การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 8 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2562

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 8 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2562

← พ.ศ. 2562 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2566 →

เขตเลือกตั้งที่ 8 จังหวัดเชียงใหม่
ลงทะเบียน163,343
ผู้ใช้สิทธิ78.25%
  First party Second party
 
ผู้สมัคร ศรีนวล บุญลือ นเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ
พรรค อนาคตใหม่ พลังประชารัฐ
เลือกตั้งล่าสุด 29,556 39,221
คะแนนเสียง 75,891
(เพิ่มขึ้น46,335)
27,861
(ลดลง11,360)
% 63.43 23.29

สส.ก่อนการเลือกตั้ง

สุรพล เกียรติไชยากร
เพื่อไทย

ว่าที่สส.

ศรีนวล บุญลือ
อนาคตใหม่

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 8 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2562 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ แทนที่นายสุรพล เกียรติไชยากร ซึ่งถูกคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติสั่งเพิกถอนสิทธิสมัครไว้เป็นการชั่วคราว 1 ปี (ใบส้ม)[1] ภายหลังที่นายสุรพลถวายปัจจัยให้พระภิกษุสงฆ์ระหว่างการทอดผ้าป่า[2]

ที่มา[แก้]

คณะกรรมการการเลือกตั้งได้พิจารณาเรื่อง คัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขตเลือกตั้งที่ 8 กรณีมีเหตุอันควรสงสัยหรือความปรากฏต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งว่า นายสุรพล เกียรติไชยากร ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขตเลือกตั้งที่ 8 หมายเลข 8 พรรคเพื่อไทย (ได้รับเลือกตั้ง) ให้ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมแก่ชุมชน เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้แก่ตนเอง และมีมติดังนี้[3]

  1. สั่งระงับสิทธิรับสมัครเลือกตั้งของนายสุรพล เกียรติไชยากร ไว้เป็นการชั่วคราวเป็นระยะเวลาหนึ่งปี
  2. ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อสั่งให้เพิกถอนสิทธิรับสมัครเลือกตั้งของนายสุรพล เกียรติไชยากร
  3. สั่งยกเลิกการเลือกตั้งและให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขตเลือกตั้งที่ 8 ใหม่
  4. ดำเนินคดีอาญาแก่นายสุรพล เกียรติไชยากร

ผู้สมัคร[แก้]

ผลการเลือกตั้ง[แก้]

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ เขต 8 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2562
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
อนาคตใหม่ ศรีนวล บุญลือ (9) 75,891 63.43 +41.45
พลังประชารัฐ นเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ (4) 27,861 23.29 -5.88
ภราดรภาพ วชิรวิทย์ หลวงมณีวรรณ์ (17) 2,772 2.32 +2.22
เพื่อชาติ ทักษิณ กันทา (14) 2,291 1.91 +1.64
เสรีรวมไทย พัณณาศีส น้อยนางจม (1) 2,044 1.71 +0.32
ประชาธิปัตย์ วรณัน อ้นท้วม (2) 1,738 1.45 -0.42
พลังท้องถิ่นไท พชรพร สุใจคำ (5) 1,236 1.03 +0.63
เศรษฐกิจใหม่ ธนพัฒน์ ปฏิกา (29) 699 0.58 -0.35
พลังรัก อินทิรา บุตรดวงติ๊บ (24) 609 0.51 -0.14
ประชาภิวัฒน์ บุญสม หลุยจำวัล (12) 458 0.38 +0.29
ภูมิใจไทย สุทัศน์ สุทัศนรักษ์ (6) 404 0.34 -0.16
พลังปวงชนไทย กชพรรณ เขียวเหมย (18) 403 0.34 -0.25
รวมพลังประชาชาติไทย คณาชุพงษ์ ผดุงกิจ (10) 383 0.32 +0.14
ประชาชาติ ไตรวิทย์ แซ่ยะ (13) 347 0.29 -0.15
ครูไทยเพื่อประชาชน จำนงค์ อภิญดา (16) 325 0.27 +0.10
รักษ์ผืนป่าประเทศไทย จรูญ กันทา (3) 284 0.24 -0.09
ชาติพันธุ์ไทย พันตำรวจโท พัชรพงษ์ อัครเมธากุล (21) 258 0.22 +0.14
ประชาธรรมไทย สโรชา แดงโชติ (31) 250 0.21 +0.12
พลังชาติไทย ปานสิริ แสงคง (7) 232 0.19 -0.18
พลังธรรมใหม่ ธีระยุทธ ไชยวงค์ (11) 175 0.15 +0.02
กรีน จรูญ เจอพิมาน (23) 175 0.15 -0.09
เครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย พรชัย ต๊ะวันวงค์ (26) 174 0.15 -0.28
พลังไทยรักไทย สินาด กรีทวี (33) 136 0.11 +0.01
ชาติไทยพัฒนา ศรีสุดา รัตนจริงใจ (25) 82 0.07 -0.03
ประชากรไทย วิไลพร วรรณธิกุล (28) 80 0.07 -0.27
รวมใจไทย อนิวรรต ไชยวิลาศ (22) 73 0.06 +0.01
พลังสหกรณ์ ปริญญา ด่านชัย (19) 61 0.05 +0.01
มหาชน เกรียงไกร อินตาเปี้ย (27) 59 0.05 +0.01
ประชานิยม ศรัญย์ ปัญญา (15) 49 0.04 -0.02
ประชาชนปฏิรูป ดาบตำรวจ สมพร จันท์ตะพาน (20) 46 0.04 0.00
ไทรักธรรม ชวลิต ศรีทอง (32) 33 0.03 -0.01
เพื่อไทย สุรพล เกียรติไชยากร (8)
แทนคุณแผ่นดิน สุทธิพร หลวงยศ (30)
ผลรวม 119,636 100.00
บัตรดี 119,636 93.59
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 1,280 1.00
บัตรเสีย 6,916 5.41
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 127,832 78.25
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 163,343 100.00
อนาคตใหม่ ได้ที่นั่งจาก เพื่อไทย

อ้างอิง[แก้]