ข้ามไปเนื้อหา

หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
15 เมษายน พ.ศ. 2491 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2492
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าอรรถกิจ พนมยงค์
ถัดไปพจน์ สารสิน
ประสูติ3 สิงหาคม พ.ศ. 2436
สิ้นชีพตักษัย11 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 (76 ปี)
ชายาหม่อมเจ้าลีลาศหงษ์ กฤดากร
หม่อมหม่อมราชวงศ์สอางค์ ปราโมช
แตงไทย เดชผล
บุตร6 คน
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลเทวกุล
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
พระมารดาหม่อมพุก เทวกุล ณ อยุธยา
ลายพระอภิไธย
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2456–2473
ชั้นยศพลตรี
บังคับบัญชากรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์

พลตรี หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล (3 สิงหาคม พ.ศ. 2436 − 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2513) มีพระนามลำลองว่า ท่านชายอั๋น เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการกับหม่อมพุก ประสูติเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2436 ทรงศึกษาที่โรงเรียนราชวิทยาลัย ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา และจึงเดินทางไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก หลังจากนั้นเสด็จไปทรงศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยโกรลิชเตเฟลเดอ ประเทศเยอรมนี ต่อจากนั้นเข้าศึกษาที่โรงเรียนรบ Kriegschule ที่เมืองเมทซ์ เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2456

ทรงรับราชการที่กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ พ.ศ. 2460 ทรงเป็นผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ ทรงเป็นกรรมการร่างแบบฝึกหัดทหารปืนใหญ่ ในปี พ.ศ. 2461 สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถโปรดให้ไปประทับด้วย ณ วังปารุสกวัน จนกระทั่งทิวงคตเมื่อ พ.ศ. 2463

หลังจากนั้นทรงดำรงตำแหน่งผู้ช่วยทูตทหารบก ณ กรุงปารีสและกรุงลอนดอน ต่อมาในปี พ.ศ. 2467 ทรงเป็นผู้บังคับการกองโรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม พ.ศ. 2471 ทรงเป็นปลัดเสนาธิการทหารบก พ.ศ. 2473 ย้ายสังกัดจากกระทรวงกลาโหมไปประจำการในกระทรวงการต่างประเทศ ทรงเป็นอัครราชทูตพิเศษผู้มีอำนาจเต็มของประเทศไทยประจำประเทศเยอรมนี เดนมาร์ก สวีเดน และ นอร์เวย์

ปี 2491 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สิ้นชีพตักษัยเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2513

ครอบครัว

[แก้]

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกอบพิธีสมรสพระราชทานแก่ หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล กับ หม่อมเจ้าลีลาศหงษ์ กฤดากร ณ พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ ท้องพระโรงพระราชวังพญาไท และต่อมาทรงมีหม่อมอีก 2 ท่าน คือ หม่อมราชวงศ์สอางค์ ปราโมช (อดีตหม่อมในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์) และหม่อมแตงไทย เทวกุล ณ อยุธยา มีพระโอรส-ธิดารวมทั้งหมด 6 คน

  1. หม่อมเจ้าลีลาศหงษ์ เทวกุล (ราชสกุลเดิม กฤดากร; 15 เมษายน พ.ศ. 2442 − 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 ปรับศักราชตามแบบสากล)[1] พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ กับหม่อมแช่ม กฤดากร ณ อยุธยา
  2. หม่อมราชวงศ์สอางค์ เทวกุล (ราชสกุลเดิม ปราโมช; 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2442 − 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518) พระธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมนุ่ม ปราโมช ณ อยุธยา มีบุตรธิดา 4 คน คือ
    1. หม่อมราชวงศ์สุปรีดีเสพ เทวกุล (ช.) สมรสกับสมศรี ลางคุลเสน มีบุตร 1 คน
    2. หม่อมราชวงศ์ทิพยางค์ กาญจนดุล (ญ.) สมรสกับประพาส กาญจนดุล มีบุตร 4 คน[2]
    3. หม่อมราชวงศ์สำอางวรรณ ล่ำซำ (ญ.) สมรสกับบัญชา ล่ำซำ มีบุตร 3 คน
    4. หม่อมราชวงศ์เทพยพงศ เทวกุล (ช.) สมรสกับประเทือง ศิลปรัศมี มีบุตร 4 คน
  3. หม่อมแตงไทย เทวกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม เดชผล) มีบุตรชาย 2 คน คือ
    1. หม่อมราชวงศ์วงศ์ปิติ เทวกุล (ช.) สมรสกับหม่อมหลวงอรทัย ลดาวัลย์ มีบุตร 2 คน
    2. หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล (ช.) สมรสและหย่ากับปอลิน อินทสุกิจ และสมรสครั้งที่สองกับประภาพรรณ เทวกุล ณ อยุธยา มีบุตร 3 คน

สิ้นชีพตักษัย

[แก้]

หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล สิ้นชีพตักษัยเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 สิริชันษา 76 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2513 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

พระเกียรติยศ

[แก้]

พลตรี หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

พระยศและตำแหน่ง

[แก้]
  • ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
  • 6 กันยายน พ.ศ. 2463: ประจำกรมเสนาธิการทหารบก[13]
  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2463: กราบถวายบังคมลาไปรับตำแหน่งผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร[14]
  • 10 มกราคม พ.ศ. 2463: ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารประจำประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส[15]
  • 25 เมษายน พ.ศ. 2465: นายพันโท[16]
  • 27 ตุลาคม พ.ศ. 2473: นายพลตรี[17]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ข่าวสิ้นชีพิตักษัย
  2. "หม่อมราชวงศ์ทิพยางค์ กาญจนดุล". โรงเรียนราชินีบน. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๔๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๑
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๑๒ มกราคม ๒๕๐๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๓ ง หน้า ๑๑๒, ๓ มกราคม ๒๔๙๓
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๙๙, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๑
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๒๐, ๒๕ มกราคม ๒๔๖๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๓, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๑๗๒๕, ๓ สิงหาคม ๒๔๙๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๘๗, ๒๐ พฤษภาคม ๒๔๗๑
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๙๕๐, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๗
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๑๓๒๒, ๓๐ เมษายน ๒๕๐๖
  13. แจ้งความของกระทรวงกลาโหม
  14. กราบถวายบังคมลา
  15. แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง เลื่อนย้ายนายทหารรับราชการ
  16. พระราชทานยศทหารบก
  17. พระราชทานยศทหารบก
  18. หม่อมเจ้าวงศนิชร เทวกุล (2513). ลำดับราชสกุล เทวกุล รวมทั้งราชสกุลและสกุลอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง. พระนคร: ตีรณสาร. p. 94.