ข้ามไปเนื้อหา

องค์การจัดการน้ำเสีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์การจัดการน้ำเสีย
Wastewater Management Authority
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง15 สิงหาคม พ.ศ. 2538; 29 ปีก่อน (2538-08-15)
เขตอำนาจเขตพื้นที่จัดการน้ำเสีย
สำนักงานใหญ่333 อาคารเล่าเป้งง้วน 1 ชั้น 23 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
งบประมาณต่อปี322.3903 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • พรพจน์ เพ็ญพาส, ประธานกรรมการ
  • ชีระ วงศบูรณะ, ผู้อำนวยการ
  • อธิรักษ์ บุพจันโท, รองผู้อำนวยการปฏิบัติการ
  • ปัณณพัฒน์ จันทร์เจริญสุข, รักษาการแทนรองผู้อำนวยการวิชาการและแผน
  • วรนันท์ จันทร์ดนู, รองผู้อำนวยการบริหาร
ต้นสังกัดหน่วยงานกระทรวงมหาดไทย
เว็บไซต์www.wma.or.th

องค์การจัดการน้ำเสีย (อังกฤษ: Wastewater Management Authority) เป็นรัฐวิสาหกิจของไทย ก่อตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจัดการน้ำเสีย พ.ศ. 2538 เพื่อจัดระบบบำบัดน้ำเสียรวม สำหรับการบำบัดน้ำเสียภายในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร เดิมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม[2]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 จึงได้โอนมาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 จึงได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[3] เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจในการบำบัดน้ำเสียของชุมชนซึ่งดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[4]

เขตพื้นที่จัดการน้ำเสีย

[แก้]

องค์การจัดการน้ำเสีย ก่อตั้งขึ้นเพื่อจัดระบบบำบัดน้ำเสียรวม สำหรับการบำบัดน้ำเสียในพื้นที่ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2542 ให้เพิ่มเติมพื้นที่เทศบาลตำบลแสนสุข จังหวัดชลบุรี พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และพื้นที่จังหวัดอ่างทอง เป็นพื้นที่ในเขตจัดการน้ำเสีย[5]

ในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการกำหนดพื้นที่จัดการน้ำเสียเพิ่มเติมอีก 9 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองศรีราชา เทศบาลเมืองสกลนคร เทศบาลเมืองเพชรบุรี เทศบาลเมืองชุมแสง เทศบาลตำบลหัวหิน เทศบาลตำบลบ้านเพ เทศบาลตำบลป่าตอง เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ และเมืองพัทยา เป็นเขตจัดการน้ำเสีย[6]

การดำเนินการ

[แก้]

องค์การจัดการน้ำเสีย มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดระบบบำบัดน้ำเสียรวม[7] ในเขตพื้นที่จัดการน้ำเสียตามพระราชกฤษฎีกา และที่ประกาศเพิ่มเติม ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 องค์การจัดการน้ำเสีย ได้เริ่มต้นการให้บริการเชิงพาณิชย์เพื่อหารายได้เข้าสู่องค์กร ควบคู่กับการให้บริการเชิงสังคม เพื่อลดภาระด้านงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ โดยมีการให้บริการเชิงพาณิชย์ 4 กิจการ คือ

  1. รับจ้างบริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบบำบัดน้ำเสีย
  2. รับจ้างบริหารจัดการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
  3. รับจ้าง ศึกษา ออกแบบ สำรวจ ปรับปรุง และก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย
  4. รับจ้างฝึกอบรมการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำและควบคุมการเดินระบบบำบัดน้ำเสีย

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. พระราชกฤษฎีจัดตั้งองค์การจัดการน้ำเสีย พ.ศ. 2538
  3. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจัดการน้ำเสีย (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๑
  4. "รายงานพิเศษ : ขยายประเด็น ตอนที่ 4 "การโอนย้ายองค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) ให้กระทรวงมหาดไทยบริหารจัดการ"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-24. สืบค้นเมื่อ 2020-11-10.
  5. ประกาศองค์การจัดการน้ำเสีย เรื่อง การกำหนดเขตพื้นที่จัดการน้ำเสียเพิ่มเติม
  6. "ประกาศองค์การจัดการน้ำเสีย เรื่อง การกำหนดเขตพื้นที่จัดการน้ำเสียเพิ่มเติม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-05-04. สืบค้นเมื่อ 2012-01-16.
  7. จัดการน้ำเสียจาก ไทยรัฐ