สนธิสัญญายูเทรกต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนธิสัญญายูเทรกต์
เยอรมัน: Friede von Utrecht
สนธิสัญญายูเทรกต์ฉบับแรกปี ค.ศ. 1713 เป็นภาษาสเปน และฉบับต่อมาเป็นภาษาละตินและอังกฤษ
วันลงนามค.ศ. 1713
ที่ลงนามยูเทรกต์, สาธารณรัฐดัตช์
ผู้ลงนาม1. พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส
พระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน 2. สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่
ดยุกแห่งซาวอย
สาธารณรัฐดัตช์
ภาษาสเปน ละติน และอังกฤษ

สนธิสัญญายูเทรกต์ หรือ สัญญาสันติภาพยูเทรกต์ (เยอรมัน: Friede von Utrecht, อังกฤษ: Treaty of Utrecht หรือ Peace of Utrecht) เป็นเอกสารสนธิสัญญาสันติภาพ (peace treaty) หลายฉบับที่ลงนามกันที่เมืองยูเทรกต์ในสาธารณรัฐดัตช์ระหว่างเดือนมีนาคมและเดือนเมษายนของปี ค.ศ. 1713 เป็นการตกลงระหว่างรัฐต่าง ๆ ในยุโรปและช่วยในการยุติสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน

สนธิสัญญานี้ทำขึ้นระหว่างผู้แทนพระองค์พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสกับพระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน ฝ่ายหนึ่ง และผู้แทนพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่ ดยุกแห่งซาวอย กับพระเจ้ากรุงโปรตุเกสและสหมณฑล อีกฝ่ายหนึ่ง

การต่อรอง[แก้]

ฝรั่งเศสและเกรตบริเตนทำการตกลงกันในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1711 เมื่อมีการลงนามในร่างสัญญาในกรุงลอนดอน การตกลงในระยะแรกมีพื้นฐานมาจากการยอมรับการแบ่งดินแดนในการปกครองของสเปนในยุโรป หลังจากนั้นก็ได้มีการประชุมคองเกรสอย่างเป็นทางการที่ยูเทรกต์เมื่อวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 1712 โดยมีจอห์น โรบินสัน, บิชอปแห่งบริสตอล และทอมัส เวนต์เวิร์ธ เอิร์ลที่ 1 แห่งสตราฟฟอร์ด เป็นผู้แทนฝ่ายอังกฤษ[1] ฝ่ายสาธารณรัฐดัตช์ยอมรับข้อตกลงครั้งแรกอย่างไม่เต็มใจ และส่งผู้แทนแต่พระจักรพรรดิไม่ทรงยอมจนเมื่อได้รับคำสัญญาว่าข้อตกลงครั้งแรกเป็นแต่เพียงข้อตกลงแต่ยังไม่มีผลในการบังคับ เมื่อได้รับการสัญญาดังว่าแล้วผู้แทนของพระจักรพรรดิจึงปรากฏตัวในที่ประชุมในเดือนกุมภาพันธ์ ในเมื่อขณะนั้นพระเจ้าเฟลีเปยังมิได้รับการอนุมัติให้เป็นกษัตริย์ สเปนจึงมิได้เข้าร่วมในการประชุมใหญ่ของภาคีทั้งหมด แต่ดยุกแห่งซาวอยและโปรตุเกสส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุม

ปัญหาแรกที่ต่อรองกันคือเนื้อหาการการันตีที่ให้แก่ฝรั่งเศสและสเปนว่าราชบัลลังก์ของทั้งสองราชอาณาจักรเป็นสิ่งที่แยกจากกัน แต่ความก้าวหน้าของการประชุมก็เป็นไปอย่างเชื่องช้าจนกระทั่งหลังวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1712 เมื่อฟิลิปลงนามในการสละสิทธิ์ และเมื่อฝรั่งเศสและบริเตนตกลงกันในการทำสัญญาสงบศึกแล้ว ความก้าวหน้าของการประชุมก็เป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น และในที่สุดสนธิสัญญาหลักต่าง ๆ จึงได้รับการลงนามกันเมื่อวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1713

อ้างอิง[แก้]

  1. The staunch Tory Strafford was haled before a committee of Parliament for his part in the treaty, which the Whigs considered not advantageous enough.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]