ฟุตบอลโลก 2026
![]() | เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
ฟุตบอลโลก 2026 (อังกฤษ: 2026 FIFA World Cup) เป็นการแข่งขันกีฬาฟุตบอลโลกครั้งที่ 23 ซึ่งเป็นการแข่งขันชิงแชมป์โลกระหว่างทีมชาติที่เป็นสมาชิกของฟีฟ่า การแข่งขันจัดขึ้นใน 16 เมืองของแคนาดา เม็กซิโกและสหรัฐ แบ่งเป็น 80 นัด โดยสหรัฐจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันทั้งหมด 60 นัด รวมถึงรอบก่อนรองชนะเลิศ, รอบรองชนะเลิศ และรอบชิงชนะเลิศ ส่วนแคนาดาและเม็กซิโกจะจัดการแข่งขันประเทศละ 10 นัด ฟุตบอลโลกครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีเจ้าภาพถึง 3 ประเทศ[1][2]
การเสนอตัวของสหรัฐชนะการเสนอตัวของโมร็อกโกระหว่างการพิจารณาครั้งสุดท้ายของฟีฟ่าในมอสโก ทำให้นี้เป็นการมีเจ้าภาพหลายประเทศเป็นครั้งแรกหลังฟุตบอลโลก 2002 เม็กซิโกเคยเป็นเจ้าภาพในฟุตบอลโลก 1970 และฟุตบอลโลก 1986 ดังนั้นการร่วมเป็นเจ้าภาพครั้งนี้ทำให้เม็กซิโกเป็นประเทศแรกที่ได้เป็นเจ้าภาพถึง 3 ครั้งในฐานะเจ้าภาพเดี่ยวและเจ้าภาพร่วม
นอกจากนี้ฟุตบอลโลก 2026 จะเป็นครั้งแรกที่เพิ่มจำนวนทีมจาก 32 เป็น 48 ทีม[3]
รูปแบบ[แก้]
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 มีแชล ปลาตีนี ซึ่งในขณะนั้นเป็นประธานยูฟ่า ได้เสนอให้เพิ่มจำนวนทีมในการแข่งขันเป็น 40 ทีม[4][5] ซึ่งในเดือนมีนาคม 2559 จันนี อินฟันตีโน ประธานสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศคนปัจจุบันก็ได้เห็นด้วยกับข้อเสนอ[6] และในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ได้ประกาศความประสงค์ที่จะเพิ่มทีม โดยพิจารณาจาก 4 ตัวเลือกดังนี้:[7][8][9][10]
- เพิ่มเป็น 40 ทีม (แบ่งเป็น 5 ทีม 8 กลุ่ม) – 88 นัด
- เพิ่มเป็น 40 ทีม (แบ่งเป็น 4 ทีม 10 กลุ่ม) – 76 นัด
- เพิ่มเป็น 48 ทีม (เปิดรอบเพลย์ออฟ 32 ทีม) – 80 นัด
- เพิ่มเป็น 48 ทีม (แบ่งเป็น 3 ทีม 16 กลุ่ม) – 80 นัด
เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2560 สภาฟีฟ่าได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ขยายเพิ่มเป็น 48 ทีม[3]
การแข่งขันจะเริ่มแบบ 3 ทีม 16 กลุ่ม จากนั้นสองทีมที่ดีที่สุดของแต่ละกลุ่มจะไปเล่นรอบ 32 ทีมสุดท้ายแบบแพ้คัดออก[11] จำนวนเกมส์การแข่งขันจะเพิ่มจาก 64 เป็น 80 นัด แต่เกมส์รอบสุดท้าย (รอบก่อนรองชนะเลิศ รองชนะเลิศ ชิงอันดับสาม และชิงชนะเลิศ) จะยังเป็น 7 นัดเหมือนเดิม และจะจัดการแข่งขันทั้งหมด 32 วันเช่นเดิม[12]
สมาคมสโมสรฟุตบอลยุโรปและสมาชิกไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มจำนวนทีมเนื่องจากรับไม่ได้กับจำนวนเกมส์และกระตุ้นให้มีการพิจารณาใหม่ในการเพิ่มทีมในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย[13] พวกเขายังแย้งอีกว่านี่ไม่ใช่การตัดสินใจด้วยเหตุผลทางกีฬาแต่เป็นการตัดสินใจด้วยเหตุผลทางการเมืองเพราะอินฟันตีโนพยายามทำให้ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงพอใจ[14] จาวี ทาบัส ประธานของสันนิบาตฟุตบอลอาชีพแห่งชาติสเปนยอมรับว่าไม่เห็นด้วยกับกำหนดการใหม่นี้ เขากล่าวกับหนังสือพิมพ์มาร์กาว่าอุตสาหกรรมฟุตบอลจะขอบคุณสโมสรและลีก ไม่ใช่ฟีฟ่าและอินฟันตีโนเล่นการเมืองเพราะเขาสัญญาว่าจะเพิ่มทีมหากถูกเลือก ดังนั้นเขาจึงรักษาคำพูดที่พูดเอาไว้[15] โยอาคิม เลิฟ โค้ชทีมชาติเยอรมันได้กล่าวเตือนว่าการเพิ่มทีมเหมือนที่เพิ่มในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 นั้นจะลดคุณค่าของการแข่งขันระดับโลกลงเนื่องจากผู้เล่นถึงขีดจำกัดทางร่างกายและจิตใจแล้ว[16] มีการวิจารณ์ว่ารูปแบบกลุ่มละ 3 ทีมจะทำให้มีการสมรู้ร่วมคิดระหว่างสองทีมในรอบสุดท้ายจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่ม 4 ทีม ทำให้ประธานจันนี อินฟันตีโนเสนอคำแนะนำคือรอบแบ่งกลุ่มที่จบด้วยผลเสมอจะถูกตัดสินโดยการยิงลูกโทษ[17]
โควตา[แก้]
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560 สำนักงานของสภาฟีฟ่า (ประกอบด้วยประธานฟีฟ่าและประธานแต่ละสมาพันธ์) เสนอโควต้าตัวแทนจากแต่ละทวีปที่จะได้เล่นในฟุตบอลโลก 2026 ซึ่งข้อเสนอแนะนี้ได้ยื่นขอให้สภาฟีฟ่าอนุมัติ[18][19]
ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 สองวันก่อนการการประชุมฟีฟ่าคองเกรสครั้งที่ 67 สภาฟีฟ่าได้อนุมัติการแบ่งโควตาในมานามา ประเทศบาห์เรน รวมถึงการแข่งขันรอบเพลย์ออฟระหว่างทวีป 6 ทีมเพื่อหาทีมไปเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 2 ทีมด้วย[20]
สมาพันธ์ | สมาชิกฟีฟ่า | โควตาฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย (รวมเจ้าภาพ) |
เปอร์เซ็นต์ของสมาชิก ที่ผ่านไปเล่นรอบสุดท้าย |
โควตาก่อน ฟุตบอลโลก 2026 (ไม่รวมเจ้าภาพ) |
---|---|---|---|---|
เอเอฟซี | 46 | 8 | 17% | 4.5 |
ซีเอเอฟ | 54 | 9 | 17% | 5 |
คอนคาแคฟ | 35 | 6 | 17% | 3.5 |
คอนเมบอล | 10 | 6 | 60% | 4.5 |
โอเอฟซี | 11 | 1 | 9% | 0.5 |
ยูฟ่า | 55 | 16 | 29% | 13 |
เพลย์ออฟ | 6 | 2 | 33% | – |
รวม | 211 | 48 | 23% | 31 (+ เจ้าภาพ) |
เพลย์ออฟ[แก้]
การแข่งขันเพลย์ออฟจะเป็นการแข่งขันระหว่าง 6 ทีมเพื่อหา 2 ทีมที่ดีที่สุดไปเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย,[18] 6 ทีมจะมาจาก 5 สมาพันธ์ (ไม่มีสมาพันธ์ยูฟ่า) ส่วนอีกหนึ่งทีมจะมาจากสมาพันธ์ของประเทศเจ้าภาพ (ปีนี้คือคอนคาแคฟ) [21]
การเลือกเจ้าภาพ[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การคัดเลือก[แก้]
วิธีการคัดเลือกทีมไปเล่นฟุตบอลโลก 2026 นั้นยังไม่เป็นที่แน่นอน สภาฟีฟ่าตัดสินว่าเจ้าภาพจะมีสิทธิในการแข่งขันโดยอัตโนมัติ[18][20][22] เจ้าหน้าที่ในการเสนอตัวของสหรัฐคาดหวังว่าประเทศเจ้าภาพทั้ง 3 จะเป็นสถานที่มอบรางวัลโดยอัตโนมัติ[23]
สนามแข่งขัน[แก้]
มีเมืองที่เสนอตัว 23 เมืองและจะลดลงเหลือ 16 เมืองใน พ.ศ. 2563 หรือ 2564 (3 เมืองในแคนาดา, 3 เมืองในเม็กซิโก และ 10 เมืองในสหรัฐ) [24] :
คือสนามที่เคยใช้จัดการแข่งขันมาแล้ว (มีแค่สหรัฐกับเม็กซิโก)
คือสนามกีฬาในร่ม
แคนาดา[แก้]
มอนทรีออล[25] | เอ็ดมันตัน[25] | โทรอนโต[25] |
---|---|---|
สนามกีฬาโอลิมปิก![]() |
Commonwealth Stadium | BMO Field |
ความจุ: 61,004 (ความจุที่เสนอมา: 55,822) (Expandable to 73,000) |
ความจุ: 56,302 (ความจุที่เสนอมา: 56,418) |
ความจุ: 30,000 (เพิ่มความจุเป็น 45,500 เมือถึงเวลาแข่ง) |
![]() |
![]() |
![]() |
|
สหรัฐ[แก้]
ลอสแอนเจลิส[25] | นครนิวยอร์ก[25] | วอชิงตัน ดี.ซี.[25] | ดัลลัส[25] |
---|---|---|---|
Rose Bowl![]() (Pasadena, California) |
MetLife Stadium (East Rutherford, New Jersey) |
FedExField (Landover, Maryland) |
เอทีแอนด์ทีสเตเดียม![]() (Arlington, Texas) |
ความจุ: 92,000 (ความจุที่เสนอมา: 88,432) |
ความจุ: 82,500 (ความจุที่เสนอมา: 87,157) |
ความจุ: 82,000 (ความจุที่เสนอมา: 70,249) |
ความจุ: 80,000 (ความจุที่เสนอมา: 92,967) (เพิ่มเป็น 100,000) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
แคนซัสซิตี[25] | เดนเวอร์[25] | ฮิวสตัน[25] | บอลทิมอร์[25] |
Arrowhead Stadium | Sports Authority Field at Mile High | NRG Stadium![]() |
M&T Bank Stadium |
ความจุ: 76,416 (ความจุที่เสนอมา: 76,640) |
ความจุ: 76,125 (ความจุที่เสนอมา: 77,595) |
ความจุ: 71,795 (ความจุที่เสนอมา: 72,220) |
ความจุ: 71,006 (ความจุที่เสนอมา: 70,976) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
แอตแลนตา[25] | |||
Mercedes-Benz Stadium![]() | |||
ความจุ: 71,000 (ความจุที่เสนอมา: 75,000) (ขยายเพิ่มเป็น 83,000) | |||
![]() | |||
ฟิลาเดลเฟีย[25] | แนชวิลล์[25] | ซีแอตเทิล[25] | ซานฟรานซิสโก[25] |
Lincoln Financial Field | Nissan Stadium | CenturyLink Field | Levi's Stadium (Santa Clara, California) |
ความจุ: 69,176 (ความจุที่เสนอมา: 69,328) |
ความจุ: 69,143 (ความจุที่เสนอมา: 69,722) (ขยายเพิ่มเป็น 75,000) |
ความจุ: 69,000 (ขยายเพิ่มเป็น 72,000) |
ความจุ: 68,500 (ความจุที่เสนอมา: 70,909) (ขยายเพิ่มเป็น 75,000) |
![]() |
![]() |
||
บอสตัน[25] | ซินซินแนติ[25] | ไมแอมี[25] | ออร์แลนโด[25] |
Gillette Stadium (Foxborough, Massachusetts) |
Paul Brown Stadium | Hard Rock Stadium (Miami Gardens, Florida) |
แคมปิงเวิลด์สเตเดียม![]() |
ความจุ: 65,878 (ความจุที่เสนอมา: 70,000) |
ความจุ: 65,515 (ความจุที่เสนอมา: 67,402) |
ความจุ: 64,767 (ความจุที่เสนอมา: 67,518) |
ความจุ: 60,219 (ความจุที่เสนอมา: 65,000) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
เม็กซิโก[แก้]
เม็กซิโกซิตี[25] | มอนเตร์เรย์[25] | กวาดาลาฮารา[25] |
---|---|---|
อัซเตกา![]() |
เอสตาดีโอบีบีวีเอบาโคเม | สนามกีฬาอากรอน |
ความจุ: 87,523 | ความจุ: 53,500 (ความจุที่เสนอมา: 53,460) |
ความจุ: 46,232 (ความจุที่เสนอมา: 48,071) |
![]() |
![]() |
![]() |
|
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "World Cup 2026: Canada, US & Mexico joint bid wins right to host tournament". BBC. 13 June 2018. สืบค้นเมื่อ 13 June 2018.
- ↑ Carlise, Jeff (10 April 2017). "U.S., neighbors launch 2026 World Cup bid". ESPN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2017.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ 3.0 3.1 "Unanimous decision expands FIFA World Cup™ to 48 teams from 2026". FIFA. 10 January 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-10. สืบค้นเมื่อ 10 January 2017.
- ↑ "Michel Platini calls for 40-team World Cup starting with Russia 2018". The Guardian. 28 October 2013. สืบค้นเมื่อ 24 January 2015.
- ↑ "BBC Sport — Michel Platini's World Cup expansion plan unlikely — Fifa". BBC Sport. 29 October 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2014. สืบค้นเมื่อ 24 January 2015.
{{cite news}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "Infantino suggests 40-team World Cup finals". Independent Online. South Africa: IOL. Reuters. 30 March 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2016.
{{cite news}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "New Fifa chief backs 48-team World Cup". HeraldLIVE. 7 October 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2016.
It's an idea, just as the World Cup with 40 teams is already on the table with groups of four or five teams.
{{cite news}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "Fifa's 5 options for a 2026 World Cup of 48, 40 or 32 teams". Yahoo! Sports. Associated Press. 23 December 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2017.
{{cite news}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "FIFA World Cup format proposals" (PDF). FIFA. 19 December 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-09-15. สืบค้นเมื่อ 2018-06-22.
- ↑ "Federations 'overwhelmingly in favour' of 48-team World Cup – Infantino". ESPN. 28 December 2016.
- ↑ "Fifa approves Infantino's plan to expand World Cup to 48 teams from 2026". The Guardian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2017. สืบค้นเมื่อ 10 January 2017.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "World Cup: Gianni Infantino defends tournament expansion to 48 teams". BBC Sport. 10 January 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2017.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "World Cup: Europe's top clubs oppose FIFA's expansion plans". CNN. 15 December 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2016.
{{cite news}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "Críticas a decisión de la FIFA de jugar el Mundial 2026 con 48 selecciones". El Universo (ภาษาสเปน). Agence France-Presse. 10 January 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2017.
{{cite news}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "Mundial de 48 equipos: durísimas críticas en Europa". Clarín (ภาษาสเปน). 10 January 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2017.
{{cite news}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "Low confirms opposition to 40-team World Cup". sbs.com.au. Australian Associated Press. 2 October 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2016.
{{cite news}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ George Flood (10 January 2017). "How 48-team World Cup in 2026 will work and what is left to be decided". International Business Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2017.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ 18.0 18.1 18.2 "Bureau of the Council recommends slot allocation for the 2026 FIFA World Cup". FIFA. 30 March 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2017.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "World Cup 2026: Fifa reveals allocation for 48-team tournament". BBC. 30 March 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 March 2017.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ 20.0 20.1 "FIFA Council prepares Congress, takes key decisions for the future of the FIFA World Cup™". FIFA. 9 May 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2017.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ เจ้าภาพ 3 ชาติ! ฟีฟ่าเลือก "สหรัฐฯ,แคนาดา,เม็กซิโก" จัดศึกฟุตบอลโลก 2026
- ↑ "World Cup 2026: Canada, US & Mexico joint bid wins right to host tournament". BBC Sport. 13 June 2018. สืบค้นเมื่อ 13 June 2018.
- ↑ "United 2026 bid book" (PDF). สืบค้นเมื่อ 13 June 2018.
- ↑ What are the host cities in USA, Mexico and Canada going to be? สืบค้นเมื่อ 7-10-2018 CBSSPORTS.COM
- ↑ 25.00 25.01 25.02 25.03 25.04 25.05 25.06 25.07 25.08 25.09 25.10 25.11 25.12 25.13 25.14 25.15 25.16 25.17 25.18 25.19 25.20 25.21 25.22 "United 2026 bid book" (PDF). united2026.com. สืบค้นเมื่อ 30 April 2018.