อำเภอทุ่งช้าง
อำเภอทุ่งช้าง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Thung Chang |
คำขวัญ: พิพิธภัณฑ์เรืองรอง ส้มสีทองเรืองนาม สาวงามพริ้มพราย ผ้าลายไทลื้อ ยึดถือธรรมะ พระพุทธรูป 700 ปี | |
![]() แผนที่จังหวัดน่าน เน้นอำเภอทุ่งช้าง | |
พิกัด: 19°23′14″N 100°52′33″E / 19.38722°N 100.87583°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | น่าน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 760.811 ตร.กม. (293.751 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 18,935 คน |
• ความหนาแน่น | 24.89 คน/ตร.กม. (64.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 55130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5508 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอทุ่งช้าง ถนนน่าน-ทุ่งช้าง ตำบลทุ่งช้าง อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน 55130 |
![]() |
ทุ่งช้าง (คำเมือง: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดน่าน
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอทุ่งช้างตั้งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงไชยบุรี (ประเทศลาว)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอปัวและอำเภอเชียงกลาง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสองแคว และแขวงไชยบุรี (ประเทศลาว)
ประวัติ[แก้]
อำเภอทุ่งช้างแต่เดิมเป็นบริเวณที่เรียกว่าแขวงเมืองและ ต่อมาในปี พ.ศ. 2457 ได้ยกฐานะเป็นอำเภอ ชื่อว่าอำเภอและ ตามตำบลที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ และในปี พ.ศ. 2504 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอทุ่งช้าง และย้ายที่ว่าการอำเภอไปอยู่ที่ตำบลทุ่งช้างจนถึงปัจจุบัน
- วันที่ 8 กันยายน 2450 รวมเมืองและ เมืองปอน เมืองงอบ เมืองเบือ ขึ้นเป็นแขวงเมืองและ ตั้งที่ว่าการแขวงที่เมืองและ[1]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลงอบ แยกออกจากตำบลปอน ตั้งตำบลเปือ แยกออกจากตำบลและ ตั้งตำบลเชียงคาน แยกออกจากตำบลเชียงกลาง[2]
- วันที่ 7 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลและ ในท้องที่บางส่วนของตำบลและ[3]
- วันที่ 11 เมษายน 2504 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอและ จังหวัดน่าน เป็น อำเภอทุ่งช้าง[4]
- วันที่ 18 มิถุนายน 2511 แยกพื้นที่ตำบลเปือ ตำบลเชียงกลาง ตำบลเชียงคาน และตำบลนาไร่หลวง อำเภอทุ่งช้าง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเชียงกลาง ขึ้นกับอำเภอทุ่งช้าง[5]
- วันที่ 17 กันยายน 2511 จัดตั้งสุขาภิบาลสบกอน ในท้องที่บางส่วนของตำบลเชียงกลาง และตำบลเปือ[6]
- วันที่ 16 พฤศจิกายน 2514 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเชียงกลาง อำเภอทุ่งช้าง เป็น อำเภอเชียงกลาง[7]
- วันที่ 13 กันยายน 2520 ตั้งตำบลทุ่งช้าง แยกออกจากตำบลและ[8]
- วันที่ 9 ตุลาคม 2535 ตั้งตำบลห้วยโก๋น แยกออกจากตำบลปอน[9]
- วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 แยกพื้นที่ตำบลห้วยโก๋น อำเภอทุ่งช้าง และตำบลขุนน่าน อำเภอบ่อเกลือ มาตั้งเป็น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ[10] เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลและ เป็นเทศบาลตำบลและ[11]
- วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2550 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลตำบลและ อำเภอทุ่งช้าง เป็นเทศบาลตำบลทุ่งช้าง[12]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอทุ่งช้างแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 40 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ | ชื่อตำบล | ตัวเมือง | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนครัวเรือน | จำนวนประชากร[13] |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | ปอน | ![]() |
Pon | 8 | 1,005 | 2,763 |
2. | งอบ | ![]() |
Ngop | 11 | 1,747 | 5,658 |
3. | และ | ![]() |
Lae | 14 | 1,621 | 4,696 |
4. | ทุ่งช้าง | ![]() |
Thung Chang | 7 | 1,705 | 5,541 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอทุ่งช้างประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลทุ่งช้าง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลและ และบางส่วนของตำบลทุ่งช้าง
- เทศบาลตำบลงอบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลงอบทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปอนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลและ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลและ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลทุ่งช้าง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งช้าง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลทุ่งช้าง)
การคมนาคม[แก้]
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1080 (น่าน-ทุ่งช้าง-เฉลิมพระเกียรติ)
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
แม่น้ำน่านขณะไหลผ่านบริเวณป่าในอำเภอทุ่งช้าง
- จุดผ่อนปรนไทย-ลาว บ้านห้วยสะแตง
- อนุสาวรีย์พลเรือน ตำรวจ ทหาร ทุ่งช้าง
- พิพิธภัณฑ์ทหาร
- โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคง (พมพ.) บ้านมณีพฤกษ์
- ชิมกาแฟและชมไร่กาแฟบ้านมณีพฤกษ์
- ถ้ำผาผึ้ง
- ถ้ำผาแดง
- ถ้ำหอหญิงหอชาย
- ถ้ำค้างคาว
- ดอยผาผึ้ง
- หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยสะแตง
- หน่วยจัดการต้นน้ำน้ำและ
- หน่วยจัดการต้นน้ำน้ำเพาะ-น้ำพิ
- อ่างเก็บน้ำปอน
- น้ำตกตาดหมอก
- น้ำตกอ่ายเหนือ-น้ำตกอ่ายใต้
- น้ำตกห้วยตาด
- น้ำตกตาดสะหลวย
- น้ำตกผายักษ์
- พระพุทธมงคลสัมฤทธิ์ 700 ปี วัดทุ่งผึ้ง
- พระธาตุภูเพียง
- พระธาตุจอมสลี เก้าดวงดี
- พระธาตุสิบสองราศีโพธิพฤกษาพุทธเจดีย์
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกเลิกบริเวณน่านใต้กับบริเวณน่านตะวันออกแล้วจัดแบ่งท้องที่ตั้งเป็นแขวงขึ้นต่างๆ คือ รวมเมืองศรีสะเกษ เมืองหิน เมืองลี เรียกว่าแขวงศรีสะเกษ รวมเมืองท่าปลา เมืองแฝด เมืองผาเลือด เรียกว่าแขวงท่าปลา รวมเมืองปัว เมืองเชียงคาน เมืองเชียงกลาง เมืองบ่อ เมืองศิลาเพชร เมืองยม เมืองอวน เมืองริม เมืองแงง เรียกว่าแขวงเมืองปัว รวมเมืองและเมืองปอน เมืองงอบ เมืองเปีย เรียกว่าแขวงเมืองและ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (23): 572. September 8, 1907.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลและ อำเภอและ จังหวัดน่าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (4 ง): (ฉบับพิเศษ) 49-50. January 7, 1957.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอและตำบลบางแห่ง พ.ศ. ๒๕๐๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (33 ก): 382-. April 11, 1961.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (54 ง): 1755. June 18, 1968.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสบกอน กิ่งอำเภอเชียงกลาง อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (82 ง): 2787–2789. September 17, 1968.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอปลาปาก อำเภอเชียงกลาง อำเภอปากชม อำเภอบ้านม่วง อำเภอพังโคน อำเภอดอนสัก อำเภอพนม อำเภอเวียงสระ อำเภอสังคม และอำเภอหัวตะพาน พ.ศ. ๒๕๑๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (123 ก): 745–748. November 16, 1971.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (85 ง): 3711–3713. September 13, 1977.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (131 ง): (ฉบับพิเศษ) 29-34. October 9, 1992.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2539" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 1–4. November 20, 1996.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลและ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน เป็น เทศบาลตำบลทุ่งช้าง" (PDF). February 16, 2007. Cite journal requires
|journal=
(help) - ↑ จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดน่าน ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย