โคลโมไซคลีน
![]() | |
![]() | |
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
ชื่ออื่น | (2Z,4S,4aS,5aS,6S,12aS)-7-chloro-4-dimethylamino-6,10,11,12a-tetrahydroxy-2-[hydroxy-(hydroxymethylamino)methylidene]-6-methyl-4,4a,5,5a-tetrahydrotetracene-1,3,12-trione |
รหัส ATC | |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
DrugBank |
|
ChemSpider |
|
UNII | |
KEGG |
|
ChEMBL | |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C23H25ClN2O9 |
มวลต่อโมล | 508.905 g/mol |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
| |
![]() ![]() | |
![]() |
โคลโลโมซัยคลิน หรือ คลอร์เมคลีน (อังกฤษ: Clomocycline หรือ Chlormecline) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งในกลุ่มเตตราไซคลีน มีคุณสมบัติชอบไขมัน ทำให้ยานี้แพร่ผ่านเข้าสู่ภายในเซลล์หรือเกิดการแพร่แบบใช้พลังงานผ่านพอรินของแบคทีเรียได้โดยง่าย เมื่อเข้าสู่ภายในเซลล์ โคลโลโมซัยคลินจะเข้าไปยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียโดยเข้าจับกับหน่วยย่อย 30 เอสบนไรโบโซมแบคทีเรีย ทำให้อะมิโนเอซิลทีอาร์เอ็นเอ (amino-acyl tRNA) ไม่สามารถเข้าจำกับตำแหน่ง A-site บนไรโบโซมนั้นได้ ส่งผลให้การแปรรหัสพันธุกรรมและการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรียดังกล่าวหยุดชะงักหรือไม่สามารถเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม กระบวนการยับยั้งนี้สามารถผันกลับมาเป็นปกติได้เองโดยธรรมชาติ ทั้งนี้ มีการเรียกชื่อยานี้แตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ ได้แก่ คลอโรเตตราไซคลีน (Chlorotetracycline), อะไซคาซิลลิน (Acycacillin), ไฮดรอกซีซิทมัยซิน (hydroxycitmycin) และมีคลอเรทิน (Mechloretin) เป็นต้น
โคลโลโมซัยคลินมีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาโรคแท้งติดต่อ (Brucellosis), การติดเชื้อไมโคพลาสมา, สิวอักเสบรุนแรงจากการติดเชื้อแบคทีเรีย, การติดเชื้อคลามัยเดีย และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง[1]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Drug Bank.com (13 June, 2015). "Clomocycline". สืบค้นเมื่อ 3 March, 2018.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)
![]() |
บทความเกี่ยวกับเภสัชกรรมและยานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เภสัชกรรม |