องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
Dairy Farming Promotion Organization of Thailand | |
ตราสัญลักษณ์ | |
ภาพรวมองค์การ | |
---|---|
ก่อตั้ง | 16 มกราคม พ.ศ. 2505 |
ผู้ก่อตั้ง | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) |
องค์การก่อนหน้า |
|
ประเภท | รัฐวิสาหกิจ |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 160 หมู่ 1 ถนนมิตรภาพ ตำบลมิตรภาพ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี 18180 |
บุคลากร | 933 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
งบประมาณต่อปี | 6,998,490,000 บาท (พ.ศ. 2566)[1] |
ฝ่ายบริหารองค์การ |
|
ต้นสังกัดองค์การ | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
เอกสารหลัก | |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ขององค์การ |
องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดิมจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2504 ในชื่อ ฟาร์มโคนมและศูนย์อบรมไทย–เดนมาร์ก ตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลเดนมาร์ก ต่อมาจึงโอนมาเป็นรัฐวิสาหกิจเมื่อ พ.ศ. 2514 ปัจจุบันมีอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการ
ประวัติ
[แก้]ในการเสด็จประพาสยุโรปโดยเฉพาะการเสด็จประพาสประเทศเดนมาร์กเมื่อ พ.ศ. 2503 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงสนพระทัยในการเลี้ยงโคนมแบบเดนมาร์ก และได้ขอความช่วยเหลือจาก Danish Agricultural Organization จากนั้นรัฐบาลไทยได้ลงนามความร่วมมือช่วยเหลือทางวิชาการกับรัฐบาลเดนมาร์กเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2504 โดยเดนมาร์กให้การช่วยเหลือเป็นเงิน 4.33 ล้านโครเนอร์ (ประมาณ 23.5 ล้านบาท) ก่อนหน้านั้น นายชอนเดอร์การ์ด ชาวเดนมาร์ก ได้จัดตั้งฟาร์มโคนมและศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2504 ณ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์ก ทรงประกอบพิธีเปิดฟาร์มโคนมและศูนย์อบรมไทย–เดนมาร์กอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2505[2] และรัฐบาลไทยกำหนดให้วันที่ 17 มกราคม ของทุกปี เป็นวันโคนมแห่งชาติ และใน พ.ศ. 2509 รัฐบาลเดนมาร์กจัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาร่วมดำเนินการพร้อมสนับสนุนเงินงบประมาณจำนวน 2.87 ล้านโครเนอร์
ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 รัฐบาลไทยรับโอนกิจการฟาร์มโคนมและศูนย์อบรมไทย–เดนมาร์กมาจัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2514[3] มีชื่อว่า "องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)" สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 160 ถนนมิตรภาพ ตำบลมิตรภาพ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เพื่อดำเนินบทบาทในการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมและพัฒนาอุตสาหกรรมนม โดยมีนายยอด วัฒนสินธุ์ เป็นผู้อำนวยการคนแรก
โรงงานนม
[แก้]อ.ส.ค. มีโรงงานนมจำนวน 5 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้
- สำนักงาน อ.ส.ค. ภาคกลาง (โรงงานนมสระบุรี) ถนนมิตรภาพ ตำบลมิตรภาพ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
- สำนักงาน อ.ส.ค. ภาคใต้ (โรงงานนมประจวบคีรีขันธ์) ถนนเพชรเกษม ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- สำนักงาน อ.ส.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (โรงงานนมขอนแก่น) ตำบลท่าพระ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
- สำนักงาน อ.ส.ค. ภาคเหนือตอนล่าง (โรงงานนมสุโขทัย) ตำบลคลองมะพลับ อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย
- สำนักงาน อ.ส.ค. ภาคเหนือตอนบน (โรงงานนมเชียงใหม่) ถนนห้วยแก้ว ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ผลิตภัณฑ์
[แก้]อ.ส.ค. ผลิตผลิตภัณฑ์นมหลายรูปแบบ เช่น นมยูเอชที นมพาสเจอร์ไรส์ นมเปรี้ยว โยเกิร์ต โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า "ไทย–เดนมาร์ค"[4] รวมทั้งมีการฝึกอบรมการเลี้ยงโคนม การท่องเที่ยวฟาร์มโคนม บริการบ้านพักตากอากาศ ผลิตน้ำดื่มตรา "ไทย-เดนมาร์ค" และผลิตวารสารโคนม
การเดินทาง
[แก้]กรณีต้องการเดินทางไปยัง อ.ส.ค. สำนักงานใหญ่ และหากเดินทางมาจากฝั่งกรุงเทพเมื่อมาถึง รร.มวกเหล็กวิทยาให้เตรียมยูเทิร์นในมวกเหล็ก และลอดใต้สะพาน เดินทางมาสู่ถนนมิตรภาพอีกฝั่ง และตรงไป เลี้ยวซ้ายเข้าฟาร์มได้เลยเช่นกัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 รายงานประจำปี 2566 องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
- ↑ "ประวัติความเป็นมา กำเนิดฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ก".
- ↑ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2514ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 88 ตอนพิเศษที่ 96ก วันที่ 6 กันยายน 2514
- ↑ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย ประวัติความเป็นมา