ประเทศแอฟริกาใต้
สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ Republic of South Africa (อังกฤษ) | |
---|---|
![]() | |
เมืองหลวง | เคปทาวน์ (ทางฝ่ายนิติบัญญัติ) พริทอเรีย (ทางฝ่ายบริหาร) บลูมฟอนเทน (ทางฝ่ายศาล) |
เมืองใหญ่สุด | โจฮันเนสเบิร์ก |
ภาษาราชการ | ภาษาอังกฤษ |
ภาษาอาฟรีกานส์ ภาษาซูลู ภาษาโชซา ภาษาสวาตี ภาษาเอ็นเดเบลี ภาษาซูทูใต้ ภาษาซูทูเหนือ ภาษาซองกา ภาษาสวันนา และภาษาเวนดา | |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว ระบบพรรคเด่น สาธารณรัฐระบบรัฐสภาที่มีประธานบริหาร |
ไซริล รามาโฟซา | |
เอกราช | |
• จาก สหราชอาณาจักร | 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 |
พื้นที่ | |
• รวม | 1,219,912 ตารางกิโลเมตร (471,011 ตารางไมล์) (24) |
เล็กน้อย | |
ประชากร | |
• 2548 ประมาณ | 44,344,136 คน (อันดับที่ 26) |
36 ต่อตารางกิโลเมตร (93.2 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 136) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2560 (ประมาณ) |
• รวม | $ 757.334 พันล้าน |
• ต่อหัว | $ 13,403 |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2560 (ประมาณ) |
• รวม | $ 344.064 พันล้าน |
• ต่อหัว | $ 6,089 |
จีนี (2554) | 63.4[1] ข้อผิดพลาด: ค่าจีนีไม่ถูกต้อง |
HDI (2559) | ![]() ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · 119th |
สกุลเงิน | แรนด์ (ZAR) |
เขตเวลา | UTC+2 |
• ฤดูร้อน (DST) | UTC+3 |
ขับรถด้าน | ซ้ายมือ |
รหัสโทรศัพท์ | 27 |
โดเมนบนสุด | .za |
แอฟริกาใต้ (อังกฤษ: South Africa) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ (ต่างจาก "แอฟริกาตอนใต้" ซึ่งเป็นภูมิภาคประกอบไปด้วยหลายประเทศ รวมถึงประเทศแอฟริกาใต้ด้วย) เป็นประเทศอิสระที่อยู่ตอนปลายทางใต้สุดของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนติดกับประเทศนามิเบีย บอตสวานา ซิมบับเว โมซัมบิก และเอสวาตีนี นอกจากนี้ยังมีเลโซโทซึ่งเป็นประเทศที่ถูกล้อมรอบทุกด้าน รวมทั้งยังเป็นประเทศส่งออกเพชรและทองคำ
ภูมิศาสตร์[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประวัติศาสตร์[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การเมืองการปกครอง[แก้]
บริหาร[แก้]
นิติบัญญัติ[แก้]
ตุลาการ[แก้]
กองทัพ[แก้]
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ[แก้]
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย[แก้]
สาธารณรัฐแอฟริกาใต้กับราชอาณาจักรไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2536 แอฟริกาใต้มีสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยที่กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ แอฟริกาใต้ยังได้แต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ประจำจังหวัดเชียงใหม่ และมีเขตอาณาทางการกงสุลครอบคลุมจังหวัดเชียงรายอีกด้วย[2] และประเทศแอฟริกาใต้มีสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพริทอเรีย
แอฟริกาใต้เป็นประเทศที่มีความสำคัญที่สุดประเทศหนึ่งสำหรับไทยในทวีปแอฟริกา โดยเป็นหุ้นส่วนหลักทางยุทธศาสตร์ของไทยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม
จุดสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเกิดขึ้นเมื่ออดีตประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดลา เดินทางเยือนประเทศไทยและได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อปี 2539 ซึ่งนับว่าเป็นการแสดงถึงจุดสูงสุดของไมตรีจิตรและมิตรภาพที่มีอยู่ระหว่างประชาชนของสองประเทศ[3]
แอฟริกาใต้เป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของประเทศไทยในทวีปแอฟริกา และเป็นตลาดส่งออกข้าวที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ และไทยเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของประเทศแอฟริกาใต้ในกลุ่มประเทศอาเซียน
จากการสำรวจของบริษัทนำเที่ยวในแอฟริกาใต้ ประเทศไทยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมเป็นอันดับ 2 ของชาวแอฟริกาใต้ รองจากประเทศมอริเชียส โดยในปี 2561 มีนักท่องเที่ยวชาวแอฟริกาใต้เดินทางมาประเทศไทยจำนวน 102,713 คน ซึ่งแอฟริกาใต้ถือเป็นตลาดการท่องเที่ยวของไทยที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา[4]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
ประเทศแอฟริกาใต้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 จังหวัด (provines-provinsie) โดยแต่ละจังหวัดจะมีเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด ได้แก่
จังหวัด | เมืองหลวง | เมืองใหญ่สุด | พื้นที่[5] | ประชากร [6] |
---|---|---|---|---|
จังหวัดอีสเทิร์นเคป | บิโช | พอร์ตเอลิซาเบท | 168,966 | 6,829,958 |
จังหวัดฟรีสเตต | บลูมฟอนเทน | บลูมฟอนเทน | 129,825 | 2,759,644 |
จังหวัดเคาเต็ง | โจฮันเนสเบิร์ก | โจฮันเนสเบิร์ก | 18,178 | 11,328,203 |
จังหวัดควาซูลู-นาตัล | ปีเตอร์มาริตซ์เบิร์ก | เดอร์บัน | 94,361 | 10,819,130 |
จังหวัดลิมโปโป | โพโลเควน | โพโลเควน | 125,754 | 5,554,657 |
จังหวัดพูมาลังกา | เนลสไปรต์ | เนลสไปรต์ | 76,495 | 3,657,181 |
จังหวัดนอร์ทเวสต์ | มาเฮเคง | รุสเทนเบิร์ก | 104,882 | 3,253,390 |
จังหวัดนอร์เทิร์นเคป | คิมเบอร์เลย์ | คิมเบอร์เลย์ | 372,889 | 1,096,731 |
จังหวัดเวสเทิร์นเคป | เคปทาวน์ | เคปทาวน์ | 129,462 | 5,287,863 |
เศรษฐกิจ[แก้]
โครงสร้าง[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การท่องเที่ยว[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]
การคมนาคม และ โทรคมนาคม[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การศึกษา[แก้]
ปัญหาด้านการศึกษาของชาวแอฟริกาใต้ ถือได้ว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่และสำคัญที่สุด เพราะหากชาวแอฟริกาใต้ได้รับการศึกษาที่ดีแน่นอนว่าย่อมจะได้รับการพัฒนาประชากร เมื่อคนได้รับความรู้ ก็สามารถที่จะนำความรู้ที่ได้นี้ไปปรับใช้เพื่อนำไปพัฒนาแหล่งที่อยู่อาศัย สภาพความเป็นอยู่ รวมทั้งการนำไปพัฒนาในด้านต่าง ๆ ของตนเองและครอบครัวให้มีชีวิตที่ดีขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่าสิ่งที่ชาวแอฟริกาใต้ต้องการมากไม่แพ้ในสิ่งอื่นใดนั่นก็คือการศึกษา ในปัจจุบันการศึกษาจะถูกจำกัดไว้แค่คนที่มีฐานะเท่านั้น ส่วนคนจนแทบจะไม่ได้รับการศึกษาหรือได้รับการศึกษาที่น้อยมาก
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สาธารณสุข[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประชากรศาสตร์[แก้]
เชื้อชาติ[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ชาวผิวขาว เป็นชาวยุโรป ที่สืบเชื้อสายจากชาวดัตช์, ชาวอังกฤษ และชาวฝรั่งเศส ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในแอฟริกาใต้ ปัจจุบันเรียกว่าชาวอาฟรีกาเนอร์ ชาวผิวสี เป็นชาวเลือดผสมระหว่างชาวอาฟรีกาเนอร์, ชาวพื้นเมือง, และชาวมลายูที่อพยพเข้ามา ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดเวสเทิร์นเคป และชาวพื้นเมืองเป็นชาวพื้นเมืองดั้งเดิมของทวีปแอฟริกา เช่น ชาวซูลู เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีชาวอินเดียที่ส่วนมากอาศัยอยู่ในจังหวัดควาซูลู-นาตัล อีกด้วย
ศาสนา[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คริสต์ร้อยละ 79.77% ไม่มีศาสนา 15.1% อิสลาม 1.46% พราหมณ์-ฮินดู 1.25% พุทธ 1.15%และอื่นๆอีก 1.42%
ภาษา[แก้]
ประเทศแอฟริกาใต้มีภาษาราชการ 11 ภาษา ได้แก่ ภาษาอาฟรีกานส์, ภาษาอังกฤษ, ภาษาซูลู, ภาษาโชซา, ภาษาสวาตี, ภาษาเอ็นเดเบลี, ภาษาซูทูใต้, ภาษาซูทูเหนือ, ภาษาซองกา, ภาษาสวันนา และภาษาเวนดา ชาวแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่สามารถใช้ภาษาอาฟรีกานส์และภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้
กีฬา[แก้]
ฟุตบอล[แก้]
ฟุตบอลทีมชาติแอฟริกาใต้ (อังกฤษ: South Africa national football team) หรือ บาฟานา บาฟานา (Bafana Bafana มีความหมายว่าเด็กชาย) เป็นตัวแทนทีมฟุตบอลจากประเทศแอฟริกาใต้ อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลแอฟริกาใต้ (SAFA) ทีมกลับมาเล่นระดับโลกในปี 1992 หลังจากหลายปีที่ถูกฟีฟ่าแบนจากนโยบายการแบ่งแยกสีผิว และในปี 2010 แอฟริกาใต้เป็นประเทศแรกของทวีปแอฟริกาที่เป็นเจ้าภาพ ฟุตบอลโลก 2010 เดือนมิถุนายน ซิฟิเว่ ชาบาลาล่ายังเป็นคนแรกที่ทำประตูให้กับทีมชาติแอฟริกาใต้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก ทีมชาติแอฟริกาใต้ประสบความสำเร็จในการเป็นผู้ชนะการแข่งขันแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ ในปี 1996 ที่ประเทศตนเองเป็นเจ้าภาพ
รักบี้[แก้]
กีฬารักบี้เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมในแอฟริกาใต้อย่างมากพอๆกับฟุตบอล ทีมชาติแอฟริกาใต้เป็นทีมรักบี้ที่เก่งระดับโลกและมีผู้เล่นมากฝีมือมากมาย เช่น Percy Montgomery นักรักบี้ทีมชาติแอฟริกาใต้ที่เกิดในประเทศนามิเบีย
มวยสากล[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วัฒนธรรม[แก้]
เครื่องดนตรีพื้นเมือง[แก้]
เครื่องดนตรีพื้นเมืองคือวูวูเซลา (อังกฤษ: vuvuzela, เป็นภาษาซูลู แปลว่า ทำให้เกิดเสียงดัง) หรือในบางครั้งเรียก เลปาตาตา (Lepatata ในภาษาสวานา) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าคล้ายทรัมเป็ต เป็นเครื่องดนตรีและวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองแอฟริกาใต้ มีความยาวประมาณ 1 เมตร เสียงของวูวูเซลา เป็นไปในลักษณะดังกึกก้อง คล้ายเสียงร้องของช้าง (บ้างก็บอกว่าคล้ายแมลงหวี่) และเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกจากการแข่งขันฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009 และฟุตบอลโลก 2010
สื่อสารมวลชน[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วันหยุด[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "South Africa". World Bank.
- ↑ "ข้อมูลความสัมพันธ์ทวิภาคี : ไทย - แอฟริกาใต้". Thai Embassy Pretoria. 13 มกราคม 2561. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ความสัมพันธ์ไทย-แอฟริกาใต้". Thai Embassy Pretoria. 19 พฤศจิกายน 2555. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ททท.ลุยตลาดแอฟริกาใต้ อัพยอดนักท่องเที่ยวมาไทยปีหน้าพุ่ง". มติชน. 11 เมษายน 2562. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ Stats in Brief, 2010 (PDF). Pretoria: Statistics South Africa. 2010. p. 3. ISBN 978-0-621-39563-1.
- ↑ Mid-year population estimates, 2011 (รายงาน). Statistics South Africa. 2011. http://www.statssa.gov.za/publications/P0302/P03022011.pdf.
- ข้อมูลประเทศแอฟริกาใต้ จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
คุณสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศแอฟริกาใต้ ได้โดยค้นหาจาก โครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย : | |
---|---|
![]() |
หาความหมาย จากวิกิพจนานุกรม |
![]() |
หนังสือ จากวิกิตำรา |
![]() |
คำคม จากวิกิคำคม |
![]() |
ข้อมูลต้นฉบับ จากวิกิซอร์ซ |
![]() |
ภาพและสื่อ จากคอมมอนส์ |
![]() |
เนื้อหาข่าว จากวิกิข่าว |
![]() |
แหล่งเรียนรู้ จากวิกิวิทยาลัย |
- รัฐบาล
- การศึกษา
- Key Development Forecasts for South Africa from International Futures
- South Africa from UCB Libraries GovPubs
- ประเทศแอฟริกาใต้ ที่เว็บไซต์ Curlie
- ข้อมูลทั่วไป
- South Africa OECD
- South Africa จาก BBC News
- South Africa at Encyclopædia Britannica
- SouthAfrica.info
- ด้านการท่องเที่ยว
Wikimedia Atlas of South Africa
ประเทศแอฟริกาใต้ ข้อมูลการท่องเที่ยวจาก วิกิท่องเที่ยว
- องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแอฟริกาใต้
- Stunning South Africa – slideshow by Life magazine
Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์.