ออมไรซ์
ออมไรซ์ราดด้วยซอสมะเขือเทศ | |
ชื่ออื่น | ข้าวห่อไข่, ข้าวผัดห่อไข่ญี่ปุ่น |
---|---|
แหล่งกำเนิด | ญี่ปุ่น |
ส่วนผสมหลัก | ไข่ไก่ ข้าว และซอสมะเขือเทศ (เป็นทางเลือก) |
รูปแบบอื่น | ออมกะหรี่, ออมฮายาชิ (ทำด้วยข้าวฮายาชิ), ออมโซบะ, ทัมโปโปะออมไรซ์ |
ออมไรซ์ หรือ โอมูไรซุ (ญี่ปุ่น: オムライス; โรมาจิ: Omu-raisu) หรือ ข้าวห่อไข่ เป็นอาหารญี่ปุ่น[1] ประกอบด้วยไข่เจียวที่ทำจากข้าวผัดและไข่คนแผ่นบาง มักจะราดด้วยซอสมะเขือเทศ[2][3] เป็นอาหารที่นิยมทำกินเองที่บ้าน เด็ก ๆ จะชอบรับประทานออมไรซ์เป็นพิเศษ ออมไรซ์มักปรากฏอยู่ในชุดอาหารกลางวันสำหรับคุณหนู (ญี่ปุ่น: お子様ランチ; โรมาจิ: okosama-ranchi) ของญี่ปุ่น[1]
ศัพทมูล
[แก้]คำว่า โอมุ (ออม) และคำว่า ไรซุ (ไรซ์) มาจากการออกเสียงคำภาษาอังกฤษด้วยการออกเสียงแบบภาษาญี่ปุ่นของคำภาษาอังกฤษว่า omelette (ไข่เจียว) และ rice (ข้าว)[4] ชื่อนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของ วาเซ-เอโงะ หรือคำในภาษาญี่ปุ่นที่สร้างจากคำในภาษาอังกฤษ
ประวัติ
[แก้]กล่าวกันว่าออมไรซ์มีต้นกำเนิดในช่วงเปลี่ยนของศตวรรษที่ 20[4] ที่ร้านอาหารสไตล์ตะวันตกในย่านกินซ่าของโตเกียวชื่อ เร็งงะ-เท ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจาก ชากิง-ซูชิ[5]
รูปแบบต่าง ๆ
[แก้]ออมไรซ์มักจะประกอบด้วย ชิกเกงไรซ์ หรือ ชิกินไรซุ (ข้าวไก่: ข้าวผัดกับซอสมะเขือเทศและไก่) ห่อด้วยไข่คนแผ่นบาง ๆ ส่วนผสมที่ทำใช้แต่งกลิ่นข้าวมีความแตกต่างกันออกไป มักผัดข้าวกับเนื้อสัตว์ต่าง ๆ (โดยทั่วไปคือเนื้อไก่) หรือผัก และสามารถปรุงรสด้วยน้ำซุปเนื้อ ซอสมะเขือเทศ เดมีกลัส ซอสขาว หรือเกลือและพริกไทย บางครั้งใช้บะหมี่ผัด (ยากิโซบะ) แทนข้าวเพื่อทำเป็น ออมโซบะ (โอมูโซบะ) รูปแบบอื่น ๆ ที่แตกต่างออกไปในจังหวัดโอกินาวะ คือ ออมทาโก (โอมูตาโกะ) ซึ่งประกอบด้วยไข่เจียวบนทาโกไรซ์ ฮอตด็อกทอดและสแปมเป็นเนื้อสัตว์ยอดนิยม 2 ชนิดที่มักวางร่วมไว้ในจาน
|
อาหารที่คล้ายกัน
[แก้]อาหารที่คล้ายกันกับออมไรซ์มีอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ เรียกว่า นาซีโกเร็งปัตตายา เป็นข้าวผัดที่ทำจากข้าวผัดไก่ห่อด้วยไข่ดาวหรือไข่เจียวแผ่นบาง ๆ
วอลกาไรซ์ เป็นอาหารอีกชนิดที่คล้ายกันกับออมไรซ์[6]
ในวัฒนธรรมประชานิยม
[แก้]ออมไรซ์รูปแบบใหม่ได้รับการพัฒนาสำหรับภาพยนตร์สุขนาฏกรรมเรื่อง ทัมโปโปะ ในปี ค.ศ. 1985 โดยความร่วมมือกับร้านไทเมเค็งซึ่งเป็นร้านอาหารชื่อดังในนิฮมบาชิ ออมไรซ์รูปแบบนี้มีข้าวที่ห่อด้วยไข่เจียวกึ่งสุกซึ่งถูกตัดเปิดออกเพื่อเปิดให้เห็นข้าวข้างใน ออมไรซ์รูปแบบนี้ได้รับความนิยมอย่างมากจนเป็นมาตรฐานร้านอาหารในปัจจุบัน การทำออมไรซ์เองที่บ้านมักเริ่มจากปรุงไข่เจียวแผ่นบาง ๆ ให้เสร็จ นำมาวางบนข้าวปรุงรสแล้วตกแต่งด้วยซอสมะเขือเทศ
ออมไรซ์แบบทำเองที่บ้าน เป็นอาหารที่พบได้บ่อยในรายการอาหารของเมดคาเฟ่ เนื่องจากขั้นตอนการใส่ซอสมะเขือเทศจะเปิดโอกาสให้เมดของร้านสามารถตกแต่งอาหารที่โต๊ะได้อย่างง่าย ๆ ในฐานะ "เซอร์วิส" รูปแบบหนึ่ง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Omuraisu (also known as omurice or omu rice, Japanese rice omelet)", JustHungry.com.
- ↑ Nishimoto, Miyoko (June 1992). "Beyond Sushi: Japanese Cooking in the Great Home-Style Tradition", Vegetarian Times, No. 178. ISSN 0164-8497.
- ↑ Paxton, Norbert (2008). The Rough Guide to Korea, p.249. ISBN 978-1-4053-8420-9.
- ↑ 4.0 4.1 Shimbo, Hiroko (2000). The Japanese Kitchen, p.148. ISBN 1-55832-177-2.
- ↑ Kishi Asako (March 15, 2002). "NIPPONIA No.20: Omuraisu", Web-Japan.org.
- ↑ "Volga Rice - 【郷土料理ものがたり】". kyoudo-ryouri.com. สืบค้นเมื่อ Jul 19, 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- JunsKitchen. "Fluffy Omurice (Japanese Omelet Rice)", YouTube.com
- Setsuko Yoshizuka. "Omu Rice", JapaneseFood.About.com