนเพราะการที่ยังไม่ฟื้นตัวจากสงครามสามสิบปี และดินแดนกระจัดกระจายไปกว่า 1,200 ตารางกิโลเมตร จากปรัสเซียทางตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลบอลติกไปจนถึงใจกลางดินแดนโฮเอ็นโซลเลิร์นของรัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์ค และบางส่วนของแคว้นคลีฟบริเวณลุ่มแม่น้ำไรน์ ในปี ค.ศ. 1708 หนึ่งในสามของประชากรเสียชีวิตไประหว่างกาฬโรคระบาดในยุโรป โรคระบาดมาถึงเพร็นซเลาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1710 แต่ก็มิได้ขยายต่อไปถึงเบอร์ลินซึ่งอยู่เพียง 80 กิโลเมตรจากเพร็นซเลา

การพ่ายแพ้ของราชอาณาจักรสวีเดนต่อจักรวรรดิรัสเซีย, รัฐซัคเซิน, โปแลนด์–ลิทัวเนีย, เดนมาร์ก–นอร์เวย์, รัฐฮันโนเฟอร์ และปรัสเซียในมหาสงครามเหนือระหว่างปี ค.ศ. 1700 ถึงปี ค.ศ. 1721 เป็นการสิ้นสุดของอำนาจของสวีเดนทางใต้ของทะเลบอลติก ซึ่งจากการลงนามในสนธิสัญญาสต็อกโฮล์มในเดือนมกราคม ค.ศ. 1720 ปรัสเซียได้รับแคว้นชเตชซิน (Szczecin) และดินแดนในพอมเมอเรเนียที่สวีเดนเคยยึดครอง

สงครามไซลีเซีย[แก้]

ในปี ค.ศ. 1740 พระเจ้าฟรีดริชมหาราช ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทรงใช้ข้ออ้างจากสนธิสัญญา ค.ศ. 1537 ซึ่งถูกค้านโดยจักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในการรุกรานไซลีเซีย สนธิสัญญากล่าวว่าส่วนหนึ่งของไซลีเซียจะกลายเป็นของรัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์คหลังจากที่ราชวงศ์ไพอาสสิ้นสุดลง การรุกรานครั้งนี้เป็นการเริ่มของสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย (War of the Austrian Succession) ระหว่างปี ค.ศ. 1740 ถึงปี ค.ศ. 1748 หลังจากทรงยึดครองไซลีเซียได้อย่างรวดเร็วแล้ว พระเจ้าฟริดริชก็ทรงเสนอว่าจะทรงพิทักษ์อาร์ชดัชเชสมาเรีย เทเรซาแห่งออสเตรีย ถ้าทรงยกไซลีเซียให้พระองค์ แต่อาร์ชดัชเชสมาเรียทรงปฏิเสธแม้ออสเตรียมีปฏิปักษ์หลายด้าน ในที่สุดพระเจ้าฟริดริชจึงได้ดินแดนไซลีเซียอย่างเป็นทางการตามสนธิสัญญาเบอร์ลิน ค.ศ. 1742

การรวมชาติเยอรมัน[แก้]

ในปี ค.ศ. 1862 (พ.ศ. 2405) พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ได้เรียกตัวออทโท ฟอน บิสมาร์ค เข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี บิสมาร์คหวังอยู่เสมอในการรวบรวมเยอรมนีให้เป็นปึกแผ่นและต้องการให้เยอรมนีเป็นประเทศที่เข้มแข็งให้ได้ ดังนั้นการที่จะรวมเยอรมนีให้ได้จะต้องกำจัดอิทธิพลของมหาอำนาจภายนอกและจะต้องทำให้ปรัสเซียเป็นผู้นำในการรวมชาติเยอรมันแทนที่ออสเตรีย ถึงแม้ว่าออสเตรียจะเป็นรัฐเยอรมันเหมือนกันแต่ออสเตรียได้ไปแย่งชิงดินแดนต่าง ๆ ที่ไม่ใช่เยอรมัน เช่น ฮังการี โบฮีเมีย เป็นต้น ทำให้ในสายตาของรัฐเยอรมนีและรัฐอื่น ๆ ถือว่าออสเตรียเป็นเหมือนกับเยอรมันที่ไม่แท้จริง และจำเป็นต้องผูกมิตรกับมหาอำนาจอื่น ๆ เช่น อังกฤษ ออสเตรีย ฝรั่งเศส รัสเซีย เป็นต้น ในการรวมเยอรมนีนั้นทำให้เกิดสงครามคร้งใหญ่ถึง 3 ครั้ง ได้แก่

สงครามกับเดนมาร์กเพื่อแย่งชิงชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์[แก้]

บิสมาร์คอ้างว่าเพื่อปกป้องชายเยอรมันที่อยู่ใน 2 แคว้นนี้ และเมื่อสงครามเริ่มขึ้นปรัสเซียก็ได้ชัยชนะอย่างรวดเร็วในการบุกเดนมาร์ก เมื่อเดนมาร์กสู้ไม่ได้จึงยอมยกชเลสวิชให้ปรัสเซีย ส่วนฮ็อลชไตน์ให้ออสเตรียในสนธิสัญญาแกลสไตน์ปี พ.ศ. 2407 (ค.ศ. 1864)

สงครามออสเตรีย[แก้]

สงครามนี้เกิดขึ้นเมื่อปรัสเซียกล่าวหาว่าออสเตรียดูแลฮ็อลชไตน์ไม่ดี และออสเตรียกล่าวหาว่าปรัสเซียยุยงพลเมืองของฮ็อลชไตน์ให้ต่อต้านออสเตรีย เมื่อทั้งสองฝ่ายต่างกล่าวหากันเองดังนั้นสงครามจึงเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ ก่อนที่ปรัสเซียจะประกาศสงครามกับออสเตรียนั้นปรัสเซียได้ดำเนินนโยบายทางทูตต่อประเทศข้างเคียงเพื่อมิให้ประเทศเหล่านั้นฉวยโอกาส เช่น การตกลงกับพระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส บิสมาร์คได้ขอร้องให้พระองค์ทรงวางตัวเป็นกลางไม่ต้องสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ฝ่ายจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส นั้นหวังของตอบแทนในความเป็นกลางของพระองค์ทั้งจากปรัสเซียและออสเตรียดังนั้นพระองค์จึงตอบตกลง นอกจากนั้นปรัสเซียได้ทำสัญญากับอิตาลีอีกด้วย ข้างฝ่ายออสเตรียเมื่อรู้ตัวว่าจะต้องมีสงครามอย่างแน่นอน ออสเตรียได้ยุยงให้บรรดารัฐเยอรมันงดการสนับสนุนปรัสเซียหากมีสงคราม และในไม่ช้าออสเตรียจึงเริ่มประกาศระดมพล ฝ่ายปรัสเซียนั้นรู้อยู่ก่อนแล้วว่าจะต้องมีสงครามแน่นอน พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ได้ประกาศระดมพลก่อนออสเตรียเป็นเวลาถึง 3 อาทิตย์ ดังนั้นปรัสเซียจึงได้เปรียบมากกว่าออสเตรีย และเมื่อทั้งสองประกาศสงครามต่อกัน ปรัสเซียก็เริ่มบุกและเป็นฝ่ายได้เปรียบตั้งแต่ยกแรก ฝ่ายออสเตรียเป็นฝ่ายรับได้ต่อสู้อย่างกล้าหาญแต่ไม่อาจจะสู้กองทัพของปรัสเซียได้จึงได้แต่ถอย และเมื่อกองทัพของปรัสเซียเคลื่อนทัพเข้ามาใกล้กรุงเวียนนา ออสเตรีย จึงยอมทำสนธิสัญญาปราก ผลของสงครามครั้งนี้ออสเตรียไม่ได้เสียดินแดนต่าง ๆ หากแต่เสียสิทธิและถูกขับออกจากสมาพันธ์รัฐเยอรมนี ฝ่ายปรัสเซียก็ได้รวมรัฐเยอรมนีต่าง ๆ เข้ามาเป็นสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือขึ้นในปี พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866)

สงครามกับฝรั่งเศส[แก้]

เนื่องจากฝรั่งเศสพ่ายแพ้ปรัสเซียทางการทูตอยู่เสมอ ๆ และมีปัญหาเกี่ยวกับการสืบราชสมบัติในสเปน ฝรั่งเศสจึงตัดสินใจประกาศสงครามกับปรัสเซีย สงครามครั้งนี้ปรัสเซียมีชัยชนะอย่างขาดลอย ทำให้ชาวฝรั่งเศสได้ขับไล่พระเจ้านโปเลียนที่ 3 ออกจากราชสมบัติและร่วมก่อตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ขึ้น นอกจากนี้ทำให้ปรัสเซียได้เป็นมหาอำนาจอันดับต้น ๆ ในยุโรปและพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ได้ประกาศจัดตั้งจักรวรรดิเยอรมันขึ้น และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งเยอรมนี และสถาปนาบิสมาร์คให้เป็นเจ้าชายและอัครมหาเสนาบดี ณ พระราชวังแวร์ซาย ในปี พ.ศ. 2414 (ค.ศ. 1871) หลังจากนั้นรัฐต่าง ๆ ได้แก่ เมคเลินบวร์ค บาวาเรีย บาเดิน เวือร์ทเทิมแบร์ค และซัคเซิน ก็ขอเข้าร่วมกับจักรวรรดิเยอรมัน

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Marriott, J. A. R., and Charles Grant Robertson. The Evolution of Prussia, the Making of an Empire. Rev. ed. Oxford: Clarendon Press, 1946.
  2. Fueter, Eduard (1922). World history, 1815–1920. United States of America: Harcourt, Brace and Company. pp. 25–28, 36–44. ISBN 1-58477-077-5.
  3. Horn, D. B. "The Seven Years' War." In Frederick the Great and the Rise of Prussia, pp. 81–101. 3rd ed. London: English Universities Press, 1964.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]