เม็กซิโกซิตี
เม็กซิโกซิตี (อังกฤษ: Mexico City) หรือ ซิวดัดเดเมคีโก (สเปน: Ciudad de México) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเม็กซิโก ตั้งอยู่ในหุบเขาเม็กซิโกบริเวณกึ่งกลางประเทศ
เม็กซิโกซิตีมีพื้นที่ประมาณ 1,499 ตารางกิโลเมตร หรือถ้ารวมบริเวณมหานครด้วยจะมีพื้นที่รวมประมาณ 4,979 ตารางกิโลเมตร ประชากรในเม็กซิโกซิตี (ปี 2548) มี 8,605,239 คน ถ้ารวมเขตมหานครทั้งหมดมีประชากร 17,844,829 คน เป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก
เนื้อหา
ประวัติศาสตร์[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]
เม็กซิโกซิตีมีทำเลที่ตั้งในที่เรียกว่าหุบเขาเม็กซิโก (Valley of Mexico) หุบเขานี้ตั้งอยู่ในทรานส์เม็กซิโก (Trans Mexico) ซึ่งมีความสูงมากกว่า 2,200 เมตร (7,217 ฟุต)
หุบเขานี้ไม่มีทางระบายน้ำจากไหล่เขา ทำให้เมืองนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมสูงมาก แต่ภายหลังก็ได้มีการขุดเจาะอุโมงค์และคลองในคริสต์ศตวรรษที่ 17
ลักษณะภูมิอากาศ[แก้]
เม็กซิโกซิตีมีอากาศที่สูงกึ่งเขตร้อน เนื่องจากทำเลที่ตั้งมีอากาศร้อนและมีอุณหภูมิสูง โดยทางตอนใต้ของหุบเขาได้รับปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าทางตอนบนของภาคใต้
อุณหภูมิเฉลี่ยประจำปีของเม็กซิโกซิตีมีความแตกต่างกันถึง 12-16 องศาเซลเซียส (54-61 องศาฟาเรนไฮต์) อุณหภูมิต่ำที่สุดของเมืองอยู่ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งอาจลดต่ำลงถึง -2 ถึง -5 องศาเซลเซียส (28-30 องศาฟาเรนไฮต์) ส่วนช่วงอุณหภูมิสูงสุดจะอยู่ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ซึ่งอุณหภูมิอาจสูงถึง 32 องศาเซลเซียส (90 องศาฟาเรนไฮต์)
พื้นที่ของเมือง ได้รับฝนเฉลี่ย 700 มิลลิเมตรต่อปี ซึ่งฝนจะตกหนักในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน แต่เดือนตุลาคมถึงสิ้นปี ฝนจะตกน้อยหรือไม่ตกเลย ซึ่งเมืองนี้มีเพียง 2 ฤดูกาล คือ
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม เมื่อลมร้อนนำความชื้นจากทะเลเข้าฝั่ง
- ฤดูแล้ง เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคม
อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีของกรุงเม็กซิโกซิตี ในปี พ.ศ. 2552
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | ม.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ปี |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อุณหภูมิสูงสุดที่บันทึกไว้ °C (°F) | 30 (86) | 29 (84) | 31 (88) | 31 (88) | 33 (91) | 33 (91) | 30 (86) | 30 (86) | 30 (86) | 30 (86) | 33 (91) | 31 (88) | 33 (91) |
อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ย °C (°F) | 19.4 (67) | 22.2 (72) | 25 (77) | 26.1 (79) | 26.1 (79) | 24.4 (76) | 22.8 (73) | 23.3 (74) | 22.8 (73) | 22.2 (72) | 21.7 (71) | 20.6 (69) | 22.8 (73) |
อุณหภูมิต่ำสุดโดยเฉลี่ย °C (°F) | 3.9 (39) | 6.1 (43) | 9.4 (49) | 11.1 (52) | 12.2 (54) | 12.2 (54) | 11.7 (53) | 11.7 (53) | 11.7 (53) | 10 (50) | 7.8 (46) | 5.6 (42) | 8.9 (48) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่มีการบันทึกไว้ °C (°F) | -6 (22) | -3 (26) | -1 (30) | -2 (28) | 1 (34) | 2 (36) | 6 (43) | 3 (37) | 6 (43) | 1 (33) | -1 (30) | -5 (23) | -6 (22) |
หยาดน้ำฟ้า มม. (นิ้ว) | 10.2 (0.40) | 10.2 (0.40) | 12.7 (0.50) | 27.9 (1.10) | 58.4 (2.30) | 157.5 (6.20) | 182.9 (7.20) | 172.7 (6.80) | 144.8 (5.70) | 61 (2.40) | 5.1 (0.20) | 7.6 (0.30) | 851 (33.5) |
แหล่ง: ---- ---- |
เศรษฐกิจ[แก้]

เม็กซิโกซิตีเป็นหนึ่งในเมืองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากเมืองหนึ่งของลาตินอเมริกา โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมของเมืองคิดเป็นร้อยละ 21.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (ของประเทศเม็กซิโก) ซึ่งเม็กซิโกซิตีมีผลิตภัณฑ์มวลรวมประมาณ 315 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการจัดอันดับเมืองที่รวยที่สุดในโลกในปี ค.ศ. 2005 พบว่าเม็กซิโกซิตีเป็นเมืองที่ร่ำรวยเป็นอันดับ 8 ของโลก รองจากโตเกียว, นิวยอร์ก, ลอสแอนเจลิส, ชิคาโก, ปารีส, ลอนดอน, โอซะกะ และโกเบ นอกจากนี้ เม็กซิโกซิตียังคงเป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดในภูมิภาคลาตินอเมริกา
ค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) ของเม็กซิโกซิตีในปี ค.ศ. 2009 อยู่ในระดับ 0.937 ซึ่งมีความใกล้เคียงกับประเทศเกาหลีใต้ ระดับของรายจ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนของเม็กซิโกซิตีอยู่ใกล้เคียงกับระดับของรายจ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนของประเทศญี่ปุ่นและประเทศเยอรมนี
กรุงเม็กซิโกซิตีมีค่าจีดีพีเฉลี่ยต่อประชากรอยู่ที่ 25,258 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกันกับประเทศร่ำรวยบางประเทศ เช่นประเทศเกาหลีใต้ และด้วยการใช้จ่ายที่สูงมากของประชาชนชาวเม็กซิโกซิตี ทำให้เป็นเมืองที่น่าสนใจของบริษัทที่ผลิตสินค้าหรูและสินค้าฟุ่มเฟือย ซึ่งบริษัทเหล่านี้มีการเติบโตตั้งแต่ปี 2003 โดยสินค้าที่ได้รับความนิยมมาก คือ รถยนต์ สินค้าจำพวกแฟชั่น สินค้าเทคโนโลยี เสื้อผ้า และสินค้าจำพวกเครื่องประดับที่มีราคาแพง เป็นต้น
สภาพแวดล้อม[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประชากร[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สาธารณสุข[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การคมนาคม[แก้]
ระบบขนส่งมวลชน[แก้]
กรุงเม็กซิโกซิตีให้บริการระบบรถไฟฟ้าใต้ดินทั้งสิ้น 207 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระบบขนส่งมวลชนที่ใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกา ส่วนแรกเปิดให้บริการในปี ค.ศ. 1969 และได้ขยายเส้นทางการให้บริการถึง 11 สาย 175 สถานี นอกจากนี้ยังมีรถไฟชานเมือง (Suburbano) ซึ่งคล้ายกับรถไฟชานเมือง RER ของประเทศฝรั่งเศส รถไฟชานเมืองสายนี้ เปิดให้บริการในปี ค.ศ. 2008
รถไฟฟ้าใต้ดินในกรุงเม็กซิโกซิตี เป็นระบบขนส่งมวลชนที่คึกคักมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก โดยมีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 4.5 ล้านคน เปิดให้บริการตั้งแต่ 5 นาฬิกา ถึง เที่ยงคืน ของทุกวัน
นอกจากรถไฟฟ้าใต้ดินแล้ว ในกรุงเม็กซิโกซิตียังมียังมีรถโดยสารประจำทาง โมโนเรล และแท็กซี่ (รถรางยกเลิกในปี 1979)
ทางอากาศ[แก้]
ท่าอากาศยานนานาชาติเม็กซิโกซิตี (Mexico City International Airport) เป็นสนามบินนานาชาติตั้งอยู่ในกรุงเม็กซิโกซิตี สนามบินนี้มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีเที่ยวบินมากที่สุดในแผ่นดินอเมริกาเหนือและภูมิภาคลาตินอเมริกา ในปี ค.ศ. 2008 มีผู้ใช้บริการของท่าอากาศยานแห่งนี้ทั้งสิ้น 31 ล้านคน
กีฬา[แก้]
ฟุตบอล เป็นกีฬาที่ชาวเม็กซิโกนิยมดูการถ่ายทอดทางโทรทัศน์มากที่สุด สนามกีฬาที่สำคัญของเมือง คือ สนามกีฬาอัซเตกสเตเดียมซึ่งบรรจุผู้ชมได้มากถึง 105,000 คน และสนามนี้ยังเป็นสนามทีมเหย้าของทีมชาติเม็กซิโกอีกด้วย
การศึกษา[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สื่อ[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การค้า[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ศิลปวัฒนธรรม[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เมืองพี่น้อง[แก้]
เมืองพี่น้องของเม็กซิโกซิตีมีดังนี้
เอเธนส์
อาเรกีปา
ปักกิ่ง
เบรุต
เบอร์ลิน
โบโกตา
บัวโนสไอเรส
ไคโร
ชิคาโก
ซัวดัดคัวเรซ, รัฐชีวาวา
กุสโก
โดโลเรสอีดัลโก, รัฐกวานาวาโต
กัวเตมาลาซิตี
ฮิวสตัน
อิสตันบูล
คาลินินกราด
ลาปาซ
ลิมา
ลิสบอน
ลอนดอน
ลอสแอนเจลิส
มาดริด
Malmö
มะนิลา
มิวนิก
นะโงะยะ
นิวยอร์กซิตี
นิโคเซีย
ปานามาซิตี
ดูเพิ่ม[แก้]
|