ท่าอากาศยานน่านนคร
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
พิกัดภูมิศาสตร์: 18°48′28″N 100°47′00″E / 18.80778°N 100.78333°E
การใช้งาน | สนามบินพาณิชย์ / สนามบินศุลกากร | ||
---|---|---|---|
ผู้ดำเนินงาน | กรมท่าอากาศยาน | ||
สถานที่ตั้ง | ถนนน่าน - ทุ่งช้าง หมู่ 2 ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน | ||
ความสูง | 702 ฟุต / 213 เมตร | ||
เว็บไซต์ | |||
02/20 | 2,000 | 6,562 | ยางมะตอย |
ผู้โดยสาร | 428,202 | ||
เที่ยวบิน | 3,976 | ||
แหล่งข้อมูล: http://www.aviation.go.th |
ท่าอากาศยานน่านนคร หรือ สนามบินน่าน (อังกฤษ: Nan Nakhon Airport) เป็นสนามบินที่ตั้งอยู่ที่ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร มีพื้นที่ใช้ร่วมกับกองทัพอากาศทั้งหมด 1069 ไร่ 1 งาน 24 ตารางวา โดยใช้ในราชการท่าอากาศยานน่านนคร 392 ไร่ 2 งาน 99 ตารางวา[1] เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[2]
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
เมื่อปี พ.ศ. 2458 เจ้าอุปราช (มหาพรหม ณ น่าน) เจ้าอุปราชนครน่าน (อิสริยศในขณะนั้น) ได้ทรงบริจาคทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อซื้อเครื่องบินให้แก่กองทัพอากาศ[3] จำนวน 1 ลำ ซึ่งต่อมาพระองค์มีพระประสงค์จะชมเครื่องบินลำที่พระองค์ซื้อให้แก่กองทัพอากาศ จึงได้นำความปรึกษากับอำมาตย์เอก พระวรไชยวุฒิกรณ์ ปลัดมณฑลพายัพ เพื่อจัดสร้างสนามบินขึ้น เมื่อพระวรไชยวุฒิกรณ์เห็นชอบแล้ว จึงได้เกณฑ์แรงงานราษฎรทำการถางโค่นต้นไม้ บริเวณตำบลหัวเวียงเหนือ เพื่อสร้างสนามบินขึ้น โดยใช้เวลาในการสร้างประมาณ 3 ปีเศษ จึงแล้วเสร็จ และทางกองทัพอากาศจึงได้นำเครื่องบินแบบ “เบเก้” จำนวน 3 ลำ รวมทั้งลำที่เจ้าอุปราชฯ ได้ทรงบริจาคทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อให้ บินจากกองทัพอากาศดอนเมืองถึงสนามบินน่านสำเร็จและลงอย่างปลอดภัย ครั้นเมื่อเครื่องบินได้กลับไปแล้วก็มิได้ใช้สนามบินนี้อีก คงปล่อยทิ้งไว้และได้รับการบำรุงรักษาตามสมควร
ต่อมาเมื่อเกิดกรณีพิพาทอินโดจีนกับฝรั่งเศส สนามบินได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นอีกครั้งเพื่อให้เครื่องบินจำนวน 3-4 ลำจากกองทัพอากาศสามารถมาประจำที่สนามบินน่านได้ แต่เมื่อสงครามอินโดจีนยุติลง ก็ไม่มีการใช้สนามบินอีก หลังจากนั้นอีกประมาณ 10 ปีเศษ สนามบินได้รับการปรับปรุงอีกครั้งหนึ่ง โดยทำการขยายทางวิ่งให้กว้างประมาณ 10 เมตร ยาวประมาณ 600 เมตร ผิวทางวิ่งบดทับด้วยดินลูกรัง พอที่เครื่องบินขนาดเล็กจะขึ้น-ลงได้ และเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2514 กองทัพอากาศไทยได้จัดหน่วยบิน 231 ซึ่งมีเครื่องบินขับไล่ ทิ้งระเบิดมาประจำสนามบินน่าน พร้อมย้ายหน่วยบิน 713 และ 333 จากอำเภอเชียงกลาง มาประจำที่สนามบินน่าน รวมกันตั้งเป็นฝูงบิน 416 ต่อจากนั้นหน่วยบินของกองทัพบก และกรมการบินพาณิชย์ ได้ย้ายเข้ามาใช้พื้นที่ร่วมกับกองทัพอากาศ จึงได้ร่วมกันซ่อมทางวิ่งบางตอนที่ชำรุดให้ได้มาตรฐานและเพิ่มขีดความสามารถของทางวิ่งให้เป็นผิวแอสฟัลส์ติดคอนกรีต ยาว 2,000 เมตร กว้าง 45 เมตร ทางเผื่อหัวท้ายข้างละ 60 เมตร รับน้ำหนักสูงสุดได้ประมาณ 67,000 กิโลกรัม จนเครื่องบินขนาดใหญ่แบบซี-130 เฮอร์คิวลิส สามารถขึ้น-ลงได้อย่างปลอดภัย
ปี พ.ศ. 2523 กรมการบินพาณิชย์ ได้จัดสร้างอาคารที่ทำการท่าอากาศยานน่าน (อาคารเดิม) เป็นอาคารชั้นเดียวประกอบด้วยห้องพักผู้โดยสาร ที่ทำการท่าอากาศยานน่านและพื้นที่ลานจอดรถยนต์ ไว้บริการแก่ผู้โดยสารทั่วไป[4]
ปี พ.ศ. 2555 กรมการบินพลเรือน (บพ.) กระทรวงคมนาคม ได้ก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ที่ท่าอากาศยานน่าน ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน โดยใช้งบประมาณค่าก่อสร้างจำนวน 169,060,000 บาท มีพื้นที่รวม 5,750 ตารางเมตร อาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 2 ชั้น มีดาดฟ้า พร้อมระบบปรับอากาศและระบายอากาศ ระบบไฟฟ้าและสื่อสาร สามารถรองรับผู้โดยสารในชั่วโมงเร่งด่วน จำนวน 300 คน/ชั่วโมง หรือประมาณวันละ 2,400 คน และอาคารอื่น ๆ ได้แก่ อาคารโรงเก็บเครื่องมือกล และอาคารที่ทำการดับเพลิง ขนาด 720 ตารางเมตร สามารถจอดรถดับเพลิงได้ จำนวน 6 คัน พร้อมลานจอดรถยนต์ด้านหน้าอาคารประมาณ 540 ตารางเมตร และอาคารโรงเก็บเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้าขนาด 126 ตารางเมตร และได้เปิดให้สายการบินและผู้โดยสารใช้บริการอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2557 [5]
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ของท่าอากาศยานน่านว่า "ท่าอากาศยานน่านนคร"
ชื่อสนามบิน[แก้]
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ ท่าอากาศยานน่านนคร โดยมี พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม นายวรเดช หาญประเสริฐ นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี นายพงษ์ไชย เกษมทวีศักดิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายสมชาย พิพุธวัฒน์ อธิบดีกรมการบินพลเรือน ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงคมนาคม ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ภาครัฐ และภาคเอกชน เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ ณ ท่าอากาศยานน่านนคร จังหวัดน่าน ในวันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 19.00 น.[6]
ในวโรกาสนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ของท่าอากาศยานน่านว่า “ท่าอากาศยานน่านนคร” หมายถึง ท่าอากาศยานแห่งจังหวัดน่าน และพระราชทานพระราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ประดับที่ป้ายท่าอากาศยานฯ ดังกล่าว
ข้อมูลทางกายภาพ[แก้]
- อาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ (ปัจจุบัน) เป็นอาคารสองชั้น ขนาดพื้นที่ใช้สอยประมาณ 5,750 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 300 คน ในชั่วโมงคับคั่ง หรือรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 864,000 คนต่อปี จำนวนที่จอดรถ 170 คัน
- อาคารที่พักผู้โดยสารหลังเดิม เป็นอาคารชั้นเดียว ขนาดพื้นที่ใช้สอยประมาณ 1,003 ตรม ตารางเมตร
- ทางวิ่ง (Run Way) จำนวน 1 เส้น กว้าง 45 เมตร ยาว 2,000 เมตร กำหนดทางวิ่งเป็น 02 และ 20 พร้อมลานกลับลำด้านหัวทางวิ่ง 20 และระยะเผื่อหัว-ท้ายด้านละ 60 เมตร รับน้ำหนักได้ 74 ตัน
- ทางขับ (Taxi way) จำนวน 1 เส้น, 4 ช่องทาง คือ A, B, C และ D ทาง A - C กว้าง 30 เมตร, C - D กว้าง 20 เมตร
- ลานจอดอากาศยาน (Apron)
- - ลาดจอดที่ 1 ขนาดกว้าง 35 เมตร ยาว 80 เมตร รองรับเครื่องบินแบบเอทีอาร์ 72 ได้พร้อมกัน 2 ลำ หรือเครื่องบินแบบโบอิง 737-400 ได้ 1 ลำ
- - ลาดจอดที่ 2 ขนาดกว้าง 100 เมตร ยาว 235 เมตร รองรับเครื่องบินแบบเอทีอาร์ 72 ได้พร้อมกัน 3 ลำ หรือเครื่องบินแบบโบอิง 737-400 ได้พร้อมกัน 2 ลำ
- - หลุมจอดเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 2 หลุม
- จำนวนเครื่องบินที่รองรับได้ 8 เที่ยวบิน/วัน
- จำนวนผู้โดยสารที่รองรับได้ 2,400 คน/วัน หรือประมาณ 864,000 คน/ปี[7]
แผนการพัฒนาท่าอากาศยานในอนาคต[แก้]
เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2561 นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดงาน “ Airports For All : กรมท่าอากาศยาน มุ่งมั่น ก้าวไกล เพื่อไทยทุกคน” เพื่อนำเสนอแผนการพัฒนาระยะ 20 ปีของท่าอากาศยาน 28 แห่ง โดยกรมท่าอากาศยาน ได้มีการประกาศแผนแม่บท 20 ปี การพัฒนาสนามบินของกรมท่าอากาศยาน ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) แบ่งเป็น 4 ระยะ วงเงินรวม 34,507 ล้านบาท โดยท่าอากาศยานน่านนครได้อยู่ในโครงการพัฒนาสนามบินระยะที่ 4 (พ.ศ. 2576-2580) เพื่อเชื่อมโยง East-West Corridor และ CLMV โดยมีการวางแผนศึกษาข้อมูล ดังนี้
- ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ รองรับผู้โดยสารได้ 2.6 ล้านคนต่อปี
- ก่อสร้างลานจอดเครื่องบินเพิ่มเติม รองรับครื่องบินแบบโบอิง 737 ได้พร้อมกัน 8 ลำ
- ปรับปรุงทางวิ่งและทางขับทางขับใหม่เพื่อให้รอบรับเครื่องบินแบบ โบอิง 737
ทั้งนี้อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม [8]
รายชื่อสายการบิน[แก้]

สายการบิน[แก้]
สายการบิน | จุดหมายปลายทาง[9] | หมายเหตุ |
---|---|---|
ไทยแอร์เอเชีย | กรุงเทพฯ-ดอนเมือง | ภายในประเทศ |
ตารางบินประจำฤดูหนาวประจำปี 2562 (Winter 2019) ตั้งแต่ 27 ตุลาคม 2562 - 29 มีนาคม 2563[แก้]
- - สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย ให้บริการสูงสุด 4 เที่ยวบินต่อวัน
เวลาออกเดินทาง | เวลาถึงปลายทาง | ต้นทาง | เที่ยวบิน | สายการบิน | ประเภทเครื่องบิน | วันที่ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
กรุงเทพฯ-ดอนเมือง | FD3554 | ไทยแอร์เอเชีย | Airbus A320 | ||||
กรุงเทพฯ-ดอนเมือง | FD3552 | ไทยแอร์เอเชีย | Airbus A320 | ||||
กรุงเทพฯ-ดอนเมือง | FD3556 | ไทยแอร์เอเชีย | Airbus A320 | ||||
กรุงเทพฯ-ดอนเมือง | FD3558 | ไทยแอร์เอเชีย | Airbus A320 |
เวลาออกเดินทาง | เวลาถึงปลายทาง | ปลายทาง | เที่ยวบิน | สายการบิน | ประเภทเครื่องบิน | วันที่ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
กรุงเทพฯ-ดอนเมือง | FD3555 | ไทยแอร์เอเชีย | Airbus A320 | ||||
กรุงเทพฯ-ดอนเมือง | FD3553 | ไทยแอร์เอเชีย | Airbus A320 | ||||
กรุงเทพฯ-ดอนเมือง | FD3557 | ไทยแอร์เอเชีย | Airbus A320 | ||||
กรุงเทพฯ-ดอนเมือง | FD3559 | ไทยแอร์เอเชีย | Airbus A320 |
หมายเหตุ
- ตารางเดินทางอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
- FD3558/FD3559 ให้บริการตั้งแต่ 16 พฤศจิกายน 2562 - 28 มีนาคม 2563 เฉพาะวันอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์
สายการบินที่เคยให้บริการ[แก้]
- เดินอากาศไทย - (กรุงเทพฯ ดอนเมือง) (พ.ศ. 2523-2531)
- การบินไทย - (แพร่) - (เชียงใหม่) - (พิษณุโลก) - (กรุงเทพฯ ดอนเมือง) (พ.ศ. 2531-2545)
- การบินลาว - (หลวงพระบาง) (พ.ศ. 2544-2545)
- แอร์อันดามัน - (กรุงเทพฯ ดอนเมือง) (พ.ศ. 2545-2547)
- พีบีแอร์ - (กรุงเทพฯ สุวรรณภูมิ) (พ.ศ. 2547-2552)
- นกมินิ - (ท่าอากาศยานเชียงใหม่) (พ.ศ. 2552-2554)
- โซล่าแอร์ - (กรุงเทพฯ ดอนเมือง) (พ.ศ. 2553-2554)
- แฮปปี้แอร์ - (กรุงเทพฯ สุวรรณภูมิ) (พ.ศ. 2553-2555)
- กานต์แอร์ - (ท่าอากาศยานเชียงใหม่) (พ.ศ. 2556-2560)
- นกแอร์ - (กรุงเทพฯ ดอนเมือง) (พ.ศ. 2554-2562)
- วิสดอมแอร์เวย์ - (ท่าอากาศยานเชียงใหม่) (พ.ศ. 2561-2562)
สถิติ[แก้]
ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ[แก้]
ปี (พ.ศ.) | ผู้ใช้บริการ (คน) | เปลี่ยนแปลง | จำนวนเที่ยวบิน |
---|---|---|---|
2550 | N/A | ||
2551 | ![]() |
||
2552 | ![]() |
||
2553 | ![]() |
||
2554 | ![]() |
||
2555 | ![]() |
||
2556 | ![]() |
||
2557 | ![]() |
||
2558 | ![]() |
||
2559 | ![]() |
||
2560 | ![]() |
||
2561 | ![]() |
||
2562 (11/2562) | N/A | ||
ที่มา: กรมท่าอากาศยาน[10] |
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ท่าอากาศยานน่านนคร [1]. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2553.
- ↑ รายชื่อท่าอากาศยานของกรมการบินพลเรือน
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เจ้าอุปราชให้เงิน ๙,๐๐๐ บาทสำหรับซื้อเครื่องบิน
- ↑ ท่าอากาศยานน่าน [2]
- ↑ ข่าวกระทรวงคมนาคม MOT NEWS ฉบับที่ 21/2558(ไทย)
- ↑ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ ท่าอากาศยานน่านนคร(ไทย)
- ↑ ข้อมูลแสดงลักษณะกายภาพของท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมท่าอากาศยาน https://www.airports.go.th/upload/download/file_cb7a5e18d29743c27d29d8fcefb2ddfb.pdf
- ↑ งาน Airports For All : กรมท่าอากาศยาน มุ่งมั่น ก้าวไกล เพื่อไทยทุกคน [3]
- ↑ http://www.flightstats.com/go/FlightStatus/flightStatusByAirport.do
- ↑ ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ ท่าอากาศยานสังกัดกรมท่าอากาศยาน https://www.airports.go.th/th/content/349.html (ไทย)
|
|