ข้ามไปเนื้อหา

ศิลปะอินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศิลปะอินเดีย
ยักษีประดับโตรณะของสถูปสาญจี 100 ปีก่อนคริสต์กาล
นางระบำสตรีและ tanpura ศิลปะหลังโมกุล ศตวรรษที่ 18 สีแปะทองคำบนกระดาษ

ศิลปะอินเดียประกอบด้วยงานศิลปะหลายรูปแบบ ทั้งจิตรกรรม, ประติมากรรม, เครื่องปั้นดินเผา และศิลปะผ้า เช่นผ้าไหมทอ ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์นั้นศิลปะอินเดียกินพื้นที่ทั้งอนุทวีปอินเดีย ซึ่งปัจจุบันประกอบด้วยประเทศอินเดีย, ประเทศปากีสถาน, ประเทศบังกลาเทศ, ประเทศศรีลังกา, ประเทศเนปาล, ประเทศภูฏาน และประเทศอัฟกานิสถานตะวันออก ลักษณะการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์นี้ยังคงเห็นได้ในศิลปะสมัยใหม่ของอินเดีย

จุดเริ่มต้นของศิลปะอินเดียนั้นย้อนกลับไปได้ถึงยุคก่อนประวัติศาสตร์ในราว 3000 ปีก่อนคริสต์กาลมาจนถึงปัจจุบัน ศิลปะอินเดียได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมและศาสนา เช่นฮินดู, พุทธ, ไชนะ, ซิกข์ และอิสลาม จึงมีการผสมผสานกันอย่างซับซ้อนของประเพณีและความเชื่อของศานาต่าง ๆ ปรากฏในศิลปะอินเดีย

ศิลปะยุคแรก

[แก้]

ศิลปะบนหิน

[แก้]
The ธิดาร่ายรำ ประติมากรรมจากโมเหนโจดาโร"

ศิลปะบนหิน (Rock art) ในอินเดียนั้นมีทั้งการแกะสลักบนหิน และจิตรกรรมบนฝาผนังหิน มีการประมาณว่ามีแหล่งงานศิลปะบนหินในอินเดียกว่า 1300 แห่ง และประติมากรรมหรือหุ่นมากกว่า 2.5 ล้านชิ้น[1] งานแกะสลักหินเก่าแก่ที่สุดที่พบในอินเดียนั้นค้นพบโดย Archibald Carlleyle[2] ที่ซึ่งได้รับการนำเสนอโดย J Cockburn (1899) ในอีกหลายปีต่อมา[3]

ดร. V. S. Wakankar ค้นพบที่อยู่อาศัยหินที่มีงานจิตรกรรมจำนวนหนึ่งในแถบอินเดียกลาง ตั้งอยู่รายล้อมเทือกเขาวินธย หนึ่งในพื้นที่ที่มีชื่อเสียงมากคือที่อยู่อาศัยถ้ำภิมเพตกาซึ่งได้สมัครเข้าเป็นแหล่งมรดกโลก; จิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่พบนั้นอายุมากกว่า 10,000 ปี[4][5][6][7][8] ลักษณะต่าง ๆ นั้นมีความแตกต่างกันไปตามอายุ แต่มีลักษณะร่วมอยู่ประการหนึ่งคือการใช้สีล้างสีแดง (red wash) โดยใช้ผงแร่ geru ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของออกไซด์เหล็ก (เฮมาไทต์).[9]

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (ป. 3300 ปีก่อน ค.ศ. –  1750 ปีก่อน ค.ศ.)

[แก้]

ศิลปะเมารยะ (ป. 322 ปีก่อน ค.ศ. –  185 ปีก่อน ค.ศ.)

[แก้]

จักรวรรดิเมารยะทางตอนเหนือของอินเดียนั้นเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ปี 322 ปีก่อนคริสต์กาล จนถึง 185 ปีก่อนคริสต์กาล อาณาจักรนี้ได้รับอิทธิพลมาจากอาณาจักรเปอร์เซียโบราณ[10] ดังที่พบเห็นอิทธิพลนี้ผสมผสานในหัวเสาปาฏลีบุตร (Pataliputra capital)

พระเจ้าอโศกมหาราช (สวรรคต 232 ปีก่อนคริสต์กาล) เป็นผู้อุปถัมภ์ค้ำชูศาสนาพุทธ และทรงดำริให้มีการสร้างสถูป ตามพื้นที่ที่มีความสำคัญในสมัยพระชนมชีพของพระโคตมพุทธเจ้า อย่างไรก็ตามงานประดับต่าง ๆ จากยุคเมารยะที่ยังหลงเหลือมาจนปัจจุบันนั้นมีน้อยมาก หรืออาจเป็นไปได้ว่าไม่ได้มีมามากตั้งตั้งแต่ต้นก็ได้

ในบรรดาชิ้นงานที่หลงเหลือน้อยนั้นที่มีชื่อเสียงที่สุดคือเสาอโศก[11] ส่วนหัวของเสาที่เรียกว่าหัวเสาอโศกรูปสิงห์ประดับด้วยสัตว์สี่ตัวนั้นในปัจจุบันใช้เป็นตราประจำชาติของประเทศอินเดีย นับตั้งแต่อินเดียได้รับเอกราช[12] นอกจากนี้ทั้งศิลปะและสถาปัตยกรรมเมารยะมีลักษณะสำคัญอีกประการคือการขัดเงาแบบเมารยะบนชิ้นงานหินซึ่งพบได้น้อยมากในงานศิลปะของยุคหลัง ๆ

รูปปั้นยักษะขนาดใหญ่โต (200 ปีก่อน ค.ศ.)

[แก้]

ศิลปะพุทธ (ป. 150 ปีก่อน ค.ศ. –  ค.ศ. 500)

[แก้]

งานศิลปะพุทธจำนวนมากที่เหลือรอดมานั้นเริ่มมีในยุคหลังเมารยะล่มสลาย ที่ซึ่งมีประติมากรรมจำนวนมากที่เหลือรอดมาถึงปัจจุบัน พื้นที่ขุดค้นสำคัญเช่นสาญจี, ภารหุต และอมราวตี สถูปต่าง ๆ มีการประดับด้วยรั้วที่แกะสลักอย่างวิจิตรและมีซุ้มประตูโตรณะ ที่หันไปตามทิศหลักทั้งสี่ ในผนังหินต่าง ๆ ีการแกะสลักและตกแต่อย่างวิจิตร ส่วนมากเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า และพระพุทธรูปในลักษณะเป็นองค์ลอยก็เริ่มมีวิวัฒนาการใาจากงานแกะสลักนูนต่ำที่คว้ายเข้าไปลึกขึ้นเรื่อย ๆ ในยุคนี้[13] เมืองมถุรา เป็นศูนย์กลางสำคัญที่สุดของศิลปะรูปแบบนี้ ที่ซึ่งมีการประยุกต์ในศิลปะของฮินดูและไชนะไปตามกัน[14]

จักรวรรดิศุงคะ (185 ปีก่อน ค.ศ. – 72 ปีก่อน ค.ศ.)

[แก้]

หลังการล่มสลายของจักรวรรดิเมารยะ อินเดียได้แตกออกเป็นแคว้นต่าง ๆ ที่มีการปกครองแบบเดิมในแต่ละภูมิภาค หนึ่งในแคว้นที่สำคัญที่สุดนั้นคือจักรวรรดิศุงคะ ในตอนกลางของประเทศอินเดีย เช่นเดียวกับจักรวรรดิสัตวาหนะ ทางตอนใต้ของอินเดียซึ่งเกิดขึ้นร่วมสมัยกัน ได้เริ่มมีการพัฒนาศิลปะพุทธยุคแรก ๆ ที่สำคัญมากเกิดขึ้น โดยเฉพาะการสร้างสถูปเพื่อเก็บอัฐิของพระพุทธเจ้าหรือพุทธสาวกผู้เกี่ยวข้อง[15] ตัวอย่างสำคัญที่สุดของสถูปจากจักรวรรดิศุงคะนั้นคือมหาสถูปแห่งสาญจี ที่ซึ่งเชื่อว่าเริ่มแรกสร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งจักรวรรดิเมารยะ[16]

จักรวรรดิสาตวาหนะ (100-300 ปีก่อน ค.ศ. – ปี 300)

[แก้]

จักรวรรดิกุษาณะ (ปี 30 - 375)

[แก้]

ศิลปะคุปตะ (ป. ปี 320 –  550)

[แก้]

โดยทั่วไปแล้วมักนิยามว่ายุคคุปตะนั้นเป็นจุดสูงสุดของศิลปะอินเดียเหนือยุคคลาสสิก (classic peak of north Indian art) ในทุกกลุ่มศาสนาสำคัญ ถึงแม้จิตรกรรมจะแพร่หลาย ดังเช่นตัวอย่างที่พบในถ้ำอชันตา แต่ก็หลงเหลือมาถึงปัจจุบันไม่มาก ชิ้นงานที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบันส่วนใหญ่ล้วนเป็นประติมากรรมทางศาสนา ศูนย์กลางสำคัญได้แก่ มถุรา สารนาถ และ คันธาระ นอกจากนี้ยังถือว่ายุคคุปตะเป็นยุคทองของศาสนาฮินดูยุคคลาสสิก (classical Hinduism)[17] และเริ่มมีหลักฐานของการสร้างสถาปัตยกรรมศาสนสถานของฮินดูเป็นครั้งแรก ๆ ถึงแม้จะมีหลงเหลืออยู่ไม่มากในปัจจุบันก็ตาม

พระพุทธรูปประทับนั่ง, ศตวรรษที่ 5, พิพิธภัณฑ์สารนาถ
พระพุทธรูปประทับนั่ง, ศตวรรษที่ 5, พิพิธภัณฑ์สารนาถ 
Mahishasuramardini, ทศาวาตารมนเทียร
พระกฤษณะเอชนะปีศาจม้า Keshi, ca. ศตวรรษที่ 5, พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิตัน
พระกฤษณะเอชนะปีศาจม้า Keshi, ca. ศตวรรษที่ 5, พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิตัน 
เสาเหล็กแห่งเดลี, ca. ศตวรรษที่ 3 – 4
เสาเหล็กแห่งเดลี, ca. ศตวรรษที่ 3 – 4 

ยุคกลาง (ประมาณ 600 CE –  1300 CE)

[แก้]

จักรวรรดิแห่งอินเดียใต้ (ประมาณ 3rd century CE –  1300 CE)

[แก้]

หมู่มนเทียรที่ขชุราโห (ประมาณ 800 CE –  1000 CE)

[แก้]

เดกกัน

[แก้]

สมัยใหม่ตอนต้นและยุคอาณานิคม (ประมาณ 1400 CE –  1800 CE)

[แก้]

ศิลปะโมกุล

[แก้]

อาณาจักรอื่น ๆ

[แก้]

ยุคบริเตน (1841–1947)

[แก้]

ศิลปะร่วมสมัย

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Jagadish Gupta (1996). Pre-historic Indian Painting. North Central Zone Cultural Centre.
  2. Shiv Kumar Tiwari (1 January 2000s). Riddles of Indian Rockshelter Paintings. Sarup & Sons. pp. 8–. ISBN 978-81-7625-086-3.
  3. Cockburn, John (1899). "Art. V.—Cave Drawings in the Kaimūr Range, North-West Provinces" (PDF). Journal of the Royal Asiatic Society of Great Britain & Ireland. New Series. 31 (1): 89–97. doi:10.1017/S0035869X00026113.
  4. Mathpal, Yashodhar (1984). Prehistoric Painting Of Bhimbetka (ภาษาอังกฤษ). Abhinav Publications. p. 220. ISBN 9788170171935.
  5. Tiwari, Shiv Kumar (2000). Riddles of Indian Rockshelter Paintings (ภาษาอังกฤษ). Sarup & Sons. p. 189. ISBN 9788176250863.
  6. Rock Shelters of Bhimbetka (PDF). UNESCO. 2003. p. 16.
  7. Mithen, Steven (2011). After the Ice: A Global Human History, 20,000 - 5000 BC (ภาษาอังกฤษ). Orion. p. 524. ISBN 9781780222592.
  8. Javid, Ali; Jāvīd, ʻAlī; Javeed, Tabassum (2008). World Heritage Monuments and Related Edifices in India (ภาษาอังกฤษ). Algora Publishing. p. 19. ISBN 9780875864846.
  9. Pathak, Dr. Meenakshi Dubey. "Indian Rock Art - Prehistoric Paintings of the Pachmarhi Hills". Bradshaw Foundation. สืบค้นเมื่อ 7 November 2014.
  10. Harle, 22-28
  11. Harle, 22-26
  12. State Emblem เก็บถาวร พฤษภาคม 11, 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Know India india.gov.in
  13. Harle, 105-117, 26-47
  14. Harle, 59-70
  15. Stokstad, Marilyn (2018). Art History. United States: Pearson Education. pp. 306–310. ISBN 9780134475882.
  16. Department of Asian Art (2000). "Shunga Dynasty (ca. Second - First Century B.C.)". สืบค้นเมื่อ November 26, 2018.
  17. Michaels, Axel (2004). Hinduism: Past and Present. Princeton University Press. p. 40. ISBN 978-0-691-08953-9.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]