ข้ามไปเนื้อหา

อาทิปราศักติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาทิปราศักติ
พระมารดาแห่งจักรวาล
ปรพรหมัน
พลังงานสูงสุดของจักรวาล
การสร้าง รักษา ทำลายจักรวาล
จิตรกรรมภาพมหาเทวี ศตวรรษที่ 18 จากพิกาเนร์ รัฐราชสถาน
ชื่อในอักษรเทวนาครีमहादेवी/आदिशक्ति/पराशक्ति
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤตMahādevī / Ādiśakti / Parāśakti
ส่วนเกี่ยวข้อง
ที่ประทับมณีทวีป
มนตร์Ōm āim hrīm śrīm klīm[1]
อาวุธเทวีจักร, ปาศ, อังกุษะ, ตริศูล, ปัญจชัญญะ
สัญลักษณ์โอม, ศรียันตระ
พาหนะสิงโต, เสือ
คัมภีร์เทวีมาหาตมยะ, เทวีภาควตปุราณะ, กาลิกาปุราณะ, ลลิตาสหัสรนาม, สุนทรรยาลหารี, ศิวปุราณะ, ศักติอุปนิษัท เช่น เทวีอุปนิษัท[2]
เทศกาลนวราตรี, วสันตปัญจมี, ทุรคาบูชา, ลักษมีบูชา, กาลีบูชา, ทุรคาอัษฏมี, ลลิตาชยันตี, อาทิปุรัม
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองพระสทาศิวะ

มหาเทวี (สันสกฤต: महादेवी, Mahādevī) หรือชื่อเรียกอื่น เช่น อาทิปราศักติ (Adi Parashakti), อาทิศักติ (Adi Shakti) และ อภยศักติ (Abhaya Shakti) เป็นพระเป็นเจ้าสตรีที่ยิ่งใหญ่สูงสุดในคติศักติของศาสนาฮินดู[3][4] ตามธรรมเนียมศักติเชื่อว่าเทวีฮินดูทั้งปวงถือเป็นปางอวตารของเทวียิ่งใหญ่องค์เดียวองค์นี้ ซึ่งมีความยิ่งใหญ่เปรียบได้กับพระวิษณุและพระศิวะในฐานะปรพรหมัน[5] ลัทธิไวษณวะถือว่าอาทิปราศักติคือพระลักษมี,[6] ลัทธิไศวะถือว่าเป็นพระปารวตี, พระทุรคา, พระลลิต และ พระกาลี,[7] ส่วนศักตะถือว่าเป็นพระทุรคา, พระตริปุราสุนทรี, พระภูวเนศวรี และ พระกาลี นักวิชาการ เฮเลน ที. บูซีเยร์ (Helen T. Boursier) ระบุไว้ว่า: "ในปรัชญาฮินดูนั้น ทั้งพระลักษมีและพระปารวตีล้วนถือเป็นมหาเทวี - เทวีที่ยิ่งใหญ่ - และ ศักติหรือพลังอำนาจอันยิ่งใหญ่"[8]

ประติมานวิทยา

[แก้]

โดยทั่วไปมักมองว่าอาทิปราศักติเป็นพระเจ้าที่เป็นนามธรรม แต่ก็มีการบรรยายลักษณะรูปปรากฏของพระนางอยู่ในเทวีภาควตปุราณะ, กาลิกะปุราณะ, มารกัณเฑยะปุราณะ-เทวีมาหาตมยะ, พรหมานันทปุราณะ-ลลิตาสหัสรนาม และตริปุรารหัสยะ ในเทวีภาควตปุราณะระบุว่าครั้งหนึ่ง เทวีได้เชิญชวนตรีมูรติมายังมณีทวีป ที่นั้นตรีมูรติได้มองเห็นซึ่งพระภูวเนศวรีประทับบนบัลลังก์ประดับเพชร ใบหน้าพระนางประกอบไปด้วยแสงสุกสกาวของดวงดาวนับล้านดวง และความงามสูงสุดของพระนางช่างยิ่งใหญ่ถึงขั้นที่ตรีมูรติมิอาจจ้องมองที่พระนางได้ พระนางทรงอภยมุทราและวรมุทรา, ปาศ และอังกุษะ[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Narayanananda 1960, p. 50.
  2. Jones, Constance; Ryan, James (2014). Encyclopedia of Hinduism. Infobase Publishing. p. 399. ISBN 978-0816054589.
  3. Vanamali (2008-07-21). "3. Mahadevi". Shakti: Realm of the Divine Mother (ภาษาอังกฤษ). Simon and Schuster. ISBN 978-1-59477-785-1.
  4. Dalal, Roshen (2019-01-06). The 108 Upanishads: An Introduction (ภาษาอังกฤษ). Penguin Random House India Private Limited. ISBN 978-93-5305-377-2.
  5. Hay, Jeff (2009-03-06). World Religions (ภาษาอังกฤษ). Greenhaven Publishing LLC. p. 284. ISBN 978-0-7377-4627-3.
  6. Pintchman, Tracy (2001-06-21). Seeking Mahadevi: Constructing the Identities of the Hindu Great Goddess (ภาษาอังกฤษ). SUNY Press. p. 9. ISBN 978-0-7914-5007-9.
  7. Bonnefoy 1993, p. 95.
  8. Boursier 2021, p. 30.
  9. Kinsley 1998, p. [ต้องการเลขหน้า].

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Bonnefoy, Yves (1993). Asian Mythologies. University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-06456-7.
  • Boursier, Helen T., บ.ก. (2021). The Rowman & Littlefield Handbook of Women's Studies in Religion. Rowman & Littlefield. ISBN 978-1538154458.
  • Dalal, Roshen (2010). The Religions of India: A Concise Guide to Nine Major Faiths. India: Penguin Books. ISBN 978-0143415176.
  • Dikshitar, V. R. Ramachandra (1999) [1942]. The Lalitā Cult. Delhi: Motilal Banarsidass. ISBN 978-8120814981.
  • Kinsley, David (1998). Hindu Goddesses: Vision of the Divine Feminine in the Hindu Religious Traditions. Motilal Banarsidass. ISBN 978-81-208-0394-7.
  • Mahadevan, T. M. P. (1975). Upaniṣads: Selections from 108 Upaniṣads. Motilal Banarsidass. ISBN 978-81-208-1611-4.
  • Narayanananda, Swami (1960). The Primal Power in Man: Or, The Kundalini Shakti. India: N. K. Prasad. ISBN 978-0787306311.
  • Rajeswari, D. R. (1989). Sakti Iconography. India: Intellectual Publishing House. ISBN 978-8170760153.