อายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
อายุที่มีสิทธิเลือกตั้งเป็นอายุขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลนั้นต้องมีอายุไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้มีสิทธิ์เลือกตั้งได้อย่างถูกต้อง ส่วนใหญ่มีกำหนดไว้ที่ 18 ปี แต่พบว่าบางประเทศสามารถใช้สิทธิ์นี้ได้ตั้งแต่ 16 ปี ในทางกลับกันในบางรัฐกำหนดไว้สูงถึง 25 (รายละเอียดตามรายการด้านล่างนี้) โดยมากแล้วอายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งจะระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้แล้วในบางประเทศได้กำหนดให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ที่ต้องทำสำหรับผู้มีสิทธิ์ ในขณะที่หลายประเทศไม่ได้บังคับแต่อย่างใด
นับแต่มีสิทธิ์การออกเสียงในระบอบประชาธิปไตย เดิมนั้นได้กำหนดอายุขั้นต่ำไว้ที่ 21 ปีหรือสูงกว่า ต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 1970 หลายประเทศได้ลงอายุขั้นต่ำลงเป็น 18 ปี ในหลายประเทศมีการถกประเด็นในการลดอายุของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งให้ต่ำกว่า 18 ปี
ประวัติ[แก้]
ในปี ค.ศ. 1890 (พ.ศ. 2433) สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ได้กำหนดอายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งไว้ที่ไม่น้อยกว่า 16 ปี[1]
ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1939 (พ.ศ. 2481)-ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488) เกือบทุกประเทศได้กำหนดอายุขั้นต่ำที่มีสิทธิ์เลือกตั้งไว้ที่ไม่ต่ำกว่า 21 ปี กระทั่งในปี ค.ศ. 1946 (พ.ศ. 2489) เช็กโกสโลวาเกียเป็นประเทศแรกของโลกที่ลดอายุขั้นต่ำลงเหลือ 20 ปี จากนั้นภายในปี ค.ศ. 1968 (พ.ศ. 2511) มี 17 ประเทศได้ลดอายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งลง[2] หลายประเทศได้ทยอยลดอายุขั้นต่ำนี้ลงในช่วงคริสตทศวรรษที่ 1960-1970 โดยเฉพาะในยุโรปตะวันตก โดยเริ่มที่สหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512)[3], สหรัฐในปี ค.ศ. 1971 (พ.ศ. 2514) ตามการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 26, แคนาดาและเยอรมนีตะวันตกในปี ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515), ออสเตรเลียและฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1974 (พ.ศ. 2517) และอีกหลายประเทศต่อมา กระทั่งสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 20 อายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งของหลายรัฐทั่วโลกกำหนดไว้ที่ 18 ปี อย่างไรก็ตามยังมีบางดินแดนที่ยังคงกำหนดอายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งไว้ที่ 20 ปีหรือสูงกว่า และมีส่วนหนึ่งที่กำหนดไว้ที่ 16 และ 17 ปี[4]
ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 และต้นศตวรรษที่ 21 นั้น อินเดีย สวิสเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และโมร็อกโก ได้ลดอายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งเหลือ 18 ปี ส่วนญี่ปุ่นได้ลดอายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งลงจาก 20 ปีเป็น 18 ปีในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 (พ.ศ. 2559)[5]
จากข้อมูลในค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) มัลดีฟส์มีการถกในประเด็นดังกล่าว[6][7]
อายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งแต่ละประเทศ[แก้]
โดยมากแต่ละรัฐได้กำหนดอายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งไว้ที่ 18 ปี ส่วนติมอร์ตะวันออก กรีซ อินโดนีเซีย เกาหลีเหนือ ซูดานใต้ และซูดานกำหนดอายุขั้นต่ำไว้ที่ 17 ปี ในขณะที่อาร์เจนตินา ออสเตรีย บราซิล คิวบา เอกวาดอร์ มอลตา นิการากัว และไอล์ออฟแมน เจอร์ซีย์ เกิร์นซีย์ (ซึ่งเป็นสามดินแดนปกครองตนเองภายใต้อธิปไตยของสหราชอาณาจักร) กำหนดไว้ที่ 16 ปี อายุขั้นต่ำที่มากที่สุดที่กำหนดไว้อยู่ที่ 21 ปียังมีผลบังคับใช้ในหลายดินแดน บางประเทศมีการกำหนดอายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งที่หลากหลาย โดยมักกำหนดให้ลดอายุขั้นต่ำลงในการออกเสียงในระดับรัฐ ท้องถิ่น หรือเทศบาล
มีเพียงนครรัฐวาติกันที่กำหนดอายุของพระคาร์ดินัลในการเลือกสมเด็จพระสันตปาปาไว้สูงสุดที่ 80 ปี
รายชื่อประเทศเรียงตามตัวอักษร[แก้]
รายชื่อที่เรียงตามตัวอักษรดังต่อไปนี้แสดงอายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก[8]
ก[แก้]
- กรีซ เดิมกำหนดไว้ที่ 18 ปี นับแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2016 (พ.ศ. 2559) เป็นต้นไปได้ลดลงเหลือ 17 ปี[9]
- กรีนแลนด์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- กวม กำหนดไว้ที่ 18 ปี แต่ไม่สิทธิ์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐแม้เป็นพลเมืองสหรัฐ
- กัมพูชา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- กัวเดอลุป กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- กัวเตมาลา กำหนดไว้ที่ 18 ปี ส่วนกำลังพลในกองประจำการไม่อาจออกเสียงได้และถูกจำกัดอยู่ภายในค่ายทหารในวันเลือกตั้ง
- กาตาร์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- กานา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- กาบอง กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- กาบูเวร์ดี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- กายอานา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- กินี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- กินี-บิสเซา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- กือราเซา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เกรเนดา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เกาหลีใต้ เดิมกำหนดไว้ที่ 19 ปี ต่อมาในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2562) ได้กำหนดไว้ที่ 18 ปี[10]
- เกาหลีเหนือ กำหนดไว้ที่ 17 ปี ส่วนกำลังพลทหารมีสิทธิ์เลือกตั้งทุกคนโดยไม่ต้องคำนึงถึงอายุ[11]
- เกาะนอร์ฟอล์ก กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เกิร์นซีย์ กำหนดไว้ที่ 16 ปี[12]
- แกมเบีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- โกตดิวัวร์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
ค[แก้]
- คอซอวอ กำหนดไว้ที่ 18 ปี[13][14]
- คอโมโรส กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- คอสตาริกา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- คาซัคสถาน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- คิริบาส กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- คิวบา กำหนดไว้ที่ 16 ปี
- คีร์กีซสถาน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- คูเวต กำหนดไว้ที่ 21 ปีสำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นทหารหรือตำรวจ และผู้มีสิทธิ์ออกเสียงต้องเป็นพลเมืองอย่างน้อย 20 ปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างการลดจำนวนปีลงเหลือ 18 ปี[15]
- เคนยา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- แคนาดา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- แคเมอรูน กำหนดไว้ที่ 20 ปี
- โครเอเชีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- โคลอมเบีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
จ[แก้]
- จอร์เจีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- จอร์แดน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- จาเมกา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- จิบูตี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- จีน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เจอร์ซีย์ กำหนดไว้ที่ 16 ปี
ช[แก้]
ซ[แก้]
- ซานมารีโน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- ซามัว กำหนดไว้ที่ 21 ปี
- ซาอุดีอาระเบีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- ซินต์มาร์เติน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- ซิมบับเว กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- ซีเรีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- ซูดาน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- ซูรินาม กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เซเชลส์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี[16]
- เซนต์คิตส์และเนวิส กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เซนต์ลูเชีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เซนต์เฮเลนา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เซเนกัล กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เซอร์เบีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี[17]
- เซาตูเมและปรินซีปี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เซาท์ซูดาน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เซียร์ราลีโอน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- แซมเบีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- แซ็งปีแยร์และมีเกอลง กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- โซมาเลีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- ไซปรัส กำหนดไว้ที่ 18 ปี
ญ[แก้]
- ญี่ปุ่น เดิมกำหนดไว้ที่ 20 ปี ต่อมาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 (พ.ศ. 2559) ได้กำหนดใหม่เป็น 18 ปี และในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2018 (พ.ศ. 2561) ได้กำหนดอายุที่มีสิทธิ์ลงประชามติตามรัฐธรรมนูญจากเดิม 20 ปีเป็น 18 ปี[18][19]
ด[แก้]
ต[แก้]
- ตรินิแดดและโตเบโก กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- ตองงา กำหนดไว้ที่ 21 ปี
- ติมอร์-เลสเต กำหนดไว้ที่ 17 ปี
- ตุรกี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- ตูนิเซีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี (โดยมีข้อยกเว้นบางประการ)[20]
- ตูวาลู กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เติร์กเมนิสถาน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- โตโก กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- ไต้หวัน กำหนดไว้ที่ 20 ปีสำหรับการเลือกตั้ง และ 18 ปีสำหรับการลงประชามติ
ท[แก้]
- ทาจิกิสถาน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- แทนซาเนีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- ไทย กำหนดไว้ที่ 18 ปี โดยเป็นผู้มีสัญชาติตั้งแต่เกิดหรือแปลงสัญชาติมาไม่น้อยกว่า 5 ปี
- โทเคอเลา กำหนดไว้ที่ 21 ปี
น[แก้]
- นอร์ทมาซิโดเนีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- นอร์เวย์ กำหนดไว้ที่ 18 ปีส่วนผู้ที่อายุ 17 ปีสามารถใช้สิทธิ์เลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรหากในผู้นั้นมีอายุย่างก้าว 18 ปีในปีที่จัดการเลือกตั้ง
- นามิเบีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- นาอูรู กำหนดไว้ที่ 20 ปี
- นิการากัว กำหนดไว้ที่ 16 ปี
- นิวแคลิโดเนีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- นิวซีแลนด์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- นีวเว กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เนเธอร์แลนด์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เนปาล กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- ไนจีเรีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- ไนเจอร์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
บ[แก้]
- บราซิล กำหนดไว้ที่ 16 ปี และให้ผู้มีอายุในช่วง 18-70 ปีต้องไปใช้สิทธิ์ เว้นการบังคับนั้นแก่พลเมืองที่ไม่รู้หนังสือ
- บรูไนดารุสซาลาม กำหนดไว้ที่ 18 ปี (เฉพาะการเลือกตั้งระดับหมู่บ้าน)
- บอตสวานา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา กำหนดไว้ที่ 18 ปี เว้นแต่ผู้มีงานทำได้กำหนดไว้ที่ 16 ปี
- บังกลาเทศ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- บัลแกเรีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- บาร์เบโดส กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- บาห์เรน กำหนดไว้ที่ 20 ปี[21]
- บาฮามาส กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- บุรุนดี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- บูร์กินาฟาโซ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เบนิน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เบลเยียม กำหนดให้ผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไปต้องไปใช้สิทธิ์
- เบลารุส กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เบลีซ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เบอร์มิวดา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- โบลิเวีย กำหนดให้ผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไปต้องไปใช้สิทธิ์อย่างทั่วถึง
ป[แก้]
- ปากีสถาน กำหนดไว้ที่ 18 ปี โดยมีการสงวนที่นั่งในรัฐสภาสำหรับผู้หญิงที่ไม่เป็นมุสลิม
- ปานามา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- ปาปัวนิวกินี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- ปารากวัย กำหนดให้ผู้ที่อายุตั้งแต่ 18-75 ปีต้องไปใช้สิทธิ์อย่างทั่วถึง
- ปาเลา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เปรู กำหนดให้ผู้ที่อายุตั้งแต่ 18-70 ปีต้องไปใช้สิทธิ์อย่างทั่วถึง เดิมทหารและตำรวจแห่งรัฐไม่สามารถลงเสียงเลือกตั้งกระทั่งมีการปฏิรูปรัฐธรรมนูญในปี ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548)[22])
- เปอร์โตริโก กำหนดไว้ที่ กำหนดไว้ที่ 18 ปี แต่ไม่สิทธิ์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐแม้เป็นผู้พำนักบนเกาะจะเป็นพลเมืองสหรัฐ
- โปรตุเกส กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- โปแลนด์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
ฝ[แก้]
- ฝรั่งเศส กำหนดไว้ที่ 18 ปี
พ[แก้]
- พม่า กำหนดไว้ที่ 18 ปี
ฟ[แก้]
- ฟีจี กำหนดไว้ที่ 18 ปีตามรัฐธรรมนูญ
- ฟินแลนด์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- ฟิลิปปินส์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- สำหรับสภาเยาวชน เดิมกำหนดไว้ที่ 15-18 ปี ปัจจุบันกำหนดไว้ที่ 18-30 ปี โดยผู้มีสิทธิ์ได้รับอนุญาตให้อยู่ในตำแหน่งได้หากบรรลุอายุที่กำหนดไว้
- เฟรนช์พอลินีเชีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
ภ[แก้]
- ภูฏาน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
ม[แก้]
- มองโกเลีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- มอนเตเนโกร กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- มอนต์เซอร์รัต กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- มอริเชียส กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- มอริเตเนีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- มอลโดวา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- มอลตา กำหนดไว้ที่ 16 ปี
- มัลดีฟส์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- มาเก๊า ในกรณีการเลือกตั้งทางตรง ได้กำหนดไว้ที่ 18 ปีอย่างทั่วถึงสำหรับผู้ที่พำนักอย่างถาวรในฮ่องกงภายใน 7 ปีที่ผ่านมา ส่วนการเลือกตั้งทางอ้อมได้จำกัดผู้มีสิทธิ์ไว้เฉพาะกลุ่มบริษัทที่ลงทะเบียนไว้ (ปัจจุบันมีการลงทะเบียนทั้งสิ้น 973 เสียง) และสมาชิกจากองค์กรปกครองส่วนภูมิภาค เทศบาล และรัฐบาลกลางจำนวน 300 คน
- มาดากัสการ์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- มายอต กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- มาร์ตีนิก กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- มาลาวี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- มาลี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- มาเลเซีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี (มีผลในอนาคต)[23]
- เม็กซิโก กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- โมซัมบิก กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- โมนาโก กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- โมร็อกโก กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- ไมโครนีเซีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
ย[แก้]
- ยิบรอลตาร์ กำหนดให้ผู้ที่มีอายุ 18 ปีเป็นต้นไปมีสิทธิ์อย่างทั่วถึง รวมทั้งพลเมืองอังกฤษอื่นที่พำนักในดินแดนไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- ยูกันดา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- ยูเครน กำหนดไว้ที่ 18 ปี[24]
- เยเมน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เยอรมนี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- กำหนดไว้ที่ 16 ปีไว้สำหรับการเลือกตั้งระดับรัฐ ได้แก่
รัฐบรันเดินบวร์ค,
เบรเมิน,
ฮัมบวร์ค และ
ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์
- กำหนดไว้ที่ 16 ปีไว้สำหรับการเลือกตั้งระดับเทศบาล ได้แก่
บาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค,
เบอร์ลิน,
รัฐบรันเดินบวร์ค,
เบรเมิน,
ฮัมบวร์ค,
รัฐเมคเลินบวร์ค-ฟอร์พ็อมเมิร์น,
นีเดอร์ซัคเซิน,
นอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน,
รัฐซัคเซิน-อันฮัลท์,
ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ และ
ทือริงเงิน[25]
- กำหนดไว้ที่ 16 ปีไว้สำหรับการเลือกตั้งระดับรัฐ ได้แก่
ร[แก้]
- รวันดา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- รัสเซีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เรอูนียง กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- โรมาเนีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
ล[แก้]
- ลักเซมเบิร์ก กำหนดไว้ที่ 18 ปี โดยกำหนดให้ต้องไปใช้สิทธิ์กระมั่งอายุ 75 ปี ในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) มีการลงประชามติระดับชาติเพื่อลดอายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งลงเหลือ 16 ปี แต่เป็นอันตกไปด้วยเสียงร้อยละ 81
- ลัตเวีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- ลาว กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- ลิกเตนสไตน์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- ลิทัวเนีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- ลิเบีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เลโซโท กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เลบานอน กำหนดไว้ที่ 21 ปี แม้จะมีความพยายามจะแก้เป็น 18 ปีแต่เป็นอันตกไปเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553)[26]
- ไลบีเรีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
ว[แก้]
- วานูวาตู กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- วาลิสและฟูตูนา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เวลส์ กำหนดไว้ที่ 16 ปี สำหรับสำหรับการการเลือกสมาชิกรัฐสภาและสภาท้องถิ่น และ 18 ปีสำหรับพลเมืองเวลส์ทุกคนและผู้พำนักในการเลือกตั้งระดับสหราชอาณาจักร
- เวสเทิร์นสะฮารา ไม่ได้กำหนดไว้ (กำหนดไว้ที่ 18 ปีสำหรับผู้พำนักในเวสเทิร์นสะฮาราในควบคุมของโมร็อคโคในการเลือกตั้งของโมร็อคโค[27]
- เวเนซุเอลา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เวียดนาม กำหนดไว้ที่ 18 ปี
ศ[แก้]
- ศรีลังกา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
ส[แก้]
- สก็อตแลนด์ กำหนดไว้ที่ 16 ปี
- สเปน กำหนดไว้ที่ 18 ปี (ยกเว้นการลงประชามติแยกแคว้นกาตาลุญญาออกเป็นรัฐอิสระในปี ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557) ได้กำหนดไว้ที่ 16 ปี)
- สโลวาเกีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- สโลวีเนีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- สวิตเซอร์แลนด์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี (16 ปีสำหรับการเลือกตั้งระดับรัฐและการเลือกตั้งระดับเทศบาลในรัฐกลารุส[28][29] [1/26])
- สวีเดน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- สหรัฐอเมริกา กำหนดไว้ที่ 18 ปี อย่างไรก็ตาม ในหลายรัฐ บุคคลที่มีอายุ 17 ปีได้รับอนุญาตให้เลือกตั้งขั้นต้นหากผู้นั้นจะมีอายุ 18 ปีในหรือก่อนวันที่มีการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป
- สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ไม่ได้กำหนดไว้[27] แต่ได้กำหนดไว้ที่ 25 ปีในกรณีการเลือกสมาชิกสภาแห่งรัฐ โดยประกอบด้วยบุคคลเพียงบางส่วนจากพลเมืองทั้งหมดอย่างมีนัยสำคัญ (ในการกำหนดอายุขั้นต่ำขึ้นอยู่กับแต่ละรัฐ ซึ่งอาจมีความหลากหลายก็ได้)[30]
- สหราชอาณาจักร กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- สำหรับการลงประชามติเอกราช การเลือกสภาผู้แทน และการเลือกตั้งสภาท้องถิ่นของสก็อตแลนด์ กำหนดไว้ที่ 16 ปี[31]
- สำหรับการการเลือกสมาชิกรัฐสภาและสภาท้องถิ่นของเวลส์ กำหนดไว้ที่ 16 ปี
- สาธารณรัฐคองโก กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- สาธารณรัฐโดมินิกัน กำหนดให้ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและบุคคลที่สมรสแล้วต้องไปใช้สิทธิ์ ส่วนเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจไม่อนุญาตให้ไปใช้สิทธิ์ออกเสียง
- สาธารณรัฐแอฟริกากลาง กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- สิงคโปร์ กำหนดไว้ที่ 21 ปี
ห[แก้]
- หมู่เกาะคุก กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- หมู่เกาะเคย์แมน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- หมู่เกาะโคโคส (คีลิง) กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- หมู่เกาะโซโลมอน กำหนดไว้ที่ 21 ปี
- หมู่เกาะเติกส์และเคคอส กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา กำหนดไว้ที่ 18 ปี แต่ไม่สิทธิ์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐแม้เป็นคนพื้นเมืองพลเมืองสหรัฐ
- หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- หมู่เกาะพิตแคร์น กำหนดไว้ที่ 16 ปีให้มีสิทธิ์อย่างทั่วถึง รวมทั้งผู้ที่พำนักไม่น้อยกว่า 3 ปี
- หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- หมู่เกาะแฟโร กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- หมู่เกาะมาร์แชลล์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐ กำหนดไว้ที่ 18 ปี แต่ไม่สิทธิ์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐแม้พลเมือของเกาะจะเป็นพลเมืองสหรัฐ
อ[แก้]
- อเมริกันซามัว กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- ออสเตรเลีย กำหนดให้ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปต้องไปใช้สิทธิ์
- ออสเตรีย กำหนดไว้ที่ 16 ปี[32]
- อังกฤษ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- อันดอร์รา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- อัฟกานิสถาน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- อาเซอร์ไบจาน กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- อารูบา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- อาร์เจนตินา กำหนดไว้ที่ 16 ปี และให้ผู้มีอายุในช่วง 18-70 ปีต้องไปใช้สิทธิ์
- อาร์มีเนีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- อิเควทอเรียลกินี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- อิตาลี กำหนดไว้ที่ 18 ปี และ 25 ปีในการเลือกตั้งวุฒิสภา
- อินเดีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- อินโดนีเซีย กำหนดไว้ที่ 17 ปี การบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสในอายุก่อน 17 ปีไม่มีผล ยกเว้นทหารและตำรวจ
- อิรัก กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- อิสราเอล กำหนดไว้ที่ 18 ปี และ 17 ปีในการเลือกตั้งระดับเทศบาล
- อิหร่าน กำหนดไว้ที่ 18 ปี โดยมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง ได้แก่ จาก 15 ปีเป็น 18 ปีในปี ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) จากนั้นเปลี่ยนกลับเป็น 15 ปีในปี ค.ศ. 2009 (พ.ศ. 2552) และเปลี่ยนกลับเป็น 15 ปีในปี ค.ศ. 2011 (พ.ศ. 2554)[33][34][35][36]
- อียิปต์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- อุซเบกิสถาน กำหนดไว้ที่ 18 ปี[37]
- อุรุกวัย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เอกวาดอร์ กำหนดไว้ที่ 16 ปีให้มีสิทธิ์อย่างทั่วถึง และให้ผู้มีอายุในช่วง 18-65 ปีที่รู้หนังสือต้องไปใช้สิทธิ์ ส่วนในกรณีของผู้มีอายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งนอกจากกรณีนี้จะใช้สิทธิ์หรือไม่ก็ได้
- เอธิโอเปีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เอริเทรีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เอลซัลวาดอร์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เอสโตเนีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี และ 16 ปีในการเลือกตั้งท้องถิ่น
- เอสวาตีนี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- แองโกลา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- แองกวิลลา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- แอนติกาและบาร์บูดา กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- แอฟริกาใต้ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- แอลจีเรีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- แอลเบเนีย กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- โอมาน กำหนดไว้ที่ 21 ปี ยกเว้นทหารและตำรวจ
- ไอซ์แลนด์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- ไอล์ออฟแมน กำหนดไว้ที่ 16 ปี
- ไอร์แลนด์ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
ฮ[แก้]
- ฮอนดูรัส กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- ฮ่องกง ในกรณีการเลือกตั้งทางตรง ได้กำหนดไว้ที่ 18 ปีอย่างทั่วถึงสำหรับผู้ที่พำนักอย่างถาวรในฮ่องกงภายใน 7 ปีที่ผ่านมา ส่วนการเลือกตั้งทางอ้อมได้จำกัดผู้มีสิทธิ์ไว้เฉพาะกลุ่มประมาณ 220,000 คนและสมาชิกจากองค์กรปกครองส่วนภูมิภาค เทศบาล และรัฐบาลกลางจำนวน 1,200 คน
- ฮังการี กำหนดไว้ที่ 18 ปี
- เฮติ กำหนดไว้ที่ 18 ปี
อ้างอิง[แก้]
- ↑
Eybers, G. W., บ.ก. (1918). Select constitutional documents illustrating South African history, 1795-1910. London: Routledge. p. 495. สืบค้นเมื่อ 2018-11-27.
Wet No. 5, 1890 [...] Om kiezer te zijn, moet men den ouderdom van 16 jaren bereikt hebben. [Law No. 5, 1890 ... In order to be a voter one must have reached the age of 16 years.]
- ↑ "Lowering the Minimum Voting Age to 18 Years - Pro and Con Arguments", Constitutional Revision Study Documents of the Maryland Constitutional Convention Commission, 1968. Retrieved 5 February 2007.
- ↑ w:en:Representation of the People Act 1969
- ↑ "Comparative data". ACE - The Electoral Knowledge Network. สืบค้นเมื่อ 5 August 2019.
- ↑ Young voters hope to reform Japan's 'silver democracy'. The Japan Times. Published 8 July 2016. Retrieved 7 November 2018.
- ↑ Moosa, A.S.I. (1 เมษายน 2007). "The murderous dictator and the 'Bullet-Ballot' propaganda". Dhivehi Observer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มิถุนายน 2007. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2007.
- ↑ HeveeruOnline "Committee supports lowering voting age to 18 for referendum Mar 20, 2007" เก็บถาวร 2 เมษายน 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved 8 March 2015.
- ↑ "Comparative Data —". aceproject.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2013.
- ↑ Εφημερίδα της Κυβερνήσεως τη Ελληνικής Δημοκρατίας [Government Gazette of the Hellenic Republic] (ภาษากรีก), vol. A, Athens: National Publishing House, 27 July 2016, สืบค้นเมื่อ 12 February 2019
- ↑ "(3rd LD) National Assembly passes electoral reform bill amid opposition lawmakers' protest". Yonhap News Agency. 27 December 2019. สืบค้นเมื่อ 8 January 2020.
- ↑ "NK constitute law". Unibook.unikorea.go.kr. 8 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-16. สืบค้นเมื่อ 15 January 2013.
- ↑ Reform (Guernsey) Law, 1948, s. 28(1) เก็บถาวร 4 กรกฎาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน; amended by Reform (Guernsey) (Amendment) Law, 2007 (adopted on 31 October 2007, sanctioned on 12 December and registered and coming into force on 19 December).
- ↑ Kosovo. Youthpolicy.org. Retrieved 6 January 2019.
- ↑ "Legal Voting Age by Country". WorldAtlas. 7 September 2017. สืบค้นเมื่อ 26 November 2019.
- ↑ "NA panel lowers voting age to 18". kuwaittimes.net. 18 January 2012. สืบค้นเมื่อ 4 February 2012.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Inter-Parliamentary Union. "IPU PARLINE database: SEYCHELLES (National Assembly), Full text". Ipu.org. สืบค้นเมื่อ 15 January 2013.
- ↑ "Constitution of the Republic of Serbia". srbija.gov.rs. สืบค้นเมื่อ 5 March 2007.
- ↑ Young voters hope to reform Japan’s ‘silver democracy’. The Japan Times. Published 8 July 2016. Retrieved 7 November 2018.
- ↑ Japan lowers minimum voting age for constitutional referendums to 18. The Japan Times. Published 21 June 2018. Retrieved 7 November 2018.
- ↑ Inter-Parliamentary Union. "IPU PARLINE database: TUNISIA (Al-Majlis Al-watani Al-Taasisi), Electoral system". Ipu.org. สืบค้นเมื่อ 15 January 2013.
- ↑ "IPU PARLINE database: BAHRAIN (Majlis Al-Nuwab), Electoral system". archive.ipu.org.
- ↑ "Militares y policías podrán votar en las próximas elecciones". terra. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-08. สืบค้นเมื่อ 15 January 2013.
- ↑ Mutalib, Zanariah Abd (2019-10-10). "Penguatkuasaan undi 18 tahun selewat-lewatnya Julai 2021". BH Online (ภาษามาเลย์). สืบค้นเมื่อ 2020-03-10.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ (ในภาษายูเครน) Перший крок до зриву виборів (The first step to disrupt the elections), w:en:Ukrayinska Pravda (9 April 2012)
- ↑ Wahlrecht Wikipedia German Wikipedia article containing all references for each state. Retrieved 11 October 2014.
- ↑ "Lebanon shoots down bill to lower voting age". Middle-east-online.com. 22 กุมภาพันธ์ 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 เมษายน 2013. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2013.
- ↑ 27.0 27.1 "Suffrage". www.cia.gov. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มกราคม 2008. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2009.
- ↑ "Swiss canton drops voting age to 16". AP/International Herald Tribune Europe. 6 May 2007. สืบค้นเมื่อ 9 May 2007.
- ↑ "Glarus lowers voting age to 16". 24 Heures. 7 May 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-12. สืบค้นเมื่อ 9 May 2007.
- ↑ Inter-Parliamentary Union (16 February 2011). "IPU PARLINE database: UNITED ARAB EMIRATES (Majlis Watani Itihadi), Electoral system". Ipu.org. สืบค้นเมื่อ 15 January 2013.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อscotlandcut
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อfinal Austria Bill
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อIran increase
- ↑ "Iran: Council of Ministers Approves Lowering Voting Age". Library of Congress. 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 22 March 2013.
- ↑ "Voting Age back to 18". Jame Jam Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-13. สืบค้นเมื่อ 2020-05-23.
- ↑ "Voting Age". Khabar Online. 2013-06-14.
- ↑ "Comparative Data —". aceproject.org.
ดูเพิ่ม[แก้]
- Hyde, Martin (2001). Democracy education and the Canadian voting age (Ph.D thesis). University of British Columbia. hdl:2429/12999.
- Folkes, Alex (January 2004). "The case for votes at 16". Representation. 41 (1): 52–56. doi:10.1080/00344890408523288.
- Cowley, Philip; Denver, David (January 2004). "Votes at 16? The case against". Representation. 41 (1): 57–62. doi:10.1080/00344890408523289.
- Melo, Daniela F.; Stockemer, Daniel (January 2014). "Age and political participation in Germany, France and the UK: a comparative analysis". Comparative European Politics. 12 (1): 33–53. doi:10.1057/cep.2012.31. Abridged version (pdf).
- Chan, T.W. & Clayton, M. 2006, "Should the Voting Age be Lowered to Sixteen? Normative and Empirical Considerations", Political Studies, vol. 54, no. 3, pp. 533–558.