ข้ามไปเนื้อหา

การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การล่มสลายของสหภาพโซเวียต
ส่วนหนึ่งของสงครามเย็นและการปฏิวัติ ค.ศ. 1989
ชื่อพื้นเมือง Распад СССР หรือ Развал СССР
วันที่16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1988 – 26 ธันวาคม ค.ศ. 1991 (1988-11-16 – 1991-12-26)[a]
ที่ตั้ง สหภาพโซเวียต:
ผู้เข้าร่วม
ผล

การล่มสลายของสหภาพโซเวียต (พ.ศ. 2531–2534) เป็นกระบวนการของการสลายตัวภายในประเทศของสหภาพโซเวียต ซึ่งเริ่มต้นด้วยความไม่สงบที่เพิ่มมากขึ้นในสาธารณรัฐต่าง ๆ ซึ่งพัฒนาไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองและนิติบัญญัติอย่างต่อเนื่องระหว่างสาธารณรัฐต่าง ๆ กับรัฐบาลกลาง และสิ้นสุดลงเมื่อผู้นำของสามสาธารณรัฐหลัก (สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย) ได้ประกาศว่าสหภาพสิ้นสุดการดำรงอยู่ ร่วมกับอีกสิบเอ็ดสาธารณรัฐในเวลาต่อมา ส่งผลให้ประธานาธิบดี มีฮาอิล กอร์บาชอฟ ต้องลาออกและส่วนที่เหลืออยู่ของรัฐสภาโซเวียตได้ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ

ความล้มเหลวของการก่อรัฐประหารเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2534 เมื่อรัฐบาลโซเวียตและชนชั้นนำทางทหารได้พยายามที่จะโค่นล้มกอร์บาชอฟและหยุดยั้ง "การเดินสวนสนามแห่งอำนาจอธิปไตย" ทำให้รัฐบาลในกรุงมอสโกสูญเสียอิทธิพลส่วนใหญ่ และสาธารณรัฐหลายแห่งต่างประกาศเอกราชในวันและเดือนต่อมา การแยกตัวของรัฐบอลติก (ซึ่งเป็นรัฐกลุ่มแรกที่ประกาศอำนาจอธิปไตยและต่อมาประกาศเอกราชอย่างเต็มรูปแบบ) ได้รับการรับรองในเดือนกันยายน พ.ศ. 2534 ข้อตกลงเบโลเวจได้รับการลงนามเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม โดยประธานาธิบดี บอริส เยลต์ซิน แห่งรัสเซีย ประธานาธิบดี Leonid Kravchuk แห่งยูเครน และประธาน Stanislav Shushkevich แห่งเบลารุส โดยได้รับรองเอกราชของกันและกันและก่อตั้งเครือรัฐเอกราช สาธารณรัฐที่เหลือยกเว้นจอร์เจียได้เข้าร่วมเครือรัฐเอกราชเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม โดยลงนามในคำประกาศอัลมา-อาตา[2]

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ประธานาธิบดีมีฮาอิล กอร์บาชอฟ ได้ลาออก พร้อมกับประกาศว่าตำแหน่งของเขาได้จบสิ้นแล้ว และได้ส่งมอบอำนาจ (ซึ่งรวมถึงการควบคุมด้วยรหัสการยิงหัวรบนิวเคลียร์) แก่เยลต์ซิน เมื่อตอนเย็นของวันนั้นในเวลา 19:32 น. ธงชาติโซเวียตได้ถูกชักธงลงจากเครมลินเป็นครั้งสุดท้ายและถูกแทนที่ด้วยธงชาติรัสเซีย[3] ในวันรุ่งขึ้น คำประกาศ 142-เอช ของสภาสูงของรัฐสภาโซเวียตได้รับรองเอกราชและการปกครองตนเองของสาธารณรัฐโซเวียตต่าง ๆ และยุบเลิกสหภาพอย่างเป็นทางการ[4]ทั้งการปฏิวัติเมื่อ พ.ศ. 2532 ในกลุ่มตะวันออกและการล่มสลายของสหภาพโซเวียตถือเป็นการยุติสงครามเย็น

ในผลพวงของสงครามเย็น อดีตสาธารณรัฐโซเวียตหลายรัฐยังคงรักษาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัสเซียและจัดตั้งองค์กรพหุภาคีต่าง ๆ เช่น เครือรัฐเอกราช ประชาคมเศรษฐกิจยูเรเชีย รัฐสหภาพ สหภาพศุลกากรยูเรเชีย และสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย เพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการทหาร ในทางกลับกัน รัฐบอลติกและอดีตประเทศกลุ่มตะวันออกได้เข้าร่วมกับเนโทและสหภาพยุโรป ในขณะที่จอร์เจียและยูเครนได้ปลีกตัวจากรัสเซียและแสดงความสนใจที่จะตามไปในเส้นทางเดียวกัน

การเถลิงอำนาจของกอร์บาชอฟ

[แก้]
มีฮาอิล กอร์บาชอฟ

แม้ว่าการปฏิรูปก่อนหน้านั้นได้ล่าช้าลงในช่วงปี พ.ศ. 2507–2525 แต่ว่าการที่คนรุ่นใหม่ได้มีอำนาจแทนคนรุ่นเก่าก็ได้สร้างสภาวะที่เหมาะแก่การปฏิรูปขึ้นอีกครั้ง ความสัมพันธ์ของสหภาพโซเวียตกับสหรัฐอเมริกาที่เปลี่ยนแปลงไปก็ยังเป็นความจำเป็นหนึ่งของการปฏิรูป แม้ว่าประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ ได้ล้มเลิกนโยบายประนีประนอมหลังจากที่สหภาพโซเวียตโจมตีอัฟกานิสถาน แต่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก็ได้ขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เหตุการณ์สงครามอิรัก-อิหร่าน ในสมัยแรกของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน

มีฮาอิล กอร์บาชอฟเป็นผู้นำสหภาพโซเวียต นับตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2528 ไม่นานหลังคอนสตันติน เชียร์เนนโคถึงแก่อสัญกรรม กอร์บาชอฟได้ริเริ่มการปฏิรูปทางการเมืองหลายอย่างภายใต้นโยบายที่เรียกว่า กลัสนอสต์ ประกอบด้วย การลดความเข้มงวดในการตรวจพิจารณา การลดอำนาจหน่วยเคจีบี และการเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตย การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นั้นมีจุดประสงค์เพื่อกำจัดการต่อต้านการปฏิรูปทางเศรษฐกิจจากกลุ่มอำนาจอนุรักษนิยมภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ภายใต้การปฏิรูปนี้ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ในพรรคคอมมิวนิสต์จะต้องมาจากการเลือกตั้ง (โดยสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เอง) ซึ่งเป็นการใช้ระบบนี้ครั้งแรก ท่ามกลางการคัดค้านจากกลุ่มอนุรักษนิยม

อย่างไรก็ตาม การลดความเข้มงวดในการควบคุมสื่อและความพยายามที่จะสร้างการเมืองที่เปิดกว้างมากขึ้นโดยกอร์บาชอฟ ได้ปลุกความรู้สึกชาตินิยมและต่อต้านรัสเซียในสาธารณรัฐเล็ก ๆ ที่เป็นชนกลุ่มน้อยในสหภาพโซเวียต ในคริสต์ทศวรรษ 1980 เสียงที่เรียกร้องอิสรภาพจากการปกครองจากมอสโกดังขั้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในสาธารณรัฐแถบทะเลบอลติก คือ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย ที่รวมกับสหภาพโซเวียตตั้งแต่ พ.ศ. 2483 โดยโจเซฟ สตาลิน ความรู้สึกชาตินิยมนั้นก็ยังได้แพร่หลายในสาธารณรัฐอื่น ๆ เช่น ยูเครน จอร์เจีย และอาเซอร์ไบจาน ขบวนการชาตินิยมเหล่านี้ได้เข้มแข็งขึ้นอย่างมากเมื่อเศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตตกต่ำ รัฐบาลที่กรุงมอสโกนั้นกลายเป็นแพะรับบาปของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แสดงว่า กอร์บาชอฟนั้นได้ปลดปล่อยพลังที่จะทำลายสหภาพโซเวียตไปแล้วโดยไม่ได้ตั้งใจ

ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. เอสโตเนียเป็นสาธารณรัฐโซเวียตแรกที่ประกาศอำนาจอธิปไตยในสหภาพใน ค.ศ. 1988 ก่อให้เกิด"สงครามกฎหมาย"ในรัฐบาลกลาง ลิทัวเนียเป็นสาธารณรัฐแรกที่แยกจากสหภาพโซเวียตและเป็นเอกราชอย่างเป็นทางการ (ไม่นับเขตปกครองตนเองนาคีชีวัน ซึ่งประกาศเอกราชจากทั้งสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจานไม่กี่สัปดาห์ ก่อนจัเข้าร่วมกับอาเซอร์ไบจานในภายหลัง) การล่มสลายเริ่มมีผลในวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1991 เมื่อสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตในสภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหภาพประกาศให้สหภาพโซเวียตไม่มีตัวตนอีกต่อไป[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. (ในภาษารัสเซีย) Declaration № 142-Н of the Soviet of the Republics of the Supreme Soviet of the Soviet Union, formally establishing the dissolution of the Soviet Union as a state and subject of international law.
  2. "Gorbachev, Last Soviet Leader, Resigns; U.S. Recognizes Republics' Independence". The New York Times. 26 December 1991. สืบค้นเมื่อ June 7, 2020.
  3. "Gorbachev, Last Soviet Leader, Resigns; U.S. Recognizes Republics' Independence". The New York Times. 26 December 1991. สืบค้นเมื่อ June 7, 2020.
  4. "The End of the Soviet Union; Text of Declaration: 'Mutual Recognition' and 'an Equal Basis'". The New York Times. December 22, 1991. สืบค้นเมื่อ March 30, 2013.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
ดูเพิ่มที่: Bibliography of the Post Stalinist Soviet Union § The Dissolution of the Soviet Union and Bloc

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]