ข้ามไปเนื้อหา

ปุเณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ปูเน)
ปุเณ
สมญา: 
ออกซฟอร์ดแห่งตะวันออก
ประเทศ อินเดีย
รัฐรัฐมหาราษฏระ
อำเภออำเภอปุเณ
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลนคร (นครนิคม)
 • นายกเทศมนตรีมุกตะ ติลก (BJP)[1][2]
 • ปลัดเทศบาลMr. Kunal Kumar
 • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรAnil Shirole (BJP, Lok Sabha)[3]
พื้นที่[4]
 • มหานคร729 ตร.กม. (281 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่7
ความสูง560 เมตร (1,840 ฟุต)
ประชากร
 (2011)[5]
 • มหานคร3,124,458 คน
 • อันดับที่ 7: ประเทศอินเดีย ที่ 2: รัฐมหาราษฏระ
 • ความหนาแน่น4,300 คน/ตร.กม. (11,000 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล[6]5,057,709 คน
 • อันดับรวมปริมณฑลที่ 7
เดมะนิมPunekar , Puneite
เขตเวลาUTC+5:30 (IST)
รหัสไปรษณีย์411001 – 411062[7]
รหัสพื้นที่+91-20
ทะเบียนพาหนะMH-12
ภาษาทางการภาษามราฐี
เว็บไซต์www.pune.nic.in
www.punecorporation.org

ปุเณ (เทวนาครี: पुणे; Pune) หรือ ปูณา (Poona) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของรัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย และเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดอันดับ 7 ของประเทศ ตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 560 เมตร บนที่ราบสูงเดคคาน บนฝั่งขวาของแม่น้ำมุธา (Mutha)[8] ปุเณเป็นเมืองบริหารของเขตปุเณและเคยเป็นศุนย์กลางอำนาจของจักรวรรดิมราฐาซึ่งสถาปนาโดยจักรพรรดิศิวาจี ในศตวรรษที่ 18 ปุเณเป็นเมืองศูนย์กลางการเมืองของอนุทวีปอินเดีย มีตำแหน่งเปศวร (Peshwas) เทียบเท่านายกรัฐมนตรีของจักรวรรดิมราฐา[9]

อาจถือได้ว่าเมืองปุเณเป็นเมืองหลวงด้านวัฒนธรรมของรัฐมหาราษฏระ[10] ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ "ออกซฟอร์ดแห่งตะวันออก" เนื่องจากมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งในเมือง[11][12] ยังได้เกิดเป็นแหล่งด้านการศึกษาที่สำคัญในหลายทศวรรษที่ผ่านมา โดยเกือบครึ่งหนึ่งของนักศึกษานานาชาติของประเทศ ศึกษาที่ปุเณ[13] ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950, 1960 ปุเณเป็นฐานทางเศรษฐกิจแบบเก่า โดยยังคงมีอุตสาหกรรมแบบเก่าดำเนินอยู่ เมืองยังเป็นที่รู้จักในการผลิตรถยนต์ เช่นเดี่ยวกับสถาบันวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, การศึกษา, การจัดการและการฝึกสอน ที่ได้รับความสนใจจากนักศึกษาและผู้ประกอบอาชีพในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา วิทยาลัยหลายแห่งในปุเณมีโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนกับยุโรป เกมแบดมินตันได้รับการพัฒนาในปุเณรวมถึงเกม ปูณา (Poona)[14][15]

ปุเณยังเป็นหนึ่งในเมืองที่เติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ‘Mercer 2017 Quality of Living Rankings’ ประเมินคุณภาพชีวิตมากกว่า 440 เมืองทั่วโลก จัดให้เมืองปุเณอยู่อันดับ 145 เป็นอันดับ 2 รองจากไฮเดอราบาดที่อันดับ 144[16]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Mukta Tilak, MBA, is Pune's first BJP mayor". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 16 March 2017.
  2. "Bal Gangadhar Tilak descendant, Mukta Tilak files nomination for Mayor post". The Financial Express (India). สืบค้นเมื่อ 8 March 2017.
  3. "Fifteenth Lok Sabha Members Bioprofile". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-22. สืบค้นเมื่อ 25 April 2014.
  4. "About Pune Municipal Corporation". Pune Municipal Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-05. สืบค้นเมื่อ 4 June 2015.
  5. "District Census Handbook – Pune" (PDF). Census of India. The Registrar General & Census Commissioner. p. 28. สืบค้นเมื่อ 1 June 2016.
  6. "Urban agglomerations/cities having population 1 million and above" (PDF). Provisional population totals, census of India 2011. Registrar General & Census Commissioner, India. 2011. สืบค้นเมื่อ 26 January 2012.
  7. "PIN Code: Pune, Maharashtra, India". findpincode.net.
  8. Nalawade, S.B. "Geography of Pune Urban Area". Ranwa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2007. สืบค้นเมื่อ 4 April 2008.
  9. "Shaniwarwada was centre of Indian politics: Ninad Bedekar". Daily News and Analysis. 29 November 2011. สืบค้นเมื่อ 19 April 2012.
  10. "Pune". Maharashtratourism.gov.in. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-25. สืบค้นเมื่อ 14 May 2014.
  11. "The 'Oxford of the East' goes West". The Indian Express. สืบค้นเมื่อ 24 January 2017.
  12. "Truly the Oxford of the East". Hindustan Times. สืบค้นเมื่อ 24 January 2017.
  13. "Serial Blasts Rock Oxford of the East". Little India. สืบค้นเมื่อ 24 January 2017.
  14. Guillain (2004), p. 47.
  15. Connors, et al. (1991), p. 195.
  16. "Mercer Quality of Living Rankings". Mercer. สืบค้นเมื่อ 28 April 2017.
  1. "Cities having population 1 lakh and above" (PDF). India Census 2011. 31 January 2012.