ข้ามไปเนื้อหา

วิชัยทัศมี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิชัยทศมี
การฉลองถึงพระแม่ทุรคา (ซ้าย) และพระราม (ขวา) ขึ้นอยู่กับพื้นที่[1]
ชื่ออื่นทศาหระ, ดาซารา, นวราตรี
จัดขึ้นโดยชาวฮินดู
ประเภทศาสนา, วัฒนธรรม
ความสำคัญเฉลิมฉลองชัยชนะของความดีงามเหนือความชั่วร้าย
การเฉลิมฉลองวันสุดท้ายของทุรคาบูชา และ รามลีลา
การถือปฏิบัติปันทัล (เวที), การแสดง, การพบปะกัน, สวดบทบูชา, ปูชา, การอดอาหาร, การลอยเทวรูปในน้ำหรือเผารูปของราวณะ
วันที่อัศวิน (กันยายน-ตุลาคม)

วิชัยทัศมี (Vijayadashami; ไอเอเอสที: Vijayadaśamī) หรือ ดุสเสห์รา (Dussehra), ทศาระ (Dasara), ดาเชน (Dashain) เป็นเทศกาลสำคัญในศาสนาฮินดูที่เฉลิมฉลองวันสุดท้ายของนวราตรี ของทุกปี ตรงกับวันที่สิบของเดือน อัศวิน และ กรฏิก คือเดือนที่หกและเจ็ดของปฏิทินจันทรคติและสุริยคติของฮินดูตามลำดับ มักตรงกับเดือนกันยายนและตุลาคมของปฏิทินเกรเกอเรียน[2][3][4]

วิชัยทัศมีมีการฉลองด้วยที่มาและความเชื่อที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่ในอนุทวีปอินเดีย[5][1][6][2] ในทางใต้, ตะวันออก, ตะวันออกเฉียงเหนือ และบางรัฐทางเหนือของอินเดีย ฉลองวิชัยทัศมีในฐานะวันสุดท้ายของทุรคาบูชา เพื่อระลึกถึงชัยชนะของพระแม่ทุรคาเหนือปีศาจควาย มหิษาสูร เพื่อปกป้องและทำนุบำรุงธรรมะ[2][7][8] ส่วนในทางเหนือ, กลาง และตะวันตกของอินเดีย นิยมเรียกเทศกาลนี้ในชื่อ ดุสเซห์รา (Dussehra) (หรือ ดาซารา; Dasara, ทศาหรา; Dashahara) และฉลองในฐานะวันสุดท้ายของรามลีลา และระลึกถึงชัยชนะของพระรามเหนือราวณะ ในโอกาสเดียวกันนี้อรชุนยังได้รวบรวมกองกำลังกว่า 1,000,000 นายและสามารถเอาชนะสงครามที่กุรุเกษตร ทั้งภีษมะ, โทรณ, อัศวัถมะ, กรรนะ และ กฤปะ ถือเป็นการฉลองซึ่งชัยชนะของธรรมะเหนืออธรรม และยังเป็นโอกาสสำคัญที่เฉลิมฉลองเทวีเช่นพระแม่ทุรคาเช่นกัน[1][3][4]

นอกจากนี้เทศกาลนี้ยังถือเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อการเตรียมตัวสำหรับดีวาลี เทศกาลแห่งแสงสว่างที่จะมีขึ้นใน 12 วันนับจากวิชัยทศมี[9][10][1]

ศัพทมูล

[แก้]

วิชัยทัศมี (อักษรเทวนาครี: विजयदशमी ) (โอเดีย : ଵିଜୟା ଦଶମୀ) (กันนาดา: ವಿಜಯದಶಮಿ) (ทมิฬ: விஜயதசமி) (อักษรเตลูกู: విజయదశమి) (มลยาฬัม: വിജയദശമി) ประกอบขึ้นจากคำว่า "วิชัย" (विजय) และ "ทัศมี" (दशमी) อันแปลว่า "ชัยชนะ"[11] และ "ลำดับที่สิบ"[12] ตามลำดับ อันหมายถึงการเฉลิมฉลองในวันที่สิบของการฉลองชัยชนะของธรรมะเหนืออธรรม[1][6][13] เทศกาลรูปแบบคล้ายกันยังพบในพื้นที่อื่น ๆ ของอินเดียและเนปาลเช่นกัน[14]

เจมส์ ลอชท์ฟีลด์ (James Lochtefeld) ระบุว่าชื่อ ดูสเซห์รา (อักษรเทวนาครี: दशहरा; Dussehra) (กันนาดา: ದಸರಾ ಹಬ್ಬ) มาจากคำส่า ทศาหระ (Dashahara) ซึ่งเกิดจากคำภาษาสันสกฤต "ทศัม" (दशम; dasham) และ "อหร" (अहर; ahar) แปลว่า "10" และ "วัน" ตามลำดับ[15][16][17]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Fuller, Christopher John (2004). The Camphor Flame: Popular Hinduism and Society in India. Princeton University Press. pp. 108–109. ISBN 978-0-69112-04-85.
  2. 2.0 2.1 2.2 Encyclopedia Britannica 2015.
  3. 3.0 3.1 James G. Lochtefeld 2002, pp. 212–213, 468–469.
  4. 4.0 4.1 Encyclopedia Britannica Dussehra 2015.
  5. "Happy Dashain 2074". Lumbini Media. 18 September 2017. สืบค้นเมื่อ 18 September 2017.
  6. 6.0 6.1 James G. Lochtefeld 2002, p. 751.
  7. James G. Lochtefeld 2002, pp. 468–469.
  8. "Dussehra 2020 (Vijayadashami): Story, Ram Setu, Lord Rama & True God". S A NEWS (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 25 October 2020. สืบค้นเมื่อ 25 October 2020.
  9. Gall, Susan B.; Natividad, Irene (1995). The Asian-American Almanac. Gale Research. p. 24. ISBN 978-0-8103-9193-2.
  10. Singh, Rina (2016). Diwali. Orca. pp. 17–18. ISBN 978-1-4598-1008-2.
  11. "Sanskrit Dictionary for Spoken Sanskrit". spokensanskrit.org. สืบค้นเมื่อ 18 December 2019.
  12. "Sanskrit Dictionary for Spoken Sanskrit". spokensanskrit.org. สืบค้นเมื่อ 18 December 2019.
  13. "Dussehra 2018: Why is it celebrated? - Times of India". The Times of India (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 25 October 2020.
  14. Constance Jones & James D. Ryan 2006, pp. 308–309.
  15. "Sanskrit Dictionary for Spoken Sanskrit". spokensanskrit.org. สืบค้นเมื่อ 18 December 2019.
  16. "Sanskrit Dictionary for Spoken Sanskrit". spokensanskrit.org. สืบค้นเมื่อ 18 December 2019.
  17. James G. Lochtefeld 2002, pp. 212–213.