มิคาอิลที่ 7 ดูคาส
มิคาอิลที่ 7 ดูคาส | |
---|---|
สมเด็จพระจักรพรรดิและองค์อธิปัตย์แห่งชนโรมัน | |
สมเด็จพระจักรพรรดิ แห่ง จักรวรรดิไบแซนไทน์ | |
ครองราชย์ | 22 พฤษภาคม ค.ศ.1071 – 24 มีนาคม ค.ศ.1078 |
ก่อนหน้า | โรมานอสที่ 4 ไดโอจีนิส |
ถัดไป | นีกิโฟรอสที่ 3 |
ร่วมราชสมบัติ | อันโดรนิคอส ดูคัส (ร่วมราชสมบัติ) (ทศวรรษ 1070s) คอนสแตนติออส ดูคัส (1071–1078) คอนสแตนติน ดูคัส (1074–1078) |
ประสูติ | ป. ราว ๆ ค.ศ.1050 |
สวรรคต | ค.ศ.1090 (สิริพระชนมายุ 40 พรรษา) |
คู่อภิเษก | มาเรียแห่งอลาเนีย |
พระราชบุตร | คอนสแตนติน ดูคัส (ร่วมราชสมบัติ) |
ราชวงศ์ | ดูคัส |
พระราชบิดา | คอนสแตนตินที่ 10 |
พระราชมารดา | ยูโดกีอา แมแครมโบลิทิซซา |
มิคาอิลที่ 7 ดูคัส (กรีก: Μιχαήλ Ζ΄ Δούκας, Mikhaēl VII Doukas ) พระนามรอง พาราไพนากิส ( กรีก: Παραπινάκης, แปลว่า "ลบเศษหนึ่งส่วนสี่" โดยอ้างอิงถึงการลดค่าสกุลเงินไบแซนไทน์ภายใต้การปกครองของพระองค์) พระองค์ทรงอยู่ในราชสมบัติด้วยพระฐานะจักรพรรดิไบแซนไทน์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1071 ถึง 1078
ช่วงชีวิต
[แก้]มิคาอิลที่ 7 เสด็จพระราชสมภพในช่วงระหว่างประมาณ ค.ศ. 1050 ในกรุงคอนสแตนติโนเปิล ทรงเป็นบุตรชายคนโตของ คอนสแตนตินที่ 10 ดูคัส พระราชบิดาและอดีตจักรพรรดิไบแซนไทน์ และ ยูโดเกีย มักเรมโบลิทิซซา พระราชมารดา[1] พระองค์ทรงร่วมช่วยงานราชกิจพระราชบิดาในช่วงปลายปี 1059 ร่วมกันกับ คอนสแตนติออส ดูคัส พระอนุชาของพระองค์ [2] เมื่อพระราชบิดาเสียชีวิตในปี 1067 ซึ่งในขณะนั้นพระองค์ทรงมีพระชนมายุได้ 17 ปี พระองค์แสดงความสนพระทัยในการเมืองไม่มากเท่าที่ควร แต่ในขณะนั้นสมเด็จพระราชมารดาและพระปิตุลาของพระองค์ ไคซาร์แห่งไบแซนไทน์ จอห์น ดูคัส ได้ทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการในนามพระจักรพรรดิในระหว่างที่พระองค์ยังไม่สามารถในเรื่องการบริหารราชกิจ[3]
ณ วันที่ 1 มกราคม 1068 พระราชมารดาของพระองค์ได้อภิเษกกับนายทัพและขุนนางอย่าง โรมานอส ไดโอจีนิส ด้วยในพระปรมาภิไธย "โรมานอสที่ 4 ไดโอจีนิส" โดยพระองค์สืบราชสมบัติในฐานะของสมเด็จพระจักรพรรดิอาวุโสและผู้อารักขาสามพระราชบุตรของอดีตจักรพรรดิ[4] ต่อมาโรมานอสที่ 4 ทรงพ่ายแพ้ต่อสุลต่านอัลป์ อาซลัน สุลต่านแห่งจักรวรรดิเซลจุคเติร์ก ในยุทธการที่มันซิเคิร์ท ช่วงเดือนสิงหาคม 1071 และถูกจับกุมตัว[5] ตัวมิคาอิลเองยังคงทรงงานพระราชกิจอย่างเงียบ ๆ อยู่เบื้องหลังในเงาของจักรพรรดิผู้อารักขาพระองค์ ในขณะพระปิตุลาพระองค์ จอห์น ดูคัส [6] ได้มีความคิดที่พยายามจะลดทอนพระราชอำนาจของโรมานอส ไดโอจีนิส ในฐานะที่ทรงเป็นพระปิตุลาและไกซาร์แห่งราชสำนักไบแซนไทน์ และพระอาจารย์ของพระองค์เองอย่างมิคาอิล เซโลสก็มีความคิดเห็นที่ตรงกัน จึงได้ใช้พระอำนาจภายหลังที่โรมานอสถูกจับในยุทธการที่มันซิเคิร์ท เพิ่มพระราชอำนาจของจักรพรรดินียูโดกีอาให้บริหารราชกิจร่วมกับพระราชบุตรอย่างเต็มที่ จากนั้นได้บังคับให้พระนางออกบวชเป็นแม่ชี ทำให้ตำแหน่งจักรพรรดิว่างลง มิคาอิล ดูคัส จึงได้ขึ้นสู่ราชสมบัติในพระปรมาภิไธย "มิคาอิลที่ 7 ดูคัส" ภายใต้การบริหารราชกิจของพระปิตุลาของพระองค์เอง
ในขณะที่สองผู้มีพระคุณยังคงถือพระราชอำนาจบริหารราชกิจในจักรวรรดิในนามพระองค์ ตัวพระองค์เองเริ่มหันเหไปยังสมุหกองพระคลังอย่างนีกิโฟริทซิส ซึ่งเคยเป็นขุนนางที่ดำรงตำแหน่งสมุหพระเลขานุการส่วนพระองค์ในรัชกาลพระจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 10 โมโนมาโคสและปลัดบัญชาการมณฑลทหารเฮลลาสและหมู่เกาะเพโลโปนิเซียนในรัชกาลของโรมานอสที่ 4 ไดโอจีนิส ก่อนจะถูกเรียกกลับมารับราชการภายในราชสำนักในภายหลัง[7] พระองค์ทรงมีการอนุญาตให้นีกิโฟริทซิสเพิ่มอัตราพิกัดภาษีและค่าใช้จ่ายของฟุ่มเฟือยใหม่อีกครั้งให้มากขึ้นกว่าเดิมในขณะที่กองทัพไม่ได้รับการปรับปรุงในทางที่ควร และในฐานะจักรพรรดิแล้ว พระองค์ขาดซึ่งความสามารถในการบริหารราชกิจ อีกทั้งถูกห้อมล้อมไปด้วยข้าราชการที่แสวงหาแต่อำนาจและบดบังสายพระเนตรของพระองค์จากทัศนวิสัยในการบริหารราชกิจ ทำให้ฐานของจักรวรรดิค่อย ๆ พังทลายลง เมื่อในสถานการณ์คับขันจวนตัว เหล่าข้าราชการของจักรวรรดิจะใช้วิธีการยึดทรัพย์สินและแม้กระทั่งการเวนคืนทรัพย์สมบัติบางส่วนของคริสตจักร กองทัพที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนอย่างที่สมควรก็มีแนวโน้มที่จะทำการกบฏต่อราชสำนัก อีกทั้งไบแซนไทน์เสียเมืองบารี ซึ่งเป็นเมืองหลวงและปราการสุดท้ายของรัฐคาเตปันแห่งอิตาลี หัวเมืองในการปกครองของไบแซนไทน์ อีกทั้งยังเป็นเมืองท่าค้าทาสสลาฟที่สำคัญแห่งหนึ่งของไบแซนไทน์ในอิตาลี ให้กับโรเบิร์ต กิสการท์ ชาวนอร์มันที่เข้ามารุกรานคาบสมุทรอิตาลีและบอลข่านในการศึกรุกรานของชาวนอร์มันในปี 1071 [8] อีกทั้งยังต้องรับมือกับกบฏในภูมิภาคบัลแกเรียน ซึ่งเป็นกบฏที่พยายามจะสถาปนาจักรวรรดิบัลแกเรียอีกครั้ง [7] แม้ว่าจอมทัพอย่างนีกิโฟรอส ไบรเอนนีออสจะสามารถปราบกบฏได้สำเร็จ [7]แต่จักรวรรดิไบแซนไทน์ก็ไม่สามารถกู้คืนความสูญเสียในเขตเอเชียไมเนอร์ที่เกิดขึ้นได้อีกเลย
หลังจากสิ้นสุดยุทธการที่มันซิเคิร์ท ส่วนราชการได้ส่งกองทัพใหม่ไปจัดการชาวเซลจุคเติร์กอีกครั้งโดยการนำทัพของจอมทัพ (strategos autokrator) และปลัดสำนักบัญชาการตะวันออกอิคซัค คอมนีโนส หรือไอแซค คอมนีโนส สมเด็จพระเชษฐาธิราชของอนาคตพระจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 กอมนีโนส และพ่ายแพ้กลับมา อีกทั้งตัวไอแซคเองก็ถูกจับในปี 1073 [9] ปัญหาทางการทหารและสถานการณ์ของจักรวรรดิดังกล่าวร้ายแรงขึ้นเมื่อทหารรับจ้างชาวนอร์มันในการดูแลของเออร์เซลิออส หรือ ฟรังโกโปลอส ก่อกบฏต่อราชสำนักและจอห์น ดูคัสพ่ายแพ้ต่อกบฏ และถูกสถาปนาเป็นจักรพรรดิซ้อนโดยชาวนอร์มัน[9]
การยุทธต่อต้านเซลจุคดังกล่าวที่ราชสำนักพ่ายแพ้ อีกทั้งทหารรับจ้างตะวันตกที่ได้รับชัยชนะในครั้งนี้ทำให้จอห์น ดูคัส มีสถานะที่ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้สืบราชสมบัติในกาลต่อมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
รัฐบาลของมิคาอิลที่ 7 ดูคัสถูกบังคับให้ยอมรับการพิชิตเอเชียไมเนอร์ของจักรวรรดิเซลจุคในปี 1074 และราชสำนักก็ได้ขอเจรจาเรื่องทางการทหารกับเซลจุคเติร์ก และกองทัพใหม่ภายใต้การนำพาของอเล็กซิออส กอมนีโนสร่วมกับชาวเซลจุคโดยการสนับสนุนของสุลต่านมาลิค ชาห์ที่ 1 สามารถพิชิตกองลาตินิกอนและจับกุมสมเด็จพระปิตุลา จอห์น ดูคัสกลับมาได้ในปี 1074 [10]
เรื่องราวร้าย ๆ ที่เกิดขึ้นในตลอดรัชสมัยของพระองค์ ก็เท่าทวีคูณเมื่อพระองค์ประกาศลดค่าเงินลง จนเกิดพระนามรองของพระองค์นาม "พาราไพนากิส" หรือ "ลบเศษหนึ่งส่วนสี่"
ต่อมาในปี ค.ศ. 1078 จอมทัพ นีกิโฟรอส ไบรเอนนีออส และ นีกิโฟรอส โบทานีอาตีส ได้ก่อหวอดกบฏทั้งในบอลข่านและอนาโตเลียโดยพร้อมเพรียงกัน [11] โบทานีอาตีสได้รับการสนับสนุนจากเซลจุค และสามารถเข้าถึงนครคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ ตัวพระองค์เองถูกบังคับให้สละราชสมบัติในวันที่ 31 เดือนมีนาคม 1078 และเกษียณพระองค์ไปยังโบสถ์หลวงแห่งสโตดิออส [12] ต่อมาพระองค์ได้ดำรงตำแหน่งอุปมนตรีของเมืองในอาณัติศาสนจักรเอเฟซัสและเสียชีวิตในคอนสแตนติโนเปิลในปี 1090 [13]
[14] จาก เหวินเซี่ยนทงเข่า ที่บันทึกโดยนักประวัติศาสตร์ชาวจีนอย่าง หม่าต้วนหลิน (1245–1322) และ ซ่งฉื่อ โดยรู้กันในพระปรมาภิไธยจักรพรรดิไบแซนไทน์ "มิคาอิลที่ 7 พาราไพนากิส ไคเซอร์แห่งฝูหลิน" (เมี่ยลี่ชาหลิงไกซา 滅力沙靈改撒 โดยพระอิสริยยศไกเซอร์ที่จีนกล่าวถึงนี้ เป็นอิสริยยศที่ทับมาจากตำแหน่งที่เรียกขานในเอกสารก่อนหน้านี้ โดยถือว่าพระยศไคเซอร์ในมุมมองของจีนเป็นบาซิลิอุสแห่งไบแซนไทน์ และเมี่ยลี่ชาหลิงคือพระนามของพระองค์ ส่วนคำว่าฝูหลิน 拂菻 มาจากคำว่า Hrom หรือ From ในภาษาซอกเดียนซึ่งหมายถึงไบแซนเทียม) ได้ส่งทูตไปยังราชวงศ์ซ่ง ของจีนซึ่งมาถึงในเดือนพฤศจิกายน 1081 ในรัชสมัยของจักรพรรดิเสินจงแห่งซ่ง (ร. 1067–1085) [15][16]
ดูสิ่งนี้ด้วย
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- Dumbarton Oaks (1973), Catalogue of the Byzantine Coins in the Dumbarton Oaks Collection and in the Whittemore Collection: Leo III to Nicephorus Iii, 717–1081 see also Dumbarton Oaks, "Michael VII Doukas (1071–1078)", God's Regents on Earth: A Thousand Years of Byzantine Imperial Seals, สืบค้นเมื่อ 1 May 2016
- Finlay, George (1854), History of the Byzantine and Greek Empires from 1057–1453, vol. 2, William Blackwood & Sons
- Kazhdan, Alexander, บ.ก. (1991). The Oxford Dictionary of Byzantium. Oxford and New York: Oxford University Press. ISBN 0-19-504652-8.
- Norwich, John Julius (1993), Byzantium: The Apogee, Penguin, ISBN 0-14-011448-3
- แม่แบบ:A History of the Byzantine State and Society
แสดงที่มา:
บทความนี้ ประกอบด้วยข้อความจากสิ่งพิมพ์ซึ่งปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติ: Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 18 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 359.
อ่านเพิ่มเติม
[แก้]- Garland, Linda (1999), Byzantine Empresses: Women and Power in Byzantium AD 527–1204, Routledge, ISBN 978-0-415-14688-3
- Polemis, Demetrios I. (1968), The Doukai: A Contribution to Byzantine Prosopography, London
- ↑ noahm. "Eudokia Makrembolitissa (1067 and 1071)". Dumbarton Oaks (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-02.
- ↑ Dumbarton Oaks 1973, p. 779
- ↑ Dumbarton Oaks 1973, p. 780
- ↑ Dumbarton Oaks 1973, p. 785
- ↑ Norwich 1993, p. 353
- ↑ Norwich 1993, p. 355
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Norwich 1993, p. 359
- ↑ Norwich 1993, p. 355
- ↑ 9.0 9.1 Finlay 1854, p. 52
- ↑ Norwich 1993, p. 360
- ↑ Norwich 1993, p. 360
- ↑ Norwich 1993, p. 361
- ↑ Kazhdan 1991, p. 1366
- ↑ Paul Halsall (2000) [1998]. Jerome S. Arkenberg (บ.ก.). "East Asian History Sourcebook: Chinese Accounts of Rome, Byzantium and the Middle East, c. 91 B.C.E. - 1643 C.E." Fordham.edu. Fordham University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-10. สืบค้นเมื่อ 2016-09-10.
- ↑ Fuat Sezgin; Carl Ehrig-Eggert; Amawi Mazen; E. Neubauer (1996). نصوص ودراسات من مصادر صينية حول البلدان الاسلامية. Frankfurt am Main: Institut für Geschichte der Arabisch-Islamischen Wissenschaften (Institute for the History of Arabic-Islamic Science at the Johann Wolfgang Goethe University). p. 25.
- ↑ Paul Halsall (2000) [1998]. Jerome S. Arkenberg (บ.ก.). "East Asian History Sourcebook: Chinese Accounts of Rome, Byzantium and the Middle East, c. 91 B.C.E. - 1643 C.E." Fordham.edu. Fordham University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-10. สืบค้นเมื่อ 2016-09-10.