โอนัม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โอนาม)
โอนัม, ติรุโวนัม[1]
A flower carpet designing competition as part of the Bharat Nirman Public Information Campaign, organised by PIB, Thiruvananthapuram, in view of the coming Onam festival, at Thrikkunnapuzha, Alappuzha district.jpg
รังโคลีดอกไม้ (ปูกกลัม)
จัดขึ้นโดยชาวมลยาฬัม, รัฐเกรละ
ความสำคัญเทศกาลเฉลิมฉลองผลผลิต[2][3]
การถือปฏิบัติสัทยา, ติรุวติรกาลี, ปุลีกาลี, ปูกะลัม, Ona-thallu, Thrikkakarayappan, โอนะตัปปัน, การเล่นชักคะเย่อ, Thumbi Thullal, Onavillu, Kazhchakkula, Athachamayam และ วัลลัมกาลี
วันที่Chingam (สิงหาคม/กันยายน)
ความถี่รายปักษ์
ส่วนเกี่ยวข้องพลีปรติปัต

โอนัม (Onam) เป็นเทศกาลประจำปี[4][5][6] ที่เฉลิมฉลองกันในรัฐเกรละ ประเทศอินเดีย ในฐานะเทศกาลแห่งการเก็บเกี่ยวผลผลิต (harvest festival) ที่ฉลองโดยชาวมลยาฬัม โดยไม่ได้เกี่ยวพันกับศาสนา วันที่ของโอนัมตรงกับในปฏิทินฮินดู ปัญจคาม ตรงกับนักษัตระติรุโวนัมที่ 22 ในเดือน ชิงคัม (Chingam) ตามปฏิทินมลยาฬัม ตรงกับเดือนสิงหาคม—กันยายนตามปฏิทินเกรกอเรียน[7][8] ตามตำนานระบุว่าเทศกาลนี้จัดขึ้นเพื่อฉลององค์มหาพลี ซึ่งดวงวิญญาณพระองค์จะเสด็จเยี่ยมเยียนรัฐเกรละในช่วงโอนัม[9][8]

โอนัมเป็นเทศกาลสำคัญของชาวมลยาฬัมทั้งในและนอกรัฐเกรละ เป็นหนึ่งในสามเทศกาลสำคัญ อีกสองเทศกาลคือวิษู และ ติรุวติรา[10] การเฉลิมฉลองในโอนัมประกอบด้วย วัลลัมกาลี (แข่งเรือ), ปุลิกาลี (การแสดงเสือ), ปูกกลัม (รังโคลีดอกไม้), โอนะตัปปัน (การบูชา), โอนัมกาลี, เล่นชักคะเย่อ, Thumbi Thullal (การแสดงของสตรี), กุมมัตตีกาลี (การแสดงหน้ากาก), Onathallu (ศิลปะการต่อสู้), โอนะวิลลุ (ดนตรี), Kazhchakkula (ถวายสิ่งบูชา), Onapottan (การแต่งกาย), อัตตะฉมะยัม (เพลงและร่ายรำ) เป็นต้น[11] ชาวมลยาฬัมฉลองโอนัมในฐานะวันปีใหม่มลยาฬัม[12][13]

โอนัมเป็นเทศกาลประจำรัฐและเป็นวันหยุดทางการของรัฐเกรละ เริ่มต้นตั้งแต่สี่วันจาก อุตรโฑม (Uthradom)[14] การเฉลิมฉลองใหญ่ ๆ มีอยู่ 30 จุดทั่วติรุวานันตปุรัม[15] เมืองหลวงของรัฐเกรละ รวมถึงมีการเฉลิมฉลองโดยชาวมลยาฬัมทั่วโลก[8] ถึงแม้จะเป็นเทศกาลฮินดู แต่ชาวมลยาฬัมต่างศาสนาก็เข้าร่วมในเทศกาลในฐานะเทศกาลทางวัฒนธรรม[8][16][14]

อ้างอิง[แก้]

  1. Government of Kerala เก็บถาวร 2021-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Official Holidays 2017
  2. Ann Morrill (2009). Thanksgiving and Other Harvest Festivals. Infobase Publishing. pp. 46, 49–50. ISBN 978-1-4381-2797-2.
  3. Chopra, Prabha (1988). Encyclopaedia of India. p. 285. Onam – Most important festival of Kerala; held in Chingam (August–September)
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ britonam
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ grace312
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ osella174
  7. Onam Festival, The Society for Confluence of Festivals of India (2015)
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Cush, Denise; Robinson, Catherine; York, Michael (2012). Encyclopedia of Hinduism (ภาษาอังกฤษ). Routledge. pp. 573–574. ISBN 978-1135189792. Despite its Hindu associations, Onam is celebrated by all communities.
  9. J. Gordon Melton (2011). Religious Celebrations: An Encyclopedia of Holidays, Festivals, Solemn Observances, and Spiritual Commemorations. ABC-CLIO. p. 659. ISBN 978-1-59884-206-7.
  10. Peter J. Claus; Sarah Diamond; Margaret Ann Mills (2003). South Asian Folklore: An Encyclopedia. Taylor & Francis. p. 454. ISBN 978-0-415-93919-5.
  11. M. Nazeer (10 August 2010). "The abiding lore and spirit of Onam". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 26 September 2013.
  12. Filippo Osella; Caroline Osella (2013). Islamic Reform in South Asia. Cambridge University Press. p. 152. ISBN 978-1-107-27667-3., Quote: "Onam [Malyali Hindu new year] (...)"
  13. Denise Cush; Catherine Robinson; Michael York (2012). Encyclopedia of Hinduism. Routledge. pp. 573–574. ISBN 978-1-135-18978-5.
  14. 14.0 14.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Ponnumuthan1996p210
  15. "Onam Celebrations".
  16. Malayali Muslim man celebrates Onam after a preacher calls the festival 'haram', India Today, Shreya Biswas (12 September 2016);
    Mahabali comes calling, The Hindu, Neeti Sarkar (5 September 2014)