ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sawasdeeee (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sawasdeeee (คุย | ส่วนร่วม)
ปรับปรุงบทความให้กระชับมากขึ้น
บรรทัด 21: บรรทัด 21:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
เมื่อปี [[พ.ศ. 2447]] ได้มีการก่อตั้ง '''“สุขศาลาท่าบ่อ”''' ขึ้นเพื่อบริการด้านการรักษาพยาบาลให้แก่ชาว[[อำเภอท่าบ่อ]]เป็นแห่งแรก ที่ทำการอยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอ ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองร้อยอาสารักษาดินแดนในปัจจุบัน ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2496]] ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่แห่งใหม่ คือบริเวณที่ตั้งโรงพยาบาลปัจจุบัน การย้ายที่ทำการครั้งนั้นได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น '''“สถานีอนามัยชั้น 1”''' โดยมีเตียงรับคนไข้ภายใน 10 เตียง ประกอบด้วย นายแพทย์ประจำ 1 คน สารวัตรสุขาภิบาล พนักงานอนามัย นางสงเคราะห์ (พยาบาล)ผดุงครรภ์ พนักงานบำบัดโรคเรื้อน และนักการอย่างละ 1 คน ส่วนด้านการรักษาพยาบาล ถ้ามีคนไข้หนักก็นำส่งโรงพยาบาลหนองคาย เนื่องจากเครื่องมือแพทย์ ตลอดจนแพทย์และเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ส่วนเจ้าหน้าที่อื่นๆ เช่น ด้านส่งเสริมสุขภาพ สุขาภิบาลป้องกันโรค ต้องรับผิดชอบงานทุกตำบลในเขตอำเภอท่าบ่อ เนื่องจากยังไม่มี[[สถานีอนามัย|สถานีอนามัยตำบล]] หรือสำนักงานผดุงครรภ์ การคมนาคมติดต่อก็ไม่สะดวกอย่างปัจจุบัน
เมื่อปี [[พ.ศ. 2447]] ได้มีการก่อตั้ง '''“สุขศาลาท่าบ่อ”''' ขึ้นเพื่อบริการด้านการรักษาพยาบาลให้แก่ชาว[[อำเภอท่าบ่อ]]เป็นแห่งแรก ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอ ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองร้อยอาสารักษาดินแดนในปัจจุบัน ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2496]] ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่แห่งใหม่ คือบริเวณที่ตั้งโรงพยาบาลปัจจุบัน และได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น '''“สถานีอนามัยชั้น 1”''' โดยมีเตียงรับคนไข้ภายใน 10 เตียง ประกอบด้วย นายแพทย์ประจำ 1 คน สารวัตรสุขาภิบาล พนักงานอนามัย นางสงเคราะห์ (พยาบาล)ผดุงครรภ์ พนักงานบำบัดโรคเรื้อน และนักการอย่างละ 1 คน ส่วนด้านการรักษาพยาบาล ถ้ามีคนไข้หนักก็นำส่งโรงพยาบาลหนองคาย เนื่องจากเครื่องมือแพทย์ ตลอดจนแพทย์และเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ส่วนเจ้าหน้าที่อื่นๆ เช่น ด้านส่งเสริมสุขภาพ สุขาภิบาลป้องกันโรค ต้องรับผิดชอบงานทุกตำบลในเขตอำเภอท่าบ่อ เนื่องจากยังไม่มี[[สถานีอนามัย|สถานีอนามัยตำบล]] หรือสำนักงานผดุงครรภ์


ประมาณปี [[พ.ศ. 2517]] [[กระทรวงสาธารณสุข]] ได้วางโครงการขยายงานด้านการรักษาพยาบาลออกไปสู่เขตชุมชนมากขึ้น '''“สถานีอนามัยชั้น 1”''' จึงมีการพัฒนามากขึ้นและเปลี่ยนชื่อเป็น '''“ศูนย์การแพทย์และอนามัย”''' ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2519]] ศูนย์การแพทย์และอนามัยแห่งนี้ก็ยกระดับมาเป็น '''“โรงพยาบาลท่าบ่อ”''' แต่การบริการด้านการรักษาพยาบาลก็ยังคงรูปแบบเดิม คือมีเตียงรักษาผู้ป่วย 10 เตียง มีแพทย์ประจำ 1 คน ระบบการแบ่งงานยังไม่คล่องตัว ปี [[พ.ศ. 2520]] เป็นปีที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อได้รับการยกฐานะให้เป็นโรงพยาบาล 30 เตียง มีแพทย์ประจำปฏิบัติงาน มีพยาบาลและเจ้าหน้าที่อื่นๆ เพิ่มมากขึ้น
ประมาณปี [[พ.ศ. 2517]] [[กระทรวงสาธารณสุข]] ได้วางโครงการขยายงานด้านการรักษาพยาบาลออกไปสู่เขตชุมชนมากขึ้น '''“สถานีอนามัยชั้น 1”''' จึงมีการพัฒนามากขึ้นและเปลี่ยนชื่อเป็น '''“ศูนย์การแพทย์และอนามัย”''' ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2519]] ก็ได้ยกระดับมาเป็น '''“โรงพยาบาลท่าบ่อ”''' แต่การบริการด้านการรักษาพยาบาลก็ยังคงรูปแบบเดิม คือมีเตียงรักษาผู้ป่วย 10 เตียง มีแพทย์ประจำ 1 คน ปี [[พ.ศ. 2520]] ได้รับการยกฐานะให้เป็นโรงพยาบาล 30 เตียง มีแพทย์ประจำปฏิบัติงาน มีพยาบาลและเจ้าหน้าที่อื่นๆ เพิ่มมากขึ้น


และเมื่อวันที่ [[3 มกราคม]] [[พ.ศ. 2520]] รัฐบาลร่วมกับพสกนิกรชาวไทย ได้บริจาคทุนทรัพย์ร่วมกันจัดสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชขึ้นในอำเภอต่างๆ ทั่วประเทศจำนวน 21 แห่ง โดยโรงพยาบาลท่าบ่อก็เป็นหนึ่งใน 21 แห่งนี้ โรงพยาบาลท่าบ่อได้เปลี่ยนชื่อเป็น '''“โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ”''' และ[[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร]] ได้เสด็จฯ มาวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ [[12 กันยายน]] [[พ.ศ. 2520]] และเสด็จฯ มาทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ [[18 มกราคม]] [[พ.ศ. 2522]]
และเมื่อวันที่ [[3 มกราคม]] [[พ.ศ. 2520]] รัฐบาลร่วมกับพสกนิกรชาวไทย ได้บริจาคทุนทรัพย์ร่วมกันจัดสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชขึ้นในอำเภอต่างๆ ทั่วประเทศจำนวน 21 แห่ง โรงพยาบาลท่าบ่อได้เปลี่ยนชื่อเป็น '''“โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ”''' และ[[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร]] ได้เสด็จฯ มาวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ [[12 กันยายน]] [[พ.ศ. 2520]] และเสด็จฯ มาทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ [[18 มกราคม]] [[พ.ศ. 2522]]


ในปี [[พ.ศ. 2524]] [[กระทรวงสาธารณสุข]]ขออนุมัติให้โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ ขยายจากขนาด 30 เตียงเป็นโรงพยาบาล 60 เตียง และได้พัฒนางานด้านการรักษามากขึ้น มีจำนวนบุคลากรมากขึ้น
ในปี [[พ.ศ. 2524]] [[กระทรวงสาธารณสุข]]ขออนุมัติให้โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ ขยายจากขนาด 30 เตียงเป็นโรงพยาบาล 60 เตียง และต่อมาก็ได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลขนาด 90 เตียง


ต่อมาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลขนาด 90 เตียง และปัจจุบันได้ขยายขนาดเป็น 200 เตียง มีหน้าที่ต้องให้บริการประชาชนทั้งในด้านการรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ฟื้นฟูสภาพ และป้องกันโรค โดยมีขอบเขตความรับผิดชอบประชาชนอำเภอท่าบ่อ และอำเภอใกล้เคียง รวมทั้งเป็นโรงพยาบาลพี่เลี้ยงของโรงพยาบาลชุมชนในเขตจังหวัดหนองคายตอนเหนือ ซึ่งได้แก่ โรงพยาบาลสังคม โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ ตลอดจนสถานีอนามัยในเขตอำเภอท่าบ่ออีกด้วย
ปัจจุบันโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อได้ขยายเป็นโรงพยาบาลขนาด 200 เตียง เป็นโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่ายของโรงพยาบาลชุมชนในเขตจังหวัดหนองคายตอนเหนือ ซึ่งได้แก่ โรงพยาบาลสังคม โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ และโรงพยาบาลโพธิ์ตาก ตลอดจนสถานีอนามัยในเขตอำเภอท่าบ่ออีกด้วย


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:42, 12 พฤษภาคม 2561

ดูเพิ่มเติม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ
Thabo Crown Prince Hospital
ประเภทโรงพยาบาลชุมชน
ที่ตั้ง160 หมู่ที่ 13 ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
ข้อมูลทั่วไป
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ผู้อำนวยการนายแพทย์วัฒนา พารีศรี
จำนวนเตียง200 เตียง [1]
เว็บไซต์www.thabohospital.com

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ เป็นหนึ่งในยี่สิบเอ็ดแห่งของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั่วประเทศ ตั้งอยู่ที่อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

ประวัติ

เมื่อปี พ.ศ. 2447 ได้มีการก่อตั้ง “สุขศาลาท่าบ่อ” ขึ้นเพื่อบริการด้านการรักษาพยาบาลให้แก่ชาวอำเภอท่าบ่อเป็นแห่งแรก ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอ ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองร้อยอาสารักษาดินแดนในปัจจุบัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่แห่งใหม่ คือบริเวณที่ตั้งโรงพยาบาลปัจจุบัน และได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “สถานีอนามัยชั้น 1” โดยมีเตียงรับคนไข้ภายใน 10 เตียง ประกอบด้วย นายแพทย์ประจำ 1 คน สารวัตรสุขาภิบาล พนักงานอนามัย นางสงเคราะห์ (พยาบาล)ผดุงครรภ์ พนักงานบำบัดโรคเรื้อน และนักการอย่างละ 1 คน ส่วนด้านการรักษาพยาบาล ถ้ามีคนไข้หนักก็นำส่งโรงพยาบาลหนองคาย เนื่องจากเครื่องมือแพทย์ ตลอดจนแพทย์และเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ส่วนเจ้าหน้าที่อื่นๆ เช่น ด้านส่งเสริมสุขภาพ สุขาภิบาลป้องกันโรค ต้องรับผิดชอบงานทุกตำบลในเขตอำเภอท่าบ่อ เนื่องจากยังไม่มีสถานีอนามัยตำบล หรือสำนักงานผดุงครรภ์

ประมาณปี พ.ศ. 2517 กระทรวงสาธารณสุข ได้วางโครงการขยายงานด้านการรักษาพยาบาลออกไปสู่เขตชุมชนมากขึ้น “สถานีอนามัยชั้น 1” จึงมีการพัฒนามากขึ้นและเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์การแพทย์และอนามัย” ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ก็ได้ยกระดับมาเป็น “โรงพยาบาลท่าบ่อ” แต่การบริการด้านการรักษาพยาบาลก็ยังคงรูปแบบเดิม คือมีเตียงรักษาผู้ป่วย 10 เตียง มีแพทย์ประจำ 1 คน ปี พ.ศ. 2520 ได้รับการยกฐานะให้เป็นโรงพยาบาล 30 เตียง มีแพทย์ประจำปฏิบัติงาน มีพยาบาลและเจ้าหน้าที่อื่นๆ เพิ่มมากขึ้น

และเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2520 รัฐบาลร่วมกับพสกนิกรชาวไทย ได้บริจาคทุนทรัพย์ร่วมกันจัดสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชขึ้นในอำเภอต่างๆ ทั่วประเทศจำนวน 21 แห่ง โรงพยาบาลท่าบ่อได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ” และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จฯ มาวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2520 และเสด็จฯ มาทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2522

ในปี พ.ศ. 2524 กระทรวงสาธารณสุขขออนุมัติให้โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ ขยายจากขนาด 30 เตียงเป็นโรงพยาบาล 60 เตียง และต่อมาก็ได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลขนาด 90 เตียง

ปัจจุบันโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อได้ขยายเป็นโรงพยาบาลขนาด 200 เตียง เป็นโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่ายของโรงพยาบาลชุมชนในเขตจังหวัดหนองคายตอนเหนือ ซึ่งได้แก่ โรงพยาบาลสังคม โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ และโรงพยาบาลโพธิ์ตาก ตลอดจนสถานีอนามัยในเขตอำเภอท่าบ่ออีกด้วย

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น