ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคสันติชน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 40: บรรทัด 40:
[[หมวดหมู่:พรรคการเมืองไทยในอดีต]]
[[หมวดหมู่:พรรคการเมืองไทยในอดีต]]
[[หมวดหมู่:พรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2517]]
[[หมวดหมู่:พรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2517]]
[[หมวดหมู่:พรรคการเมืองไทยที่ถูกยุบพรรคในปี พ.ศ. 2519]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:33, 30 เมษายน 2563

พรรคสันติชน
หัวหน้าดรงค์ สิงห์โตทอง
รองหัวหน้าปรีดา พัฒนถาบุตร
อนันต์ ฉายแสง
ประพันธ์ อัมพุช
เลขาธิการเชวง วงศ์ใหญ่
ก่อตั้ง21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517
สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2518
8 / 269
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคสันติชน พรรคการเมืองของไทยในอดีตที่จดทะเบียนก่อตั้งตาม พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 เป็นลำดับที่ 18/2517 [1] มีนาย วิริยะ เกิดศิริ เป็นหัวหน้าพรรคและนายศักดา จิตธรรมา เป็นเลขาธิการพรรค

ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหาร โดยมี ดรงค์ สิงห์โตทอง เป็นหัวหน้าพรรค และเชวง วงศ์ใหญ่ เป็นเลขาธิการพรรค[2]

การเลือกตั้ง

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 พรรคสันติชนได้ ส.ส. เข้าสภาทั้งสิ้น 8 คน หลังการเลือกตั้ง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 และจัดตั้งคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 35 โดยได้รับการสนับสนุนจากพรรคเกษตรสังคม และพรรคแนวร่วมสังคมนิยม แต่ได้คะแนนเสียงสนับสนุนเพียง 103 คน ไม่ถึงครึ่งของสภา (135 คน) และไม่ได้รับความไว้วางใจในการแถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎร หม่อมราชวงศ์เสนีย์ จึงลาออกจากตำแหน่ง

หลังจากนั้นหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคม จึงได้รวบรวมพรรคการเมืองต่างๆ ได้เสียงสนับสนุน 135 เสียง ซึ่งพรรคสันติชน ได้ให้การสนับสนุนพรรคกิจสังคมด้วย และได้จัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น สำหรับพรรคสันติชน ได้ตำแหน่งรัฐมนตรี 2 ตำแหน่ง คือ

ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519 พรรคสันติชนกลับไม่ได้ที่นั่งในสภาแม้แต่ที่นั่งเดียว

การยุบพรรค

คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน นำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ได้มีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 6 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พุทธศักราช 2517 บรรดาพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติดังกล่าวให้เป็นอันสิ้นสุดลง และห้ามตั้งพรรคการเมือง[3] แต่ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 ยกเลิกคำสั่งฉบับดังกล่าว[4]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง