ข้ามไปเนื้อหา

คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 42

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะรัฐมนตรีเปรม
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 42 แห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2523 - 2526
วันแต่งตั้ง21 มีนาคม​ พ.ศ. 2523
วันสิ้นสุด30 เมษายน พ.ศ.​ 2526
(3 ปี 40 วัน)
บุคคลและองค์กร
พระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์
ประวัติ
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 41
ถัดไปคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 43

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 42 (3 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526)

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ มีพลอากาศเอก หะริน หงสกุล ประธานรัฐสภา เป็นผู้ลงนามรับสนอง พระบรมราชโองการ คณะรัฐมนตรีที่ได้รับ การแต่งตั้งในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2523

รายชื่อคณะรัฐมนตรี

[แก้]

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี จำนวน 37 ราย เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2523[1]

  1. พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร เป็น รองนายกรัฐมนตรี
  2. พลเอก เสริม ณ นคร เป็น รองนายกรัฐมนตรี
  3. พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ เป็น รองนายกรัฐมนตรี
  4. นายบุญชู โรจนเสถียร เป็น รองนายกรัฐมนตรี
  5. นายสมศักดิ์ ชูโต เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  6. นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  7. เรืออากาศตรี บุญยง วัฒนพงศ์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  8. พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  9. พลเรือเอก กวี สิงหะ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  10. พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  11. นายอำนวย วีรวรรณ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  12. นายบรม ตันเถียร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  13. พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  14. นายอรุณ ภานุพงศ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  15. นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  16. นายอาณัติ อาภาภิรม เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  17. นาวาอากาศตรี ปุณมี ปุณศรี เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  18. พันตำรวจเอก กฤช สังขทรัพย์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  19. พลเรือเอก อมร ศิริกายะ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  20. พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  21. นาวาอากาศโท ทินกร พันธุ์กระวี เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  22. นายยศ อินทรโกมาลย์สุต เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  23. นายตามใจ ขำภโต เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  24. นายวิสิษฐ์ ตันสัจจา เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  25. นายไพโรจน์ ไชยพร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  26. นายประเทือง กีรติบุตร เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  27. นายเกษม ศิริสัมพันธ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  28. นายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  29. นายชวน หลีกภัย เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  30. นายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
  31. นายสิปปนนท์ เกตุทัต เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  32. นายขุนทอง ภูผิวเดือน เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  33. นายทองหยด จิตตวีระ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  34. พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  35. นายโกศล ไกรฤกษ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  36. นายไกรสร ตันติพงศ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  37. นายเกษม สุวรรณกุล เป็น รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย

การปรับปรุงคณะรัฐมนตรี

[แก้]

มีการปรับปรุงและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2524 ดังนี้[2]

  1. พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  2. นายตามใจ ขำภโต พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  3. นาวาอากาศตรี ปุนมี ปุณศรี พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  4. นายโกศล ไกรฤกษ์ พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  5. นายวิสิษฐ์ ตันสัจจา พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

คณะรัฐมนตรีชุดนี้ ได้บริหารประเทศจนถึงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2524 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ จึงได้ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ดังนี้[3]

  • ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524
  1. นายวิสิษฐ์ ตันสัจจา พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  • ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524
  1. พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ พ้นจากตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี
  2. นายขุนทอง ภูผิวเดือน พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2524
  1. นายบุญชู โรจนเสถียร พ้นจากตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี
  2. นายอำนวย วีรวรรณ พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  3. นายบรม ตันเถียร พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  4. นายโกศล ไกรฤกษ์ พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  5. นายยศ อินทรโกมาลย์สุต พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  6. นาวาอากาศตรี ปุณมี ปุณศรี พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  7. นายไพโรจน์ ไชยพร พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  8. นายเกษม ศิริสัมพันธ์ พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  9. นายทองหยด จิตตวีระ พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  • ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2524
  1. นายบัญญัติ บรรทัดฐาน พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  2. นายชวน หลีกภัย พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  3. นายไกรสร ตันติพงศ์ พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  • วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2524
  1. นายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
  • วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2524
  1. นายสมศักดิ์ ชูโต พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  2. เรืออากาศตรี บุญยง วัฒนพงศ์ พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี


และมีการแต่งตั้งรัฐมนตรีใหม่ ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2524 ดังนี้

  1. พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  2. พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร เป็น รองนายกรัฐมนตรี
  3. พลโท ชาญ อังศุโชติ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  4. พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  5. พลตรี สุตสาย หัสดิน เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  6. เรืออากาศโท ศุลี มหาสันทนะ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  7. นายสมหมาย ฮุนตระกูล เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  8. นายไพจิตร เอื้อทวีกุล เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  9. นายอาณัติ อาภาภิรม พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  10. นายณรงค์ วงศ์วรรณ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  11. นายวีระ มุสิกพงศ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  12. ร้อยตำรวจโท ชาญ มนูธรรม เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  13. นายชุมพล ศิลปอาชา เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  14. นายชวน หลีกภัย เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  15. นายประกายพฤกษ์ ศรุตานนท์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  16. นายทวี ไกรคุปต์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  17. นายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  18. พลเรือเอก สมุทร์ สหนาวิน เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  19. นายวิเชียร เวชสวรรค์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  20. นายมารุต บุนนาค เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  21. นายขุนทอง ภูผิวเดือน เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  22. นายเสม พริ้งพวงแก้ว เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  23. นายอำพัน หิรัญโชติ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  24. นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  25. นายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  26. นาวาอากาศโท ทินกร พันธุ์กระวี พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน


ต่อมาในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2524 มีการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งคือ[4]

  1. นายประเทือง กีรติบุตร พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  2. พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

การปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2524

  • ในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2524 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สืบแทน พันตำรวจเอก กฤช สังขทรัพย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้ถึงแก่อนิจจกรรมเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2524[5]
  • ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2524 นายวีระ มุสิกพงศ์ ได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์


การปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2524

  • วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2524 นายวีระ มุสิกพงศ์ ที่ลาออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับการแต่งตั้งใหม่โดยให้ดำรงตำแหน่งเดิม[6]
  • วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2524 พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ , พลตรี สุตสาย หัสดิน, พลเรือเอกกวี สิงหะ, นายอาณัติ อาภาภิรม , นายประกายพฤกษ์ ศรุตานนท์, นายสิปปนนท์ เกตุทัต , นายอำพัน หิรัญโชติ และนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ ได้ลาออกจากตำแหน่ง จึงได้มีการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ดังนี้[7]
  1. นายทองหยด จิตตวีระ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  2. ร้อยตำรวจโท ชาญ มนูธรรม พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ไปดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  3. พลเรือเอก สมุทร์ สหนาวิน พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  4. นายชวน หลีกภัย พันจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  5. นายปรีดา พัฒนถาบุตร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  6. นายวีระ มุสิกพงศ์ พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  7. นายมนตรี พงษ์พานิช เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  8. นาวาอากาศตรี ปุณมี ปุณศรี เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  9. ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  10. นายโกศล ไกรฤกษ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  11. นายเกษม ศิริสัมพันธ์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  12. นายอำนวย ยศสุข เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  13. นายบรม ตันเถียร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

การปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2525

  • วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2525 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายสุธี สิงห์เสน่ห์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง สืบแทน นายไพจิตร เอื้อทวีกุล ซึ่งได้ลาออกจากตำแหน่งไป[8]
  • วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2525 นายทวี ไกรคุปต์ ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี คณะที่ 42

[แก้]

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 42 สิ้นสุดลง เนื่องจากมีพระบรมราชโองการ ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 ต่อมาได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 324 คน ในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2526 และมีการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา จำนวนเพิ่มเติมครบจำนวน 243 คน ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2526 ทำให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารงานอยู่พ้นจากตำแหน่งไปตามวาระ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2019-10-28.
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและแต่งตั้งรัฐมนตรี (พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ และนายตามใจ ขำภโต พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี นาวาอากาศตรี ปุณมี ปุณศรี นายโกศล ไกรฤกษ์ และนายวิศิษฐ์ ตันสัจจา พ้นจากตำแหน่งและแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีใหม่)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒๖ ราย)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (นายประเทือง กีรติบุตร พ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งพลเอก สิทธิ จิรโรจน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแทน)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ)
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (นายวีระ มุสิกพงศ์)
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (ลาออกจากตำแหน่ง จำนวน ๘ ราย และแต่งตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๑๓ ราย)
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (นายไพจิตร เอื้อทวีกุล ลาออก และตั้ง นายสุธี สิงห์เสน่ห์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]