พรหมจรรย์ (แนวคิดทางศาสนา)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พรหมจรรย์ (เทวนาครี: ब्रह्मचर्य) เป็นแนวคิดที่พบในศาสนาแบบอินเดีย อันแปลตรงตัวว่า "การกระทำตนให้ประหนึ่งพรหม"[1]

แนวคิดพรหมจรรย์นั้นไม่ได้หมายถึง "การอยู่เป็นโสด" (celibacy) พรหมจรรย์ในศาสนาแบบอินเดียไม่ได้หมายถึงการถือสภาพพรหมจารีและการเว้นจากกิจกรรมทางเพศเสมอไป แต่มุ่งเน้นไปที่การควบคุมจิตตะ ไม่ให้มีอารมณ์ต่าง ๆ เพื่อเข้าถึง "พรหมญาณ"

ในแนวคิดอาศรมสี่ของศาสนาฮินดู "พรหมจรรย์" เป็นหนึ่งในสี่ขั้นของชีวิตซึ่งตามด้วย คฤหัสถ์, วานปรัสถ์ และ สัญญาสี "พรหมจรรย์" ในอาศรมสี่ หมายถึงวัยเด็กไปจนถึงอายุราว 25 ปี ให้หมั่นเพียรศึกษาเล่าเรียนและให้ประพฤติตนอยู่ในการไม่มีคู่ครอง[2][3][4]

อ้างอิง[แก้]

  1. James Lochtefeld, "Brahmacharya" in The Illustrated Encyclopedia of Hinduism, Vol. 1: A–M, pp. 120, Rosen Publishing. ISBN 9780823931798
  2. RK Sharma (1999), Indian Society, Institutions and Change, ISBN 978-8171566655, page 28
  3. Georg Feuerstein, The Encyclopedia of Yoga and Tantra, Shambhala Publications, ISBN 978-1590308790, 2011, pg 76, Quote – "Brahmacharya essentially stands for the ideal of chastity"
  4. W.J. Johnson (2009), "The chaste and celibate state of a student of the Veda", Oxford Dictionary of Hinduism, Oxford University Press, ISBN 978-2713223273, pg 62