ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 3 แห่งปรัสเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 3
พระมหากษัตริย์แห่งปรัสเซีย
ครองราชย์16 พฤศจิกายน 1797 – 7 มิถุนายน 1840
ก่อนหน้าพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 2
ถัดไปพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 4
เจ้านครรัฐผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์ค
ครองราชย์16 พฤศจิกายน 1797 – 6 สิงหาคม 1806
ก่อนหน้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 2
ถัดไปยุบเลิกนครรัฐผู้คัดเลือก
พระราชสมภพ3 สิงหาคม ค.ศ. 1770
พอตสดัม, ราชอาณาจักรปรัสเซีย
สวรรคต7 มิถุนายน ค.ศ. 1840 (69 พรรษา)
เบอร์ลิน, ราชอาณาจักรปรัสเซีย
มเหสีลูอีเซอแห่งมัคเลิคบวร์ค-ชเตรลิทซ์
ออกุสต์ ฟอน ฮาร์รัช
พระราชบุตรพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 4
จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 1
จักรพรรดินีอเล็กซานดราแห่งรัสเซีย
เจ้าหญิงฟรีเดริกา
เจ้าชาลชาร์ลแห่งปรัสเซีย
เจ้าหญิงอเล็กซานดรีนแห่งปรัสเซีย
เจ้าชายแฟร์ดีนันด์
เจ้าหญิงลูอีสแห่งปรัสเซีย (1808–1870)
เจ้าชายอัลแบร์ตแห่งปรัสเซีย
ราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น
พระราชบิดาพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 2
พระราชมารดาฟรีเดอริเคอ ลูอีเซอ แห่งเฮ็สเซิน-ดาร์มชตัท
ลายพระอภิไธย

พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 3 (เยอรมัน: Friedrich Wilhelm III) เป็นกษัตริย์แห่งปรัสเซียระหว่าง ค.ศ. 1797–1840 พระองค์ทรงปกครองปรัสเซียในช่วงเวลายากลำบากระหว่างสงครามนโปเลียนและเป็นยุคที่จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ล่มสลาย แม้ว่าในตอนแรก พระองค์จะพยายามวางตัวเป็นกลางในสงครามนโปเลียน แต่ด้วยอิทธิพลอย่างรุนแรงจากพระมเหสีซึ่งอยู่ฝ่ายฝักใฝ่สงคราม ท้ายที่สุดก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะต้องเข้าสู่สงครามในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1806 โดยกองทัพปรัสเซียของพระองค์ได้เข้าร่วมกับกองทัพอังกฤษในการต่อต้านการแผ่อำนาจของฝรั่งเศส หลังจากที่จักรพรรดินโปเลียนพ่ายแพ้และสิ้นอำนาจแล้ว พระองค์ในฐานะกษัตริย์แห่งปรัสเซียได้เข้าร่วมการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา เพื่อจัดระเบียบทางการเมืองการปกครองในทวีปยุโรปหลังสงครามนโปเลียน พระองค์ตัดสินพระทัยที่จะรวมคริสตจักรโปรเตสแตนต์ให้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อความเป็นเอกภาพเวลาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และส่วนหนึ่งก็เพื่อจะรวมศูนย์อำนาจการปกครองคริสตจักรโปรเตสแตนต์ทั้งหมดไว้ที่ราชสำนักปรัสเซีย

พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม ประสูติในพ็อทซ์ดัม เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งปรัสเซีย กับพระนางฟรีเดอริเคอ ลูอีเซอ แห่งเฮ็สเซิน-ดาร์มชตัท และพระองค์ยังมีเชื้อสายพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่ผ่านทางพระอัยกา (ปู่) ในขณะที่พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มทรงพระเยาว์นั้น มีพระนิสัยขี้อายและเก็บตัว และติดบุคลนิสัยนี้เรื่องมา ด้วยบุคลนิสัยไม่ค่อยตรัสแบบนี้จึงเป็นผลดีต่อเหล่านายทหาร

พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อ 16 พฤศจิกายน 1797 หลังจากครองราชย์แล้ว พระองค์ทรงตัดลดงบประมาณของราชสำนัก ปลดเหล่ารัฐมนตรีของพระราชบิดาออกตลอดจนยกเลิกการปกครองที่กดขี่ข่มเหงของพระราชบิดา ตัวพระองค์ไม่มีความไว้ใจอย่างยิ่งที่จะมอบหมายงานสำคัญ ๆ ให้กับบรรดารัฐมนตรี

อ้างอิง

[แก้]
  • Clark, Christopher. "Confessional policy and the limits of state action: Frederick William III and the Prussian Church Union 1817–40." Historical Journal 39.#4 (1996) pp: 985-1004. in JSTOR
  • Thomas Stamm-Kuhlmann: König in Preußens großer Zeit. Friedrich Wilhelm III., der Melancholiker auf dem Thron. Siedler, Berlin 1992.
  • Dagmar von Gersdorff: Königin Luise und Friedrich Wilhelm III. Eine Liebe in Preußen. Rowohlt, Reinbek 2001. ISBN 3-499-22615-4.