รายพระนามพระมหากษัตริย์ปรัสเซีย

รายพระนามพระมหากษัตริย์ปรัสเซีย (อังกฤษ: List of monarchs of Prussia) เป็นรายนามและรายพระนามของประมุขของอดีตรัฐเยอรมันแห่งปรัสเซีย ที่เดิมเป็นรัฐอัศวินทิวทอนิก บนฝั่งทะเลบอลติกที่อัศวินทิวทอนิกพิชิตได้มาจากโปแลนด์และลิทัวเนีย ต่อมาเป็นดัชชีภายใต้การปกครองของราชอาณาจักรโปแลนด์ ดัชชีปรัสเซีย ราชอาณาจักรปรัสเซียอิสระ ราชอาณาจักรภายในจักรวรรดิเยอรมัน และเสรีรัฐปรัสเซียของเยอรมนีในที่สุด
ประวัติศาสตร์ของปรัสเซียตั้งแต่ปี ค.ศ. 1618 เป็นต้นมาเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับประวัติศาสตร์ของรัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์ค ประมุขของปรัสเซียดำรงตำแหน่งเป็นอีเล็คเตอร์แห่งบรานเดนบวร์กระหว่าง ค.ศ. 1618 จนถึง ค.ศ. 1806 (สำหรับรายชื่อของประมุขแห่งบรานเดนบวร์กก่อนหน้านี้ดูที่ "รายพระนามผู้ปกครองบรันเดินบวร์ค")
เนื้อหา
ดยุกแห่งปรัสเซีย, ค.ศ. 1525-ค.ศ. 1701[แก้]
ดยุกแห่งปรัสเซียราชวงศ์โฮเฮนซอลเลิร์น | |||
รูป | พระนาม | ครองราชย์ | หมายเหตุ |
ฟรีดริชที่ 1 | ค.ศ. 1415/1417 - ค.ศ. 1440 | ||
ฟรีดริชที่ 2 | ค.ศ. 1440 - ค.ศ. 1471 | ||
![]() |
อัลเบรชท์ | ค.ศ. 1471 - ค.ศ. 1486 | |
โจน ซิเซโร | ค.ศ. 1486 - ค.ศ. 1499 | ||
โยอาคิมที่ 1 | ค.ศ. 1499 - ค.ศ. 1535 | ||
โยอาคิมที่ 2 | ค.ศ. 1535 - ค.ศ. 1568 | ||
อัลเบร็คท์ ฟรีดริช | ค.ศ. 1568 - ค.ศ. 1618 | โอรสของอัลเบร็คท์ที่ 1 | |
หลังจากอัลเบร็คท์ ฟรีดริชเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1618 การปกครองของดัชชีปรัสเซียก็ตกไปเป็นของบุตรเขยและญาติห่างๆ โยฮันน์ ซีกิสมุนด์ ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์ค ผู้เป็นสายอาวุโสของตระกูลโฮเฮนโซลเลิร์นที่ปกครองรัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์ค แม้ว่าทั้งสองรัฐจะมีระบบการบริหารที่เป็นอิสระต่อกันแต่ดินแดนของทั้งสองอาณาจักรบางครั้งก็เรียกรวมกันว่าบรันเดินบวร์ค-ปรัสเซีย | |||
![]() |
โยฮันน์ ซีกิสมุนด์ | ค.ศ. 1618 - ค.ศ. 1619 | อีเล็คเตอร์แห่งบรานเดนบวร์กตั้งแต่ ค.ศ. 1608 สมรสกับอันนา ดัชเชสแห่งปรัสเซียบุตรีของอัลเบร็คท์ ฟรีดริช |
![]() |
เกออร์ก วิลเฮล์ม | ค.ศ. 1619 - ค.ศ. 1640 | บุตรของโยฮันน์ ซีกิสมุนด์ และ อันนา |
![]() |
ฟรีดริช วิลเฮล์ม | ค.ศ. 1640 - ค.ศ. 1688 | บุตรของเกออร์ก วิลเฮล์ม ในปี ค.ศ. 1657 ฟรีดริช วิลเฮล์มได้รับการรับรองจากพระเจ้าจอห์นที่ 2 คาซิเมียร์แห่งโปแลนด์ว่าเป็นผู้ปกครองดัชชีปรัสเซียโดยชอบธรรม การประกาศทำให้ปรัสเซียเป็นอิสระจากโปแลนด์ ยกเว้นแต่ในกรณีที่ถ้าราชวงศ์โฮเฮนซอลเลิร์นมาสิ้นสุดลง สิทธิของดยุกแห่งปรัสเซียและกษัตริย์แห่งโปแลนด์ได้รับการระบุตามรายละเอียดในสนธิสัญญาฉบับต่างๆ ที่รวมทั้งสนธิสัญญาเวห์เลา (Treaty of Wehlau) ที่ต้องต่ออายุกันทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนประมุขของอาณาจักรมาจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1698 (เมื่อพระเจ้าออกัสตัสที่ 2 แห่งโปแลนด์ขึ้นครองราชย์) |
![]() |
ฟรีดริช | ค.ศ. 1688 - ค.ศ. 1701 | บุตรของฟรีดริช วิลเฮล์ม ในปี ค.ศ. 1701 ฟรีดริชได้เข้าพิธีราชาภิเษกเป็น "พระมหากษัตริย์ในปรัสเซีย" ซึ่งเป็นการแสดงความเป็นอิสระของปรัสเซียจากทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับโปแลนด์ เพียงอำนาจเท่านั้นที่จำกัดอยู่ภายในดินแดนของดัชชีปรัสเซีย |
พระมหากษัตริย์ปรัสเซีย, ค.ศ. 1701-ค.ศ. 1871[แก้]
พระมหากษัตริย์ในและแห่งปรัสเซียของราชวงศ์โฮเฮนซอลเลิร์น | |||
รูป | พระนาม | ครองราชย์ | หมายเหตุ |
![]() |
ฟรีดริชที่ 1 | ค.ศ. 1701 – ค.ศ. 1713 | แยกปรัสเซียจากโปแลนด์อย่างเด็ดขาด และขึ้นครองราชย์ด้วยพระอิสริยยศ "พระมหากษัตริย์ในปรัสเซีย" ใน ค.ศ. 1701 |
![]() |
ฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 | ค.ศ. 1713 – ค.ศ. 1740 | พระราชโอรสในฟรีดริชที่ 1 รู้จักกันในพระนามว่า "กษัตริย์ทหาร" (เยอรมัน: Der Soldatenkönig) ปฏิรูปกองทัพและจำกัดการใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการทหาร |
![]() |
ฟรีดริชที่ 2 | ค.ศ. 1740 – ค.ศ. 1786 | เมื่อผนวกปรัสเซียหลวงได้ในปี ค.ศ. 1772 ในการแบ่งแยกโปแลนด์, พระเจ้าฟรีดริชก็ทรงเปลี่ยนพระราชอิสริยศเป็น "พระมหากษัตริย์ปรัสเซีย" จาก "พระมหากษัตริย์ในปรัสเซีย" และทรงได้รับการยกย่องให้เป็น "มหาราช" |
![]() |
ฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 | ค.ศ. 1786 – ค.ศ. 1797 | พระราชนัดดาในฟรีดริชที่ 2 ขยายดินแดนของปรัสเซียโดยการผนวกดินแดนของโปแลนด์เพิ่มขึ้น |
![]() |
ฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 3 | ค.ศ. 1797 – ค.ศ. 1840 | พระราชโอรสในฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 เมื่อจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ยุบตัวลงในปี ค.ศ. 1806 ฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 3 ก็ทรงสูญเสียตำแหน่งเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์ค แต่ทรงสามารถรวมดินแดนบรานเดนบวร์กเข้ามาเป็นของราชอาณาจักรปรัสเซีย แม้ว่าจะพ่ายแพ้ในสงครามนโปเลียน แต่จากการตกลงในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนาปรัสเซียก็ได้ดินแดนเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก ที่ทำให้กลายเป็นมหาอำนาจของทางตอนเหนือของเยอรมนี |
![]() |
ฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 4 | ค.ศ. 1840 – ค.ศ. 1861 | พระราชโอรสในฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 3 ระหว่างการปฏิวัติของ ค.ศ. 1848 - ค.ศ. 1849 พระองค์ก็ได้รับการเสนอให้เป็นจักรพรรดิแห่งชาวเยอรมัน แต่ไม่ทรงยอมรับ |
![]() |
วิลเฮล์มที่ 1 | ค.ศ. 1861 – ค.ศ. 1871 | พระอนุชาของฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 4 ปรัสเซียผนวกดินแดนเพิ่มขึ้นที่เป็นผลจากสงครามชเลสวิจครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1864 และสงครามออสเตรีย-ปรัสเซียในปี ค.ศ. 1866 และกลายเป็นมหาอำนาจในสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ หลังจากที่ได้รับชัยชนะในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย |
พระมหากษัตริย์ปรัสเซียและจักรพรรดิแห่งเยอรมนี, ค.ศ. 1871-ค.ศ. 1918[แก้]
พระมหากษัตริย์ปรัสเซียและจักรพรรดิแห่งเยอรมนีของราชวงศ์โฮเฮนซอลเลิร์น | |||
รูป | พระนาม | ครองราชย์ | หมายเหตุ |
![]() |
วิลเฮล์มที่ 1 | ค.ศ. 1871 – ค.ศ. 1888 | วิลเฮล์มที่ 1 ก็ได้รับการประกาศให้เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเยอรมันในปี ค.ศ. 1871 ขณะที่ยังคงดำรงตำแหน่งกษัตริย์แห่งปรัสเซีย |
![]() |
ฟรีดริชที่ 3 | ค.ศ. 1888 | พระราชโอรสในวิลเฮล์มที่ 1 เสด็จสวรรคตเพียง 99 วันหลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ด้วยโรคมะเร็งที่พระศอ ที่ทำให้ปี ค.ศ. 1888 ได้ชื่อว่าเป็นปีสามจักรพรรดิ (Year of Three Emperors) |
![]() |
วิลเฮล์มที่ 2 | ค.ศ. 1888 – ค.ศ. 1918 | พระราชโอรสในฟรีดริชที่ 3 ความพ่ายแพ้ของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี ค.ศ. 1914 ทำให้วิลเฮล์มที่ 2 ต้องสละราชสมบัติไปประทับลี้ภัยอยู่ในเนเธอร์แลนด์ การสละราชสมบัติของพระองค์ก็เท่ากับเป็นการสิ้นสุดอำนาจของราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์น |
หลังระบอบราชาธิปไตย[แก้]
แม้ว่าจักรวรรดิเยอรมันภายใต้ระบอบกษัตริย์จะสิ้นสุดลง แต่ก็ยังคงเป็นจักรวรรดิที่กลายมาเป็นสาธารณรัฐภายในสาธารณรัฐไวมาร์ ที่เรียกว่า "เสรีรัฐปรัสเซีย"
นายกรัฐมนตรีแห่งเสรีรัฐปรัสเซีย, ค.ศ. 1918-ค.ศ. 1945[แก้]
- พอล เฮิร์สช (Paul Hirsch) ค.ศ. 1918-1920
- ออตโต บราวน์ (Otto Braun) ค.ศ. 1920-1921
- อาดัม สเตเจอร์วอล์ด (Adam Stegerwald) ค.ศ. 1921
- ออตโต บราวน์ ค.ศ. 1921-1925
- วิลเฮล์ม มาร์กซ์ (Wilhelm Marx) ค.ศ. 1925
- ออตโต บราวน์ ค.ศ. 1925-1932
ในปี ค.ศ. 1932 นายกรัฐมนตรีฟรันซ์ ฟอน พาเพน ยุบเลิกรัฐบาลปรัสเซียในการปฏิวัติปรัสเซีย (Preußenschlag) ต่อมาปรัสเซียก็ปกครองโดย "Reichskommissar":
- ฟรันซ์ ฟอน พาเพน (Franz von Papen) ค.ศ. 1932 (นายกรัฐมนตรี และ Reichskommissar)
- เคิร์ท ฟอน ชไลเชอร์ (Kurt von Schleicher) ค.ศ. 1932-1933 (นายกรัฐมนตรี และ Reichskommissar)
- ฟรันซ์ ฟอน พาเพน ค.ศ. 1933 (รองนายกรัฐมนตรี และ Reichskommissar)
หลังจากการยึดอำนาจโดยนาซีแล้วก็ได้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ แต่ก็เป็นเพียงตำแหน่งที่เป็นเพียงพิธี เพราะรัฐเยอรมันสูญเสียอำนาจและกลายเป็นเพียงหน่วยบริหารเท่านั้น
- แฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริง ค.ศ. 1933-1945
หลังจากความพ่ายแพ้ของนาซีเยอรมนีในปี ค.ศ. 1945 จังหวัดต่างๆ ของปรัสเซียก็รวมกันเป็นรัฐหนึ่งในเยอรมนี แต่มาถูกยุบเลิกในปี ค.ศ. 1947 จากนั้นปรัสเซียเดิมถูกแบ่งระหว่างโปแลนด์และสหภาพโซเวียต
ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ปรัสเซีย[แก้]
หลังจากการยุบราชบัลลังก์เยอรมนีในปี ค.ศ. 1918 แล้วประมุขของโฮเฮนโซลเลิร์นก็อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ปรัสเซียและเยอรมนี คำอ้างเหล่านี้ไม่สามารถแยกจากกันได้ตามรัฐธรรมนูญของจักรวรรดิเยอรมนีที่ระบุว่าผู้ใดที่เป็นจักรพรรดิปรัสเซียผู้นั้นก็เป็นจักรพรรดิเยอรมนีด้วย
ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ในราชบัลลังก์ปรัสเซียและเยอรมันของโฮเฮนโซลเลิร์น | |||
รูป | พระนาม | ช่วงเวลา | หมายเหตุ |
![]() |
วิลเฮล์มที่ 2 | ค.ศ. 1918 - ค.ศ. 1941 | พำนักลี้ภัยอยู่ในเนเธอร์แลนด์ จนสิ้นพระชนม์ |
![]() |
เจ้าชายวิลเฮล์ม มกุฎราชกุมารแห่งปรัสเซีย | ค.ศ. 1941 - ค.ศ. 1951 | |
![]() |
ลุดวิก เฟอร์ดินานด์ เจ้าชายแห่งปรัสเซีย | ค.ศ. 1951 - ค.ศ. 1994 | |
![]() |
จอร์จ ฟรีดิช เจ้าชายแห่งปรัสเซีย | ตั้งแต่ ค.ศ. 1994 |
อ้างอิง[แก้]
- Clark, Christopher M. (2006). Iron kingdom: the rise and downfall of Prussia, 1600-1947. Harvard University Press. p. 50. ISBN 0-674-02385-4.
ดูเพิ่ม[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระมหากษัตริย์แห่งปรัสเซีย
|