ข้ามไปเนื้อหา

อาการรู้สึกหมุน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาการรู้สึกหมุน
(Vertigo)
อาการตากระตุกแกว่งในแนวราบ อาจพบได้ในผู้ที่มีอาการรู้สึกหมุน
การออกเสียง
สาขาวิชาOtorhinolaryngology
อาการFeeling of spinning or swaying, vomiting, difficulty walking[1][2]
สาเหตุBenign paroxysmal positional vertigo (BPPV), Ménière's disease, labyrinthitis, stroke, brain tumors, brain injury, multiple sclerosis, migraine[1][2]
โรคอื่นที่คล้ายกันPresyncope, disequilibrium, non-specific dizziness[2]
ความชุก20–40% at some point[3]

อาการรู้สึกหมุน (อังกฤษ: vertigo) บ้างเรียก บ้านหมุน เป็นอาการเวียนศีรษะแบบหนึ่ง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวทั้งที่จริงๆ แล้วไม่มีการเคลื่อนไหว[4] อาการนี้เป็นผลจากความผิดปกติของระบบควบคุมการทรงตัวในหูชั้นใน อาจพบร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน ยืนหรือเดินลำบากได้ อาการรู้สึกหมุนนี้อาจแบ่งได้เป็นสามแบบ คือ แบบที่ 1 objective[5] คือผู้ป่วยรู้สึกว่าวัตถุต่างๆ หมุนรอบตัวเอง แบบที่ 2 subjective[6] คือผู้ป่วยรู้สึกว่าตัวเองกำลังมีอาการเคลื่อนไหว และแบบที่ 3 pseudovertigo (อาการรู้สึกหมุนเทียม)[7] คือรู้สึกว่ามีการหมุนอยู่ข้างในศีรษะ

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการรู้สึกหมุนคืออาการหมุนเป็นระยะสัมพันธ์กับการเปลี่ยนท่าชนิดไม่ร้าย การกระทบกระเทือนที่ศีรษะ และไมเกรนของระบบควบคุมการทรงตัว สาเหตุอื่นๆ ที่พบไม่บ่อยเท่าเช่นโรคเมนิแยร์ และเส้นประสาทควบคุมการทรงตัวอักเสบ เป็นต้น[4] การดื่มสุราก็สามารถทำให้มีอาการรู้สึกหมุนได้ การหมุนตัวหลายๆ รอบ เช่นการละเล่นของเด็ก ก็สามารถทำให้เกิดอาการรู้สึกหมุนชั่วคราวได้จากการที่ของเหลวในหูชั้นในยังคงมีการเคลื่อนไหว ("กระฉอก") จากแรงเฉื่อยจากการหมุนได้

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Post, RE; Dickerson, LM (2010). "Dizziness: a diagnostic approach". American Family Physician. 82 (4): 361–369. PMID 20704166. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-06.
  2. 2.0 2.1 2.2 Hogue, JD (June 2015). "Office Evaluation of Dizziness". Primary Care: Clinics in Office Practice. 42 (2): 249–258. doi:10.1016/j.pop.2015.01.004. PMID 25979586.
  3. von Brevern, M; Neuhauser, H (2011). "Epidemiological evidence for a link between vertigo & migraine". Journal of Vestibular Research. 21 (6): 299–304. doi:10.3233/VES-2011-0423. PMID 22348934.
  4. 4.0 4.1 Neuhauser HK, Lempert T (November 2009). "Vertigo: epidemiologic aspects" (PDF). Seminars in Neurology. 29 (5): 473–81. doi:10.1055/s-0029-1241043. PMID 19834858. S2CID 260318174.
  5. Berkow R., บ.ก. (1992). The Merck manual of diagnostics and therapy. Rahway: Merck & Co Inc. p. 2844.
  6. Berkow R., บ.ก. (1992). The Merck manual of diagnostics and therapy. Rahway: Merck & Co Inc. p. 2844.
  7. Ropper, AH; Brown RH (2014). Adams and Victor's Principles of Neurology (tenth ed.). NY, Chicago, San Francisco. p. 303.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก