ฟุตบอลทีมชาติเช็กเกีย
ฉายา | Nároďák เช็ก (ฉายาในภาษาไทย) | ||
---|---|---|---|
สมาคม | สมาคมฟุตบอลสาธารณรัฐเช็ก (FAČR) | ||
สมาพันธ์ | ยูฟ่า (ยุโรป) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | ยาโรสลาฟ ชิลฮาวี | ||
กัปตัน | โตมาช โซว์แช็ก | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | แปเตอร์ แช็ค (124) | ||
ทำประตูสูงสุด | ยาน โคลเลอร์ (55) | ||
สนามเหย้า | หลายแห่ง | ||
รหัสฟีฟ่า | CZE | ||
| |||
อันดับฟีฟ่า | |||
อันดับปัจจุบัน | 34 2 (20 มิถุนายน 2024)[1] | ||
อันดับสูงสุด | 2 (กันยายน ค.ศ. 1999; มกราคม – พฤษภาคม ค.ศ. 2000; เมษายน – พฤษภาคม ค.ศ. 2005; มกราคม – พฤษภาคม ค.ศ. 2006) | ||
อันดับต่ำสุด | 67 (มีนาคม ค.ศ. 1994) | ||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
ฮังการี 2–1 โบฮีเมีย (บูดาเปสต์ ประเทศฮังการี; 5 เมษายน ค.ศ. 1903) ในฐานะ เช็กเกีย: เช็กเกีย 4–1 ตุรกี (อิสตันบูล ประเทศตุรกี; 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1994) | |||
ชนะสูงสุด | |||
เชโกสโลวาเกีย 7–0 ยูโกสลาเวีย (แอนต์เวิร์ป ประเทศเบลเยียม; 28 สิงหาคม ค.ศ. 1920) ในฐานะ เช็กเกีย: เช็กเกีย 8–1 อันดอร์รา (ลีเบเรช ประเทศเช็กเกีย; 4 มิถุนายน ค.ศ. 2005) เช็กเกีย 7–0 ซานมารีโน (ลีเบเรช, ประเทศเช็กเกีย; 7 ตุลาคม ค.ศ. 2006) เช็กเกีย 7–0 ซานมารีโน (Uherské Hradiště ประเทศเช็กเกีย; 9 กันยายน ค.ศ. 2009) เช็กเกีย 7–0 คูเวต (ออลอโมตซ์ ประเทศเช็กเกีย; 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021) | |||
แพ้สูงสุด | |||
ฮังการี 8–3 เชโกสโลวาเกีย (บูดาเปสต์ ประเทศฮังการี; 19 กันยายน ค.ศ. 1937) ในฐานะ เช็กเกีย: อังกฤษ 5–0 เช็กเกีย (ลอนดอน ประเทศอังกฤษ; 22 มีนาคม ค.ศ. 2019) | |||
ฟุตบอลโลก | |||
เข้าร่วม | 9 (ครั้งแรกใน 1934) | ||
ผลงานดีที่สุด | รองชนะเลิศ (1934, 1962 ในฐานะเชโกสโลวาเกีย), รอบกลุ่ม (2006, ในฐานะเช็กเกีย) | ||
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป | |||
เข้าร่วม | 10 (ครั้งแรกใน 1960) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1976 ในฐานะเชโกสโลวาเกีย), รองชนะเลิศ (1996 ในฐานะ เช็กเกีย) | ||
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ | |||
เข้าร่วม | 1 (ครั้งแรกใน 1997) | ||
ผลงานดีที่สุด | อันดับที่ 3 (1997) | ||
เกียรติยศ |
ฟุตบอลทีมชาติเช็กเกีย (เช็ก: Česká fotbalová reprezentace) เป็นทีมฟุตบอลประจำ ประเทศเช็กเกีย โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของสมาคมฟุตบอลสาธารณรัฐเช็ก โดยผลงานที่ดีที่สุดในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปของเช็กคือ การเข้าไปถึงรอบรองชนะเลิศใน ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 แต่ก็แพ้ กรีซไป 1-0 หลังต่อเวลาพิเศษ ทั้งที่ทำผลงานทั้งในรอบแบ่งกลุ่มและรอบ 8 ทีมสุดท้ายได้ดีแล้ว และส่วนฟุตบอลโลกเช็กในปี 1996 เช็กเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ แต่ก็พ่ายแพ้ให้กับ "อินทรีเหล็ก" เยอรมนีไป 2-1 หลังต่อเวลาพิเศษ ปัจจุบันอยู่ภายใต้การคุมทีมของ ยาโรสลาฟ ชิลฮาวี
ทีมชาติก่อตั้งขึ้นในปี 1901 ในสมัยราชอาณาจักรโบฮีเมียที่ถูกปกครองโดยจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ต่อมาได้ก่อตั้งเชโกสโลวาเกีย ก่อนจะแยกประเทศกับสโลวาเกียในปี 1992 การแข่งขันระหว่างประเทศของพวกเขาเป็นครั้งแรกที่สาธารณรัฐเช็กคือยูโร 1996 ที่พวกเขาเสร็จสิ้นการวิ่งขึ้นเสร็จที่ดีที่สุดของพวกเขาในการแข่งขันระหว่างประเทศใด ๆ แม้จะมีความสำเร็จแรกของพวกเขาที่พวกเขาได้ให้ความสำคัญเฉพาะในฟุตบอลโลก 2006 ทัวร์นาเมนต์ที่พวกเขาถูกกำจัดในรอบแรกของการแข่งขัน พวกเขาเผชิญชะตากรรมเดียวกันที่ ยูโร 2008 ลักษณะที่ปรากฏล่าสุดของพวกเขาในขั้นตอนสุดท้ายของการแข่งขันที่สำคัญ
ล่าสุดผลงานในศึก ยูโร 2012 ที่โปแลนด์และยูเครนเป็นเจ้าภาพร่วมกัน เช็กสามารถผ่านรอบคัดเลือกและทะลุมาถึงรอบ 8 ทีมสุดท้าย ได้ โดยในกลุ่ม เช็กอยู่สายเดียวกับ รัสเซีย,กรีซ และ เจ้าภาพ โปแลนด์ โดยเช็กเป็นแชมป์กลุ่ม ซึ่ง ชนะ 2 เสมอ 0 แพ้ 1 และผ่านเข้าไปสู่รอบ 8 ทีมสุดท้ายไปเจอกับ รองแชมป์กลุ่ม B คือ โปรตุเกส ซึ่งเช็กเน้นในเกมส์รับมาตลอดและจะรุกเป็นบางครั้ง แต่สุดท้ายก็พ่ายแพ้ให้กับ โปรตุเกส ไป 1-0 แต่ มิชาล บิเล็ค ผู้จัดการทีมของเช็ก ยอมรับว่าทีมของตนสู้เต็มที่แล้วและทำผลงานได้ดีกว่าความคาดหมาย
ประวัติ
[แก้]ปัจจุบันทีมชาติสาธารณรัฐเช็กอยู่ภายใต้การคุมทีมของ มิชาล บิเล็ค โดยก่อนหน้าที่จะมีการแยกตัวเมื่อปี ค.ศ. 1992 พวกเขาเข้าร่วมการแข่งขันในรายการของสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) และสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) ในชื่อของ โบฮีเมีย, ออสเตรีย-ฮังการี และ เช็กโกสโลวาเกีย ในช่วงทศวรรษที่ 90 เช็กโกสโลวาเกีย ได้แตกประเทศ และกลายเป็นสาธารณรัฐเช็กกับสโลวาเกียแทน
ภายหลังการแยกตัวในปี ค.ศ. 1992 สาธารณรัฐเช็กลงเล่นทัวร์นาเมนต์สำคัญแรกคือ ยูโร 1996 และพวกเขาก็สร้างประวัติศาสตร์เป็นรองแชมป์ในรายการนั้น ซึ่งเป็นผลงานที่ดีที่สุดของทีมนับตั้งแต่ร่วมแข่งขันมา แต่ถึงแม้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วตั้งแต่ต้น พวกเขากลับได้เล่นฟุตบอลโลกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น คือในปี ค.ศ. 2006 ซึ่งตกรอบแรก เช่นเดียวกับการเก็บกระเป๋ากลับบ้านก่อนกำหนดในยูโร 2008 โดยสาธารณรัฐเช็กลงเล่นเกมอุ่นเครื่องนัดแรกในแมตช์เยือนตุรกี และชนะไป 4-1 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1994 และเข้าร่วมทัวร์นาเมนต์แรกคือยูโร 1996 ซึ่งในรอบคัดเลือกพวกเขาทำสถิติชนะ 6 เสมอ 3 และแพ้ 1 จบในอันดับ 1 ของกลุ่ม 5 ได้ผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายที่ประเทศอังกฤษ ในยูโร 1996 รอบสุดท้าย สาธารณรัฐเช็กแพ้เยอรมนี 0-2 ในเกมแรก แต่พวกเขาก็ยังสามารถผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกได้สำเร็จ และยังคงเดินหน้าโชว์ฟอร์มเก่งอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การนำทัพของยอดดาวเตะอย่าง พาเวล เนดเวด, แพทริก แบร์เกอร์ และ คาเรล โพดอลสกี้ จนทะลุเข้าไปชิงชนะเลิศกับเยอรมนี แต่ก็ต้องแพ้ไป 2-1 จากโกลเด้นโกลของ โอลิเวอร์ เบียร์โฮฟฟ์ ในช่วงต่อเวลาพิเศษที่สนามกีฬาเวมบลีย์
จากความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ในยูโร 1996 ทำให้สาธารณรัฐเช็กได้รับการคาดหมายว่าจะสามารถผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลก 1998 ที่ประเทศฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม พวกเขาจบเพียงอันดับ 3 ในรอบคัดเลือก ตามหลังสเปนและยูโกสลาเวีย ทำให้ต้องพลาดเข้าไปเล่นในทัวร์นาเมนต์นั้น
ในช่วงยุค 2000 สาธารณรัฐเช็กสามารถเข้าไปเล่นยูโร 2000 ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศเบลเยี่ยมได้สำเร็จ โดยในรอบคัดเลือก พวกเขามีเกมรับเหนียวแน่น เสียไปเพียง 5 ประตูเท่านั้นจาก 10 นัด แต่ในรอบสุดท้ายพวกเขาต้องโชคร้ายเมื่อต้องเจอกับเนเธอร์แลนด์เจ้าภาพ เมื่อยิงชนเสาชนคานถึง 3 ครั้ง ก่อนจะแพ้ 0-1 จากจุดโทษในนาทีสุดท้าย และแพ้ฝรั่งเศส 1-2 แม้จะปิดท้ายด้วยการชนะ เดนมาร์ก 2-0 แต่พวกเขาก็ต้องตกรอบแรก รวมทั้งสาธารณรัฐเช็กก็พลาดในการเข้าไปเล่นฟุตบอลโลก 2002 ที่ประเทศญี่ปุ่นและประเทศเกาหลีใต้ เมื่อพวกเขาจบอันดับ 2 ของกลุ่มในรอบคัดเลือก ตามหลังเดนมาร์ก และแพ้เบลเยียมในเกมเพลย์ออฟ
จากความล้มเหลวในครั้งนั้นทำให้พวกเขาต้องปรับโครงสร้างของทีมใหม่ทั้งหมด และนักเตะที่เป็นแกนหลักของทีมได้แก่ พาเวล เนดเวด, ยาน โคลเลอร์, มิลาน บารอส, มาเร็ค ยานคูลอฟสกี้ และ โทมัส กาลาเซ็ค รวมทั้งผู้รักษาประตูดาวรุ่งอย่าง เปเตอร์ เช็ค สาธารณรัฐเช็กยุคใหม่ทำสถิติสุดยอดระหว่างปี ค.ศ. 2002 - 2003 จากการถล่มคู่แข่งถึง 53 ประตูจาก 19 นัด และไม่พ่ายแพ้ต่อทีมใดเลย รวมทั้งผ่านเข้าไปเล่นยูโร 2004 ได้อย่างง่ายดาย และได้รับการยกย่องว่ามีโอกาสที่จะสอดแทรกขึ้นมาคว้าแชมป์ที่ประเทศโปรตุเกสมาครองได้ ทว่าสถิติไร้ถ่าย 20 นัดของพวกเขาต้องสิ้นสุดลงจากการแพ้ไอร์แลนด์ในเกมอุ่นเครื่องเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2004 สาธารณรัฐเช็กชนะรวดทั้ง 3 นัดในรอบแบ่งกลุ่ม ซึ่งรวมถึงชนะเนเธอร์แลนด์ 2-0 และชนะเยอรมนี 3-2 ก่อนจะชนะเดนมาร์กในรอบ 8 ทีมสุดท้าย และเข้าไปเจอกับกรีซ ม้ามืดประจำทัวร์นาเมนต์ แต่พวกเขาก็ต้องหยุดเส้นทางเอาไว้เพียงรอบนี้เมื่อมาโดนยิงซิลเวอร์โกลในช่วงต่อเวลาพิเศษ หลังจากที่มีโอกาสจะเป็นผู้ชนะในแมตช์นั้นอยู่หลายครั้ง ก่อนที่กรีซจะผ่านเข้าไปคว้าแชมป์ยูโร 2004 ได้อย่างสุดเหลือเชื่อ
สาธารณรัฐเช็กทำสถิติของตัวเองขึ้นใหม่ใน ฟุตบอลโลก 2006 รอบคัดเลือก เมื่อพวกเขาถล่ม อันดอร์ร่า 8-1 และในแมตช์เดียวกันนั้น ยาน โคลเลอร์ ก็กลายเป็นดาวซัลโวสูงสุดตลอดกาลของทีมชาติ ด้วยจำนวน 35 ประตู และพวกเขาก็จบลงด้วยการเป็นอันดับ 2 ของกลุ่ม ก่อนชนะนอร์เวย์ในรอบเพลย์ออฟ ทำให้ทีมได้ผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลกได้เป็นครั้งแรก สาธารณรัฐเช็กได้รับข่าวดีเมื่อ พาเวล เนดเวด ตัดสินใจกลับมาเล่นให้ทีมชาติอีกครั้ง หลังเคยประกาศเลิกเล่นเมื่อจบการแข่งขันยูโร 2004 และสมาชิกชุดฟุตบอลโลก 2006 ก็มาจากชุดยูโร 2004 ถึง 18 คนเลยทีเดียว ทว่าพวกเขาก็ต้องตกรอบแรกที่ประเทศเยอรมนีอย่างสุดเหลือเชื่อ ทั้งที่ชนะสหรัฐอเมริกา 3-0 ในเกมแรก แต่ก็แพ้กาน่าและอิตาลีในอีก 2 นัดต่อจากนั้น และหลังจบทัวร์นาเมนต์ พาเวล เนดเวด, คาเรล โพดอลสกี้ และวราติสลาฟ ล็อกเวนซ์ ต่างก็ประกาศแขวนสตั๊ดหลังความผิดหวังในฟุตบอลโลก 2006 นั้น โดยสาธารณรัฐเช็กกลับมาทำได้ดีอีกครั้งในการแข่งขันยูโร 2008 รอบคัดเลือก จากการคว้าแชมป์กลุ่ม จบในอันดับที่เหนือกว่าเยอรมนี และในการแข่งขันรอบสุดท้ายที่ประเทศออสเตรียและประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สาธารณรัฐเช็กเอาชนะเจ้าภาพร่วมไปได้ 1-0 ในรอบแบ่งกลุ่มนัดแรก ก่อนจะแพ้โปรตุเกส 1-3 และแพ้ตุรกี 3-2 ส่งผลให้ต้องตกรอบแรกไปอย่างเหลือเชื่อ และเป็นแมตช์สุดท้ายที่ คาเรล บรูคเนอร์ คุมทีม
ในฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก สาธารณรัฐเช็กภายใต้การคุมทีมของ ปีเตอร์ ราด้า ทำผลงานได้ย่ำแย่อย่างมาก ทำให้เขาต้องถูกปลดจากตำแหน่ง และนักเตะอีก 6 คนของโทษถูกแบนจากทีมชาติ และถึงแม้มีการแต่งตั้ง อิวาน ฮาเซ็ค เข้ามาคุมทีมแทน แต่ก็ไม่สามารถนำทีมไปเล่นรอบสุดท้ายที่ประเทศแอฟริกาใต้ได้ โดยจบรอบคัดเลือกเพียงอันดับ 3 ของกลุ่ม ทำให้ อิวาน ฮาเซ็ค ประกาศลาออก
สาธารณรัฐเช็กเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงทีมอีกครั้ง โดยอยู่ภายใต้การคุมทีมของ มิชาล บิเล็ค โดยในยูโร 2012 รอบคัดเลือก ทีมเริ่มต้นด้วยการแพ้ลิทัวเนีย แต่พวกเขาก็คว้าชัยชนะนัดสำคัญได้ในการเจอสกอตแลนด์ ตามด้วยชนะลิกเตนสไตน์ และถึงแม้จะแพ้ต่อสเปน แชมป์ฟุตบอลโลก 2010 พวกเขาก็ยังคว้าสิทธิ์ไปเล่นเพลย์ออฟได้สำเร็จ และได้ผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายที่ประเทศโปแลนด์และประเทศยูเครนโดยชนะมอนเตเนโกรด้วยประตูรวม 2 นัด 3-0 โดยในรอบสุดท้าย แม้นัดแรกในรอบแบ่งกลุ่มจะแพ้รัสเซียไป 4-1 แต่ 2 นัดที่เหลือสามารถชนะได้ทั้งหมด เริ่มจากชนะกรีซไป 2-1 และชนะโปแลนด์ไป 1-0 ผ่านเข้ารอบเป็นแชมป์กลุ่ม แต่ก็ต้องตกรอบไปด้วยการแพ้โปรตุเกสไป 0-1
ส่วนฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก สาธารณรัฐเช็กจบรอบคัดเลือกเพียงอันดับ 3 ของกลุ่ม B ทำให้ไม่ผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายที่ประเทศบราซิล ส่วนยูโร 2016 สาธารณรัฐเช็กคว้าแชมป์กลุ่ม A ทำให้ได้สิทธิ์ไปเล่นรอบสุดท้ายที่ประเทศฝรั่งเศสทันที
ลำดับเหตุการณ์
[แก้]- 1934 เชโกสโลวาเกีย ได้รองแชมป์ฟุตบอลโลก
- 1962 เชโกสโลวาเกีย ได้รองแชมป์ฟุตบอลโลก
- 1976 เชโกสโลวาเกีย ได้แชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
- 1992 เชโกสโลวาเกียได้มีการแบ่งแยกประเทศ โดยสโลวาเกียได้แยกตัวออกมา ทำให้เกิดทีมชาติเช็กเกีย
- 1996 เช็กเกีย ได้รองแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
- 2006 เช็กเกีย ตกรอบแบ่งกลุ่ม ฟุตบอลโลก โดยเป็นการเข้าแข่งฟุตบอลโลกครั้งแรกในชื่อเช็กเกีย
เกียรติประวัติ
[แก้]ฟุตบอลโลก
[แก้]ฟุตบอลโลก | FIFA World Cup Qualification record | ผู้จัดการทีม(s) | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Year | Round | Position | Pld | W | D * | L | GF | GA | Pld | W | D | L | GF | GA | |||
1998 | ไม่ผ่านเข้ารอบ | 10 | 5 | 1 | 4 | 16 | 6 | ดูซาน ยูฮาริน | |||||||||
2002 | 12 | 6 | 2 | 4 | 20 | 10 | โจเซฟ โชวาเน็ก | ||||||||||
2006 | รอบแรก | 20th | 3 | 1 | 0 | 2 | 3 | 4 | 14 | 11 | 0 | 3 | 37 | 12 | คาเรล บรูซเนอร์ | ||
2010 | ไม่ผ่านเข้ารอบ | 10 | 4 | 4 | 2 | 17 | 6 | Rada, อีวาน ฮาเซ็ก Note 1 | |||||||||
2014 | |||||||||||||||||
2018 | |||||||||||||||||
2022 | |||||||||||||||||
2026 | ยังไม่ถึงกำหนดแข่งขัน | ยังไม่ถึงกำหนดแข่งขัน | |||||||||||||||
2030 | |||||||||||||||||
2034 | |||||||||||||||||
Total | 0 Titles | 1/4 | 3 | 1 | 0 | 2 | 3 | 4 | 46 | 26 | 7 | 13 | 90 | 34 |
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
[แก้]ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปี | รอบ | อันดับ | GP | W | D* | L | GS | GA |
1996 | รองชนะเลิศ | 2nd | 6 | 2 | 2 | 2 | 7 | 8 |
2000 | รอบแบ่งกลุ่ม | 10th | 3 | 1 | 0 | 2 | 3 | 3 |
2004 | รอบรองชนะเลิศ | 3rd | 5 | 4 | 0 | 1 | 10 | 5 |
2008 | รอบแบ่งกลุ่ม | 11th | 3 | 1 | 0 | 2 | 4 | 6 |
2012 | รอบ 8 ทีมสุดท้าย | 6th | 4 | 2 | 0 | 2 | 4 | 6 |
2016 | รอบแบ่งกลุ่ม | |||||||
2020 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | |||||||
2024 | รอบแบ่งกลุ่ม | |||||||
2028 | ยังไม่ถึงกำหนดแข่งขัน | |||||||
2032 | ||||||||
รวม | 7/16 | 29 | 13 | 5 | 11 | 40 | 38 |
ผู้เล่นปัจจุบัน
[แก้]รายชื่อผู้เล่นรอบสุดท้ายในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024 ประกาศรายชื่อผู้เล่นรอบสุดท้าย 26 คน ในวันที่ 28 พฤษภาคม[2] วันที่ 9 มิถุนายน มิคัล ซายีแล็ก ถอนตัวออกจากรายชื่อเนื่องจากอาการบาดเจ็บที่ขา[3] วันที่ 12 มิถุนายน แปเตอร์ แช็ฟชีก ได้รับการเพิ่มเข้ามาในรายชื่อ[4]
# | ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | GK | ยินด์ฌิค สตาแญ็ก | 27 เมษายน ค.ศ. 1996 (อายุ 28 ปี) | 9 | 0 | สลาวิยาปราฮา |
2 | DF | ดาวิต ซิมา | 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 (อายุ 23 ปี) | 20 | 1 | สลาวิยาปราฮา |
3 | DF | โตมาช โฮแล็ช | 31 มีนาคม ค.ศ. 1993 (อายุ 31 ปี) | 27 | 2 | สลาวิยาปราฮา |
4 | DF | โรบิน ฮรานาช | 29 มกราคม ค.ศ. 2000 (อายุ 24 ปี) | 1 | 0 | วิกโตริยาเปิลแซ็ญ |
5 | DF | วลายิมีร์ โซว์ฟัล | 22 สิงหาคม ค.ศ. 1992 (อายุ 31 ปี) | 40 | 1 | เวสต์แฮมยูไนเต็ด |
6 | DF | มาร์ติน วิจีก | 21 มกราคม ค.ศ. 2003 (อายุ 21 ปี) | 1 | 0 | สปาร์ตาปราฮา |
7 | MF | อันโตญีน บาราก | 3 ธันวาคม ค.ศ. 1994 (อายุ 29 ปี) | 39 | 9 | ฟีออเรนตีนา |
8 | MF | แปเตอร์ แช็ฟชีก | 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 (อายุ 30 ปี) | 12 | 0 | สลาวิยาปราฮา |
9 | FW | อาดัม ฮโลแฌ็ก | 25 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 (อายุ 21 ปี) | 31 | 2 | ไบเออร์เลเวอร์คูเซิน |
10 | FW | ปาตริก ชิก | 24 มกราคม ค.ศ. 1996 (อายุ 28 ปี) | 37 | 18 | ไบเออร์เลเวอร์คูเซิน |
11 | FW | ยัน กุคตา | 8 มกราคม ค.ศ. 1997 (อายุ 27 ปี) | 20 | 2 | สปาร์ตาปราฮา |
12 | DF | ดาวิต โดว์แยรา | 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 (อายุ 26 ปี) | 8 | 1 | สลาวิยาปราฮา |
13 | FW | โมยมีร์ คิจิล | 29 เมษายน ค.ศ. 1999 (อายุ 25 ปี) | 12 | 4 | สลาวิยาปราฮา |
14 | MF | ลูกาช โปรโวต | 23 ตุลาคม ค.ศ. 1996 (อายุ 27 ปี) | 18 | 2 | สลาวิยาปราฮา |
15 | DF | ดาวิต ยูราแซ็ก | 7 สิงหาคม ค.ศ. 2000 (อายุ 23 ปี) | 7 | 0 | เทเอ็สเก ฮ็อฟเฟินไฮม์ |
16 | GK | มาแจย์ โกวาช | 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 (อายุ 24 ปี) | 1 | 0 | ไบเออร์เลเวอร์คูเซิน |
17 | FW | วาตสลัฟ แชร์นี | 17 ตุลาคม ค.ศ. 1997 (อายุ 26 ปี) | 15 | 5 | เฟาเอ็ฟเอ็ล ว็อลฟส์บวร์ค |
18 | DF | ลายิสลัฟ แกรย์ชี | 20 เมษายน ค.ศ. 1999 (อายุ 25 ปี) | 9 | 3 | สปาร์ตาปราฮา |
19 | FW | โตมาช โครี | 26 มกราคม ค.ศ. 1995 (อายุ 29 ปี) | 3 | 2 | วิกโตริยาเปิลแซ็ญ |
20 | MF | โอนด์แฌย์ ลิงเกอร์ | 7 ตุลาคม ค.ศ. 1998 (อายุ 25 ปี) | 13 | 0 | ไฟเยอโนร์ด |
21 | MF | ลูกาช แชร์ฟ | 10 เมษายน ค.ศ. 2001 (อายุ 23 ปี) | 0 | 0 | วิกโตริยาเปิลแซ็ญ |
22 | MF | โตมาช โซว์แช็ก (กัปตัน) | 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 (อายุ 29 ปี) | 68 | 12 | เวสต์แฮมยูไนเต็ด |
23 | GK | วีแจ็สลัฟ ยาโรช | 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2001 (อายุ 22 ปี) | 0 | 0 | ชตวร์มกราทซ์ |
24 | DF | โตมาช เวิลแช็ก | 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 (อายุ 23 ปี) | 1 | 0 | สลาวิยาปราฮา |
25 | MF | ปาแว็ล ชุลตส์ | 29 ธันวาคม ค.ศ. 2000 (อายุ 23 ปี) | 1 | 0 | วิกโตริยาเปิลแซ็ญ |
26 | MF | มาแจย์ ยูราแซ็ก | 30 สิงหาคม ค.ศ. 2003 (อายุ 20 ปี) | 1 | 0 | สลาวิยาปราฮา |
อดีตผู้เล่นคนสำคัญ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
- ↑ "Nominace reprezentace na přípravný kemp před EURO 2024" [National team nominations for the preparatory camp before EURO 2024] (ภาษาเช็ก). Czech Football Association. 28 May 2024. สืบค้นเมื่อ 28 May 2024.
- ↑ "Czech midfielder Sadilek to miss Euros after falling off bike". BBC Sport. 9 June 2024. สืบค้นเมื่อ 9 June 2024.
- ↑ "Sadilek's wheel of misfortune opens Euro door for Sevcik". Supersport. 12 June 2024. สืบค้นเมื่อ 12 June 2024.