รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สโตนเฮนจ์เป็นส่วนหนึ่งของแหล่งมรดกโลกสโตนเฮนจ์ เอฟเบอรี และสถานที่ใกล้เคียง

ในสหราชอาณาจักรและอาณานิคมโพ้นทะเลมีแหล่งมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนโดยยูเนสโกทั้งหมด 33 รายการ[1] แหล่งมรดกโลกของสหราชอาณาจักรที่ได้ขึ้นทะเบียนในครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2529 ได้แก่

  • ไจอันส์คอสเวย์และชายฝั่ง
  • ปราสาทและมหาวิหารเดอรัม
  • เกาะเซนต์คิลดา
  • โกรกธารไออันบริดจ์
  • อุทยานหลวงสตัดลีย์รวมทั้งซากอารามฟาวน์ทินส์
  • สโตนเฮนจ์ เอฟเบอรี และสถานที่ใกล้เคียง
  • ปราสาทและกำแพงเมืองของพระเจ้าเอดเวิร์ดในเมืองกวิเนดด์

ใน พ.ศ. 2489 ประเทศ 26 ประเทศ รวมถึงสหราชอาณาจักร ได้ให้สัตยาบันธรรมนูญแห่งองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ซึ่งมีความมุ่งหมายเพื่อ "อนุรักษ์และคุ้มครองมรดกทางเอกสาร งานศิลปะ และอนุสรณ์ทางประวัติศาสตร์และธรรมชาติของโลก"[2] สหราชอาณาจักรได้ให้เงินช่วยเหลือกองทุนมรดกโลกปีละ 130,000 ปอนด์เพื่อเป็นเงินทุนในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกในประเทศกำลังพัฒนา[3] แหล่งมรดกโลกบางแห่งนั้นประกอบด้วยสถานที่หลายแห่งที่มีสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์หรือมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกัน

คณะกรรมการแห่งสหราชอาณาจักรว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ มีบทบาทในการแนะนำนโยบายเกี่ยวกับยูเนสโกต่อรัฐบาลอังกฤษซึ่งรับผิดชอบต่อการดูและรักษาแหล่งมรดกโลกในประเทศ[4] ใน พ.ศ. 2551]แอนดี เบิร์นแฮม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม สื่อ และกีฬาในขณะนั้น ได้แถลงถึงความกังวลเกี่ยวกับประโยชน์ของการขึ้นทะเบียนสถานที่ในสหราชอาณาจักรเป็นแหล่งมรดกโลก และเรียกร้องให้ทบทวนนโยบายของรัฐบาลในการเสนอชื่อสถานที่ใหม่ๆ เนื่องมาจากค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นและมีรายได้จากนักท่องเที่ยวน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ อีกทั้งมีนักท่องเที่ยวไม่มากที่ตระหนักถึงสถานะมรดกโลกของสถานที่เหล่านั้น[5]

เกณฑ์การรับรองแหล่งมรดกโลกข้อที่ i-iv ใช้สำหรับมรดกโลกประเภทวัฒนธรรม และข้อที่ vii-x ใช้สำหรับประเภทธรรมชาติ[6] ในสหราชอาณาจักรมีแหล่งมรดกโลกประเภทวัฒนธรรมยี่สิบสามแห่ง ประเภทธรรมชาติสี่แห่ง และประเภทผสมหนึ่งแห่ง[note 1][1] จำนวนแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรที่แบ่งตามประเภทจะใกล้เคียงจำนวนแหล่งมรดกโลกทั้งหมดในโลกที่แบ่งตามประเภทเช่นกัน คือ จากแหล่งมรดกโลก 890 แห่งทั่วโลก เป็นประเภทวัฒนธรรมร้อยละ 77.4 ธรรมชาติร้อยละ 19.8 และผสมร้อยละ 2.8%[7] โดยเซนต์คิลดาเป็นแหล่งมรดกโลกประเภทผสมแห่งเดียวในสหราชอาณาจักร ซึ่งแต่เดิมนั้นได้ขึ้นทะเบียนเนื่องด้วยเป็นถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติของพันธุ์พืชและสัตว์เท่านั้น[8] ต่อมาใน พ.ศ. 2548 ได้รับการเสนอให้เพิ่มความสำคัญในฐานะที่ตั้งชุมชนเกษตรกรรมในอดีต และกลายเป็นแหล่งมรดกโลกประเภทผสมหนึ่งใน 25 แห่งจากทั่วโลก[9] ส่วนแหล่งมรดกโลกประเภทธรรมชาติได้แก่ ชายฝั่งดอร์เซตและอีสต์เดวอน ไจอันส์คอสเวย์และชายฝั่ง เกาะกอฟและอินักเซสซิเบิล และเกาะเฮนเดอร์สัน ที่เหลือเป็นประเภทวัฒนธรรม[1]

แผนที่พิกัดทั้งหมด กำลังใช้ OpenStreetMap 
ดาวน์โหลดพิกัดเป็น KML

แหล่งมรดกโลก[แก้]

ตารางด้านล่างแสดงข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งมรดกโลกแต่ละแห่ง

ชื่อ; ตามที่ขึ้นทะเบียนโดยคณะกรรมการมรดกโลก[7]
ที่ตั้ง; ภายในประเทศองค์ประกอบหรืออาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร พร้อมพิกัดที่ให้โดยยูเนสโก
ยุคสมัย; ช่วงเวลาสำคัญของสถานที่ มักจะเป็นเวลาที่ก่อสร้าง
ข้อมูลของยูเนสโก; หมายเลขอ้างอิง ปีที่ขึ้นทะเบียน และเกณฑ์ที่ผ่านการพิจารณา
คำอธิบาย; คำอธิบายพอสังเขปของแหล่งมรดกโลก
Historic Town of St George and Related Fortifications, BermudaGough and Inaccessible IslandsHenderson IslandGorham's Cave
The World Heritage Sites of the UK (Overseas Territories): The natural sites of Gough and Inaccessible Islands and Henderson Island are marked green, the cultural site of the Historic Town of St George and Related Fortifications, Bermuda is marked red.

สถานที่ที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก (อังกฤษและเวลส์)[แก้]

แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม[แก้]

*หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท พื้นที่
(ha)
ปี (พ.ศ./ค.ศ.) หมายเหตุ อ้างอิง
ปราสาทและอาสนวิหารเดอรัม เดอรัม, เคาน์ตีเดอรัม,  อังกฤษ
54°46′30″N 1°34′32″W / 54.77487°N 1.57558°W / 54.77487; -1.57558 (Durham Castle and Cathedral)
วัฒนธรรม:
(ii) (iv) (vi)
8.79 2529 (1986) มหาวิหารเดอรัมเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมนอร์มันที่ใหญ่ที่สุดและดีที่สุดในอังกฤษ หลังคาโค้งของมหาวิหารก็เป็นส่วนหนึ่งของต้นกำเนิดสถาปัตยกรรมกอทิก ภายในมหาวิหารเป็นที่เก็บรักษาอัฐิของนักบุญคัทเบิร์ตและนักบุญบีด ส่วนปราสาทเดอรัมซึ่งสร้างด้วยสถาปัตยกรรมนอร์มันเคยเป็นที่พำนักของเจ้าชายมุขนายกเดอรัม [10]
โกรกธารไออันบริดจ์ ไออันบริดจ์, ชรอปเชอร์,  อังกฤษ
52°37′35″N 2°29′10″W / 52.62646°N 2.486°W / 52.62646; -2.486 (Ironbridge Gorge)
วัฒนธรรม:
(i) (ii) (iv) (vi)
547.9 2529 (1986) โกรกธารไออันบริดจ์เป็นที่ตั้งของเหมือง โรงงาน เรือนพักคนงาน และโครงสร้างทางการขนส่งที่สร้างขึ้นในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม การพัฒนาการผลิตถ่านโค้กในพื้นที่นี้มีส่วนช่วยริเริ่มการปฏิวัติอุตสาหกรรม ไออันบริดจ์เป็นสะพานแห่งแรกของโลกที่สร้างขึ้นจากเหล็กและมีอิทธิพลต่อวงการสถาปัตยกรรมและเทคโนโลยี [11]
อุทยานหลวงสตัดลีย์รวมทั้งซากอารามฟาวน์ทินส์ นอร์ทยอร์กเชอร์,  อังกฤษ
54°06′58″N 1°34′23″W / 54.116111°N 1.573056°W / 54.116111; -1.573056 (Studley Royal Park including the Ruins of Fountains Abbey)
วัฒนธรรม:
(i) (iv)
310; พื้นที่กันชน 1,622 2529 (1986) ก่อนการยุบอารามช่วงกลางศตวรรษที่ 16 อารามฟาวน์ทินส์เคยเป็นหนึ่งในอารามซิสเตอร์เชียนที่ใหญ่และร่ำรวยที่สุดในบริเตน และเป็นหนึ่งในไม่กี่อารามที่อยู่รอดมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 ส่วนอุทยานซึ่งสร้างภายหลังและรวมอารามไว้เป็นส่วนหนึ่ง ส่วนใหญ่ยังคงการออกแบบดั้งเดิม เอาไว้ และมีอิทธิพลต่อการออกแบบสวนในยุโรป [12]
สโตนเฮนจ์, เอฟเบอรี และแหล่งโบราณสถานที่เกี่ยวเนื่อง วิลต์เชอร์,  อังกฤษ
51°10′44″N 1°49′31″W / 51.178889°N 1.825278°W / 51.178889; -1.825278 (Stonehenge, Avebury and Associated Sites)
วัฒนธรรม:
(i) (ii) (iii)
4,985.4 2529 (1986) [13]
ปราสาทและกำแพงเมืองของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดในกวิเนดด์ คอนวี, เกาะแองเกิลซีย์ และกวิเนดด์,  เวลส์
53°08′23″N 4°16′37″W / 53.139722°N 4.276944°W / 53.139722; -4.276944 (Castles and Town Walls of King Edward in Gwynedd)
วัฒนธรรม:
(i) (iii) (iv)
6 2529 (1986) ปราสาทแห่งโบมาริส (Beaumaris) และฮาร์เลค (Harlech) (ส่วนใหญ่เป็นงานของวิศวกรทางการทหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของยุคนั้น คือเจมส์ ออฟ เซนต์ จอร์จ/ James of St George) และกลุ่มป้อมปราการแห่งคาร์นาฟอน (Caernafon) และคอนวี (Conwy) ตั้งอยู่ในเขตที่แต่เดิมเป็นแคว้นกวิเน็ดด์ (Gwynedd) ในเวลส์เหนือ (north Wales) โบราณสถานที่ยังได้รับการอนุรักษ์ในสภาพที่ดียิ่งแหล่งนี้ เป็นตัวอย่างของการล่าอาณานิคมและงานด้านการป้องกันที่ดำเนินอยู่ตลอดรัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 และสถาปัตยกรรมทางการทหารของช่วงเวลานั้น [14]
วังเบลนิม วุดสตอก, ออกซฟอร์ดเชอร์,  อังกฤษ
51°50′31″N 1°21′41″W / 51.841944°N 1.361389°W / 51.841944; -1.361389 (Bleheim Palace)
วัฒนธรรม:
(ii) (iv)
2530 (1987) [15]
พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ อารามเวสต์มินสเตอร์ และโบสถ์เซนต์มาร์กริตส์ เวสต์มินสเตอร์, เกรเทอร์ลอนดอน,  อังกฤษ
51°29′59″N 0°07′43″W / 51.499722°N 0.128611°W / 51.499722; -0.128611 (Westminster Palace, Westminster Abbey and Saint Margaret's Church)
วัฒนธรรม:
(i) (ii) (iv)
10.26 2530 (1987) เป็นสถานที่ที่มีส่วนสำคัญมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 ในการปกครองอังกฤษ และสหราชอาณาจักรต่อมา ตั้งแต่พิธีบรมราชาภิเษกของวิลเลียมที่ 1 กษัตริย์อังกฤษและบริติชทุกพระองค์ทำพิธีบรมราชาภิเษกที่อารามเวสต์มินสเตอร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของรัฐสภาสหราชอาณาจักร เป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก โบสถ์เซนต์มาร์กริตส์เป็นโบสถ์ประจำตำบลของพระราชวัง ก่อสร้างมาก่อนพระราชวังตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 และมีการบูรณะใหม่หลังจากนั้น [16]
เมืองบาท บาท, ซัมเมอร์เซต,  อังกฤษ
51°22′51″N 2°21′37″W / 51.3809°N 2.3603°W / 51.3809; -2.3603 (City of Bath)
วัฒนธรรม:
(i) (ii) (iv)
2,900 2530 (1987) ก่อตั้งโดยชาวโรมัน เป็นเมืองรีสอร์ทสปา ต่อมาในยุคกลางเป็นศูนย์กลางสำคัญของอุตสาหกรรมขนแกะ และกลับเป็นรีสอร์ทสปาในคริสต์ศตวรรษที่ 18 [17]
แนวพรมแดนของจักรวรรดิโรมัน
(ร่วมกับเยอรมนี)
 อังกฤษ และ  สกอตแลนด์
54°59′33″N 2°36′04″W / 54.992611°N 2.601°W / 54.992611; -2.601 (Frontiers of the Roman Empire)
วัฒนธรรม:
(ii) (iii) (iv)
526.9; พื้นที่กันชน 5,225.7 2530 (1987);
ขยาย 2548, 2551 (2005, 2008)
กำแพงฮาเดรียอานุส ก่อสร้างเมื่อ 122 AD และกำแพงอันโตนินก่อสร้างเมื่อ 142 AD เพื่อป้องกันจักรวรรดิโรมัน จาก "ชนป่า".[18]ในตอนแรกแหล่งมรดกโลกมีแค่กำแพงฮาเดรียอานุส แต่ต่อมาขยายไปรวมพรมแดนทั้งหมดของจักรวรรดิโรมันในยุคที่ขยายใหญ่สุดช่วงศตวรรษที่ 2 ตั้งแต่กำแพงอันโตนินทางเหนือไปถึงกำแพงตรายานุสในยุโรปตะวันออก, เดิมขึ้นทะเบียนเฉพาะส่วนที่ตั้งอยู่ในสกอตแลนด์ ต่อมาจึงได้ขึ้นทะเบียนเพิ่มเติม ในส่วนที่ตั้งอยู่ในอังกฤษ และ Limes Germanicus ที่ตั้งอยู่ในประเทศเยอรมนี [19]
หอคอยแห่งลอนดอน Tower Hamlets, เกรเทอร์ลอนดอน,  อังกฤษ
51°30′29″N 0°04′34″W / 51.508056°N 0.076111°W / 51.508056; -0.076111 (หอคอยแห่งลอนดอน)
วัฒนธรรม:
(ii) (iv)
2531 (1988) เริ่มก่อสร้างโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ใน ค.ศ. 1066 ระหว่างการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน เป็นสัญลักษณ์ของพลังและเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมนอร์มันที่กระจายไปทั่วอังกฤษ ต่อมามีการต่อเติมโดยพระเจ้าเฮนรีที่ 3 และพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ทำให้ปราสาทกลายเป็นหนึ่งในปราสาทที่มีอิทธิพลมากที่สุดในอังกฤษ [20]
อาสนวิหารแคนเทอร์เบอรี อารามเซนต์ออกัสตินส์ และโบสถ์เซนต์มาร์ตินส์ แคนเทอร์เบอรี, เคนต์,  อังกฤษ
51°16′48″N 1°04′59″E / 51.28°N 1.083056°E / 51.28; 1.083056 (Canterbury Cathedral, St Augustine's Abbey, and St Martin's Church)
วัฒนธรรม:
(i) (ii) (vi)
18.17 2531 (1988) โบสถ์เซนต์มาร์ตินส์เป็นโบสถ์ที่เก่าแก่ที่สุดในอังกฤษ โบสถ์แห่งนี้กับอารามเซนต์ออกัสตินส์ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ของการแพร่ของศาสนาคริสต์มาสู่พวกแองโกล-แซกซัน ตัวอาสนวิหารเป็นสถาปัตยกรรมแนวโรมาเนสก์และโกธิก และเป็นศูนย์กลางของคริสตจักรแห่งอังกฤษ [21]
เมืองนาวีกรีนิช กรีนิช ลอนดอน เกรเทอร์ลอนดอน ,  อังกฤษ
51°28′45″N 0°00′00″E / 51.4791°N 0°E / 51.4791; 0 (Maritime Greenwich)
วัฒนธรรม:
(i) (ii) (iv) (vi)
109.5; พื้นที่กันชน 174.85 2540 (1997) เป็นที่ตั้งของอาคารสถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอแห่งแรกในอังกฤษ และผลงานของคริสโตเฟอร์ เรน กับ อินิโก โจนส์ รวมทั้งหอดูดาวหลวงกรีนิช [22]
ภูมิทัศน์อุตสาหกรรมไบลแนวัน ไบลแนวัน,  เวลส์
51°47′N 3°05′W / 51.78°N 3.08°W / 51.78; -3.08 (Blaenavon Industrial Landscape)
วัฒนธรรม:
(iii) (iv)
3,290 2543 (2000) ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เวลส์เป็นผู้ผลิตเหล็กและถ่านหินที่สำคัญของโลก ไบลแนวันเป็นตัวอย่างของภูมิทัศน์ที่สร้างขึ้นจากกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการผลิตวัตถุดิบเหล่านี้ ในพื้นที่ประกอบด้วยเหมือง อาคารสาธารณะ เรือนพักคนงาน และทางรถไฟ [23]
ซอลแทร์ ซอลแทร์, นครแบรดฟอร์ด, เวสต์ยอร์กเชอร์,  อังกฤษ
53°50′14″N 1°47′25″W / 53.83717°N 1.79026°W / 53.83717; -1.79026 (ซอลแทร์)
วัฒนธรรม:
(ii) (iv)
20; พื้นที่กันชน 1,078 2544 (2001) ซอลแทร์ก่อตั้งโดยเจ้าของโรงงานไททัส ซอลท์เพื่อเป็นหมู่บ้านสาธิตสำหรับคนงาน สถานที่นี้ ซึ่งรวมถึงโรงงานซอลทส์ มีอาคารสาธารณะสำหรับผู้อยู่อาศัย และเป็นตัวอย่างของระบบพ่อปกครองลูกยุคศตวรรษที่ 19 [24]
โรงงานแห่งหุบเขาเดอร์เวนต์ Derwent Valley, ดาร์บีเชอร์,  อังกฤษ
53°01′13″N 1°29′59″W / 53.020278°N 1.499722°W / 53.020278; -1.499722 (Derwent Valley Mills)
วัฒนธรรม:
(ii) (iv)
1,228.7; พื้นที่กันชน 4,362.7 2544 (2001) โรงงานแห่งหุบเขาเดอร์เวนต์เป็นจุดกำเนิดของระบบโรงงาน นวัตกรรมจากหุบเขา รวมถึงการพัฒนาที่อยู่คนงาน เช่นที่ครอมฟอร์ด และเครื่องจักรเช่นเครื่องปั่นด้ายพลังน้ำ ซึ่งสำคัญมากต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่งอิทธิพลต่ออเมริกาเหนือและยุโรป[25] [26]
สวนพฤกษศาสตร์หลวง คิว คิว, เกรเทอร์ลอนดอน,  อังกฤษ
51°28′29″N 0°17′44″W / 51.474667°N 0.295467°W / 51.474667; -0.295467 (Royal Botanical Gardens, Kew)
วัฒนธรรม:
(ii) (iii) (iv)
132; พื้นที่กันชน 350 2546 (2003) วนพฤกษศาสตร์คิว ซึ่งสร้างในปี 1759 และออกแบบโดย ชาลส์ บริดจ์แมน วิลเลียม เคนท์ ลานเซลอต บราวน์ และวิลเลียม แชมเบอรส์ สวนเหล่านี้ใช้ศึกษาพฤกษศาสตร์และนิเวศวิทยาและทำให้เกิดความเข้าใจวิชาเหล่านี้มากขึ้น [27]
ภูมิทัศน์เหมืองคอร์นวอลล์และเวสต์เดวอน คอร์นวอลล์และเดวอน,  อังกฤษ
50°08′10″N 5°23′01″W / 50.136111°N 5.383611°W / 50.136111; -5.383611 (Cornwall and West Devon Mining Landscape)
วัฒนธรรม:
(ii) (iii) (iv)
19,719 2549 (2006) การทำเหมืองดีบุกและทองแดงในเดวอนกับคอร์นวอลล์ เจริญอย่างมากในศตวรรษที่ 18 และ 19 โดย ณ จุดสูงสุดพื้นที่นี้ผลิตทองแดงเป็นสองในสามของทั้งโลก เทคนิคและเทคโนโลยีในการทำเหมืองระดับลึกที่คิดค้นในคอร์นวอลล์และเดวอนเป็นที่ใช้ทั้งโลก [28]
สะพานส่งน้ำและคลองพอนต์คะซัลล์เท เทรเวอร์, เรกซัม,  อังกฤษ และ  เวลส์
52°58′14″N 3°05′16″W / 52.97053°N 3.08783°W / 52.97053; -3.08783 (Pontcysyllte Aqueduct and Canal)
วัฒนธรรม:
(i) (ii) (iv)
105; พื้นที่กันชน 4,145 2552 (2009) สะพานส่งน้ำสร้างขึ้นเพิ่อส่งคลองเอลส์เมียร์ ข้ามหุบเขาดี ออกแบบโดยโทมัส เทลฟอร์ดสร้างเสร็จในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยใช้นวัตกรรมใหม่ของเหล็กหล่อและเหล็กดัด ซึ่งส่งอิทธิพลต่อวิศวกรรมโยธาทั่วโลก [29]
อิงลิชเลกดิสตริกต์ คัมเบรีย ,  อังกฤษ
54°28′26″N 3°4′56″W / 54.47389°N 3.08222°W / 54.47389; -3.08222 (The English Lake District)
วัฒนธรรม:
(ii) (v) (vi)
229,205.19 2560 (2017) มีชื่อเสียงด้านทิวทัศน์ภูเขา ทะเลสาบ บ้านเรือน อุทยานและสวนสาธารณะ ซึ่งถูกวาดไว้ในทัศนศิลป์โรแมนติก ยุคศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา< [30]
เมืองสปาใหญ่แห่งยุโรป
(ร่วมกับเช็กเกีย เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรีย และอิตาลี)
ซัมเมอร์เซต  อังกฤษ
วัฒนธรรม:
(ii) (iii)
7,014; พื้นที่กันชน 11,319 2564 (2021) สถานที่ที่ขึ้นทะเบียนคือเมืองบาธ [31]
ภูมิทัศน์หินชนวนของเวลส์ตะวันตกเฉียงเหนือ  เวลส์
วัฒนธรรม:
(ii) (iv)
3,259.01 2564 (2021) [32]

แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ[แก้]

*หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท พื้นที่
(ha)
ปี (พ.ศ./ค.ศ.) หมายเหตุ อ้างอิง
ชายฝั่งดอร์เซตและอีสต์เดวอน ดอร์เซตและเดวอน  อังกฤษ
50°42′20″N 2°59′24″W / 50.705556°N 2.989889°W / 50.705556; -2.989889 (Dorset and East Devon Coast)
ธรรมชาติ:
(vii) (viii)
2,550 2544 (2001) หน้าผาริมชายฝั่งดอร์เซตและเดวอนเป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่สำคัญที่เป็นร่องรอยของสิ่งมีชีวิตทั้งบนแผ่นดินและในทะเลตั้งแต่ 185 ล้านปีก่อน [33]

สถานที่ที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก (สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์เหนือ)[แก้]

แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม[แก้]

*หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท พื้นที่
(ha)
ปี (พ.ศ./ค.ศ.) หมายเหตุ อ้างอิง
แนวพรมแดนของจักรวรรดิโรมัน
(ร่วมกับเยอรมนี)
 อังกฤษ และ  สกอตแลนด์
54°59′33″N 2°36′04″W / 54.992611°N 2.601°W / 54.992611; -2.601 (Frontiers of the Roman Empire)
วัฒนธรรม:
(ii) (iii) (iv)
526.9; พื้นที่กันชน 5,225.7 2530 (1987); ขยาย 2548, 2551 (2005, 2008) กำแพงฮาเดรียอานุส ก่อสร้างเมื่อ 122 AD และกำแพงอันโตนินก่อสร้างเมื่อ 142 AD เพื่อป้องกันจักรวรรดิโรมัน จาก "ชนป่า".[18]ในตอนแรกแหล่งมรดกโลกมีแค่กำแพงฮาเดรียอานุส แต่ต่อมาขยายไปรวมพรมแดนทั้งหมดของจักรวรรดิโรมันในยุคที่ขยายใหญ่สุดช่วงศตวรรษที่ 2 ตั้งแต่กำแพงอันโตนินทางเหนือไปถึงกำแพงตรายานุสในยุโรปตะวันออก, เดิมขึ้นทะเบียนเฉพาะส่วนที่ตั้งอยู่ในสกอตแลนด์ ต่อมาจึงได้ขึ้นทะเบียนเพิ่มเติม ในส่วนที่ตั้งอยู่ในอังกฤษ และ Limes Germanicus ที่ตั้งอยู่ในประเทศเยอรมนี [34]
เมืองเก่าและเมืองใหม่เอดินบะระ เอดินบะระ,  สกอตแลนด์
55°56′51″N 3°11′30″W / 55.947572°N 3.191631°W / 55.947572; -3.191631 (Old and New Town of Edinburgh)
วัฒนธรรม:
(ii) (iv)
2538 (1995) เมืองเก่าเอดินบะระก่อตั้งในยุคกลาง และเมืองใหม่พัฒนาขึ้นในปี 1767–1890 แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างรูปแบบการตั้งถิ่นฐานในยุคกลางและสมัยใหม่ ลักษณะผังเมืองและสถาปัตยกรรมของเมืองใหม่ ออกแบบโดยผู้มีชื่อเสียงอย่างวิลเลียม แชมเบอรส์ และวิลเลียม เพลย์แฟร์ ซึ่งส่งอิทธิพลสำคัญต่อการออกแบบผังเมืองในยุโรปศตวรรษที่ 18 และ 19 [35]
ใจกลางออร์กนีย์ยุคหินใหม่ ออร์กนีย์,  สกอตแลนด์
58°59′46″N 3°11′19″W / 58.996056°N 3.188667°W / 58.996056; -3.188667 (Heart of Historic Orkney)
วัฒนธรรม:
(i) (ii) (iii) (iv)
6,258 2542 (1999) กลุ่มสถานที่ยุคหินใหม่ที่มีเป้าหมายตั้งแต่ที่อยู่อาศัยไปจนถึงการประกอบพิธีกรรม ได้แก่ที่ตั้งถิ่นฐานสแกรา เบร สุสานห้องเมยส์โฮว์ และวงกลมหินแห่งสเตนเนส และ บรอดการ์ [36]
นิวลานาร์ก นิวลานาร์ก, เซาท์ลานาร์กเชอร์,  สกอตแลนด์
55°40′N 3°47′W / 55.66°N 3.78°W / 55.66; -3.78 (New Lanark)
วัฒนธรรม:
(ii) (iv) (vi)
146; พื้นที่กันชน 667 2544 (2001) นิวลานาร์กสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยให้กับคนงาน หลังจากการเกิดระบบโรงงานในเดอร์เวนท์ ต่อมาโรเบิร์ต โอเวน ซื้อที่แล้วแปลงเป็นสังคมตัวอย่าง พร้อมให้สิ่งอำนวยความสะดวก การศึกษา และสนัสนุนการปฏิรูประบบโรงงาน [37]
สะพานฟอร์ท เอดินบะระ, อินช์การ์วีและไฟฟ์,  สกอตแลนด์
56°00′02″N 3°23′19″W / 56.000421°N 3.388726°W / 56.000421; -3.388726 (Forth Bridge)
วัฒนธรรม:
(i) (iv)
7.5 2558 (2015) สร้างเมื่อ ค.ศ. 1890 [38]


แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ[แก้]

*หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท พื้นที่
(ha)
ปี (พ.ศ./ค.ศ.) หมายเหตุ อ้างอิง
ไจอันตส์คอสเวย์และชายฝั่ง เคาน์ตีแอนทริม  ไอร์แลนด์เหนือ
55°14′27″N 6°30′42″W / 55.240833°N 6.511667°W / 55.240833; -6.511667 (Giant's Causeway and Causeway Coast)
ธรรมชาติ:
(vii) (viii)
239.405 2529 (1986) ประกอบด้วยเสาหินบะซอลต์ 40,000 แท่งที่โผล่พ้นเหนือทะเล ซึ่งเกิดจากการคุกรุ่นของภูเขาไฟในยุคเทอร์เชียรี [39]

แหล่งมรดกโลกแบบผสม[แก้]

*หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท พื้นที่
(ha)
ปี (พ.ศ./ค.ศ.) หมายเหตุ อ้างอิง
เซนต์คิลดา เซนต์คิลดา  สกอตแลนด์
57°49′00″N 8°35′00″W / 57.816667°N 8.583333°W / 57.816667; -8.583333 (เซนต์คิลดา)
ผสม:
(iii) (v) (vii) (ix) (x)
24,201.4004 2529 (1986)
ขยาย 2547, 2548 (2004, 2005)
หมู่เกาะเซนต์คิลดาเป็นหมู่เกาะเปลี่ยว เคยมีผู้คนอาศัยอยู่เป็นเวลากว่า 2000 ปี แต่ตั้งแต่ 1930 เป็นต้นมา ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่แล้ว มรดกทางมนุษยชนของหมู่เกาะมีสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์จากยุคประวัติศาสตร์และก่อนประวัติศาสตร์ เซนต์คิลดายังเป็นแหล่งผสมพันธุ์ของนกทะเลหลายชนิด รวมถึงฝูงนกแกนเน็ตที่ใหญ่ที่สุดในโลกและนกพัฟฟินกว่า 136,000 คู่ [40]

สถานที่ที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก (ดินแดนโพ้นทะเล)[แก้]

แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม[แก้]

*หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท พื้นที่
(ha)
ปี (พ.ศ./ค.ศ.) หมายเหตุ อ้างอิง
เมืองประวัติศาสตร์เซนต์จอร์จและป้อมปราการที่เกี่ยวข้อง เบอร์มิวดา เซนต์จอร์เจส  เบอร์มิวดา
51°22′51″N 2°21′37″W / 51.3809°N 2.3603°W / 51.3809; -2.3603 (City of Bath)
วัฒนธรรม:
(iv)
257.5 2559 (2016) เซนต์จอร์เจสก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2155 เป็นเมืองของอังกฤษที่เก่าแก่ที่สุดในโลกใหม่ และเป็นตัวอย่างของนิคมเมืองที่ก่อตั้งขึ้นในโลกใหม่โดยประเทศเจ้าอาณานิคมในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ป้อมปราการแสดงให้เห็นถึงกลวิธีป้องกันเมืองที่พัฒนาขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง 20 [41]
กลุ่มถ้ำกอรัม ด้านตะวันออกของร็อกออฟยิบรอลตาร์,  ยิบรอลตาร์
36°07′13″N 5°20′31″W / 36.120397°N 5.342075°W / 36.120397; -5.342075 (Gorham's Cave)

ธรรมชาติ:
(vii) (x)
3,700; 2531 (1988) เกาะนี้เป็นอะทอลล์ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก สภาพนิเวศวิทยาบนเกาะแทบจะไม่ถูกรบกวนจากมนุษย์ และเนื่องด้วยเป็นเกาะโดดเดี่ยวจึงทำให้สิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการที่แตกต่างจากที่อื่น มีพืชประจำถิ่นอยู่สิบชนิด และสัตว์ประจำถิ่นอยู่สี่ชนิด< [42]
เกาะกอฟและเกาะอินักเซสซิเบิล เซนต์เฮเลนา อัสเซนชัน และตริสตันดากูนยา, มหาสมุทรแอตแลนติกใต้
40°19′05″S 9°56′07″W / 40.3181°S 9.9353°W / -40.3181; -9.9353 (Gough and Inaccessible Island)
ธรรมชาติ:
(vii) (x)
7,900; พื้นที่กันชน 390,000 2538 (1995)
ขยาย 2547 (2004)
เกาะกอฟและเกาะอินักเซสซิเบิล เป็นสถานที่ที่อนุรักษ์ระบบนิเวศที่แทบไม่ถูกมนุษย์แตะต้องเอาไว้ มีพืชและสัตว์ท้องถิ่นหลายชนิด [43]

แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ[แก้]

ชื่อภาษาไทย ชื่อภาษาอังกฤษ ภาพ เกณฑ์พิจารณา ปี พ.ศ. (ค.ศ.) คำอธิบาย
เกาะเฮนเดอร์สัน Henderson Island ธรรมชาติ:

(vii) (x)

2531 (1988) เกาะนี้เป็นอะทอลล์ (เกาะปะการัง) ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก สภาพนิเวศวิทยาบนเกาะแทบจะไม่ถูกรบกวนจากมนุษย์ และเนื่องด้วยเป็นเกาะโดดเดี่ยวจึงทำให้สิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการที่แตกต่างจากที่อื่น มีพืชประจำถิ่นอยู่สิบชนิด และสัตว์ประจำถิ่นอยู่สี่ชนิด[44]

อดีตแหล่งมรดกโลก[แก้]

สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท พื้นที่
(เฮกตาร์)
ปีขึ้นทะเบียน
(พ.ศ./ค.ศ.)
หมายเหตุ อ้างอิง
ลิเวอร์พูล เมืองการค้าทางทะเล
ลิเวอร์พูล เมอร์ซีย์ไซด์  อังกฤษ
53°24′N 2°59′W / 53.40°N 2.99°W / 53.40; -2.99 (Liverpool Maritime Mercantile City)  สหราชอาณาจักร
วัฒนธรรม:
(ii), (iii), (iv)
1,930 2547/2004 – 2564/2021 ในศตวรรษที่ 18 และ 19 ลิเวอร์พูลเป็นหนึ่งในเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ความเชื่อมต่อของเมืองนี้มีส่วนสำคัญต่อการสนับสนุนจักรวรรดิบริติช นอกจากนี้เป็นเมืองสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการค้าทาสจนกระทั่งการเลิกทาสปี 1807 และยังเป็นจุดออกเดินทางสำหรับผู้ที่จะย้ายถิ่นไปแอฟริกาเหนือ ท่าเรือลิเวอร์พูลเป็นจุดเริ่มต้นของนวัตกรรมหลายอย่างในการก่อสร้างและบริหารท่าเรือ ถูกถอดจากบัญชีมรดกโลกใน พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) [45][46]

บัญชีรายชื่อเบื้องต้น[แก้]

บัญชีรายชื่อเบื้องต้นเป็นรายชื่อสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่แต่ละประเทศยื่นเสนอให้ขึ้นทะเบียนในบัญชีรายชื่อมรดกโลก รายชื่อสามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา แต่การเพิ่มสถานที่ลงในรายชื่อจะต้องทำก่อนเสนอชื่อขึ้นทะเบียนห้าถึงสิบปี[47]

บัญชีรายชื่อเบื้องต้นของสหราชอาณาจักร ประกอบด้วยสถานที่ 8 รายการ[48]

หมายเหตุ[แก้]

  1. แหล่งมรดกโลกแบบผสมหมายถึงตรงกับเกณฑ์ทั้งประเภทธรรมชาติและวัฒนธรรม

อ้างอิง[แก้]

หมายเหตุ
  1. 1.0 1.1 1.2 United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland: Properties inscribed on the World Heritage List, UNESCO, สืบค้นเมื่อ 2021-07-29
  2. UNESCO Constitution, UNESCO, สืบค้นเมื่อ 2009-08-17
  3. Funding, Department for Culture, Media and Sport, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-18, สืบค้นเมื่อ 2009-08-17
  4. About us, The United Kingdom National Commission for UNESCO, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-28, สืบค้นเมื่อ 2009-08-17
  5. Andy Burnham launches debate on the future designation of World Heritage Sites in the UK, Department for Culture, Media and Sport, 2008-12-02, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-02, สืบค้นเมื่อ 2009-08-17
  6. The Criteria for Selection, UNESCO, สืบค้นเมื่อ 2009-07-27
  7. 7.0 7.1 World Heritage List, UNESCO, สืบค้นเมื่อ 2009-07-27
  8. New publication spotlights St Kilda, Scottish Natural Heritage, 2004-12-09, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-12, สืบค้นเมื่อ 2009-08-16
  9. Dual World Heritage Status For Unique Scottish Islands, National Trust for Scotland, 2005-07-14, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-02, สืบค้นเมื่อ 2009-08-16
  10. "Durham Castle and Cathedral". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  11. "Ironbridge Gorge". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  12. "Studley Royal Park including the Ruins of Fountains Abbey". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  13. "Stonehenge, Avebury and Associated Sites". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  14. "Castles and Town Walls of King Edward in Gwynedd". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  15. "Blenheim Palace". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  16. "Palace of Westminster and Westminster Abbey including Saint Margaret's Church". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  17. "City of Bath". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  18. 18.0 18.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ limes
  19. "Frontiers of the Roman Empire". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  20. "Tower of London". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  21. "Canterbury Cathedral, St Augustine's Abbey, and St Martin's Church". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  22. "Maritime Greenwich". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  23. "Blaenavon Industrial Landscape". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  24. "Saltaire". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  25. Derwent Valley Mills Partnership (2000), pp. 30–31, 96.
  26. "Derwent Valley Mills". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  27. "Royal Botanic Gardens, Kew". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  28. "Cornwall and West Devon Mining Landscape". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  29. "Pontcysyllte Aqueduct and Canal". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  30. "The English Lake District". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  31. "The Great Spa Towns of Europe". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  32. "The Slate Landscape of Northwest Wales". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2021.
  33. "Dorset and East Devon Coast". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  34. "Frontiers of the Roman Empire". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  35. "Old and New Towns of Edinburgh". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  36. "Heart of Neolithic Orkney". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  37. "New Lanark". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  38. "The Forth Bridge". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  39. "Giant's Causeway and Causeway Coast". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  40. "St Kilda". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  41. "Historic Town of St George and Related Fortifications, Bermuda". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  42. "Henderson Island". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  43. "Gough and Inaccessible Islands". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
  44. เกาะเฮนเดอร์สัน, UNESCO, สืบค้นเมื่อ 2009-07-28
  45. "Liverpool – Maritime Mercantile City". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 24 July 2021.
  46. "World Heritage Committee deletes Liverpool - Maritime Mercantile City from UNESCO's World Heritage List". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 24 July 2021.
  47. Glossary, UNESCO, สืบค้นเมื่อ 2010-01-01
  48. Tentative list of United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland, UNESCO, 2006-01-19, สืบค้นเมื่อ 2019-07-12
บรรณานุกรม
  • Benvie, Neil (2000), Scotland's Wildlife, London: Aurum Press, ISBN 978-1854109781
  • Derwent Valley Mills Partnership (2000), Nomination of the Derwent Valley Mills for inscription on the World Heritage List, Derwent Valley Mills Partnership
  • Keay, J; Keay, J (1994), Collins Encyclopaedia of Scotland, London: Harper Collins, ISBN 0-00-255082-2
  • Liddiard, Robert (2005), Castles in Context: Power, Symbolism and Landscape, 1066 to 1500, Macclesfield: Windgather Press Ltd, ISBN 0-9545575-2-2
  • Thornbury, Walter (1878), "St Margaret's Westminster", Old and New London, Victoria County History, 3