สถานีสุขุมวิท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุขุมวิท
BL22

Sukhumvit
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนอโศกมนตรี (ซอยสุขุมวิท 21) เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°44′19″N 100°33′41″E / 13.738524°N 100.561446°E / 13.738524; 100.561446พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′19″N 100°33′41″E / 13.738524°N 100.561446°E / 13.738524; 100.561446
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย
ชานชาลา1 ชานชาลาเกาะกลาง
ราง2
การเชื่อมต่อ อโศก
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBL22
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547; 19 ปีก่อน (2547-07-03)
ผู้โดยสาร
25649,627,729
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
มุ่งหน้า หลักสอง
สายสีน้ำเงิน เพชรบุรี
มุ่งหน้า ท่าพระ ผ่าน บางซื่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
นานา
มุ่งหน้า คูคต
สายสุขุมวิท
เชื่อมต่อที่ อโศก
พร้อมพงษ์
มุ่งหน้า เคหะฯ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีสุขุมวิท (อังกฤษ: Sukhumvit Station, รหัส BL22) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนอโศกมนตรี กรุงเทพมหานคร บริเวณสี่แยกอโศกมนตรี เป็นจุดเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ที่สถานีอโศก

นอกจากนี้ สถานีสุขุมวิทยังเป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่มีผู้โดยสารมาใช้บริการมากที่สุดของสาย[1]

ที่ตั้ง[แก้]

ถนนอโศกมนตรี หน้าตลาดอโศก ด้านทิศเหนือของสี่แยกอโศกมนตรี จุดบรรจบกับถนนรัชดาภิเษก-พระรามที่ 4 และถนนอโศกมนตรี (ถนนสุขุมวิท 21) ในพื้นที่แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร

แผนผังสถานี[แก้]

FB
สะพานลอย
- อโศก และเทอร์มินัล 21 อโศก
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาสุขุมวิท
B1
ทางเดินลอดถนน
ทางเดินลอดถนน ทางออก 1-3, ศูนย์การค้าเมโทรมอลล์
B2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
B3
ชานชาลา
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ)
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง

รายละเอียดของสถานี[แก้]

สัญลักษณ์ของสถานี
"กาแล" สัญลักษณ์ของสถานี

ตราสัญลักษณ์เป็นรูป กาแล ซึ่งสื่อความหมายถึง “เรือนคำเที่ยง” ซึ่งจัดเป็นพิพิธภัณฑ์อยู่ในสยามสมาคม ถือเป็นสถาปัตยกรรมแบบกาแลที่ดีที่สุดในกรุงเทพ และใช้สีน้ำเงินเพื่อแสดงถึงการเชื่อมต่อกับระบบรถไฟลอยฟ้า [2]

รูปแบบของสถานี

เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 23 เมตร ยาว 199 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึกจากผิวดิน 17 เมตร เป็นชานชาลาแบบกลาง (Station with Central Platform)

ทางเข้า-ออก
การจัดพื้นที่ในตัวสถานี

แบ่งเป็น 3 ชั้น ประกอบด้วย

  • 1 ชั้นศูนย์การค้าเมโทรมอลล์
  • 2 ชั้นออกบัตรโดยสาร
  • 3 ชั้นชานชาลา
สิ่งอำนวยความสะดวก
  • ลิฟท์สำหรับผู้พิการ
  • มีพื้นที่จอดรถบริเวณทางเข้า 1 ด้านข้างสยามสมาคม และมีที่จอดรถเพิ่มเติมภายในอาคารคอนโดมิเนียมแอชตัน อโศก โดยปัจจุบันที่จอดรถได้ปิดให้บริการชั่วคราวจนกว่าโครงการแอชตัน อโศก ก่อสร้างแล้วเสร็จ

ศูนย์การค้าภายในสถานี[แก้]

ภายในสถานีสุขุมวิท ได้จัดให้มีส่วนร้านค้าหรือ เมโทรมอลล์ เปิดในสถานีรถไฟฟ้ามหานครเป็นที่แรกเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2548 ที่ชั้นบนสุดของสถานีโดยเป็นแนวเส้นทางเดินระหว่างทางเข้า-ออกที่ 1 ด้านทิศเหนือ และทางออกที่ 2-3 ด้านทิศใต้

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีน้ำเงิน[3]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง จันทร์ – ศุกร์ 05:53 23:56
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 06:02 23:56
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ – ศุกร์ 05:59 23:42
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:58 23:42
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง 22:56

จุดเชื่อมต่อการเดินทาง[แก้]

รถไฟฟ้า
รถโดยสารประจำทาง

ถนนรัชดาภิเษก[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[แก้]

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
2 3
(กปด.13)
สําโรง อโศกมนตรี รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) 'รถเสริมอโศก
2 รถโดยสารประจำทาง อู่เมกาบางนา ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
185 1
(กปด.31)
รถโดยสารประจำทาง อู่รังสิต รถโดยสารประจำทาง อู่คลองเตย รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
136 4
(กปด.14)
รถโดยสารประจำทาง ท่าเรือคลองเตย รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
  • ถนนสุขุมวิท ด้านนานา สาย 2(ขสมก.) 23 25 40(4-39) 48(3-11) 501 508 511 3-53 2(3-1)(TSB) 3-54
  • ถนนรัชดาภิเษก สาย 136 185 2(เมกา บางนา-ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์) 71(1-39)(TSB) 3-54 3-55

ถนนอโศกมนตรี[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[แก้]

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
185 1
(กปด.31)
รถโดยสารประจำทาง อู่รังสิต รถโดยสารประจำทาง อู่คลองเตย องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
136 4
(กปด.14)
รถโดยสารประจำทาง ท่าเรือคลองเตย รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
  • ถนนอโศกมนตรี สาย 38(3-8) 136 185 3-53 3-55

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

แผนผังบริเวณสถานี
ศูนย์การค้า
อาคารสำนักงาน
โรงแรม
  • โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท
  • โรงแรมซิตี้ลอดจ์ ซอย 19
  • โรงแรมเวสต์ทิน แกรนด์ สุขุมวิท
  • โรงแรมแมนฮัตตัน
  • โรงแรมไทปัน
  • โรงแรมพูลแมน กรุงเทพ แกรนด์ สุขุมวิท
  • โรงแรมซิทาดินส์ สุขุมวิท 16 และสุขุมวิท 23
  • โรงแรมวินด์เซอร์สวีสท์ กรุงเทพฯ
  • โรงแรมแรมแบรนท์
  • โรงแรมซอมเมอร์เซ็ท เลคพอยท์

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.otp.go.th/images/stories/PDF/2559/3_March/mrt_160359.pdf[ลิงก์เสีย]
  2. จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง: ดำดินเดินทาง. คอลัมน์นายรอบรู้ นิตยสารสารคดี เดือนตุลาคม 2548
  3. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]