ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระคเณศ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ในคติของคนไทย: กรุณาอย่ากระทำผิดกฎหมายลิขสิทธิ์
Good dharma (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขในส่วนของการแสดงผลการอ้างอิง เพื่อให้ประหยัดเนื้อที่ภายในหน้าเว็บไซต์และสบายตามากขึ้น
บรรทัด 137: บรรทัด 137:
== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==


<div style="overflow:scroll;height:300px;">
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง|2}}
</div>


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:35, 15 กันยายน 2562

พระพิฆเนศ
  • เทพเจ้าแห่งการเริ่มต้นใหม่, ความสำเร็จ และสติปัญญา
  • พระผู้ขจัดอุปสรรค[1][2]
เทวรูปพระคเณศเศียรช้าง ผิววรกายสีชมพู ประทับนอนบนหมอนอิง
เทวรูปพระพิฆเนศในขบวนแห่ส่วนหนึ่งของการฉลองคเณศจตุรถี ในเมืองปูเน
ชื่อในอักษรเทวนาครีगणेशः
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤตGaṇeśa
ส่วนเกี่ยวข้องเทวะ, พระพรหม (คณปัตยะ), สคุณพรหมัน (ปัญจยาตนบูชา), พระอิศวร
ที่ประทับเขาไกรลาศ (เคียงพระศิวะและพระปารวตี), คเนศโลก
มนตร์โอม ศรีคเณศายะ นะมะ
โอม คัม คณปัตยะ นะมะ
(Oṃ Shri Gaṇeśāya Namaḥ
Oṃ Gaṃ Gaṇapataye Namaḥ)
อาวุธปรศุ (ขวาน), ปาศ (บาศ), อัณกุศ (ประตักช้าง)
สัญลักษณ์โอม, ขนมโมทกะ
พาหนะหนู
คัมภีร์คเนศปุราณะ, มุทคลปุราณะ, คณปติอัฐรวศีรษะ
เพศบุรุษ
เทศกาลคเนศจตุรถี
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครอง
บิดา-มารดา
พี่น้องพระขันทกุมาร (พี่ชาย) ศาสฐา (น้องชาย)

พระคเณศ (สันสกฤต: गणेश ทมิฬ: பிள்ளையார் อังกฤษ: Ganesha) ชาวไทยนิยมเรียกว่า พระพิฆเนศ[3] (विघ्नेश) พระนามอื่นที่พบ เช่น พระพิฆเณศวร พระพิฆเณศวร์ หรือ พระคณปติ ทรงเป็นหนึ่งในเทพเจ้าฮินดูที่ได้รับการเคารพบูชาอย่างแพร่หลายที่สุด[4] มีการเคารพอย่างแพร่หลายทั้งในอินเดีย, เนปาล, ศรีลังกา, ฟิจิ, ไทย, บาหลี, บังคลาเทศ[5] นิกายในศาสนาฮินดูทุกนิกายล้วนเคารพบูชาพระคเณศ ไม่ได้จำกัดเฉพาะในคาณปัตยะเท่านั้น[6] และการบูชาพระคเณศยังพบในพุทธและไชนะอีกด้วย[7]

พระลักษณะที่โดดเด่นจากเทพองค์อื่น ๆ คือพระเศียรที่เป็นช้าง[8] พระคเณศเคารพกันโดยทั่วไปในฐานะของเทพเจ้าผู้ขจัดอุปสรรค[9], องค์อุปถัมภ์แห่งศิลปวิทยาการ วิทยาศาสตร์ และศาสตร์ทั้งปวง และทรงเป็นเทพเจ้าแห่งความฉลาดเฉลียวและปัญญา[10] ในฐานะที่พระองค์ยังทรงเป็นเทพเจ้าแห่งการเริ่มต้น ในบทสวดบูชาต่าง ๆ ก่อนเริ่มพิธีการหรือกิจกรรมใด ๆ ก็จะเปล่งพระนามพระองค์ก่อนเสมอ ๆ [11][2]

สันนิษฐานกันว่าพระคเณศน่าจะปรากฏขึ้นเป็นเทพเจ้าครั้งแรกในราวคริสต์ศตวรรษที่ 2[12] ส่วนหลักฐานยืนยันว่ามีการบูชากันย้อนกลับไปเมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 4-5 สมัยอาณาจักรคุปตะ ถึงแม้พระลักษณะจะพัฒนามาจากเทพเจ้าในพระเวทและยุคก่อนพระเวท[13] เทพปกรณัมฮินดูระบุว่าพระคเณศทรงเป็นพระบุตรของพระศิวะ และ พระปารวตี พระองค์พบบูชากันอย่างแพร่หลายในทุกนิกายและวัฒนธรรมท้องถิ่นของศาสนาฮินดู[14][15] พระคเณศทรงเป็นเทพเจ้าสูงสุดในนิกายคาณปัตยะ [16] คัมภีร์หลักของพระคเณศเช่น คเณศปุราณะ, มุทคลปุราณะ และ คณปติอฐารวศีรสะ นอกจากนี้ยังมีสารานุกรมปุราณะอีกสองเล่มที่กล่าวเกี่ยวกับพระคเณศ คือ พรหมปุราณะ และ พรหมันทปุราณะ

พระคเณศแทนมหาคณปติ ในความจริงนิรันดร์ ปรพรหมัน

ศัพทมูลและพระนามอื่น ๆ

พระพิฆเนศศิลปะพม่า

พระพิฆเนศมีพระนามอื่น ๆ ที่นิยมเรียกขานกัน เช่น “พระคณปติ” (Ganapati, Ganpati) และ “พระวิฆเนศวร” หรือ “พระวิฆเนศ” (Vighneshwara) โดยทั่วไปแล้วมักพบการนำคำว่า “ศรี” ไว้นำหน้าพระนามด้วย เช่น “พระศรีฆเนศวร” (Sri Ganeshwara)

คำว่า “คเณศ” นั้นมาจากคำสันสกฤตคำว่า “คณะ” (gaṇa) แปลว่ากลุ่ม ระบบ และ “อิศ” (isha แปลงเสียงเป็น เอศ) แปลว่า จ้าว[17] คำว่า “คณ” นั้นสามารถใช้นิยาม “คณะ” คือกองทัพของสิ่งมีชีวิตกี่งเทวะที่เป็นหนึ่งในผู้ติดตามของพระศิวะ ผู้ทรงเป็นพระบิดาของพระพิฆเนศ[18] แต่โดยทั่วไปนั้นคือความหมายเดียวกันกับ “คณะ” ที่ใช้ในภาษาไทย แปลว่ากลุ่ม องค์กร หรือระบบ[19] มีนีกวิชาการบางส่วนที่ตีความว่า “พระคณ” จึงอาจแปลว่าพระแห่งการรวมกลุ่ม พระแห่งคณะคือสิ่งทั้งปวงที่เกิดขึ้น ธาตุต่าง ๆ [20] ส่วนคำว่า “คณปติ” (गणपति; gaṇapati) มาจากคำสันสกฤตว่า “คณ” แปลว่าคณะ และ “ปติ” แปลว่า ผู้นำ[19] แม้คำว่า “คณปติ” จะพบครั้งแรกในฤคเวทอายุกว่าสองพันปีก่อนคริสตกาล ในบทสวด 2.23.1 นักวิชาการยังเป็นที่ถกเถียงว่าคำนี้จะหมายถึงพระคเณศโดยเฉพาะเลยหรือไม่[21][22] ในอมรโกศ (Amarakosha)[23] ปทานุกรมสันสกฤตโบราณ ได้ระบุพระนามของพระคเณศดังนี้ “วินยกะ” (Vinayaka), “วิฆนราช” (Vighnarāja ตรงกับ “วิฆเนศ” ในปัจจุบัน), “ทไวมาตุระ” (Dvaimātura ผู้ซึ่งมีสองมารดา), [24] “คณาธิป” (Gaṇādhipa ตรงกับ คณปติ และ คเณศ ในปัจจุบัน), เอกทันต์ (Ekadanta งาเดียว), “Heramba”, “ลัมโพทร” (Lambodara ผู้ซึ่งมีท้องกลมเหมือนหม้อ) และ “คชานนะ” (Gajānana)[25]

“วินยกะ” (विनायक; vināyaka) ก็เป็นอีกพระนามหนึ่งที่พบทั่วไป โดยพบในปุราณะต่าง ๆ และในตันตระของศาสนาพุทธ[26] โบสถ์พราหมณ์ 8 แห่งที่โด่งดังในรัฐมหาราษฏระที่เรียกว่า “อัศตวินายก” (Ashtavinayaka) ก็ได้นำพระนามนี้มาใช้ในการตั้งชื่อเช่นกัน[27] ส่วนพระนาม “วิฆเนศ”(विघ्नेश; vighneśa) และ “วิฆเนศวร”(विघ्नेश्वर; vighneśvara) แปลว่า “จ้าวแห่งการกำจัดอุปสรรค”[28] แสดงให้เห็นถึงการยกย่องให้ทรงเป็นเทพเจ้าแห่งการเริ่มต้นและกำจัดอุปสรรค (วิฆน) ในศาสนาฮินดู[29]

ในภาษาทมิฬนิยมเรียกพระนาม “ปิลไล” (Pillai; ทมิฬ: பிள்ளை) หรือ “ปิลไลยาร์” (Pillaiyar; பிள்ளையார்)[30] A.K. Narain ระบุว่าทั้งสองคำนี้ต่างกันที่ ปิลไล แปลว่า “เด็ก” ส่วน ปิลไลยาร์ แปลว่า “เด็กผู้สูงศักดิ์” ส่วนคำอื่น ๆ อย่าง “ปัลลุ” (pallu), “เปลละ” (pell), “เปลลา” (pella) ในตระกูลภาษาดราวิเดียน สื่อความถึง “ทนต์” คือฟันหรือในที่นี้หมายถึง งา[31] Anita Raina Thapan เสริมว่ารากศัพท์ของ “ปิลเล” (pille) ใน “ปิลไลยาร์” น่าจะมาขากคำที่แปลว่า “ความเยาว์ของช้าง” ซึ่งมาจากคำภาษาบาลี “ปิลลกะ” (pillaka) แปลว่า ช้างเด็ก[32]

ในภาษาพม่าเรียกพระคเณศว่า “มะหา เปนเน" (Maha Peinne; မဟာပိန္နဲ, ออกเสียง: [məhà pèiɴné]) ซึ่งมาจากภาษาบาลี “มหาวินายก” (Mahā Wināyaka (မဟာဝိနာယက)[33] และในประเทศไทยนิยมใช้พระนาม “พระพิฆเนศ”[34]

ประติมานวิทยา

พระคเณศถือว่าได้รับความนิยมมากในศิลปะอินเดีย[35] และมีพระลักษณะที่หลากหลายไปตามเวลา ต่างจากในเทพฮินดูส่วนใหญ่[36] มีพระลักษณะทรงยืน ร่ายรำ ทรงเอาชนะอสูรร้าย ประทับกับพระบิดาและมารดาในลักษณะพลคณปติ (พระคเณศวัยเยาว์) หรือประทับบนบัลลังก์ รายล้อมด้วยพระชายา

พระลักษณะทั่วไป

พระลักษณะของพระคเณศที่มีพระเศียรเป็นเป็นช้างนั้นพบมาตั้งแต่ในศิลปะอินเดียยุคแรก ๆ [37] ปกรณัมในปุราณะระบุถึงสาเหตุมากมายถึงที่มาของพระเศียรที่ทรงเป็นช้าง[38] นอกจากนี้ยังพบพระลักษณะ “พระเหรัมภะ” คือปางห้าเศียร และปางอื่น ๆ ที่มีจำนวนพระเศียรหลากหลายเช่นกัน[39] คัมภีร์บางส่วนระบุว่าพระองค์ประสูติมาพร้อมกับพระเศียรที่เป็นช้าง บ้างก็ระบุว่าทรงได้รับพระเศียรนี้ในภายหลัง[40] ความเชื่อหนึ่งที่นิยมแพร่หลายมากที่สุดคือพระองค์ทรงถูกสร้างขึ้นโดยพระปารวตีทรงปั้นดินเหนียวขึ้นเพื่อปกป้องพระองค์เองและพระศิวะก็ทรงตัดพระเศียรของพระคเณศออกและประทานพระเศียรช้างให้แทน[41] ส่วนรายละเอียด ศึกต่าง ๆ ที่นำไปสู่การประทานเศียรใหม่นั้น แตกต่างกันไปตามเอกสารต่าง ๆ [42][43] อีกความเชื่อกนึ่งที่แพร่หลายเช่นกัน ระบุว่าพระคเณศประสูติจากเสียงพระสรวลของพระศิวะ แต่ด้วยพระลักษณะของพระคเณศที่ประสูติออกมานั้นเป็นที่ล่อตาล่อใจเกินไป จึงทรงประทานพระเศียรใหม่ที่เป็นช้าง และพระอุทร (ท้อง) อ้วนพลุ้ย[44]

พระนามที่เกิดขึ้นในภายหลังที่สุดคือ “เอกทันต์” หรือ “เอกทนต์” (งาเดียว) มาจากพระลักษณะที่ทรงมีงาเพียงข้างเดียว อีกข้างนั้นแตกหัก[45] บางพระรูปที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นปรากฏทรงถืองาที่หักในพระหัตถ์[46] ลักษณะ “เอกทันต์” นี้มีความสำคัญมาก ดังที่ระบุในมุทกลปุราณะ ซึ่งระบุว่าทรงกลับชาติมาเกิดครั้งที่สองเป็น “เอกทันต์”[47] ส่วนพระลักษณะของพระอุทรพลุ้ยนั้นถือเป็นลักษณะที่โดดเด่นและพบปรากฏตั้งแต่ในศิลปะยุคคุปตะ (ศตวรรษที่ 4 - 6)[48] พระลักษณะนี้ก็มีความสำคัญมาก ดังที่ในมุทกลปุราณะระบุพระนามที่ทรงกลับชาติมาเกิดตามพระลักษณะนี้ถึงสองพระนาม คือ “ลัมโภทร” (ท้องห้อยเหมือนหม้อ), “มโหทร” (ท้องใหญ่)[49] พระนามั้งสองนี้มากจากคำภาษาสันสกฤต “อุทร” ที่แปลว่าท้อง [50] ใน “พรหมันทปุราณะ” ระบุว่าพระนาม “ลัมโภทร” มาจากการที่จักรวาลทั้งปวง อดีต ปัจจุบัน และอนาคต (ไข่จักรวาล หรือ “พรหมาณทัส”)[51] พบ 2 - 16 พระกร[52] พระรูปส่วนใหญ่ของพระองค์มีสี่พระกร ซึ่งพบระบุทั่วไปในปุราณะต่าง ๆ[53] พระรูปในยุคแรก ๆ ปรากฏสองพระกร[54] ส่วนปางที่ทรงมี 14 และ 20 พระกรพบในอินเดียกลาง ช่วงศตวรรษที่ 9 และ 10[55] นอกจากนั้นยังพบพญานาคประกอบอยู่กับเทวรูปโดยทั่วไป มีหลากหลายรูปแบบ[56] ซึ่งในคเณศปุราณะระบุว่าพระองค์ทรงพันวาสุกิรอบพระศอ[57] บางครั้งก็มีการแสดงภาพของงูหรือนาคในลักษณะของด้ายศักดิ์สิทธิ์ (วัชณโยปวีตะ; yajñyopavīta)[58] คล้องรอบพระอุทร, ทรงถือในพระหัตถ์, ขดอยู่ที่เข่า หรือประทับเป็นบัลลังก์นาค ในบางงานศิลป์ปรากฏพระเนตรที่สามบนพระนลาฏ (หน้าผาก) บ้างปรากฏรอยขีดเจิม (ติลัก) สามเส้นในแนวนอน[59] ในคเณศปุราณะมีกำหนดทั้งติลักและจันทร์เสี้ยวบนพระนลาฏ [60] ลักษณะนี้ปรากฏในปาง “พาลจันทร์” (Bhalachandra - ดวงจันทร์บนหน้าผาก)[61] สีพระวรกายมักถูกระบุว่าเป็นสีแดง[62] สีต่าง ๆ ของพระวรกายมีความสัมพันธ์กับปางต่าง ๆ บางปาง[63] ปางทำสมาธิต่าง ๆ ตรงกับสีพระวรกายต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน ข้อมูลนี้ระบุไว้ขัดเจนใน “ศรีตัตตวนิธิ” ตำราประติมานวิทยาฮินดู เช่น สีขาวสื่อถึงปาง “เหรัมภะ คณปติ” และ “รินะ โมจนะ คณปติ” (Rina-Mochana-Ganapati; พระคณปติผู้ทรงหลุดพ้นจากโซ่ตรวนที่ตรึงไว้)[64] ส่วน “เอกทันตคณปติ” จะมีสีพระวรกายน้ำเงินเมื่อทรงทำสมาธิ[65]

พระวาหนะ

ในงานยุคแรก ๆ ไม่ปรากฏพระสาหนะ (พาหนะของเทพเจ้า)[66] มุทคลปุราณะระบุว่าในพระชาติที่เสวยแปดพระชาติ พระองค์ทรงใช้หนูในห้าพระชาติ ส่วนอีกสามพระชาติทรงใช้ วกรตุนทะ (สิงโต), วิตกะ (นกยูง) และ เศศะ (พญานาคสูงสุด)[67] ส่วนในคเณศปุราณะระบุว่าในสี่พระชาติ (มโหตกล; Mahotkala) พระชาติ โมโหตกล ทรงใช้สิงโต, พระชาติ มยูเรศวร ทรงใช้นกยูง, พระชาติ ธุมรเกตุ ทรงใช้ม้า และ พระชาติคชนณะ ทรงใช้หนู ในศาสนาไชนะมีปรากฏพระวาหนะเป็นทั้งหนู ช้าง เต่า แกะ และนกยูง[68]

ปกรณัม

ในคราวที่ พระศิวะ เสด็จไปบำเพ็ญสมาธิเป็นระยะเวลานานอยู่นั้น พระปารวตี เนื่องจากประทับอยู่พระองค์เดียวเลยเกิดความเหงา และมีพระประสงค์ที่จะมีผู้มาคอยดูแลพระองค์ และป้องกันคนภายนอกที่จะเข้ามาก่อความวุ่นวายในพระตำหนัก จึงทรงเสกเด็กขึ้นมาเพื่อเป็นพระโอรสที่จะเป็นเพื่อนในยามที่พระศิวะเสด็จออกไปตามพระกิจต่าง ๆ มีอยู่คราวหนึ่ง เมื่อพระนางทรงเข้าไปสรงน้ำในพระตำหนักด้านในนั้น พระศิวะเสด็จกลับมาและเมื่อจะเสด็จเข้าไปด้านใน ก็ทรงถูกเด็กหนุ่มห้ามไม่ให้เข้า เนื่องจากมิทรงทราบว่าเป็นใครและในลักษณะเดียวกัน พระศิวะก็มิทรงทราบว่าเด็กหนุ่มนั้นเป็นพระโอรสที่พระปารวตีทรงเสกขึ้นมา เมื่อพระองค์ทรงถูกขัดพระทัยก็ทรงพิโรธและทรงตวาดให้เด็กหนุ่มนั้นหลีกทางให้ พลางถามว่ารู้ไหมว่ากำลังห้ามใครอยู่ ฝ่ายเด็กหนุ่มนั้นก็ตอบกลับว่าไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ว่าเป็นใคร เพราะตนกำลังทำตามพระบัญชาของพระปารวตี และทั้งสองก็ได้ทำการต่อสู้กันอย่างรุนแรงจนเทพทั่วทั้งสวรรค์เกิดความวิตกในความหายนะที่จะตามมา และในที่สุดเด็กหนุ่มนั้นก็ถูกตรีศูลของพระศิวะจนสิ้นใจ และศีรษะก็ถูกตัดหายไป

ในขณะนั้นเอง พระปารวตีเมื่อทรงได้ยินเสียงดังกึกก้องไปทั่วจักรวาลก็เสด็จออกมาด้านนอก และถึงกับทรงสิ้นพระสติเมื่อทอดพระเนตรร่างพระโอรสที่ปราศจากศีรษะ และเมื่อทรงได้พระสติก็ทรงมีความโศกาอาดูรและตัดพ้อพระสวามีที่มีใจโหดเหี้ยมทำร้ายเด็กได้ลงคอ โดยเฉพาะเมื่อเด็กนั้นเป็นพระโอรสของพระนางเอง เมื่อทรงได้ยินพระนางตัดพ้อต่อว่าเช่นนั้น พระศิวะก็ตรัสว่าจะทำให้เด็กนั้นกลับพื้นขึ้นมาใหม่ แต่ก็เกิดปัญหาเนื่องจากหาศีรษะที่หายไปไม่ได้ และยิ่งใกล้เวลาเช้าแล้วต่างก็ยิ่งทรงกระวนกระวายพระทัย เนื่องจากหากดวงอาทิตย์ขึ้นแล้วก็จะไม่สามารถชุบชีวิตให้เด็กหนุ่มฟื้นขึ้นมาได้ เมื่อเห็นเช่นนั้น พระศิวะ จึงทรงโยนตรีศูลอาวุธของพระองค์ออกไปหาศีรษะสิ่งที่มีชีวิตแรกที่พบมา และปรากฏว่าเหล่าเทพได้นำเอาศีรษะช้างมา ซึ่งพระศิวะทรงนำศีรษะมาต่อให้และชุบชีวิตให้ใหม่ พร้อมยกย่องให้เป็นเทพที่สูงที่สุด และขนานนามว่า "พระพิฆเนศ" ซึ่งแปลว่าเทพผู้ขจัดปัดเป่าอุปสรรค และยังประทานพรว่าในการประกอบพิธีการต่าง ๆ ทั้งหมดนั้นจะต้องทำพิธีบูชาพระพิฆเนศก่อนเพื่อความสำเร็จของพิธีนั้น

เนื่องจากพระพิฆเนศมีพระวรกายที่ไม่เหมือนเทพอื่น ๆ นั้น ได้มีการอธิบายถึงพระวรกายของพระองค์ดังนี้

  1. พระเศียรของพระองค์หมายถึงวิญญาณซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการมีชีวิต
  2. พระวรกายแสดงถึงการที่ทรงเป็นมนุษย์ที่อยู่บนพื้นปฐพี
  3. พระเศียรช้างแสดงถึงความเฉลียวฉลาด
  4. เสียงดังที่เปล่งออกมาจากงวงหมายถึงคำว่า "โอม" (ॐ) ซึ่งเป็นเสียงแสดงถึงความเป็นสัจจะของสุริยจักรวาล
  5. พระหัตถ์ขวาล่างทรงงาช้างที่หักครึ่ง ซึ่งพระองค์ทรงใช้เป็นปากกาในการเขียนมหากาพย์ มหาภารตะ ให้ ฤๅษีวยาส และเป็นสัญลักษณ์แห่งความเสียสละ
  6. พระหัตถ์ซ้ายบนทรงปาศะ (เชือก) ที่ทรงใช้ในการนำพามนุษย์ไปสู่เส้นทางแห่งธรรมะและหลุดพ้นพร้อมทรงขจัดอุปสรรคในระหว่างทาง ทรงป้องกันและพันฝ่าความยากลำบาก
  7. อีกพระหัตถ์ทรงลูกประคำ แสดงว่าการแสวงหาความรู้จะต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
  8. ขนมโมทกะ หรือขนมลัฑฑูในงวง เป็นการชี้นำว่ามนุษย์จะต้องแสวงหาความหวานชื่นในจิตวิญญาณของตนเอง เพื่อที่จะได้มีจิตเอื้อเพื้อเผื่อแผ่ให้กับคนอื่น ๆ
  9. พระกรรณที่กว้างใหญ่เหมือนใบพัด หมายความว่าพระองค์ทรงพร้อมที่รับฟังสิ่งที่เราร้องเรียนและเรียกหา
  10. งูที่พันอยู่รอบพระอุทร แสดงถึงพลังที่มีอยู่โดยรอบ
  11. หนูที่ทรงใช้เป็นพาหนะแสดงถึงความไม่ถือพระองค์ และพร้อมที่จะเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตที่เล็กและเป็นที่รังเกียจของมนุษย์ส่วนมาก

การเฉลิมฉลอง

เทศกาลคเณศจตุรถี

การอุ้มเทวรูปพระพิฆเนศลงน้ำ ที่เมืองมุมไบ ในเทศกาลคเณศจตุรถี

เทศกาลคเณศจตุรถี นับเป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการบูชาพระพิฆเนศ จะกระทำในวันแรม 4 ค่ำ เดือน 9 และวันแรม 4 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พระองค์ทรงชนะอสูร เชื่อกันว่าพระองค์จะเสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์เพื่อประทานพรอันประเสริฐสูงสุดแก่ผู้ศรัทธาพระองค์ท่าน เทศกาลนี้มีการจัดพิธีกรรมบูชาและการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทั่วประเทศอินเดียและทั่วโลก มีการจัดสร้างเทวรูปพระพิฆเนศขนาดใหญ่โตมโหฬารเพื่อเข้าพิธีบูชา จากนั้นจะแห่เทวรูปไปทั่วเมืองและมุ่งหน้าไปสู่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์สายต่าง ๆ ถนนหนทางทั่วทุกหนแห่งจะมีแต่ผู้คนออกมาชมการแห่เทวรูปนับร้อยนับพันองค์ ผู้ศรัทธาทุกคนแต่งชุดส่าหรีสีสันสวยงาม ขบวนแห่จะไปสิ้นสุดที่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น แม่น้ำคงคา แม่น้ำสรัสวตี เป็นต้น แล้วทำพิธีลอยเทวรูปลงสู่แม่น้ำหรือทะเล

เทศกาลคเณศจตุรถีและพิธีกรรมต่าง ๆ กระทำกันมาแต่โบราณ มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย และหนึ่งในพิธีกรรมที่กระทำกันก็คือ "เอกวีสติ ปัตรบูชา" หรือการบูชาด้วยใบไม้ 21 ชนิดเป็นเวลา 21 วัน[69]

ในวัฒนธรรมอื่น ๆ

ในคติของคนไทย

จากคติความเชื่อที่ว่าพระพิฆเนศเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการ โดยในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ด้วยความเลื่อมใสของพระองค์ที่มีต่อพระพิฆเนศ จนถึงขนาดที่ว่าได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเทวาลัยเพื่อเป็นที่ประดิษฐานของเทวรูปพระพิฆเนศขึ้น ณ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม และทรงมีพระราชนิพนธ์เรื่องเกี่ยวกับพระพิฆเนศไว้สำหรับการนาฏศิลป์โดยเฉพาะ เมื่อทรงตั้ง วรรณคดีสโมสร ก็พระราชทานเทวรูปพระพิฆเนศเป็นตราประจำสถาบันนั้น เมื่อ กรมศิลปากร เกิดขึ้นและรับตราดังกล่าวมาเป็นตราประจำกรม โดยตรากรมศิลปากร ใช้เป็นรูปพระพิฆเนศประทับลวดลายกนกลักษณะคล้ายเมฆ ทรงถือปาศะครอบน้ำวัชระและทันตะอยู่ในวงกลมที่ล้อมรอบด้วยดวงแก้ว 7 ดวง หมายถึงศิลปวิทยา 7 อย่างที่อยู่ในขอบเขตหน้าที่ของกรมศิลปากร และต่อมายังได้ใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร[70][71] วิทยาลัยช่างศิลป และ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ [72][73]

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

ใน พ.ศ. 2553 ค่าย Shemaroo Entertainmant ได้สร้างภาพยนตร์การ์ตูนอินเดีย เรื่อง "Bal Ganesh" หรือในชื่อภาษาไทยว่า พระพิฆเนศ มหาเทพแห่งปัญญา ถึง 2 ภาค

อ้างอิง

  1. Heras 1972, p. 58.
  2. 2.0 2.1 Getty 1936, p. 5.
  3. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 834
  4. Rao, p. 1.
    • Brown, p. 1. "Gaṇeśa is often said to be the most worshipped god in India."
    • Getty, p. 1. "Gaṇeśa, Lord of the Gaṇas, although among the latest deities to be admitted to the Brahmanic pantheon, was, and still is, the most universally adored of all the Hindu gods and his image is found in practically every part of India."
    • Rao, p. 1.
    • Martin-Dubost, pp. 2–4.
    • Brown, p. 1.
    • Chapter XVII, "The Travels Abroad", in: Nagar (1992), pp. 175–187. For a review of Ganesha's geographic spread and popularity outside of India.
    • Getty, pp. 37–88, For discussion of the spread of Ganesha worship to Nepal, Chinese Turkestan, Tibet, Burma, Siam, Indo-China, Java, Bali, Borneo, China, and Japan
    • Martin-Dubost, pp. 311–320.
    • Thapan, p. 13.
    • Pal, p. x.
  5. Martin-Dubost, p. 2.
  6. For Ganesha's role as an eliminator of obstacles, see commentary on Gaṇapati Upaniṣad, verse 12 in Saraswati 2004, p. 80
  7. Heras 1972, p. 58
  8. These ideas are so common that Courtright uses them in the title of his book, Ganesha: Lord of Obstacles, Lord of Beginnings.
  9. Brown, Robert L. (1991). Ganesh: Studies of an Asian God (ภาษาอังกฤษ). SUNY Press. ISBN 978-0791406564.
  10. Narain, A.K. "Gaṇeśa: The Idea and the Icon" in Brown 1991, p. 27
  11. Gavin D. Flood (1996). An Introduction to Hinduism. Cambridge University Press. pp. 14–18, 110–113. ISBN 978-0521438780.
  12. Vasudha Narayanan (2009). Hinduism. The Rosen Publishing Group. pp. 30–31. ISBN 978-1435856202.
  13. For history of the development of the gāṇapatya and their relationship to the wide geographic dispersion of Ganesha worship, see: Chapter 6, "The Gāṇapatyas" in: Thapan (1997), pp. 176–213.
    • Narain, A.K. "Gaṇeśa: A Protohistory of the Idea and the Icon". Brown, pp. 21–22.
    • Apte, p. 395.
  14. For the derivation of the name and relationship with the gaṇas, see: Martin-Dubost. p. 2.
  15. 19.0 19.1 Apte 1965, p. 395.
  16. The word gaṇa is interpreted in this metaphysical sense by Bhāskararāya in his commentary on the gaṇeśasahasranāma. See in particular commentary on verse 6 including names Gaṇeśvaraḥ and Gaṇakrīḍaḥ in: Śāstri Khiste 1991, pp. 7–8.
  17. Grimes 1995, pp. 17–19, 201.
  18. Rigveda Mandala 2 เก็บถาวร 2 กุมภาพันธ์ 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Hymn 2.23.1, Wikisource, Quote: गणानां त्वा गणपतिं हवामहे कविं कवीनामुपमश्रवस्तमम् । ज्येष्ठराजं ब्रह्मणां ब्रह्मणस्पत आ नः शृण्वन्नूतिभिः सीद सादनम् ॥१॥; For translation, see Grimes (1995), pp. 17–19
    • Oka 1913, p. 8 for source text of Amarakośa 1.38 as vināyako vighnarājadvaimāturagaṇādhipāḥ – apyekadantaherambalambodaragajānanāḥ.
    • Śāstri 1978 for text of Amarakośa versified as 1.1.38.
  19. Y. Krishan, Gaṇeśa: Unravelling an Enigma, 1999, p. 6): "Pārvati who created an image of Gaṇeśa out of her bodily impurities but which became endowed with life after immersion in the sacred waters of the Gangā. Therefore he is said to have two mothers—Pārvati and Gangā and hence called dvaimātura and also Gāngeya."
  20. Krishan p. 6
  21. Thapan, p. 20.
  22. For the history of the aṣṭavināyaka sites and a description of pilgrimage practices related to them, see: Mate, pp. 1–25.
  23. These ideas are so common that Courtright uses them in the title of his book, Ganesha: Lord of Obstacles, Lord of Beginnings. For the name Vighnesha, see: Courtright 1985, pp. 156, 213
  24. For Krishan's views on Ganesha's dual nature see his quote: "Gaṇeśa has a dual nature; as Vināyaka, as a grāmadevatā, he is vighnakartā, and as Gaṇeśa he is vighnahartā, a paurāṇic devatā." Krishan, p. viii.
  25. Martin-Dubost, p. 367.
  26. Narain, A.K. "Gaṇeśa: The Idea and the Icon". Brown, p. 25.
  27. Thapan, p. 62.
  28. Myanmar-English Dictionary, Yangon: Dunwoody Press, 1993, ISBN 978-1881265474, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2010, สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2010 {{citation}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  29. Justin Thomas McDaniel (2013). The Lovelorn Ghost and the Magical Monk: Practicing Buddhism in Modern Thailand. Columbia University Press. pp. 156–157. ISBN 978-0231153775.
  30. Pal, p. ix.
    • Martin-Dubost, for a comprehensive review of iconography abundantly illustrated with pictures.
    • Chapter X, "Development of the Iconography of Gaṇeśa", in: Krishan 1999, pp. 87–100, for a survey of iconography with emphasis on developmental themes, well-illustrated with plates.
    • Pal, for a richly illustrated collection of studies on specific aspects of Ganesha with a focus on art and iconography.
  31. Nagar, p. 77.
  32. Brown, p. 3.
  33. Nagar, p. 78.
  34. Brown, p. 76.
  35. Brown, p. 77.
  36. Brown, pp. 77–78.
  37. Brown, pp. 76–77.
  38. For creation of Ganesha from Shiva's laughter and subsequent curse by Shiva, see Varaha Purana 23.17 as cited in Brown: p. 77.
  39. Getty 1936, p. 1.
  40. Heras, p. 29.
  41. , Granoff, Phyllis. "Gaṇeśa as Metaphor". Brown, p. 90.
  42. "Ganesha in Indian Plastic Art" and Passim. Nagar, p. 101.
  43. Granoff, Phyllis. "Gaṇeśa as Metaphor". Brown, p. 91.
  44. For translation of Udara as "belly" see: Apte, p. 268.
    • Br. P. 2.3.42.34
    • Thapan, p. 200, For a description of how a variant of this story is used in the Mudgala Purana 2.56.38–9
  45. For an iconographic chart showing number of arms and attributes classified by source and named form, see: Nagar, pp. 191–195. Appendix I.
  46. For history and prevalence of forms with various arms and the four-armed form as one of the standard types see: Krishan 1999, p. 89.
    • Krishan 1999, p. 89, For two-armed forms as an earlier development than four-armed forms.
    • Brown, p. 103. Maruti Nandan Tiwari and Kamal Giri say in "Images of Gaṇeśa In Jainism" that the presence of only two arms on a Ganesha image points to an early date.
  47. Martin-Dubost, p. 120.
    • Martin-Dubost, p. 202, For an overview of snake images in Ganesha iconography.
    • Krishan 1999, pp. 50–53, For an overview of snake images in Ganesha iconography.
    • Martin-Dubost, p. 202. For the Ganesha Purana references for Vāsuki around the neck and use of a serpent-throne.
    • Krishan 1999, pp. 51–52. For the story of wrapping Vāsuki around the neck and Śeṣa around the belly and for the name in his sahasranama as Sarpagraiveyakāṅgādaḥ ("Who has a serpent around his neck"), which refers to this standard iconographic element.
    • Martin-Dubost, p. 202. For the text of a stone inscription dated 1470 identifying Ganesha's sacred thread as the serpent Śeṣa.
    • Nagar, p. 92. For the snake as a common type of yajñyopavīta for Ganesha.
    • Nagar, p. 81. tilaka with three horizontal lines.
    • the dhyānam in: Sharma (1993 edition of Ganesha Purana) I.46.1. For Ganesa visualized as trinetraṁ (having three eyes).
    • Nagar, p. 81. For a citation to Ganesha Purana I.14.21–25 and For a citation to Padma Purana as prescribing the crescent for decoration of the forehead of Ganesha
    • Bailey (1995), pp. 198–199. For the translation of Ganesha Purana I.14, which includes a meditation form with the moon on forehead.
    • Nagar, p. 81. For Bhālacandra as a distinct form worshipped.
    • Sharma (1993 edition of Ganesha Purana) I.46.15. For the name Bhālacandra appearing in the Ganesha Sahasranama
  48. Nagar, Preface.
  49. "The Colors of Ganesha". Martin-Dubost, pp. 221–230.
  50. Martin-Dubost, pp. 224–228
  51. Martin-Dubost, p. 228.
  52. Krishan, pp. 48, 89, 92.
  53. Krishan, p. 49.
    • Krishan, pp. 48–49.
    • Bailey (1995), p. 348. For the Ganesha Purana story of Mayūreśvara with the peacock mount (GP I.84.2–3)
    • Maruti Nandan Tiwari and Kamal Giri, "Images of Gaṇeśa In Jainism", in: Brown, pp. 101–102.
  54. สืบสานประเพณีพิธีคเณศจตุรถี และคเณศวิวาหะ (แต่งงานพระคเณศ), Sanook.com วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 2:42 น.
  55. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ๒๔) เรื่องกำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๒, ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ ๕๓ เล่ม ๖๘ หน้า ๑๒๙๖ ๒๑ สิงหาคม ๒๔๙๔
  56. ประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๑๘๒ ง หน้า ๒๕ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๙
  57. ความเชื่อ เรื่อง พระพิฆเนศวรในบริบทของสังคมไทย
  58. ไทยนับถือพระคเณศมากสุดในสุวรรณภูมิ

แหล่งข้อมูลอื่น