ไทปูซัม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไทปูซัม
தைப்பூசம்
ผู้ศรัทธาในพระขันธกุมารกำลังให้หอกแหลมทิ่มกระพุ้งแก้มในฐานะการทำกาวฏิอาฏฏัมในเทศกาลไทปูซัมที่ถ้ำบาตู ประเทศมาเลเซีย
ชื่ออื่นதமிழர் திருவிழா[ต้องการอ้างอิง]
จัดขึ้นโดยชาวทมิฬและมลยาฬัมที่นับถือฮินดู
ประเภทศาสนาฮินดู
ความสำคัญฉลองวาระที่พระปารวตีมอบหอกอัศจรรย์แก่พระขันธกุมาร
วันที่ในปี 20235 กุมภาพันธ์
วันที่ในปี 202425 มกราคม

ไทปูซัม,[1] ไตป์ปูจัม (ทมิฬ: தைப்பூசம், Taippūcam, Thaipusam หรือ Thaipoosam) หรือ ไตป์ปูยัม (มลยาฬัม: തൈപ്പൂയം, Thaipooyam) เป็นเทศกาลที่เฉลิมฉลองในชาวทมิฬ ชาวมลยาฬัม และชาวเกรละที่นับถือศาสนาฮินดู ในวันพระจันทร์เต็มดวงของเดือน "ไต" ตามปฏิทินทมิฬ ซึ่งมักตรงกันกับดาวปุษยะหรือ "ปูจัม" ในภาษาทมิฬ[2] ปัจจุบันมีฉลองตามชุมชนของชาวทมิฬทั้งในประเทศอินเดีย, ศรีลังกา, มาเลเซีย,[3] มอริเชียส,[4] สิงคโปร์,[5] ไทย และอีกหลายประเทศ

เทศกาลเฉลิมฉลองวาระที่พระปารวตีประทานเวลหรือหอกอัศจรรย์ให้แก่พระขันธกุมาร เพื่อให้พระองค์ปราบอสูรจูรปัตมันและพวกพ้อง นอกจากนี้ยังเป็นที่เชื่อกันทั่วไปว่าไทปูซัมเป็นการเฉลิมฉลองวันเกิดของพระขันธกุมาร อย่างไรก็ตาม แหล่งข้อมูลบางส่วนเสนอว่าวันเกิดของพระขันธกุมารตรงกับวันวิขาสีวิศาขัม (Vaikhasi Vishakam) มากกว่า[6]

ส่วนสำคัญของไทปูซัมอยู่ที่พิธีกาวฏิอาฏฏัม (หรือกาวฏิยาฏฏัม ตามภาษามลยาฬัม) ที่ผู้ศรัทธาในพระขันธกุมาร ซึ่งทรงเป็นเทพเจ้าแห่งการสงคราม ทำการทรมานตัวเองโดยการใช้ของแหลมคมทิ่มแทงร่างกายตนเอง เป็นต้น[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. ปรากฏใช้ในการทับศัพท์ของ Visit Singaore, Voice TV, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และในเอกสารและป้ายประกาศของวัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม
  2. "Thaipooyam Mahotsavam, Harippad, Festivals, Alappuzha festivals". Kerala Tourism (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-08.
  3. "Malaysia : AllMalaysia.info has all you want to know about Malaysia". Allmalaysia.info. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-23. สืบค้นเมื่อ 6 January 2011.
  4. "Festivals, Cultural Events and Public Holidays in Mauritius". Mauritius Tourism Authority. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2012.
  5. Thaipusam in Singapore.
  6. "Vaikasi Visakam and Lord Murukan LALALALA". Murugan.org. สืบค้นเมื่อ 6 January 2011.
  7. Kent, Alexandra. Divinity and Diversity: A Hindu Revitalization Movement in Malaysia. University of Hawaii Press, 2005. (ISBN 8791114896)