ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MassCommCMU (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ตราสัญลักษณ์หน่วยงานไม่ถูกต้อง
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล คณะในมหาวิทยาลัย
| ชื่อ = คณะการสื่อสารมวลชน<br>มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
| ชื่ออังกฤษ = Faculty of Mass Communication , Chiangmai University
| ภาพ = Masscommcmu.jpg|thumb|
| วันที่ก่อตั้ง = 27 สิงหาคม พ.ศ. 2548
| คณบดี = รศ.ธีรภัทร วรรณฤมล
| สีประจำคณะ =
| สัญลักษณ์คณะ = นกพิราบ
| ที่อยู่ = อำเภอเมือง [[จังหวัดเชียงใหม่]] 50200
| เว็บ = http://www.masscomm.cmu.ac.th/
| วารสารคณะ =
| สถานปฏิบัติการ =
}}

'''คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่''' เดิมเป็นภาควิชาการสื่อสารมวลชน สังกัดคณะมนุษยศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2507 ปีเดียวกับการก่อตั้ง[[มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]] ต่อมาได้จัดตั้งเป็นคณะการสื่อสารมวลชน (Faculty of Mass Communication) ในวันที่ 27 สิงหาคม 2548 ผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรกคือ รองศาสตราจารย์สดศรี เผ่าอินจันทร์ และมีคณบดีคนปัจจุบันคือ รองศาสตราจารย์ธีรภัทร วรรณฤมล
'''คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่''' เดิมเป็นภาควิชาการสื่อสารมวลชน สังกัดคณะมนุษยศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2507 ปีเดียวกับการก่อตั้ง[[มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]] ต่อมาได้จัดตั้งเป็นคณะการสื่อสารมวลชน (Faculty of Mass Communication) ในวันที่ 27 สิงหาคม 2548 ผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรกคือ รองศาสตราจารย์สดศรี เผ่าอินจันทร์ และมีคณบดีคนปัจจุบันคือ รองศาสตราจารย์ธีรภัทร วรรณฤมล



รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:03, 18 ตุลาคม 2562

คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เดิมเป็นภาควิชาการสื่อสารมวลชน สังกัดคณะมนุษยศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2507 ปีเดียวกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อมาได้จัดตั้งเป็นคณะการสื่อสารมวลชน (Faculty of Mass Communication) ในวันที่ 27 สิงหาคม 2548 ผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรกคือ รองศาสตราจารย์สดศรี เผ่าอินจันทร์ และมีคณบดีคนปัจจุบันคือ รองศาสตราจารย์ธีรภัทร วรรณฤมล

คณะการสื่อสารมวลชนมีสถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน (FM100) ออกอากาศทางคลื่นความถี่ 100 เมกกะเฮิตซ์ ในระบบเอฟเอ็ม สเตอริโอมัลติเพล็กซ์ เป็นสถานที่ให้นักศึกษาแขนงวิชาวิทยุกระจายเสียงได้ฝึกปฏิบัติการเพื่อให้เกิดความชำนาญในวิชาชีพ สามารถรับฟังรายการสด รายการย้อนหลังได้ที่ http://www.fm100cmu.com/ หรือรับชมการถ่ายทอดสด (Live) ทาง https://www.facebook.com/FM100-เสียงสื่อสารมวลชน

นอกจากนี้ ยังมีศูนย์นวัตกรรมการสื่อสาร (Communication Innovation Center: CIC) ให้บริการด้านการสื่อสารหลายรูปแบบดังนี้

-จัดอบรมพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ และการสื่อสารการตลาดดิจิทัล

-ผลิตสื่อมัลติมีเดียและสื่อออนไลน์

-วางแผนการประชาสัมพันธ์และสื่อสารการตลาด

-รับจัดและออกแบบงานอีเว้นท์

-บริการห้องประชุม ห้องปฏิบัติการ และอุปกรณ์ทันสมัย

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมโทร 0 5394 2703 ต่อ 106

ที่ตั้งอาคาร

กลุ่มอาคารคณะการสื่อสารมวลชน

อาคารใหม่คณะการสื่อสารมวลชน มีพื้นที่ประมาณ 20 ไร่เศษ ซึ่งได้รับอนุมัติให้ใช้พื้นที่จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงดอยเหนือคณะเศรษฐศาสตร์ขึ้นไปทางทิศตะวันตก ประกอบด้วยอาคารจำนวน 3 กลุ่มอาคาร ได้แก่ อาคารบริหารและสถานีวิทยุ อาคารเรียนรวม และอาคารปฏิบัติการโทรทัศน์

หลักสูตร

  • ระดับปริญญาตรี
    • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการสื่อสารมวลชน จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่
    • 1. หลักสูตรการสื่อสารมวลชน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มวิชา ได้แก่ วารสารศาสตร์บูรณาการ (Integrated Journalism) การสื่อสารการตลาด (Marketing Communication) และการสื่อสารบันเทิง (Entertainment Communication)
    • 2. โครงการหลักสูตรควบระดับปริญญาตรี 2 ปริญญา (Double Degree) หลักสูตร 4 ปีครึ่ง ได้ 2 ปริญญา โดยความร่วมมือระหว่างคณะเศรษฐศาสตร์และคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    • 3. หลักสูตรภาพยนตร์ดิจิทัล (Digital Film) หลักสูตรใหม่ของคณะและเป็นแห่งแรกในภาคเหนือ โดยความร่วมมือกับวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มเปิดสอนในเดือนสิงหาคม 2562
  • ระดับปริญญาโท
    • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารบูรณาการ (Master of Arts Program in Integrated Communication)
    • -การสื่อสารศึกษา ภาคปกติ (เรียนวันจันทร์-ศุกร์)
    • -การสื่อสารการตลาด ภาคพิเศษ (เรียนวันเสาร์-อาทิตย์)

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงในวงการโทรทัศน์และวิทยุ

  1. คุณช่อผกา วิริยานนท์ (ผู้ประกาศข่าว , นักแสดง , พิธีกร)
  2. คุณวสันต์ อุตตมะโยธิน (นักแสดง , ผู้กำกับละครเวที)
  3. คุณอัครพล ธนะวิทวิลาศ (นักจัดรายการวิทยุ) (เสียชีวิตแล้ว)
  4. คุณคำรณ หว่างหวังศรี (ผู้สื่อข่าว)
  5. คุณจินตนา แดงเดช (อดีตผู้สื่อข่าว)
  6. คุณกฤษณะ ชาญเลาหศักดิ์พงษ์ (พิธีกร)
  7. คุณทัศน์สรวง (สัตตกมล) วรกุล (นายกสมาคมนักข่าวบันเทิง, นักจัดรายการวิทยุ, พิธีกร)
  8. คุณสุภาพ คลี่ขจาย (ผู้ประกาศข่าว , นักการเมือง)
  9. คุณศรีสุดา ชวชาติ (นักจัดรายการวิทยุ)
  10. คุณชลวิทย์ สุขอุดม (พิธีกร)
  11. คุณสมภพ จันทร์ฟัก (ผู้สื่อข่าวกีฬา กรมประชาสัมพันธ์)
  12. คุณเกณฑ์สิทธ์ กันธจันทร์ (ผู้ประกาศข่าว)

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงในวงการเพลง

  1. คุณอภิวัฒน์ พงษ์วาท (นักร้องนำวงดนตรี ETC) [1]
  2. คุณอติรุจ กิตติพัฒนะ (แคน เดอะสตาร์ 8) [2],[3]
  3. คุณธนภัทร์ ธนากรกานต์ (นักร้องนำวง Better Weather)

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงในวงการโฆษณาและภาพยนตร์

  1. คุณชูพงษ์ รัตนบัณฑูร (ผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณา เจ้าของบริษัท "อัปเปอร์คัท")
  2. คุณณิชภูมิ ชัยอนันต์ (ผู้กำกับภาพยนตร์ไทย เจ้าของกิจการ "วายุฟิล์มโปรดักชั่น") ข้อมูล

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงในวงการสื่อสิ่งพิมพ์

  1. คุณขนิษฐา พอนอ่วม (อดีตบรรณาธิการ หนังสืออนุสาร อสท.)
  2. คุณสุธิสาร์ ปฏิภาณเทวา (ช่างภาพนิตยสาร A DAY)
  3. คุณนงนาถ ห่านวิไล (บก.ข่าวการตลาด นสพ.กรุงเทพธุรกิจ)
  4. คุณคัทรียา นุดล (นักเขียน-หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ)
  5. คุณเชษฐ์ สงวนนาม (นักเขียนพ๊อกเก๊ตบุ๊ค "Checkmate Time : ผ่าวิกฤติภารกิจรุกฆาต")
  6. คุณวิโรจน์ สุทธิสีมา (บรรณาธิการนิตยสารสตาร์พิคส์)
  7. คุณพิสิทธิ์ ศรีประเสริฐ (นักเขียนรางวัลทมยันตีอวอร์ด นามปากกา เนียรปาตี)

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงในด้านอื่น ๆ

  1. คุณสลิลาทิพย์ ทิพยไกรศร (รองนางสาวไทยอันดับ 1 ประจำปี 2549/ผู้ประกาศข่าว สถานีโทรทัศน์ TNN24 / อาจารย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ)
  2. คุณศิวนนท์ แนกซ์ ไชยช่อฟ้า (ศิลปินอิสระ)
  3. คุณกุญชรี สวัสดิ์ภักดิ์ (ผอ.ส่วนประชาสัมพันธ์และสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักโฆษก ทำเนียบรัฐบาล)
  4. อ.คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (อาจารย์ประจำคณะอักษรศาตร์ ม.ศิลปากร, เชฟหมีแห่งรายการครัวกากๆ, สุดยอดแฟนพันธุ์แท้ เรื่อง ตำนานเทพเจ้า)

อ้างอิง