พระมหากษัตริย์เบลเยียม
![]() | บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาอื่น คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
พระมหากษัตริย์ แห่งราชอาณาจักรเบลเยียม | |
---|---|
![]() | |
อยู่ในราชสมบัติ | |
![]() | |
สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป ตั้งแต่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 | |
รายละเอียด | |
รัชทายาท | เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์ |
กษัตริย์องค์แรก | พระเจ้าเลออปอลที่ 1 |
สถาปนาเมื่อ | 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2374[1] |
ที่ประทับ | พระราชวังหลวงบรัสเซลส์ พระราชวังลาเกิน |
เว็บไซต์ | The Belgian Monarchy |
พระมหากษัตริย์เบลเยียม (ดัตช์: Koning der Belgen, ฝรั่งเศส: Roi des Belges, เยอรมัน: König der Belgier) เป็นประมุขแห่งรัฐของประเทศเบลเยียม ตามระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ[2] พระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ประวัติ
[แก้]เมื่อเบลเยียมได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ในปี 2373 รัฐสภาแห่งชาติได้เลือกการปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยได้รับเสียงสนับสนุนจากสมาชิกในรัฐสภาถึง 174 เสียง ต่อ 13 เสียง ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2374 รัฐสภาได้มีมติเลือกเจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งเนอมูร์ พระราชโอรสของพระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส เป็นพระมหากษัตริย์ แต่ประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ ต่างกดดันไม่ให้พระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 ตอบรับ ทำให้พระองค์ปฏิเสธในที่สุด หลังจากนั้นรัฐสภาแห่งชาติจึงได้แต่งตั้งเอราสม์ หลุยส์ ซูร์แล เดอ ชอกีเย ให้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2374
ในที่สุดรัฐสภาได้มีมติเลือกเจ้าชายเลออปอลแห่งซัคเซิน-โคบวร์ค-โกทาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เบลเยียม โดยพระองค์ได้รับการรับรองจากรัฐสภาเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2374 และในอีก 6 สัปดาห์ต่อมาพระองค์จึงเข้าพิธีสาบานตนต่อหน้ารัฐธรรมนูญแห่งเบลเยียมบริเวณหน้าโบสถ์นักบุญเจมส์แห่งเกาเดินแบร์คที่กรุงบรัสเซลส์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2374[1] ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นวันชาติของเบลเยียม