พระเวท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเวท คัมภีร์ในศาสนาฮินดู หน้าหนึ่งจากอาถรรพเวท

พระเวท (สันสกฤต: वेद) โดยทั่วไปถือว่าเป็นคัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู หากกล่าวโดยเฉพาะลงไป หมายถึง บทสวดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความเชื่อของชาวอินโดอารยัน หรืออาจเรียกได้ว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยมีการรวบรวมเป็นหมวดหมู่ในชั้นหลัง คำว่า “เวท” นั้น หมายถึง ความรู้ มาจากธาตุ “วิทฺ” विद् (กริยา รู้) คัมภีร์พระเวท ประกอบด้วยคัมภีร์ 4 เล่ม ได้แก่ ฤคเวทใช้สวดสรรเสริญเทพเจ้า สามเวทใช้สำหรับสวดในพิธีกรรมถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์และขับกล่อมเทพเจ้า ยชุรเวทว่าด้วยระเบียบวิธีในการประกอบพิธีบูชายัญและบวงสรวงต่าง ๆ และ อาถรรพเวท ใช้เป็นที่รวบรวมคาถาอาคมหรือเวทมนตร์

นักประวัติศาสตร์จำนวนมาก ถือว่า พระเวท เป็นส่วนที่เก่าที่สุดที่เหลืออยู่ สำหรับส่วนที่ใหม่สุดของพระเวท น่าจะมีอายุราวพุทธกาล และส่วนที่เก่าสุด ราว 1,000 ปีก่อนพุทธกาล แต่นักภารตวิทยาเชื่อว่า เนื้อหาของคัมภีร์เหล่านี้น่าจะได้มีการท่องจำกันมาก่อนการบันทึกเป็นเวลานานมากแล้ว ซึ่งมีหลักฐานจากลักษณะทางภาษา และปริบททางสังคมต่าง ๆ

พระเวท[แก้]

ฤคเวท[แก้]

ฤคเวท (สันสกฤต: ऋग्वेद, ฤคฺเวท, Rigveda) เป็นคัมภีร์เล่มแรกในวรรณคดีพระเวท แต่งขึ้นเมื่อราว 3000 ปีก่อนคริสตกาล เป็นตำราทางศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ประกอบไปด้วยบทสวดที่วางท่วงทำนองในการสวดไว้อย่างตายตัว กล่าวถึงบทสรรเสริญคุณ อำนาจแห่งเทวะ และประวัติการสร้างโลก รวมถึงหน้าที่ของพระพรหมผู้สร้างมนุษย์และสรรพสิ่ง ซึ่งจะใช้ในพิธีการบรวงสรวงเทพเจ้าต่าง ๆ ของชาวอารยัน ตามประเพณีของฮินดูแล้ว การแบ่งหมวดหมู่ของคัมภีร์พระเวทนี้ ฤๅษีวยาส (ผู้แต่งมหากาพย์ มหาภารตะ) เป็นผู้ทำขึ้นโดยรับคำสั่งจากพระพรหม การจัดรวบรวมบทสวดในคัมภีร์ฤคเวทนี้ เรียกว่า ฤคเวทสังหิตา มีบทสวดทั้งหมด 1,028 บท เป็นหนึ่งในคัมภีร์ทั้งสี่ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งเรียกรวมกันว่า "พระเวท" และนับเป็นบทสวดที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติ เนื้อหาด้านชาติพันธุ์วิทยาและภูมิศาสตร์ที่ปรากฏในฤคเวทนั้น เป็นหลักฐานแสดงว่าฤคเวทนั้นมีมานานกว่า 3,000 ปีก่อนคริสตกาล

เนื้อหา[แก้]

คัมภีร์ฤคเวท มักแบ่งเนื้อหาเป็น 2 ลักษณะ ลักษณะที่ 1 คือ แบ่งเป็นมัณฑละ มีด้วยกันทั้งหมด 10 มัณฑละ หรือมณฑล แต่ละมณฑลประกอบด้วยบทสวด หรือสูกตะต่าง ๆ แต่ละมัณฑละมีจำนวนสูกตะไม่เท่ากัน ตั้งแต่ประมาณ 50 ถึง 200 สูกตะ ในแต่ละสูกตะประกอบด้วยคาถาหรือมันตระจำนวนมากน้อยต่างกันไป นอกจากนี้อาจแบ่งฤคเวทในลักษณะที่ 2 เป็นอัษฎก โดยแบ่งได้เป็น 8 อัษฏก แต่ละอัษฏกประกอบด้วยมันตระ แต่ละมันตระประกอบด้วยวรรค แต่ละวรรคประกอบด้วยฤจะ (หรือคำ) แต่ละฤจนับแยกเป็นอักษระ (หรือ ตัวอักษร) อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปนิยมแบ่งเป็นมัณฑละ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • มัณฑละที่ 1 มีด้วยกัน 191 สูกตะ 2006 มันตระ เป็นบทสวดสรรเสริญพระอัคนิ พระอินทร์ พระวรุณ พระมิตร เหล่าพระอัศวิน เหล่าพระมรุต พระอุษัส (อุษา) พระสูรยะ, พระฤภุส, พระวายุ, พระพฤหัสบดี, พระวิษณุ, สวรรค์และโลก (ในฐานะเทพบิดร) และวิศเวเทวา (ทวยเทพทั้งปวง)
  • มัณฑละที่ 2 มีด้วยกัน 43 สูกตะ 492 มันตระ เนื้อหาส่วนใหญ่สรรเสริญพระอัคนีและพระอินทร์
  • มัณฑละที่ 3 มีด้วยกัน 62 สูกตะ 617 มันตระ ส่วนใหญ่เป็นบทสวดสรรเสริญพระอัคนีพระอินทร์ และวิศเวเทวา
  • มัณฑละที่ 4 มีด้วยกัน 58 สูกตะ 589 มันตระ สรรเสริญเทพเจ้าหลายองค์ นอกจากพระอัคนิ พระอินทร์แล้ว ยังมีพระฤภุส, อัศวิน, พฤหัสบดี วายุ อุษา เป็นต้น
  • มัณฑละที่ 5 มีด้วยกัน 87 สูกตะ 727 มันตระ สรรเสริญพระอัคนิ พระอินทร์ และวิศเวเทวา รวมทั้งพระมรุต พระมิตร-วรุณ และเหล่าอัศวิน
  • มัณฑละที่ 6 มีด้วยกัน 75 สูกตะ 765 มันตระ ส่วนใหญ่สรรเสริญพระอัคนี พระอินทร์ และวิศเวเทวา
  • มัณฑละที่ 7 มีด้วยกัน 104 สูกตะ 841 มันตระ สรรเสริญเทพ และพระสุรัสวดี (เทพีแห่งแม่น้ำและการเรียนรู้)
  • มัณฑละที่ 8 มีด้วยกัน 103 สูกตะ 1636 มันตระ สรรเสริญเทพทั้งหลาย
  • มัณฑละที่ 9 มีด้วยกัน 114 สูกตะ 1108 มันตระ เนื้อหาทั้งหมดกล่าวถึงโสม ปวมาน หรือการทำพิธีด้วยน้ำโสม
  • มัณฑละที่ 10 มีด้วยกัน 191 สูกตะ 1754 มันตระ นอกจากสรรเสริญเทพเจ้าแล้ว ยังเป็นบทสวดในพิธีสมรส หรืองานศพด้วย.

การอ้างถึงฤคเวทนิยมใช้ตัวเลขระบุลำดับที่ของหมวดนั้นๆ เช่น 1.1.1 หมายถึง มัณฑละที่ 1 สูกตะที่ 1 มันตระที่ 1 เป็นต้น,

สามเวท[แก้]

สามเวท (ภาษาสันสกฤต: सामवेद)

รดาพระเวททั้งสี่ นับเป็นคัมภีร์ฮินดูที่สำคัญและเก่าแก่มาก เนื้อหาส่วนที่เก่าแก่ที่สุด มีอายุราว 1,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีความสำคัญและความเก่าแก่รองจากคัมภีร์ฤคเวท เนื้อหาประกอบด้วยรวมบทสวด (สังหิตา) และร้อยกรองอื่น ๆ โดยนำมาจากฤคเวท (ยกเว้น 75 บท) เพื่อใช้เป็นบทร้องสวดเป็นทำนองตามพิธีกรรม เรียกว่า "สามคาน" สวดโดยนักบวชที่เรียกว่า "อุทคาตา" ขณะทำพิธีคั้น กรอง และผสมน้ำโสม เพื่อถวายเทพเจ้า

ยชุรเวท[แก้]

ยชุรเวท (สันสกฤต ยชุรฺเวท, यजुर्वेद) เป็นหนึ่งในสี่แห่งคัมภีร์พระเวทในศาสนาพราหมณ์ฮินดู มาจากศัพท์ ยชุสฺ (บทสวดด้วยพิธีกรรม) และ เวท (ความรู้) ประมาณกันว่าประพันธ์ขึ้นเมื่อราว 1,400 - 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนหลักของคัมภีร์นี้เรียกว่า "ยชุรเวทสัมหิตา" มีคาถา หรือมันตระ ที่จำเป็นแก่การกระทำพิธีสังเวยตามความเชื่อในศาสนาสมัยพระเวท และมีการเพิ่มเติมคำอธิบายว่าด้วยการประกอบพิธีต่าง ๆ

สาขา[แก้]

ยชุรเวทสัมหิตามักจะแบ่งเป็นสองสาขา คือ ศุกล (ขาว) และ กฤษณ (ดำ) มักเรียกกันว่า ยชุรเวทขาว และยชุรเวทดำ ตามลำดับ ทั้งสองคัมภีร์มีบทร้อยกรองที่จำเป็นแก่การประกอบพิธี แต่กฤษณยชุรเวท รวมร้อยกรองส่วนอธิบายขยายความที่เกี่ยวข้อง (พราหมณะ) เข้าไว้ด้วย ส่วนศุกลยชุรเวทนั้นมีคัมภีร์พราหมณะแยกต่างหาก มีชื่อว่า "ศตปถ พราหมณะ"ซึ่งอาจจะ...

อ้างอิง[แก้]