ข้ามไปเนื้อหา

แฮมสเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แฮมสเตอร์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: กลางยุคไมโอซีน - ปัจจุบัน
แฮมสเตอร์ซีเรียน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ไฟลัมย่อย: Vertebrata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Rodentia
อันดับย่อย: Myomorpha
วงศ์ใหญ่: Muroidea
วงศ์: Cricetidae
วงศ์ย่อย: Cricetinae
Fischer de Waldheim, 1817
Genera

Mesocricetus
Phodopus
Cricetus
Cricetulus
Allocricetulus
Cansumys
Tscherskia

แฮมสเตอร์ (อังกฤษ: hamster) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Cricetinae ในวงศ์ Cricetidae มีหลากหลายสกุล หลายชนิด

ลักษณะทั่วไป

[แก้]

ลักษณะโดยทั่วไปของแฮมสเตอร์ ขนาดตัวจะมีขนาดเล็ก อ้วนป้อม และมีหางสั้นกว่าลำตัว และมีขนาดเล็ก อย่างเห็นได้ชัด สีขนมีหลายสี เช่น ดำ, เทา, ขาว, น้ำตาล, เหลืองเข้ม, เหลือง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิดที่แตกต่างกันออกไป ส่วนสีขนด้านใต้ท้องจะเป็นสีขาว มีตาดวงกลมโตสีดำหรือแดง และจมูกที่ไวต่อการได้กลิ่นหอม

การค้นพบและที่มา

[แก้]

แฮมสเตอร์เป็นสัตว์ที่กระจายพันธุ์ในทะเลทรายของภูมิภาคตะวันออกกลาง เอเชียกลาง จนถึงเอเชียตะวันออก ค้นพบครั้งแรกในศตวรรษที่ 19 กลางทะเลทรายซีเรียน และนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1930 ที่สหรัฐ

คำว่า "แฮมสเตอร์" (hamster) นั้นที่มาจากภาษาเยอรมัน แปลว่า "กระพุ้งแก้ม" เนื่องจากแฮมสเตอร์นั้นมีกระพุ้งแก้มที่ใช้สำหรับเก็บอาหารได้มาก เทียบเท่ากับมนุษย์หนึ่งคนที่เก็บอาหารที่มีน้ำหนักถึง 70 ปอนด์ ไว้ในกระพุ้งแก้ม[1]

สัตว์เลี้ยงและวัฒนธรรมร่วมสมัย

[แก้]

ปัจจุบัน แฮมสเตอร์และแฮมสเตอร์แคระเป็นที่นิยมอย่างมากในการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงไปทั่วโลก แฮมสเตอร์สามารถกินอาหารได้หลากหลาย โดยเฉพาะเมล็ดพืช เช่น เมล็ดดอกทานตะวัน เป็นต้น แฮมสเตอร์เป็นสัตว์ที่ชอบออกกำลังกายมาก ในแต่ละวัน ผู้เลี้ยงอาจจะหาลูกบอลกลมหรือกงล้อให้วิ่ง ซึ่งในแต่ละคืน แฮมสเตอร์สามารถวิ่งได้ไกลถึง 30 ไมล์ แฮมสเตอร์เป็นสัตว์ที่แพร่พันธุ์ได้เร็วมาก ตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้เพียง 2 เดือนครึ่ง-3 เดือนเท่านั้น แต่ไม่สามารถที่จะผสมพันธุ์ขณะที่ลูกยังไม่อย่านมจะทำให้แม่แฮมสเตอร์นั้นเหนื่อยและไม่ส่งผลดีต่อร่างกายควรจะเว้นไว้สัก 2-3 เดือนเพื่อให้แม่แฮมสเตอร์ได้พักผ่อน[1]

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย แฮมสเตอร์ถูกสร้างเป็นอนิเมะสัญชาติญี่ปุ่นเรื่อง Hamtaro (แฮมทาโร่ แก๊งจิ๋วผจญภัย) ซึ่งเคยถูกนำมาออกอากาศในประเทศไทยทางช่อง 7 ในเวลา 06.00 น. ของวันเสาร์[2]

การจำแนก

[แก้]
แฮมสเตอร์ในฐานะสัตว์เลี้ยง
แฮมสเตอร์แคระวิ่งในจานล้อ
  • วงศ์ย่อย Cricetinae
    • สกุล Allocricetulus
      • A. curtatus - แฮมสเตอร์มองโกเลีย
      • A. eversmanni - แฮมสเตอร์คาซัค
    • สกุล Cansumys
      • C. canus - แฮมสเตอร์กานซู
    • สกุล Cricetulus
      • C. alticola - แฮมเตอร์เลเด็ก
      • C. barabensis, รวมถึง "C. pseudogriseus" และ "C. obscurus" - แฮมสเตอร์แคระลายแถบจีน, แฮมสเตอร์จีน
      • C. griseus - แฮมสเตอร์จีน
      • C. kamensis - แฮมสเตอร์ธิเบต
      • C. longicaudatus - แฮมสเตอร์หางยาว
      • C. migratorius - แฮมสเตอร์อาร์เมเนียน, แฮมสเตอร์แคระสีเทา, แฮมสเตอร์สีเทา
      • C. sokolovi - แฮมสเตอร์โซโคลอฟ
    • สกุล Cricetus
      • C. cricetus - แฮมสเตอร์ยุโรป, แฮมสเตอร์ธรรมดา
    • สกุล Mesocricetus - แฮมสเตอร์สีทอง
      • M. auratus - แฮมสเตอร์ซีเรียน, แฮมสเตอร์สีทอง, แฮมสเตอร์เท็ดดี้แบร์
      • M. brandti - แฮมสเตอร์ตุรกี, แฮมสเตอร์อาร์เซอร์ไบจัน
      • M. newtoni - แฮมสเตอร์โรมาเนียน
      • M. raddei - แฮมสเตอร์ซิสคูคาเซียน
    • สกุล Phodopus - แฮมสเตอร์แคระ
      • P. campbelli - แฮมสเตอร์แคระรัสเซียนแคมป์เบลล์
      • P. roborovskii - แฮมสเตอร์มองโกเลีย (บางครั้งใช้ชื่อว่า Allocricetulus curtatus)
      • P. sungorus - แฮมสเตอร์แคระขาว
    • สกุลTscherskia
      • T. triton - แฮมสเตอร์หางยาวใหญ่, แฮมสเตอร์เกาหลี[3][4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Pets 101 : Pet Guide, สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 3 มกราคม 2556
  2. "แนะนำตัวการ์ตูน แฮมทาโร่ จากเอ็มไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-31. สืบค้นเมื่อ 2013-01-02.
  3. จาก itis.gov
  4. Fox, Sue. 2006. Hamsters. T.F.H. Publications Inc.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]