เอเชียนคัพ 2023

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอเชียนคัพ 2023
รายละเอียดการแข่งขัน
ประเทศเจ้าภาพประเทศกาตาร์ กาตาร์
วันที่12 มกราคม – 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024[1]
ทีม24
2019
2027

เอเชียนคัพ 2023 (อังกฤษ: 2023 AFC Asian Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลชายชิงแชมป์เอเชีย (เอเชียนคัพ) ครั้งที่ 18 ภายใต้การควบคุมของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย โดยกาตาร์ ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันแทนสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ได้ถอนตัวจากการเป็นเจ้าภาพเนื่องจากการการระบาดทั่วของโควิด-19 และนโยบายโควิดเป็นศูนย์ภายในประเทศ[2] กำหนดจัดการแข่งขันประมาณต้นปีของ พ.ศ. 2567[1] มีจำนวนทีมที่เข้าร่วมแข่งขัน 24 ทีมหลังจากการเพิ่มจำนวนในเอเชียนคัพ 2019 ซึ่งรวมทั้งเจ้าภาพด้วย[3] โดยมีกาตาร์เป็นทีมชนะเลิศครั้งก่อน

การคัดเลือก[แก้]

ดูบทความหลักที่: เอเชียนคัพ 2023 รอบคัดเลือก
  ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย
  ทีมที่อาจผ่านเข้ารอบ
  ทีมที่ตกรอบ
  ทีมที่ไม่เข้าร่วมคัดเลือกหรือถอนตัว
  ทีมที่ไม่ใช่สมาชิกของเอเอฟซี

การแข่งขันรอบคัดเลือกสองรอบแรกจะจัดขึ้นพร้อมกับฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย โดยกาตาร์เข้าร่วมแข่งขันรอบคัดเลือกรอบที่สองเพื่อให้ได้สิทธิ์ผ่านเข้ารอบสุดท้ายของเอเชียนคัพเท่านั้น[4] เนื่องจากพวกเขาผ่านเข้ารอบสุดท้ายของฟุตบอลโลกในฐานะเจ้าภาพแล้ว

ติมอร์-เลสเตถูกสั่งห้ามไม่ให้เข้าร่วมแข่งขัน เนื่องจากพบผู้เล่นที่ลงทะเบียนผิดกฎถึง 12 คนในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2019 รอบคัดเลือกและรายการอื่น[5] อย่างไรก็ตาม ฟีฟ่าไม่ได้แบนติมอร์-เลสเตในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก ติมอร์-เลสเตจึงได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมแข่งขันได้ แม้ว่าจะไม่ได้สิทธิ์ผ่านเข้ารอบเอเชียนคัพก็ตาม[6]

รอบคัดเลือกเริ่มแข่งขันตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 2019 เพื่อให้ได้ 24 ทีมที่จะเข้าไปเล่นในรอบสุดท้าย ซึ่งจะแข่งขันในเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ค.ศ. 2023 โดยมีการเลื่อนจากกำหนดการเดิมในเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ เพื่อไม่ให้กระชั้นชิดกับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์ ซึ่งจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ค.ศ. 2022 เกาหลีเหนือถอนตัวจากการแข่งขันเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการระบาดทั่วของโควิด-19 ญี่ปุ่นเป็นชาติแรกที่ผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายหลังจากที่เอาชนะพม่า 10–0

ทีมที่ผ่านการคัดเลือก[แก้]

ทีมชาติ วิธีการ
คัดเลือก
วันที่
ผ่านการคัดเลือก
ครั้งที่
ปรากฏตัว
ปรากฏตัว
ครั้งล่าสุด
ผลงานที่ดีที่สุด
ก่อนหน้านี้
ธงชาติประเทศกาตาร์ กาตาร์ ชนะเลิศ รอบที่ 2 กลุ่ม อี / เจ้าภาพ 7 มิถุนายน 2021 11 2019 ชนะเลิศ (2019)
ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น ชนะเลิศ รอบที่ 2 กลุ่ม เอฟ 28 พฤษภาคม 2021 10 2019 ชนะเลิศ (1992, 2000, 2004, 2011)
ธงชาติซีเรีย ซีเรีย ชนะเลิศ รอบที่ 2 กลุ่ม เอ 7 มิถุนายน 2021 7 2019 รอบแบ่งกลุ่ม (1980, 1984, 1988, 1996, 2011, 2019)
ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ ชนะเลิศ รอบที่ 2 กลุ่ม เอช 9 มิถุนายน 2021 15 2019 ชนะเลิศ (1956, 1960)
ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย ชนะเลิศ รอบที่ 2 กลุ่ม บี 11 มิถุนายน 2021 5 2019 ชนะเลิศ (2015)
ธงชาติอิหร่าน อิหร่าน ชนะเลิศ รอบที่ 2 กลุ่ม ซี 15 มิถุนายน 2021 15 2019 ชนะเลิศ (1968, 1972, 1976)
ธงชาติซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย ชนะเลิศ รอบที่ 2 กลุ่ม ดี 15 มิถุนายน 2021 11 2019 ชนะเลิศ (1984, 1988, 1996)
Flag of the United Arab Emirates สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ชนะเลิศ รอบที่ 2 กลุ่ม จี 15 มิถุนายน 2021 11 2019 รองชนะเลิศ (1996)
ธงชาติจีน จีน รองชนะเลิศ รอบที่ 2 กลุ่ม เอ 15 มิถุนายน 2021 13 2019 รองชนะเลิศ (1984, 2004)
ธงชาติอิรัก อิรัก รองชนะเลิศ รอบที่ 2 กลุ่ม ซี 15 มิถุนายน 2021 10 2019 ชนะเลิศ (2007)
ธงชาติโอมาน โอมาน รองชนะเลิศ รอบที่ 2 กลุ่ม อี 15 มิถุนายน 2021 5 2019 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2019)
ธงชาติเวียดนาม เวียดนาม รองชนะเลิศ รอบที่ 2 กลุ่ม จี 15 มิถุนายน 2021 5 2019 อันดับที่ 4 (1956[a], 1960[a])
ธงชาติเลบานอน เลบานอน รองชนะเลิศ รอบที่ 2 กลุ่ม เอช 15 มิถุนายน 2021 3 2019 รอบแบ่งกลุ่ม (2000, 2019)
ธงชาติจอร์แดน จอร์แดน ชนะเลิศ รอบที่ 3 กลุ่มเอ 14 มิถุนายน 2022 5 2019 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2004, 2011)
ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย รองชนะเลิศ รอบที่ 3 กลุ่มเอ 14 มิถุนายน 2022 5 2007 รอบแบ่งกลุ่ม (1996, 2000, 2004, 2007)
ธงชาติรัฐปาเลสไตน์ ปาเลสไตน์ ชนะเลิศ รอบที่ 3 กลุ่มบี 14 มิถุนายน 2022 3 2019 รอบแบ่งกลุ่ม (2015, 2019)
ธงชาติอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน ชนะเลิศ รอบที่ 3 กลุ่มซี 14 มิถุนายน 2022 8 2019 อันดับที่ 4 (2011)
ธงชาติไทย ไทย รองชนะเลิศ รอบที่ 3 กลุ่มซี 14 มิถุนายน 2022 8 2019 อันดับที่ 3 (1972)
ธงชาติอินเดีย อินเดีย ชนะเลิศ รอบที่ 3 กลุ่มดี 14 มิถุนายน 2022 5 2019 รองชนะเลิศ (1964)
ธงชาติฮ่องกง ฮ่องกง รองชนะเลิศ รอบที่ 3 กลุ่มดี 14 มิถุนายน 2022 4 1968 อันดับที่ 3 (1956)
ธงชาติบาห์เรน บาห์เรน ชนะเลิศ รอบที่ 3 กลุ่มอี 14 มิถุนายน 2022 7 2019 อันดับที่ 4 (2004)
ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย รองชนะเลิศ รอบที่ 3 กลุ่มอี 14 มิถุนายน 2022 4 2007 รอบแบ่งกลุ่ม (1976, 1980, 2007)
ธงชาติทาจิกิสถาน ทาจิกิสถาน ชนะเลิศ รอบที่ 3 กลุ่มเอฟ 14 มิถุนายน 2022 1 ครั้งแรก
ธงชาติคีร์กีซสถาน คีร์กีซสถาน รองชนะเลิศ รอบที่ 3 กลุ่มเอฟ 14 มิถุนายน 2022 2 2019 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2019)

หมายเหตุ[แก้]

  1. 1.0 1.1 เข้าร่วมแข่งขันในชื่อ เวียดนามใต้ เวียดนามใต้

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "AFC Asian Cup China 2023 competition dates confirmed". Asian Football Confederation. 7 January 2021. สืบค้นเมื่อ 7 January 2021.
  2. "Important update on AFC Asian Cup 2023™ hosts". Asian Football Confederation. 14 May 2022. สืบค้นเมื่อ 14 May 2022.
  3. "AFC Asian Cup China 2023 Competition Regulations". AFC.
  4. Palmer, Dan (31 July 2017). "Hosts Qatar to compete in qualifying for 2022 World Cup". insidethegames.biz. สืบค้นเมื่อ 20 August 2017.
  5. "Federacao Futebol Timor-Leste expelled from AFC Asian Cup 2023". The-AFC.com. 20 January 2017.
  6. "Road to Qatar 2022: Asian teams discover Round 1 opponents". Asian Football Confederation. 17 April 2019. สืบค้นเมื่อ 23 May 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]