อายุรเวท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระธันวันตริ เทพเจ้าแห่งอายุรเวท ในภาพเป็นเทวรูปศิลปะทมิฬ

อายุรเวท เป็นระบบการแพทย์ทางเลือกที่มีที่มาทางประวัติศาสตร์ในอนุทวีปอินเดีย[1] ทฤษฎีและวิถีปฏิบัติของอายุรเวททางการแพทย์นั้นถือว่าเป็นวิทยาศาสตร์ปลอม[2][3][4] สมาคมแพทยศาสตร์อินเดีย (IMA) ได้กำหนดว่าการรักษาด้วยวิถีการแพทย์สมัยใหม่โดยผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์แบบอายุรเวทถือเป็นลักษณะหมอเถื่อน[5]

เอกสารและบันทึกเกี่ยวกับอายุรเวทจากยุคคลาสสิกที่สำคัญมักเริ่มต้นด้วยการบันทึกและการถ่ายทอดวิทยาการทางการแพทย์จากเทพเจ้า ไปยังฤษีหรือนักบวช และจากนั้นจึงมาถึงมนุษย์ที่เป็นแพทย์[6] ใน สุศรุตสังหีต นั้น สุศรุตะบันทึกว่าพระธันวันตริ เทพเจ้าแห่งอายุรเวทของศาสนาฮินดูได้อวตารลงมาเป็นกษัตริย์แห่งพาราณสีและได้ถ่ายทอดความรู้แพทยศาสตร์แก่กลุ่มแพทย์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือสุศรุตะ[7][8] การรักษาแบบอายุรเวทมักมีพื้นฐานมาจากสารประกอบสมุนไพรที่ซับซ้อน, แร่ธาตุ และธาตุโลหะ (ซึ่งเป็นไปได้ว่าได้รับอิทธิพลมาจาก รสศาสตร์) ตำราอายุรเวทโบราณยังมีการสอนถึงวิธีปฏิบัติการศัลยกรรม เช่น การผ่าตัดเสริมจมูก, การกำจัดนิ่วในไต, การเย็บแผล และการกำจัดวัตถุแปลกปลอม[9][10] อายุรเวทได้รับการพัฒนาและปรับให้เข้ากับความต้องการของตลาดตะวันตก โดยเฉพาะที่บาบาหริทาสได้ปรับอายุรเวทเข้ากับโลกตะวันตกในคริสต์ทศวรรษ 1970 และโดยกลุ่มมหาฤษีอายุรเวท ในคริสต์ทศวรรษ 1980

แปดองค์[แก้]

งานเขียนภาษาสันสกฤตบุคคบาสสิกที่เก่าแก่ที่สุดที่เกี่ยวกับอายุรเวทได้แบ่งการแพทย์ออกเป็นแปดองค์ประกอบ (องค์) (“อัษฏางค์”)[11][12] การจัดรูปแบบให้วิชาแพทย์ประกอบด้วยแปดองค์ "การแพทย์ที่ซึ่งมีแปดองค์" (จิกิตสายาม อัษฏางคายาง चिकित्सायामष्टाङ्गायाम्) พบครั้งแรกในมหาภารตะ[13] อัษฏางค์ (แปดองค์) นั้นประกอบด้วย:[14][15][16]

  • กายจิกิตสา (Kāyachikitsā): แพทยศาสตร์ทั่วไป
  • กุมาร-ภฤตยะ (Kaumāra-bhṛtya): กุมารเวชศาสตร์[17]
  • ศัลยตันตระ (Śalyatantra): ศัลยศาสตร์ และการผ่าวัตถุแปลกปลอมออก
  • ศาลากยตันตระ (Śhālākyatantra): เวชศาสตร์โสต สอ นาสิก และฟาริงซ์
  • ภูตวิทยา (Bhūtavidyā): การกำจัดวิญญาณร้ายที่สิงสู่ในร่าง
  • อคันทตันตระ หรือ วิษาคาร-ไวโรธตันตระ (พิษวิทยา): สารพิษและการระบาด
  • รสายันตันตระ (Rasāyantantra): การยืดอายุขัย
  • วาชีกรณตันตระ (Vājīkaraṇatantra): การศึกษาเกี่ยวกับการกระตุ้นทางเพศ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Meulenbeld, Gerrit Jan (1999). "Introduction". A History of Indian Medical Literature. Groningen: Egbert Forsten. ISBN 978-9069801247.
  2. Beall, Jeffrey (2018). Kaufman, Allison B.; Kaufman, James C. (บ.ก.). Pseudoscience: The Conspiracy Against Science. MIT Press. p. 293. ISBN 978-0-262-03742-6. Ayurveda, a traditional Indian medicine, is the subject of more than a dozen, with some of these 'scholarly' journals devoted to Ayurveda alone..., others to Ayurveda and some other pseudoscience....Most current Ayurveda research can be classified as 'tooth fairy science,' research that accepts as its premise something not scientifically known to exist....Ayurveda is a long-standing system of beliefs and traditions, but its claimed effects have not been scientifically proven. Most Ayurveda researchers might as well be studying the tooth fairy. The German publisher Wolters Kluwer bought the Indian open-access publisher Medknow in 2011....It acquired its entire fleet of journals, including those devoted to pseudoscience topics such as An International Quarterly Journal of Research in Ayurveda.
  3. Semple D, Smyth R (2019). Chapter 1: Thinking about psychiatry. Oxford Handbook of Psychiatry (4th ed.). Oxford University Press. p. 24. doi:10.1093/med/9780198795551.003.0001. ISBN 978-0-19-879555-1. These pseudoscientific theories may...confuse metaphysical with empirical claims (e.g....Ayurvedic medicine) (ต้องรับบริการ)
  4. Quack, Johannes (2011). Disenchanting India: Organized Rationalism and Criticism of Religion in India. Oxford University Press. pp. 213, 3. ISBN 978-0-19-981260-8. ordinary members told me how they practice some of these pseudosciences, either privately or as certified doctors themselves, most often Ayurveda.
  5. "IMA Anti Quackery Wing". Indian Medical Association. The purpose of this compendium of court orders and various rules and regulations is to acquaint doctors regarding specific provisions and orders barring quackery by unqualified people, practitioners of Indian & Integrated Medicine to practice Modern Medicine.
  6. Zysk, Kenneth G. (1999). "Mythology and the Brāhmaṇization of Indian medicine: Transforming Heterodoxy into Orthodoxy". ใน Josephson, Folke (บ.ก.). Categorisation and Interpretation. Meijerbergs institut för svensk etymologisk forskning, Göteborgs universitet. pp. 125–145. ISBN 978-91-630-7978-8.
  7. Bhishagratna, Kaviraj Kunjalal (1907). An English Translation of the Sushruta Samhita Based on Original Sanskrit text. Calcutta: K. K. Bhishagratna. p. 1. สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  8. Dhanvantari. (2010). In Encyclopædia Britannica. Retrieved 4 August 2010, from Encyclopædia Britannica Online
  9. Wujastyk, Dominik (2003). The Roots of Ayurveda: Selections from Sanskrit Medical Writings (3 ed.). London etc.: Penguin Books. ISBN 978-0-140-44824-5.
  10. Mukhopadhyaya, Girindranath (1913). The Surgical Instruments of the Hindus, with a Comparative Study of the Surgical Instruments of the Greek, Roman, Arab, and the Modern European Surgeons. Calcutta: Calcutta University. สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  11. Ācārya, Yādava Trivikramātmaja, บ.ก. (1945). "Sūtrasthāna 1.7-9". Suśrutasaṃhitā. Bombay: Nirṇayasāgara Press. pp. 2–3.
  12. Ācārya, Yādava Trivikramātmaja, บ.ก. (1941). "Sūtrasthāna 30.28". The Carakasaṃhitā of Caraka, with the commentary by Cakrapāṇidatta, edited by Yadavaśarman Trivikarama Ācārya. Bombay: Nirṇayasāgara Press. p. 189.
  13. Wujastyk, Dominik (2003). "Indian Medicine". ใน Flood, Gavin (บ.ก.). The Blackwell Companion to Hinduism. Oxford: Blackwell. p. 394. ISBN 978-1405132510.
  14. Sharma, Priya Vrat (1999). Suśruta-Samhitā With English Translation of text…. Vol. 1. Varanasi: Chaukhambha Visvabharati. pp. 7–11.[ต้องการคำอ้างอิงเพื่อยืนยัน]
  15. Fields, Gregory P. (2001). Religious Therapeutics: Body and Health in Yoga, Ayurveda, and Tantra. SUNY Press. p. 36. ISBN 978-0-7914-4915-8.
  16. Bhishagratna, Kaviraj Kunja Lal (1907). An English Translation of the Sushruta Samhita Based on Original Sanskrit Text. Vol. 1. Calcutta: The Author. pp. 2–6.
  17. Swami Sadashiva Tirtha (1998). The Ãyurveda Encyclopedia: Natural Secrets to Healing, Prevention & Longevity. ISBN 0-9658042-2-4.