ข้ามไปเนื้อหา

อะมิกาซิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อะมิกาซิน
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าAmikin, Amiglyde-V, Arikayce, อื่น ๆ
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa682661
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • AU: D [1]
  • US: D (มีความเสี่ยง) [1]
ช่องทางการรับยาการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ, การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
ประเภทยาอะมิโนไกลโคไซด์
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • AU: S4 (ต้องใช้ใบสั่งยา)
  • UK: POM (Prescription only) [2]
  • US: ℞-only
  • EU: Rx-only
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล>90%[3]
การจับกับโปรตีน0–11%
การเปลี่ยนแปลงยาส่วนใหญ่ไม่ถูกเปลี่ยนแปลง
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ2–3 ชั่วโมง
การขับออกไต
ตัวบ่งชี้
  • (2S)-4-Amino-N-[(2S,3S,4R,5S)-5-amino-2-[(2S,3R,4S,5S,6R)-4-amino-3,5-dihydroxy-6-(hydroxymethyl)oxan-2-yl]oxy-4-[(2R,3R,4S,5R,6R)-6-(aminomethyl)-3,4,5-trihydroxy-oxan-2-yl]oxy-3-hydroxy-cyclohexyl]-2-hydroxybutanamide
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard100.048.653
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC22H43N5O13
มวลต่อโมล585.608 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • O=C(N[C@H]3[C@H](O[C@H]1O[C@@H]([C@@H](O)[C@H](N)[C@H]1O)CO)[C@@H](O)[C@H](O[C@H]2O[C@H](CN)[C@@H](O)[C@H](O)[C@H]2O)[C@@H](N)C3)[C@@H](O)CCN
  • InChI=1S/C22H43N5O13/c23-2-1-8(29)20(36)27-7-3-6(25)18(39-22-16(34)15(33)13(31)9(4-24)37-22)17(35)19(7)40-21-14(32)11(26)12(30)10(5-28)38-21/h6-19,21-22,28-35H,1-5,23-26H2,(H,27,36)/t6-,7+,8-,9+,10+,11-,12+,13+,14+,15-,16+,17-,18+,19-,21+,22+/m0/s1 checkY
  • Key:LKCWBDHBTVXHDL-RMDFUYIESA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

อะมิกาซิน (อังกฤษ: Amikacin) เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ มีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย[4] ได้แก่ การติดเชื้อในข้อ, การติดเชื้อในช่องท้อง, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, ปอดบวม, ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ, และการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ[4] นอกจากนี้ยังมีการใช้ยานี้ในผู้ป่วยวัณโรคที่ดื้อต่อยาหลายขนานอีกด้วย[5] ยานี้มีทั้งในรูปแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อและ ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ[4]

อะมิกาซินออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของเชื้อแบคทีเรีย โดยจะเข้าจับกับหน่วยย่อยที่ 30 เอสของไรโบโซมแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียนั้น ๆ ไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและเจริญเติบโตได้ ซึ่งจะส่งผลให้เซลล์แบคทีเรียนั้นตายไปในที่สุด[4] ทั้งนี้ อะมิกาซินมีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเช่นเดียวกันกับยาอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ คือ สามารถทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยิน, การทรงตัวผิดปกติ, และเกิดปัญหาเกี่ยวกับไตได้[4] ส่วนอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่พบอุบัติการณ์การเกิดค่อนข้างน้อย ได้แก่ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการหายใจตามมาได้[4] นอกจากนี้ การใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์อาจทำให้เด็กที่คลอดออกมามีภาวะหูหนวกแบบถาวรได้[4]

อะมิกาซินเป็นยาที่พัฒนาขึ้นมาจากกานามัยซิน[4] ได้รับการจดสิทธิบัตรเมื่อ ค.ศ. 1971 และถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1976[6][7] โดยได้ถูกจัดเป็นหนึ่งในรายการยาจำเป็นขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization's List of Essential Medicines) ซึ่งเป็นรายการยาที่มีความสำคัญเป็นลำดับแรกของระบบสุขภาพพื้นฐานของประชาชนในประเทศต่าง ๆ[8] สำหรับการขายส่งของยานี้ในประเทศกำลังพัฒนามีราคาประมาณ 11  106 ยูโรต่อการรักษาด้วยยานี้หนึ่งเดือน[9] ในสหรัฐอเมริกา ค่าใช้จ่ายเฉพาะค่ายาสำหรับการรักษาด้วยอะมิกาซินหนึ่งรอบการรักษาอยู่ที่ประมาณ 25  50 ดอลลาร์สหรัฐ[10]

การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์

[แก้]

ในปัจจุบันมีการใช้อะมิกาซินบ่อยครั้งขึ้นในการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่มีอาการรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การติดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายขนาน, แบคทีเรียแกรมลบที่ไม่ใช้ออกซิเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Pseudomonas, Acinetobacter, Enterobacter, E. coli, Proteus, Klebsiella, และ Serratia[11] มีเพียงเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก 2 สกุลเท่านั้นที่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยอะมิกาซิน ได้แก่ Staphylococcus[11] และ Nocardia[12] นอกจากนี้อะมิกาซินยังถูกใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อสกุลไมโคแบคทีเรียมที่ไม่ใช่วัณโรค (non-tubercular Mycobacterium infections) และวัณโรค (ในสายพันธุ์ที่ไวต่อยานี้) ในกรณีที่การรักษาทางเลือกแรกไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้[4] ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีการใช้อะมิกาซินเป็นยาปฏิชีวนะเดี่ยวในการรักษาโรคใดโรคหนึ่งน้อยมาก ส่วนใหญ่มักใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะอื่น เพื่อเสริมฤทธิ์ซึ่งกันและกัน[13]

ภาวะหรือโรคที่มักใช้อะมิกาซินเป็นยาในการรักษาอยู่บ่อยครั้ง ได้แก่:[4]

นอกจากข้อบ่งใช้ดังข้างต้นแล้ว อะมิกาซินยังสามารถให้ร่วมกับยาปฏิชีวนะกลุ่มเบตาแลคแตมเพื่อเป็นการให้ยาปฏิชีวนะแบบครอบคลุมเชื้ออย่างกว้าง (empiric therapy) ในผู้ป่วยที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำรวมกับมีไข้ (Febrile Neutropenia)[4]

ในปัจจุบันมีการพัฒนาอะมิกาซินให้บรรจุอยู่ในไลโปโซมสำหรับเตรียมเป็นตำรับสำหรับสูตรพ่นเข้าทางจมูก เพื่อรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น ซิสติก ไฟโบรซิส,[17] การติดเชื้อ Pseudomonas aeruginosa,[18] การติดเชื้อไมโคแบคทีเรียที่ไม่ใช่วัณโรค,[19] และโรคหลอดลมพอง เป็นต้น ซึ่งยารูปแบบดังกล่าวตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาทางคลินิกในระยะสุดท้าย

รูปแบบเภสัชภัณฑ์

[แก้]

ปัจจุบัน อะมิกาซินมีในรูปแบบยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำและยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ซึ่งต้องบริหารยาวันละ 1–2 ครั้ง อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ ปัจจุบันจะมีการพัฒนายานี้ให้อยู่ในรูปแบบยาพ่นได้ แต่กำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาประสิทธิภาพทางคลินิก อะมิกาซินไม่มีในรูปแบบยารับประทาน เนื่องจากยาถูกดูดซึมได้น้อยมากในทางเดินอาหาร ทั้งนี้ การใช้ยาอะมิกาซินในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตลดน้อยลงกว่าปกติ จำเป็นต้องมีการปรับขนาดยาตามค่าการขับครีอะตินีนของร่างกาย (creatinine clearance) ซึ่งโดยทั่วไปจะนิยมใช้วิธีการลดความถี่ในการบริหารยา[11] ในผู้ป่วยที่มีติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สามารถบริหารยาอะมิกาซินโดยการฉีดเข้าทางน้ำไขสันหลัง (intrathecal injection) หรือฉีดเข้าทางโพรงสมอง (Intracerebroventricular injection) ได้เลย[4]

กลุ่มประชากรพิเศษ

[แก้]

ในผู้ป่วยสูงอายุที่มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยอะมิกาซิน ควรพิจารณาปรับลดขนาดยาลงจากขนาดปกติ ทั้งนี้เนื่องมาจากการทำงานของไตนั้นจะลดลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ความเสี่ยงที่จะเกิดอาการข้างเคียงหรือเกิดพิษจากยามีมากขึ้นได้หากใช้ยาในขนาดปกติ เช่นเดียวกับในเด็ก ซึ่งไตยังพัฒนาไม่เต็มที่ ก็ควรที่จะลดขนาดอะมิกาซินลงจากปกติเช่นกัน ในกรณีหญิงตั้งครรภ์นั้น ระดับความเสี่ยงต่อการเกิดพิษต่อทารกในครรภ์ของอะมิกาซินอยู่ในระดับ D ซึ่งหมายความว่า อะมิกาซินอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ทารกในครรภ์ได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์[4] โดยร้อยละ 16 ของขนาดยาอะมิกาซินที่ได้รับการบริหารเข้าสู่ร่างกายจะสามารถผ่านรกเข้าไปสู่ตัวอ่อนในครรภ์ได้ โดยยามีค่าครึ่งชีวิต 2 และ 3.7 ชั่วโมง ในแม่และตัวอ่อนในครรภ์ ตามลำดับ[11] หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับอะมิกาซินร่วมกับยาในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ชนิดอื่น อาจทำให้เกิดภาวะหูหนวกแต่กำเนิดของทารกได้ ส่วนกรณีหญิงให้นมบุตรนั้น พบว่า อะมิกาซินถูกขับออกมาทางน้ำนมได้ในเพียงปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น[4]

โดยทั่วไปแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการใช้อะมิกาซินในเด็กทารก[20] เนื่องจากทารกมีปริมาตรกระจายตัวที่ค่อนข้างสูง ทำให้ที่มีความเข้มข้นของอะมิกาซินในสารน้ำนอกเซลล์ (extracellular fluid) สูงกว่าผู้ใหญ่[3]

สำหรับผู้สูงอายุนั้น พบว่าอะมิกาซินจะมีค่าครึ่งชีวิตที่สูงกว่าปกติ ทั้งเป็นผลเนื่องมาจากการกำจัดออกที่ลดน้อยลงของวัยนี้ โดยเมื่อเปรียบเทียบอัตราการกำจัดอะมิกาซินออกจากร่างกายโดยเฉลี่ยของคนที่มีอายุ 20 ปี กับ 80 ปี จะพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมาก คือ 6 ลิตรต่อชั่วโมง และ 3 ลิตรต่อชั่วโมง ตามลำดับ[21] ในทางตรงกันข้าม ผู้ป่วยซิสติก ไฟโบรซิส กลับมีอัตราการกำจัดอะมิกาซินที่เร็วกว่ากลุ่มประชากรข้างต้นที่กล่าว[22] นอกจากนี้แล้ว การใช้อะมิกาซินในผู้ป่วยที่มีโรคที่เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อเช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย หรือโรคพาร์คินสัน อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการทางกล้ามเนื้อที่แย่ลงมากกว่าเดิมได้ เนื่องจากอะมิกาซินมีผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงลงได้เช่นกัน[4]

อาการไม่พึงประสงค์

[แก้]

อะมิกาซินมีอาการไม่พึงประสงค์ที่คล้ายคลึงกันกับยาอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญและมีความรุนแรงมากจนต้องได้รับการเฝ้าระวังและติดตามการเกิดอาการดังกล่าวอย่างใกล้ชิดคือ การเกิดพิษต่อไต และการเกิดพิษต่อหู ซึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างรุนแรงจนทำให้หูหนวกถาวรได้ โดยอาการไม่พึงประสงค์ดังข้างต้นมีอุบัติการณ์การเกิดประมาณร้อยละ 1–10% ของผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาใด ๆ ในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ทั้งหมด[14] โดยกลไกการเกิดคาดว่าเป็นผลมาจากการที่มียาดังกล่าวสะสมในไตและหูชั้นในมากเกินไป จนทำให้เกิดพยาธิสภาพในอวัยวะดังกล่าว[3]

รูปภาพแสดงโครงสร้างภายในหูชั้นใน ซึ่งการเกิดพิษจากอะมิกาซินนั้นจะทำให้เกิดพยาธิสภาพในส่วนคอเคลีย และเวสติบูล

การใช้ยาอะมิกาซินในขนาดที่สูงหรือใช้ในระยะเวลาที่ยาวนานเกินกว่าที่กำหนดไว้ในแนวทางการรักษาอาจทำให้เกิดพิษต่อระบบประสาท โดยอาการแสดงที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติดังกล่าว ได้แก่ อาการรู้สึกหมุน, ชา, รู้สึกเหมือนเข็มทิ่มตามผิวหนัง, กล้ามเนื้อกระตุก, และชัก.[4] หากเกิดพิษต่อเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 (vestibulocochlear nerve) จะทำให้เกิดภาวะพิษต่อหู ซึ่งจะมีอาการแสดงที่สำคัญ คือ สูญเสียการทรงตัว และสูญเสียการได้ยิน[3] ความเสียหายที่เกิดต่อคอเคลียนั้นมีสาเหตุมาจากการที่ยาเหนี่ยวนำให้เกิดการอะพอพโทซิสของเซลล์ขน ทำให้หูสูญเสียความสามารถในการรับรู้เสี่ยงคลื่นความถี่สูงไป และความผิดปกตินี้มักจะเกิดขึ้นก่อนที่จะมีอาการแสดงอื่น ๆ ที่บ่งบอกถึงการสูญเสียการได้ยิน[11][23] ส่วนความเสียหายที่เกิดต่อเวสติบูลนั้น คาดว่าน่าจะมาจากมีอนุมูลอิสระถูกสร้างขึ้นมามากเกินไป ทั้งนี้ ความผิดปกติข้างต้นที่กล่าวนั้นพบว่ามีความสัมพันธ์กับการได้รับการรักษาด้วยยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์เป็นระยะเวลานานเกินไปมากกว่าการได้รับยาเกินขนาด ดังนั้น การลดระยะเวลาในการใช้ยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์จึงสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดพิษหรืออาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงดังข้างต้นได้[24]

อะมิกาซินสามารถก่อให้เกิดพิษต่อไตได้ โดยการสร้างความเสียหายให้เกิดกับหลอดไตฝอยส่วนต้น (proximal tubule) เนื่องจากอะมิกาซินสามารถถูกทำให้เป็นประจุบวกได้ง่าย และอะมิกาซินที่เป็นประจุบวกนี้จะเข้าจับกับส่วนที่เป็นประจุลบของเซลล์เยื่อบุหลอดไตฝอยส่วนต้น และถูกนำเข้าสู่เซลล์กระบวนการพิโนไซโตซิส ทั้งนี้ ความเข้มข้นของอะมิกาซินในเนื้อไตชั้นนอก (renal cortex) นั้นจะมีค่าสูงกว่าความเข้มข้นของยาดังกล่าวในกระแสเลือดสูงถึง 10 เท่า[20] โดยยานี้จะเข้าไปรบกวนการเปลี่ยนแปลงฟอสโฟลิพิดในไลโซโซม ซึ่งจะทำให้เอนไซม์ไลติคชนิดต่าง ๆ ถูกปล่อยจากไลโซโซมเข้าสู่ไซโทพลาซึม จนทำให้เกิดความเสียกับเซลล์นั้นทั้งเซลล์[3] ภาวะการเกิดพิษต่อไตของอะมิกาซินนี้จะทำให้ระดับครีอะตินีนในเลือด, ปริมาณไนโตรเจนในกระแสเลือด, เซลล์เม็ดเลือดแดง, และ เซลล์เม็ดเลือดขาว เพิ่มสูงขึ้น รวมไปถึงทำให้เกิดความผิดปกติเหล่านี้ได้ อาทิ ภาวะที่มีโปรตีนแอลบูมินในปัสสาวะ (albuminuria), ภาวะที่มีน้ำตาลกลูโคสในปัสสาวะ (glycosuria), ความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะลดลง, ภาวะร่างกายสร้างปัสสาวะน้อยลง (oliguria) เป็นต้น[11][23] ในบางครั้งอาจเกิดคาสต์ในปัสสาวะ (Urinary cast) ได้เช่นกัน[3] การเปลี่ยนแปลงของการทำงานของหลอดไตฝอย (renal tubular) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับอิเล็กโทรไลต์ และสมดุลกรด–เบสของร่างกาย นำไปสู่การเกิดภาวะที่มีโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (hypokalemia) และเลือดเป็นกรด หรือเลือดเป็นด่างได้[24] การเกิดพิษต่อไตจากอะมิกาซินมักจะเกิดขึ้นได้ง่ายในผู้ที่มีภาวะที่มีโพแทสเซียมในเลือดต่ำ, ภาวะที่มีแคลเซียมในเลือดต่ำ, ภาวะที่มีแมกนีเซียมในเลือดต่ำ, เลือดเป็นกรด, อัตราการกรองของไตต่ำ, เบาหวาน, ภาวะที่ร่างกายขาดน้ำ, ไข้, และภาวะพิษเหตุติดเชื้อ อยู่ก่อนหน้าแล้ว รวมไปถึงผู้อยู่ระหว่างการรับประทานยาที่มียับยั้งการสร้างโพรสตาแกลนดินด้วย[3][4][24][20] โดยปกติแล้ว อาการพิษนี้มักหายเป็นปกติหลังจากการสิ้นสุดการรักษาด้วยอะมิกาซิน[3] และสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดพิษดังกล่าวได้ด้วยการไม่บริหารยาให้กับผู้ป่วยบ่อยครั้งเกินไป (เช่น บริหารยาให้แค่วันละ 1 ครั้ง หรือทุก 24 ชั่วโมง แทนที่จะใช้การบริหารยาแบบทุก ๆ 8 ชั่วโมง)[20]

นอกจากนี้อะมิกาซินยังสามารถทำให้ภาวะหย่อนของกล้ามเนื้อ (neuromuscular blockade) ได้ รวมไปถึงการทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน (acute muscular paralysis) ซึ่งอาจรุนแรงจนทำให้เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่ควบคุมระบบทางเดินหาย จนอาจทำให้เกิดการหยุดหายใจได้ (apnea)[4] ส่วนอาการไม่พึงประสงค์อื่นที่อาจเกิดได้จากการได้รับการรักษาด้วยอะมิกาซิน ได้แก่ ภาวะภูมิไวเกิน, เกิดผื่นบนผิวหนัง, ไข้, ปวดศีรษะ, สั่น, คลื่นไส้และอาเจียน, ภาวะอีโอซิโนฟิลในเลือดสูง, [ปวดในข้อ]], โลหิตจาง, ความดันโลหิตต่ำ, และภาวะที่มีแมกนีเซียมในเลือดต่ำ ซึ่งอาการไม่พึงประสงค์ดังข้างต้นนั้นสามารถเกิดขึ้นได้น้อยกว่าร้อยละ 1 ของผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยอะมิกาซิน ส่วนการบริหารยาอะมิกาซินด้วยการฉีดเข้าดวงตานั้น สามารถทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้[11][14]

ข้อห้ามใช้และข้อควรระวัง

[แก้]

ในกลุ่มที่มีประวัติการแพ้ต่อยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ชนิดใด ๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้อะมิกาซินในการรักษา เนื่องจากอาจเกิดปฏิกิริยาการแพ้ยาข้ามชนิดได้ นอกจากนี้ ผู้ที่มีความไวต่อซัลไฟต์มากกว่าปกติ ซึ่งส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยโรคหอบหืด ซึ่งก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้เช่นกัน[11] เนื่องจากในส่วนผสมของเภสัชภัณฑ์ของอะมิกาซินส่วนใหญ่นั้นมักมีส่วนผสมของโซเดียมเมทาไบซัลไฟต์รวมอยู่ด้วย[4]

โดยปกติแล้ว ไม่ควรบริหารยาอะมิกาซิน ร่วมกับ หรือก่อน หรือหลัง ยาอื่นที่ทำให้เกิดพิษต่อไต ระบบประสาท และหู เช่นเดียวกับอะมิกาซิน ซึ่งยาเหล่านั้นได้แก่ ยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ทุกชนิด, อะไซโคลเวียร์, แอมโฟเทอริซินบี, แบซิทราซิน, คาพรีโอไมซิน, โคลิสติน, โพลีมิกซิน บี, แวนโคมัยซิน, และซิสพลาติน[4] รวมถึงการห้ามใช้ร่วมกับยาหย่อนกล้ามเนื้อ (Neuromuscular Blocking Agents) เนื่องจากจะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง และเป็นอัมพาตได้[4]

อันตรกิริยา

[แก้]

เป็นที่คาดการณ์กันไว้ว่าอะมิกาซินสามารถถูกทำให้หมดฤทธิ์ได้โดยยาอื่นในกลุ่มแบตาแลคแตม แต่ยาอื่นในกลุ่มนี้กลับไม่ได้รับผลดังกล่าวจากยาในกลุ่มแบตาแลคแตม และยังมีการใช้ร่วมกับเพนิซิลลินอยู่บ่อยครั้ง เพื่อเสริมฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย รวมไปถึงการใช้ร่วมกับคาร์บาพีเนมเพื่อเสริมฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกบางสายพันธุ์ ส่วนเซฟาโลสปอรินซึ่งเป็นอีกกลุ่มย่อยหนึ่งกลุ่มแบตาแลคแตม สามารถเพิ่มความเป็นพิษต่อไตของยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ได้ รวมถึงการเพิ่มขึ้นของระดับครีอะตินีนในกระแสเลือดได้ ส่วนยาปฏิชีวนะอื่นอย่างคลอแรมเฟนิคอล, คลินดามัยซิน, และเตตราไซคลีน นั้นจะมีผลทำให้ยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์หมดฤทธิ์ไป โดยการออกฤทธิ์ต้านกันทางเภสัชวิทยา[4]

ทั้งนี้ ฤทธิ์ของอะมิกาซินจะเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับยาที่ได้มากจากชีวพิษโบทูลินัม,[14] ยาชา, ยาหย่อนกล้ามเนื้อ, หรือการได้รับเลือดที่มีส่วนผสมของซิเตรทในขนาดสูง ซึ่งนิยมใช้เป็นสารที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด[4]

นอกจากนี้ ยาขับปัสสาวะที่ออกฤทธิ์ซึ่งโดยปกติก็อาจทำให้เกิดพิษต่อหูได้โดยปกติอยู่แล้ว หากนำมาใช้ร่วมกับอะมิกาซินจะทำให้ระดับความเข้มข้นของอะมิกาซินในเลือดและเนื้อเยื่อเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกิดการเป็นพิษต่อหูมากยิ่งขึ้น[4] นอกจากนั้น ควินิดีนก็เป็นยาอีกชนิดหนึ่งที่สามารถเพิ่มความเข้มข้นของอะมิกาซินในร่างกายได้[14] ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์บางชนิดอย่าง อินโดเมตทาซิน สามารถเพิ่มความเข้มข้นของยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ในกระแสเลือดของทารกที่คลอดก่อนกำหนดได้[4] สารทึบรังสีอย่างอิโอเวอร์ซอล สามารถเพิ่มความเป็นพิษต่อไตและหูของอะมิกาซินได้[14] ในทางตรงกันข้าม อะมิกาซินสามารถลดผลของวัคซีนบางชนิดได้ เช่น วัคซีนบาซิลลัสกาลแม็ต-เกแร็ง (สำหรับวัณโรค), วัคซีนอหิวาตกโรค, และวัคซีนไทฟอยด์ โดยการต้านฤทธิ์กันทางเภสัชวิทยา[14]

เภสัชวิทยา

[แก้]

กลไกการออกฤทธิ์

[แก้]
หน่วยย่อย 30 เอสของไรโบโซมของเซลล์โพรคาริโอต โดยส่วนสีส้มแสดงถึงหน่วยย่อย 16 เอส ส่วนที่น้ำเงินแสดงกลุ่มของโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของ 30 เอสไรโบโซม

อะมิกาซินออกฤทธิ์จับกับหน่วยย่อย 16 เอสของหน่วยย่อย 30 เอสของไรโบโซมในเซลล์โพรคาริโอตแบบไม่ผันกลับ และยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนโดยการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของไรโบโซม ทำให้ไม่สามารถอ่านรหัสพันธุกรรมของเอ็มอาร์เอ็นเอได้อย่างถูกต้องได้[11][25] นอกจากนี้ยังแทรกแซงบริเวณที่มีปฏิกิริยาการจับคู่เบสแบบวอบเบิลของแอนไทโคดอนของ tRNA[26] โดยประสิทธิภาพของอะมิกาซินนั้นขึ้นอยู่กับความเข้มข้น (concentration-dependent antibiotic) และทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นด่าง[3]

โดยปกติแล้ว การรักษาโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ไวต่ออะมิกาซินด้วยยานี้จะตอบสนองต่อการรักษาภายใน 24–48 ชั่วโมง[11]

การดื้อยา

[แก้]

อะมิกาซินไม่สามารถถูกทำลายได้ด้วยเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ยับยั้งการออกฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะ (antibiotic-inactivating enzyme) ได้เกือบทุกชนิด ซึ่งเป็นกลไกที่ทำให้แบคทีเรียเกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ยกเว้นเอนไซม์อะมิโนอะซีติลทรานส์เฟอเรส (aminoacetyltransferase) และนิวคลีโอไทด์ทรานส์เฟอเรส (nucleotidyltransferase)[27] ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่อะมิกาซินมี L-hydroxyaminobuteroyl amide (L-HABA) moiety ที่จับอยู่กับอะตอมไนโตรเจนในตำแหน่งที่ 1 (N-1) ซึ่งตำแหน่งนี้ในกานามัยซินจะเป็นแค่อะตอมไฮโดรเจนธรรมดา ซึ่งส่วนของโมเลกุลส่วนนี้จะช่วยขัดขวางการเข้าทำปฏิกิริยาและลดความสามารถในการเข้าจับของเอนไซม์จากแบคทีเรียที่ทำหน้าที่ทำลายยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์[27][28][29] ทั้งนี้ อะมิกาซินนั้นมีตำแหน่งในโมเลกุลเพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้นที่เอนไซม์จากแบคทีเรียสามารถเข้าทำปฏิกิริยาเพื่อหมดฤทธิ์ได้ ขณะที่เจนตามัยซินและโทบรามัยซินนั้นมีมากถึง 6 ตำแหน่ง[13] ทั้งนี้ เชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อสเตรปโตมัยซินและคาพรีโอไมซินนั้นจะยังคงมีความไวต่ออะมิกาซินอยู่ ส่วนเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อกานามัยซินจะมีบางส่วนที่ยังคงตอบสนองต่ออะมิกาซิน ในทางตรงกันข้าม หากเชื้อใดที่ดื้อต่ออะมิกาซินนั้นมักจะดื้อต่อกานามัยซินและคาพรีโอไมซินด้วยเช่นกัน[30]

การดื้อต่อยาอะมิกาซินและกานามัยซินของไมโคแบคทีเรียซึ่งเป็นเสื้อสาเหตุในวัณโรคนั้น เป็นผลมาจากการกลายพันธุ์ของยีน rrs ซึ่งอยู่บนหน่วยย่อย 16 เอสของไรโบโซม การกลายพันธุ์นี้จะทำให้อะมิกาซินและกานามัยซินมีลดความจำเพาะต่อการจับกับไรโบโซมของแบคทีเรียลดน้อยลง[31] มีเอนไซม์ aminoglycoside acetyltransferase (AAC) และ aminoglycoside adenylyltransferase (AAD) หลากหลายชนิดที่ทำให้เชื้อแบคทีเรียดื้อต่อยาเหล่านี้ อาทิ การดื้อต่อยาของเชื้อ Pseudomonas aeruginosa มีสาเหตุมาจากการสร้างเอนไซม์ AAC (6') -IV ซึ่งส่งผลให้เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ดื้อต่อกานามัยซิน, เจนตามัยซิน, และโทบรามัยซิน, กรณีการดื้อยาในเชื้อ Staphylococcus aureus และ S. epidermidis มาสาเหตุมาจากการสร้างเอนไซม์ AAD (4',4) ส่งผลให้เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ดื้อต่อกานามัยซิน, โทบรามัยซิน, และอาปรามัยซิน[28] และในบางครั้ง S. aureus ก็สมารถทำให้อะมิกาซินหมดฤทธิ์ได้ด้วยการเกิดปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชัน[15]

เภสัชจลนศาสตร์

[แก้]

อะมิกาซินไม่สามารถดูดซึมได้จากทางเดินอาหาร ดังนั้นการบริหารยาจึงจำเป็นต้องใช้วิธีการฉีด โดยหลังการบริหารยาโดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ระดับความเข้มข้นของยาในกระแสเลือดจะขึ้นถึงระดับสูงสุดใน 0.5–2 ชั่วโมง โดยร้อยละ 11 ของตัวยาทั้งหมดจะเข้าจับกับโปรตีนในกระแสเลือด ส่วนยาที่เหลือจะกระจายไปยังหัวใจ, ถุงน้ำดี, ปอด, และกระดูก รวมไปถึงในน้ำดี, เสมหะ, ของเหลวระหว่างเซลล์, ของเหลวในช่องเยื่อหุ้มปอด, และน้ำไขข้อ ส่วนในน้ำหล่อสมองไขสันหลังพบว่ามีความเข้มข้นของยานี้น้อยมาก (แต่ในกรณีการฉีดเข้าโพรงสมองจะมีความเข้มข้นสูง)[4] ในทารก พบว่าความเข้มข้นของอะมิกาซินในน้ำหล่อสมองไขสันหลังจะมีค่าประมาณร้อยละ 10–20 ของความเข้มข้นในกระแสเลือด ในแต่กรณีที่มีภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบร่วมด้วย ความเข้มข้นของยานี้ในน้ำหล่อสมองไขสันหลังอาจสูงถึงร้อยละ 50 ของความเข้มข้นในกระแสเลือด,[11] ทั้งนี้ อะมิกาซินนั้นแพร่ผ่านตัวกรองกั้นระหว่างเลือดและสมอง (blood-brain barrier) และผ่านเข้าสู่เนื้อเยื่อของดวงตาได้น้อยมาก[3]

ส่วนการขับยาออกจากร่างกายนั้น พบว่าอะมิกาซินมีค่าครึ่งชีวิตประมาณ 2 ชั่วโมงในคนปกติ และประมาณ 50 ชั่วโมงในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย[13] โดยร้อยละ 95 ของยานี้ที่ให้ในรูปแบบการฉีดเข้าหลอดเลือดดำและการฉีดเข้ากล้ามเนื้อจะถูกขับออกในรูปที่ไม่เปลี่ยนแปลงผ่านการกรองของไต แล้วออกมากับปัสสาวะภายใน 24 ชั่วโมง[4][13] ปัจจัยที่ทำให้อะมิกาซินถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ได้แก่ การมีมวลโมเลกุลขนาดเล็ก, ละลายน้ำได้ดี, และอยู่ในสถานะที่ไม่ถูกเปลี่ยนรูป.[20]

เภสัชเคมี

[แก้]

อะมิกาซินสามารถสังเคราะห์ได้จากกานามัยซิย เอ ดังแสดงในแผนภาพ:[32][33]

The synthesis of amikacin
The synthesis of amikacin

การใช้ในการปศุสัตว์

[แก้]

อะมิกาซินเป็นยาปฏิชีวนะเพียงชนิดเดียวในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ที่ได้รับการรับรองจากองค์การและยาของสหรัฐอเมริกาให้ใช้ในสุนัขและการติดเชื้อแบคทีเรียในมดลูกของม้า ทำให้อะมิกาซินเป็นยาปฏิชีวนะที่นิยมใช้กันเป็นอย่างมากในการสัตวแพทย์[34] นอกจากนี้ยังมีการใช้ยานี้ในแมว, หนูตะเภา, ชินชิล่า, แฮมสเตอร์, หนูแรท, หนูไมซ์, แพรรีด็อก, วัว, นก, งู, เต่าและเต่าบก, สัตว์ในอันดับจระเข้, กบอเมริกันบูลฟร็อก, และปลา[3][35][36] นอกจากนี้ยังมีการใช้อะมิกาซินในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินหายใจของงู, bacterial shell disease ในเต่า, และโพรงอากาศอักเสบในมาคอว์ แต่ห้ามใช้ในกระต่ายและกระต่ายแจ็ก เนื่องจากจะทำให้เกิดความผิดปกติของเชื้อจุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ของสัตว์เหล่านี้[3]

สำหรับสุนัขและแมวนั้น มีการใช้อะมิกาซินในรูปแบบยาใช้ภายนอกสำหรับการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณหูและกระจกตาเป็นแผลกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากความเจ็บป่วยเหล่านั้นมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ Pseudomonas aeruginosa โดยจำเป็นต้องมีการทำความสะอาดบริเวณหูก่อนที่จะมีการบริหารยา เนื่องจากหนองและเศษซากของเซลล์ที่ตายแล้วนั้นจะทำให้ได้รับผลการรักษาจากอะมิกาซินน้อยลง[34] ในกรณีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ตาของสัตว์เหล่านี้นั้น จะใช้อะมิกาซินในรูปแบบยาขี้ผึ้ง หรือยาหยอด หรือการฉีดเข้าใต้เยื่อบุตา (Subconjunctival injection)[37] ทั้งนี้ การใช้อะมิกาซินสำหรับดวงตานั้นสามารถทดแทนได้ด้วยเซฟาโซลิน เนื่องจากอะมิกาซิน (รวมถึงยาอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์) นั้นเป็นพิษต่ออวัยวะในดวงตา[38]

การใช้อะมิกาซินในม้านั้น องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้รับรองให้ใช้ยานี้สำหรับการติดเชื้อแบคทีเรียในมดลูก (เช่น โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ และมดลูกอักเสบ) ในกรณีที่เชื้อสาเหตุยังมีความไวต่อยานี้เท่านั้น[39] นอกจากนี้ยังมีการใช้ยานี้ในรูปแบบยาใช้ภายนอกหรือยาใช้เฉพาะที่สำหรับการติดเชื้อแบคทีเรียที่ดวงตาและการส่องกล้องล้างข้อ (arthroscopic lavage) และอาจมีการใช้ร่วมกับยากลุ่มเซฟาโลสปอรินในการรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียสกุลสแตฟฟิโลคอคคัส ในกรณีการติดเชื้อที่แขนขา หรือข้อ มักมีการใช้อะมิกาซินร่วมกับยากลุ่มเซฟาโลสปอรินในรูปแบบการฉีดเข้าบริเวณที่มีการติดเชื้อโดยตรง[34][40] นอกจากนี้แล้ว ยังมีการใช้อะมิกาซินฉีดเข้าสู่ข้อพร้อมกับยาต้านการอักเสบของข้อที่มีชื่อว่า พอลีซัลเฟต ไกลโคซามิโนไกลแคน (Polysulfated glycosaminoglycan – ชื่อการค้า คือ Adequan) เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน[41]

อาการไม่พึงประสงค์จากอะมิกาซินที่อาจเกิดขึ้นได้กับสัตว์ ได้แก่ การเกิดพิษต่อไต, การเกิดพิษต่อหู, และเกิดปฏิกิริยาการแพ้บริเวณที่ฉีด เป็นต้น โดยในแมวจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดพิษต่อระบบการทรงตัวเป็นอย่างมาก อาการไม่พึงประสงค์อื่นที่อาจเกิดขึ้นได้บ้าง ได้แก่ กล้ามเนื้ออ่อนแรง, ภาวะบวมน้ำที่หน้า, และปลายประสาทอักเสบ[3][34] ทั้งนี้ ค่าครึ่งชีวิตของอะมิกาซินในสัตว์นั้นมีค่าประมาณ 1–2 ชั่วโมง[42]

การรักษาในกรณีที่ได้รับยานี้เกินขนาดสามารถทำได้โดยการชำระเลือดผ่านเยื่อ หรือการชำระทางช่องท้อง ซึ่งจะช่วยลดระดับความเข้มข้นของอะมิกาซิน และ/หรือเพนิซิลลิน ซึ่งเพนิซิลลินบางส่วนจะจับกับอะมิกาซินเป็นสารประกอบเชิงซ้อนและทำให้อะมิกาซินไม่สามารถออกฤทธิ์ได้[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Amikacin Use During Pregnancy". Drugs.com. 2 December 2019. สืบค้นเมื่อ 13 March 2020.
  2. "Amikacin 250 mg/ml Injection - Summary of Product Characteristics (SmPC)". (emc). 16 September 2015. สืบค้นเมื่อ 13 March 2020.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ plumb
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 4.12 4.13 4.14 4.15 4.16 4.17 4.18 4.19 4.20 4.21 4.22 4.23 4.24 4.25 4.26 "Amikacin Sulfate". The American Society of Health-System Pharmacists. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 ธันวาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2016.
  5. World Health Organization (2009). Stuart MC, Kouimtzi M, Hill SR (บ.ก.). WHO Model Formulary 2008. World Health Organization. p. 137. hdl:10665/44053. ISBN 978-92-4-154765-9.
  6. Fischer, Janos; Ganellin, C. Robin (2006). Analogue-based Drug Discovery. John Wiley & Sons. p. 507. ISBN 978-3-527-60749-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 ธันวาคม 2016.
  7. Oxford Handbook of Infectious Diseases and Microbiology. OUP Oxford. 2009. p. 56. ISBN 978-0-19-103962-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2015.
  8. "WHO Model List of Essential Medicines (19th List)" (PDF). World Health Organization. เมษายน 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 ธันวาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2016.
  9. "Amikacin Sulfate". International Drug Price Indicator Guide (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กันยายน 2022. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2016.
  10. Hamilton, Richart (2015). Tarascon Pocket Pharmacopoeia 2015 Deluxe Lab-Coat Edition. Jones & Bartlett Learning. p. 35. ISBN 978-1-284-05756-0.
  11. 11.00 11.01 11.02 11.03 11.04 11.05 11.06 11.07 11.08 11.09 11.10 11.11 11.12 US National Library of Medicine (17 สิงหาคม 2016). "AMIKACIN SULFATE- amikacin sulfate injection". DailyMed. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2017.
  12. Scholar, Eric M.; Pratt, William B. (22 พฤษภาคม 2000). The Antimicrobial Drugs (2nd ed.). Oxford University Press, USA. pp. 15–19. ISBN 978-0-19-975971-2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กันยายน 2017.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 Cunha, Burke A. (1 พฤศจิกายน 2006). "New Uses for Older Antibiotics: Nitrofurantoin, Amikacin, Colistin, Polymyxin B, Doxycycline, and Minocycline Revisited". Medical Clinics of North America. Antimicrobial Therapy. 90 (6): 1089–1107. doi:10.1016/j.mcna.2006.07.006. ISSN 0025-7125.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 14.6 "amikacin (Rx)". Medscape. WebMD. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2017.
  15. 15.0 15.1 Aronson J. K., บ.ก. (2016). "Amikacin". Meyler's Side Effects of Drugs (16th ed.). Oxford: Elsevier. pp. 207–209. ISBN 978-0-444-53716-4.
  16. Vardanyan, Ruben; Hruby, Victor (2016). "Chapter 32: Antimicobacterial Drugs". Synthesis of Best-Seller Drugs. Boston: Academic Press. pp. 669–675. ISBN 978-0-12-411492-0.
  17. "Randomized, open-label, active-controlled, multicenter study to assess the efficacy, safety and tolerability of Arikace™ in Cystic Fibrosis patients with chronic infection due to Pseudomonas aeruginosa". EU Clinical Trials Register. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มีนาคม 2016.
  18. "Study to Evaluate Arikayce™ in CF Patients With Chronic Pseudomonas Aeruginosa Infections". ClinicalTrials.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 สิงหาคม 2017.
  19. "Arikayce for Nontuberculous Mycobacteria". ClinicalTrials.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 สิงหาคม 2017.
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 Ettinger, Stephen J.; Feldman, Edward C. (24 ธันวาคม 2009). Textbook of Veterinary Internal Medicine. Elsevier Health Sciences. pp. 1976, 523. ISBN 978-1-4377-0282-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กันยายน 2017.
  21. Maire, P.; Bourguignon, L.; Goutelle, S.; Ducher, M.; Jelliffe, R. (2017). "Chapter 20 - Individualizing Drug Therapy in the Elderly". Individualized Drug Therapy for Patients. Boston: Academic Press. pp. 373–382. ISBN 978-0-12-803348-7.
  22. Eghianruwa, Kingsley (2014). Essential Drug Data for Rational Therapy in Veterinary Practice. Author House. p. 16. ISBN 978-1-4918-0000-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กันยายน 2017.
  23. 23.0 23.1 Morris, Daniel O.; Kennis, Robert A. (11 ตุลาคม 2012). Clinical Dermatology, An Issue of Veterinary Clinics: Small Animal Practice, E-Book. Elsevier Health Sciences. p. 29. ISBN 978-1-4557-7377-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กันยายน 2017.
  24. 24.0 24.1 24.2 Corti, Natascia; Taegtmeyer, Anne; Imhof, Alexander (1 มกราคม 2011). "Miscellaneous antibacterial drugs". Side Effects of Drugs Annual. A worldwide yearly survey of new data in adverse drug reactions. 33: 509–540. doi:10.1016/B978-0-444-53741-6.00026-X. ISBN 978-0-444-53741-6. ISSN 0378-6080.
  25. Bauman, Robert W. (2015). Microbiology: with diseases by body system (4th ed.). Boston: Pearson. ISBN 978-0-321-91855-0.
  26. "Amikacin". DrugBank. 2 สิงหาคม 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2017.
  27. 27.0 27.1 Mudd, Efrain (7 สิงหาคม 2017). "O Aminoglycosides". Pharmacological Sciences. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2017.
  28. 28.0 28.1 Kondo, Shinichi; Hotta, Kunimoto (1 มกราคม 1999). "Semisynthetic aminoglycoside antibiotics: Development and enzymatic modifications". Journal of Infection and Chemotherapy. 5 (1): 1–9. doi:10.1007/s101560050001. ISSN 1341-321X. PMID 11810483.
  29. Park, Je Won; Ban, Yeon Hee; Nam, Sang-Jip; Cha, Sun-Shin; Yoon, Yeo Joon (1 ธันวาคม 2017). "Biosynthetic pathways of aminoglycosides and their engineering". Current Opinion in Biotechnology. Chemical biotechnology: Pharmaceutical biotechnology. 48: 33–41. doi:10.1016/j.copbio.2017.03.019. ISSN 0958-1669. PMID 28365471.
  30. Caminero, José A; Sotgiu, Giovanni; Zumla, Alimuddin; Migliori, Giovanni Battista (1 กันยายน 2010). "Best drug treatment for multidrug-resistant and extensively drug-resistant tuberculosis". The Lancet Infectious Diseases. 10 (9): 621–629. doi:10.1016/S1473-3099(10)70139-0. ISSN 1473-3099. PMID 20797644.
  31. Ahmad, Suhail; Mokaddas, Eiman (1 มีนาคม 2014). "Current status and future trends in the diagnosis and treatment of drug-susceptible and multidrug-resistant tuberculosis". Journal of Infection and Public Health. 7 (2): 75–91. doi:10.1016/j.jiph.2013.09.001. ISSN 1876-0341. PMID 24216518.
  32. Kawaguchi, H.; Naito, T.; Nakagawa, S.; Fujisawa, K. I. (ธันวาคม 1972). "BB-K 8, a new semisynthetic aminoglycoside antibiotic". The Journal of Antibiotics. 25 (12): 695–708. doi:10.7164/antibiotics.25.695. ISSN 0021-8820. PMID 4568692. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 สิงหาคม 2017.
  33. Monteleone, Peter M.; Muhammad, Naseem; Brown, Robert D.; McGrory, John P.; Hanna, Samir A. (1 มกราคม 1983). Amikacin Sulfate. Analytical Profiles of Drug Substances. Vol. 12. pp. 37–71. doi:10.1016/S0099-5428(08)60163-X. ISBN 978-0-12-260812-4. ISSN 0099-5428.
  34. 34.0 34.1 34.2 34.3 Forney, Barbara. "Amikacin for Veterinary Use". Wedgewood Pharmacy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2017.
  35. Riviere, Jim E.; Papich, Mark G. (13 พฤษภาคม 2013). Veterinary Pharmacology and Therapeutics. John Wiley & Sons. p. 931. ISBN 978-1-118-68590-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กันยายน 2017.
  36. Mader, Douglas R.; Divers, Stephen J. (12 ธันวาคม 2013). Current Therapy in Reptile Medicine and Surgery - E-Book. Elsevier Health Sciences. p. 382. ISBN 978-0-323-24293-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กันยายน 2017.
  37. Maggs, David; Miller, Paul; Ofri, Ron (7 สิงหาคม 2013). Slatter's Fundamentals of Veterinary Ophthalmology - E-Book. Elsevier Health Sciences. p. 37. ISBN 978-0-323-24196-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กันยายน 2017.
  38. Hsu, Walter H. (25 เมษายน 2013). Handbook of Veterinary Pharmacology. John Wiley & Sons. p. 486. ISBN 978-1-118-71416-4.
  39. US National Library of Medicine (9 มีนาคม 2017). "Amiglyde-V- amikacin sulfate injection". DailyMed. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2017.
  40. Orsini, James A. (1 สิงหาคม 2017). "Update on Managing Serious Wound Infections in Horses: Wounds Involving Joints and Other Synovial Structures". Journal of Equine Veterinary Science. 55: 115–122. doi:10.1016/j.jevs.2017.01.016. ISSN 0737-0806.
  41. Wanamaker, Boyce P.; Massey, Kathy (25 มีนาคม 2014). Applied Pharmacology for Veterinary Technicians - E-Book. Elsevier Health Sciences. p. 392. ISBN 978-0-323-29170-5.
  42. Papich, Mark G. (ตุลาคม 2015). "Amikacin". Saunders Handbook of Veterinary Drugs: Small and Large Animal (4th ed.). Elsevier Health Sciences. pp. 25–27. ISBN 978-0-323-24485-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กันยายน 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • "Amikacin". Drug Information Portal. หอสมุดแห่งชาติการแพทย์สหรัฐ.
  • "Amikacin sulfate". Drug Information Portal. หอสมุดแห่งชาติการแพทย์สหรัฐ.