ยาคุมกำเนิด
การรับประทานยาคุมกำเนิด[แก้]
โดยทั่วไปแล้วยาคุมกำเนิดแบ่งออกเป็นสองประเภทหลักๆ ได้แก่
- ยามคุมกำเนิดแบบใช้ฮอร์โมนรวม โดยยาคุมชนิดนี้มีทั้งส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจนกับโปรเจสเตอโรน และมีให้เลือกหลายชนิด ตั้งแต่จำนวนเม็ด 21 ไปจนถึง 28 เม็ด ละมีทั้งยาหลอกและยาจริง โดยแนะนำให้ทานวันละ 1 เม็ด ห้ามทานขาดโดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้ฮอร์ฌมนมาไม่สม่ำเสมอ และบางชนิดเมื่อทานครบแล้วต้องหยุดทานไป 7 วัน โดยสามารถปรึกษาเภสัชกรเพื่อเลือกใช้ยาที่ตรงกับระบบร่างกาย ฮอรโมน หรือจุดประสงค์ในการทานยาคุมของตนเองได้
- ยาคุมกำเนินที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนตัวเดียว คือ โปรเจสเทอโรน โดยแนะนำสำหรับผู้หญิงหลังคลอดที่ต้องการน้ำนม
ยาคุมกำเนินทุกชนิดล้วนมีผลข้างเคียงและข้อควรระวังก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ เพราะฤทธิ์ยาไม่ได้ใช้เพียงแค่การคุมกำเนิดอย่างเดียว แต่ยังสามารถใช้รักษาฮอร์โมนเพศชายที่สูงผิดปกติ และรักษาภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ อย่างไรก็ตามควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนทานยาทุกชนิด โดยเฉพาะผู้ที่มีกรรมพันธุ์โรคประจำตัวบางชนิด และควรศึกษาผลข้างเคียงหลังรับประทานยาคุม เช่น สิวขึ้น น้ำหนักขึ้น คลื่นไส้อาเจียน เนื่องจากเป็นการรับปริมาณฮอร์โมนเสริมที่ร่างกายไม่ทันตั้งตัว จึงแนะนำให้ทานยาคุมก่อนเข้านอนเพื่อลดผลกระทบให้มากที่สุด[1]
ยาคุมกำเนิดหรือการคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน เป็นยาที่ใช้เพื่อยับยั้งหรือป้องกันการตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์
ดูเพิ่ม[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับเภสัชกรรมและยานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เภสัชกรรม |
- ↑ Benjawan (2022-10-29). "สรรพคุณยาคุมกำเนิด รู้ก่อนทาน แบบไหนถึงได้ผล ไม่ทำร้ายสุขภาพ". TheFamilyShed.