พาโรโมมัยซิน
![]() | |
![]() | |
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
ชื่อทางการค้า | Catenulin, Aminosidine, และอื่นๆ[2] |
ชื่ออื่น | monomycin, aminosidine[3] |
AHFS/Drugs.com | Monograph |
MedlinePlus | a601098 |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ |
|
ช่องทางการรับยา | การรับประทาน, การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ, ทาภายนอก[1] |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย |
|
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | ถูกดูดซึมในทางเดินอาหารได้น้อย |
การเปลี่ยนแปลงยา | ไม่มีข้อมูล |
การขับออก | อุจจาระ |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
DrugBank |
|
ChemSpider |
|
ChEBI | |
ChEMBL | |
ECHA InfoCard | 100.028.567 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C23H47N5O18S |
มวลต่อโมล | 615.629 g/mol |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
| |
| |
![]() ![]() | |
![]() |
พาโรโมมัยซิน (อังกฤษ: Paromomycin) เป็นยาปฏิชีวนะที่ถูกใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อต่างๆ หลายชนิด เช่น โรคบิดมีตัว , โรคไกอาร์ดิเอสิส (giardiasis), โรคติดเชื้อลิชมาเนีย, และ โรคติดเชื้อพยาธฺตัวตืด (Tapeworm infection)[1] โดยพาโรโมมัยซินจัดเป็นยาทางเลือกแรกสำหรับการรักษาโรคบิดมีตัว หรือโรคไกอาร์ดิเอสิสในหญิงตั้งครรภ์[1] และเป็นยาทางเลือกรองในข้อบ่งใช้อื่นที่เหลือตามที่กล่าวข้างต้น[1] โดยพาโรมัยซินสามารถตั้งตำรับให้อยู่ได้ทั้งรูปแบบยาสำหรับรับประทาน, ยาใช้ภายนอก, หรือยาสำหรับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ[1]
อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยเมื่อได้รับยาพาโรโมมัยซินโดยการรับประทาน ได้แก่ เบื่ออาหาร, คลื่นไส้, อาเจียน, ปวดท้อง, และท้องเสีย[1] เมื่อใช้ยาในรูปแบบยาทาผิวหนัง อาจทำให้เกิดอาการคัน, แดง, และตุ่มพองได้[1] ส่วนการได้รับยาในรูปแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ อาจทำให้มีไข้, ตับทำงานผิดปกติ, หรือหูหนวกได้[1] การใช้ยานี้ในค่อนข้างปลอดภัยในหญิงที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตร[4] ทั้งนี้ พาโรมัยซินจัดเป็นยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่งในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยการยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย[1]
พาโรโมมัยซินเป็นสารที่คัดแยกได้จากเชื้อแบคทีเรีย Streptomyces krestomuceticus ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในทศวรรษที่ 1950 และได้รับการพัฒนาเรื่อยมาจนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นยาใน ค.ศ. 1960[2][4] และเป็นหนึ่งในรายการจำเป็นขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization's List of Essential Medicines) ซึ่งเป็นรายการที่องค์การอนามัยโลกเห็นว่ามีประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากที่สุดและควรมีบรรจุไว้ในรายการยาจำเป็นของระบบสุขภาพของแต่ละประเทศ[5] ปัจจุบัน พาโรโมมัยซินมีจำหน่ายในรูปแบบยาสามัญ (generic medication)[6] ในประเทศอินเดีย พาโรโมมัยซินรูปแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อมีราคาประมาณ 4.19 – 8.38 ปอนด์สเตอร์ลิงต่อการรักษาเสร็จสิ้นหนึ่งรอบ (ปี ค.ศ. 2007)[4] ส่วนในสหรัฐอเมริกา ข้อมูลในปี ค.ศ. 2015 พบว่าพาโรโมมัยซินในรูปแบบดังกล่าวมีราคาต่อรอบการรักษามากกว่า 200 ดอลลาร์สหรัฐ[6]
การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์[แก้]
พาโรโมมัยซินเป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้สำหรับการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคคริพโตสปอริดิโอซิส (cryptosporidiosis)[7] และโรคบิดมีตัว,[8] และโรคติดเชื้อแบคทีเรียอื่น เช่น โรคติดเชื้อลิชมาเนีย[9] จากการศึกษาทางคลินิกหลายการศึกษาในสหภาพโซเวียต เมื่อทศวรรษที่ 1960 พบว่า พาโรโมมัยซินมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคผิวหนังติดเชื้อลิชมาเนีย ได้เป็นอย่างดี และการศึกษาทางคลินิกในช่วงต้นทศวรรตที่ 1990 พบว่ายาดังกล่าวก็สามารถรักษาโรคติดเชื้อลิชมาเนียในอวัยวะภายในได้เช่นกัน โดยรูปแบบยาที่ใช้ในการศึกษาดังข้างต้นนั้นเป็นยาแคปซูลสำหรับรับประทานและยาสำหรับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ[3]
พาโรโมมัยซินรูปแบบครีมทาภายนอกทั้งที่มีและไม่มีส่วนผสมของเจนตามัยซินนั้นมีประสิทธิภาพดีในการรักษาโรคติดเชื้อลิชมาเนียผิวหนังและเยื่อบุ ทั้งนี้ผลดังกล่าวนั้นเป็นผลจากการศึกษาทดลองทางคลินิกในขั้นที่ 3 ที่เป็นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม, แบบอำพรางทั้งสองฝ่าย[10]
หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร[แก้]
เนื่องจากพาโรโมมัยซินถูกดูดซึมในทางเดินอาหารได้น้อยมาก[11] ผลของยานี้ต่อทารกในครรภ์จึงยังไม่อาจทราบได้แน่ชัด[12] ในกรณีหญิงที่กำลังอยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องด้วยเหตุผลเกี่ยวกับการถูกดูดซึมของยาข้างต้น ทำให้ปริมาณยาที่อาจถูกขับออกทางน้ำนมนั้นมีปริมาณที่น้อยมากเช่นกัน[13]
ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง/เอดส์[แก้]
การใช้พาโรโมมัยซินในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับเชื้อ Cryptosporidium นั้นมีหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์สนับสนุนข้อบ่งใช้นี้อยู่อย่างจำกัด มีการศึกษาขนาดเล็กไม่กี่การศึกษาที่ว่าการได้รับการรักษาด้วยพาโรโมมัยซินสามารถลดการแพร่กระจายของเชื้อในระยะติดต่อได้ (oocyst shedding)[14]
อาการไม่พึงประสงค์[แก้]
อาการไม่พึงประสงค์ทั่วไปที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับพาโรโมมัยซินซัลเฟต ได้แก่ ปวดเกร็งท้อง (abdominal cramps), ท้องเสีย, แสบร้อนกลางอก, คลื่นไส้, และอาเจียน ทั้งนี้ การใช้พาโรโมมัยซินต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียอื่นได้ โดยอาการแสดงของการมีเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียอื่นเจริญเติบโตผิดปกติ คือ เกิดแผ่นฝ้าสีขาว (white patches) ภายในบริเวณช่องปาก ส่วนอาการไม่พึงประสงค์อื่นที่เกิดขึ้นได้บ้างเล็กน้อย ได้แก่ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย, การเกิดพิษต่อไต, ลำไส้อักเสบ, การดูดซึมอาหารผิดปกติ, การเพิ่มขึ้นของอีโอซิโนฟิล, ปวดศีรษะ, หูหนวก, มีเสียงกริ่งในหู, คัน, ง่วงซึมมาก, และตับอ่อนอักเสบ[15]
อันตรกิริยา[แก้]
เนื่องจากพาโรโมมัยซินจัดเป็นยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่งในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ จึงมีอาการข้างเคียงที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ สมาชิกในยากลุ่มนี้ก่อให้เกิดพิษต่อไตและต่อหู โดยอาการข้างเคียงดังกล่าวจะพบมากขึ้นเมื่อมีการใช้ยาร่วมที่มีทำให้เกิดพิษต่อไตและหูเช่นกัน[16] เช่น การใช้พาโรโมมัยซินร่วมกับฟอสคาร์เนท จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดพิษต่อไตมากขึ้น[17] เป็นต้น นอกจากนี้ การใช้พาโรโมมัยซินร่วมกับโคลิสติน สามารถทำให้เกิดการกดการหายใจ (respiratory depression) และนำไปสู่อันตรายแก่ชีวิตได้ หากมีความจำเป็นต้องใช้ยานี้ร่วมกัน ต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษและควรติดตามการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด[17] ทั้งนี้การใช้พาโรโมมัยซินชนิดฉีดร่วมกับวัคซีนอหิวาตกโรค สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะภูมิไวเกินได้[17] ในกรณีที่ใช้ยานี้ร่วมกับยาขับปัสสาวะที่มีฤทธิ์แรงอาจส่งผลต่อการได้ยินได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาทั้งสองนี้ร่วมกัน[18] รวมไปถึงการใช้พาโรโมมัยซินร่วมกับยาซักซินิลโคลีน (Succinylcholine) อาจทำให้เกิดอันตรายที่รุนแรงกับระบบกล้ามเนื้อและประสาทได้ จึงไม่ควรรใช้ยาเหล่านี้ร่วมกัน[19]
ส่วนการเกิดอัตรกิริยากับอาหารนั้น ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานการพบการเกิดอัตรกิริยาระหว่างพาโรโมมัยซินกับอาหารใดๆ[17]
กลไกการออกฤทธิ์[แก้]
พาโรโมมัยซินเป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย ในเซลล์แบคทีเรียปกติที่ไม่มีการดื้อยานั้น พาโรโมมัยซินจะเข้าจับกับหน่วยย่อย 16 เอสของไรโบโซมแบคทีเรีย[20] พาโรโมมัยซินเป็นยาปฏิชีวนะชนิดออกฤทธิ์กว้างที่มีคุณบัติในการละลายน้ำได้ดี ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันกับคุณสมบัติของนีโอมัยซิน โดยพาโรโมมัยซินสามารถออกฤทธิ์ต่อ Escherichia coliและ Staphylococcus aureus ได้[21]
เภสัชจลนศาสตร์[แก้]
พาโรโมมัยซินถูกดูดซึมในทางเดินอาหารได้น้อยมาก แต่สำหรับในรูปแบบการฉีดเข้ากล้ามเนื้อนั้น ยานี้จะสามารถแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว โดยระดับความเข้มข้นของพาโรโมมัยซินหลังได้รับการบริหารยาจะตรวจพบได้ที่เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง[1] The invitro and invivo activities parallel those of neomycin.[22] การที่ทางเดินอาหารทำงานได้น้อยกว่าปกติ ทั้งที่เป็นผลมาจากยาอื่นหรือความผิดปกติของการทำงานของทางเดินอาหารเอง นอกจากนี้แล้ว การมีบาดแผลจะให้ยานี้ซึ่งอยู่ในรูปแบบยาใช้ภายนอกถูกดูดซึมเข้าได้มากขึ้น[23] ส่วนชีวปริมาณออกฤทธิ์ของพาโรโมมัยซินนั้น ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด[22]
พาโรโมมัยซินถูกขับออกทางอุจจาระเกือบร้อยละ 100 ในรูปที่ไม่เปลี่ยนแปลง ในกรณีที่พาโรโมมัยซินถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดนั้น ยาจะถูกขับออกทางปัสสาวะ[24]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 1.9 "Paromomycin Sulfate". The American Society of Health-System Pharmacists. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 17 November 2016. สืบค้นเมื่อ 3 December 2016. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help) - ↑ 2.0 2.1 Publishing, William Andrew (2013). Pharmaceutical Manufacturing Encyclopedia, 3rd Edition (ภาษาอังกฤษ) (3 ed.). Elsevier. p. 21p. ISBN 9780815518563. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2016-12-20. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help) - ↑ 3.0 3.1 Neal RA, Murphy AG, Olliaro P, Croft SL (1994). "Aminosidine ointments for the treatment of experimental cutaneous leishmaniasis". Transactions of the Royal Society of Tropical Medicine and Hygiene. 88 (2): 223–5. doi:10.1016/0035-9203 (94) 90307-7 Check
|doi=
value (help). PMID 8036682.CS1 maint: uses authors parameter (link) - ↑ 4.0 4.1 4.2 Davidson RN, den Boer M, Ritmeijer K (2008). "Paromomycin". Transactions of the Royal Society of Tropical Medicine and Hygiene. 103 (7): 653–60. doi:10.1016/j.trstmh.2008.09.008. PMID 18947845.CS1 maint: uses authors parameter (link)
- ↑ "WHO Model List of Essential Medicines (19th List)" (PDF). World Health Organization. April 2015. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 13 December 2016. สืบค้นเมื่อ 8 December 2016. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help) - ↑ 6.0 6.1 Hamilton, Richart (2015). Tarascon Pocket Pharmacopoeia 2015 Deluxe Lab-Coat Edition. Jones & Bartlett Learning. p. 54. ISBN 9781284057560.
- ↑ Sweetman S, บ.ก. (2002). Martindale: The Complete Drug Reference (33rd ed.). London: Pharmaceutical Press. ISBN 978-0-85369-499-1.
- ↑ paromomycin ใน พจนานุกรมศัพท์การแพทย์ดอร์แลนด์
- ↑ Sundar S, Jha TK, Thakur CP, Sinha PK, Bhattacharya SK (2007). "Injectable paromomycin for visceral leishmaniasis in India". N. Engl. J. Med. 356 (25): 2571–81. doi:10.1056/NEJMoa066536. PMID 17582067.CS1 maint: uses authors parameter (link)
- ↑ Ben Salah A, Ben Messaoud N, Guedri E, Zaatour A, Ben Alaya N, Bettaieb J, Gharbi A, Belhadj Hamida N และคณะ (2013). "Topical Paromomycin with or without Gentamicin for Cutaneous Leishmaniasis". N. Engl. J. Med. 368 (6): 524–32. doi:10.1056/NEJMoa1202657. PMID 23388004. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2014-04-27. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help); Explicit use of et al. in:|authors=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (link) - ↑ Sweet, Richard L.; Gibbs, Ronald S. (2009). Infectious Diseases of the Female Genital Tract (ภาษาอังกฤษ). Lippincott Williams & Wilkins. p. 364. ISBN 9780781778152. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2016-11-07. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help) - ↑ Handbook of Antimicrobial Therapy. New Rochelle, New York: The Medical Letter Inc. 2015. p. 468. ISBN 978-0-9815278-8-8.
- ↑ "Paromomycin Use During Pregnancy". Drugs.com. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2016-11-10. สืบค้นเมื่อ 2016-11-10. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help) - ↑ Mandell, Douglas, and Bennett (2015). Principles and Practice of Infectious Diseases. Philadelphia, PA: Elsevier Saunders. p. 3181. ISBN 978-1-4557-4801-3.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
- ↑ "paromomycin oral : Uses, Side Effects, Interactions, Pictures, Warnings & Dosing - WebMD". WebMD (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2016-11-10. สืบค้นเมื่อ 2016-11-10. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help) - ↑ Principles and Practice of Infectious Diseases: Edition 8. ISBN 978-1455748013.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 17.3 "Micromedex". www.micromedexsolutions.com. Missing or empty
|url=
(help);|access-date=
requires|url=
(help) - ↑ Grayson, M. Lindsay, บ.ก. (2012). Kucers' the use of antibiotics a clinical review of antibacterial, antifungal, antiparasitic and antiviral drugs (6th ed.). Boca Raton, FL: CRC Press. p. 2144. ISBN 9781444147520. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2017-09-08. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help) - ↑ Drug Therapy in Nursing. Lippincott Williams & Wilkins. 2009. ISBN 978-1605472706.
- ↑ Vicens Q, Westhof E (2001). "Crystal Structure of Paromomycin Docked into the Eubacterial Ribosomal Decoding A Site". Structure. 9 (8): 647–58. doi:10.1016/S0969-2126 (01) 00629-3 Check
|doi=
value (help). PMID 11587639.CS1 maint: uses authors parameter (link) - ↑ "Paromomycin" (PDF). Toku-E. 2010-01-12. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม (pdf) เมื่อ 2014-04-26. สืบค้นเมื่อ 2012-06-11. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help) - ↑ 22.0 22.1 DrugBank, บ.ก. (2016-08-17). "Paromomycin". DrugBank. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2016-11-10. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help) - ↑ Caraco Pharmaceutical Laboratories. Paromomycin sulfate capsules, USP prescribing information. Detroit, MI; 1997 Mar.
- ↑ Product Information: Humatin (R), paromomycin sulfate capsules. Parke-Davis, Division of Warner-Lambert Company, Morris Plains, NJ, 1999
|
|