รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักร
ในสหราชอาณาจักรและอาณานิคมโพ้นทะเลมีแหล่งมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนโดยยูเนสโกทั้งหมด 35 รายการ[1] แหล่งมรดกโลกของสหราชอาณาจักรที่ได้ขึ้นทะเบียนในครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2529 ได้แก่
- ไจอันส์คอสเวย์และชายฝั่ง
- ปราสาทและมหาวิหารเดอรัม
- เกาะเซนต์คิลดา
- โกรกธารไออันบริดจ์
- อุทยานหลวงสตัดลีย์รวมทั้งซากอารามฟาวน์ทินส์
- สโตนเฮนจ์ เอฟเบอรี และสถานที่ใกล้เคียง
- ปราสาทและกำแพงเมืองของพระเจ้าเอดเวิร์ดในเมืองกวิเนดด์
ใน พ.ศ. 2489 ประเทศ 26 ประเทศ รวมถึงสหราชอาณาจักร ได้ให้สัตยาบันธรรมนูญแห่งองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ซึ่งมีความมุ่งหมายเพื่อ "อนุรักษ์และคุ้มครองมรดกทางเอกสาร งานศิลปะ และอนุสรณ์ทางประวัติศาสตร์และธรรมชาติของโลก"[2] สหราชอาณาจักรได้ให้เงินช่วยเหลือกองทุนมรดกโลกปีละ 130,000 ปอนด์เพื่อเป็นเงินทุนในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกในประเทศกำลังพัฒนา[3] แหล่งมรดกโลกบางแห่งนั้นประกอบด้วยสถานที่หลายแห่งที่มีสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์หรือมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกัน
คณะกรรมการแห่งสหราชอาณาจักรว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ มีบทบาทในการแนะนำนโยบายเกี่ยวกับยูเนสโกต่อรัฐบาลอังกฤษซึ่งรับผิดชอบต่อการดูและรักษาแหล่งมรดกโลกในประเทศ[4] ใน พ.ศ. 2551]แอนดี เบิร์นแฮม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม สื่อ และกีฬาในขณะนั้น ได้แถลงถึงความกังวลเกี่ยวกับประโยชน์ของการขึ้นทะเบียนสถานที่ในสหราชอาณาจักรเป็นแหล่งมรดกโลก และเรียกร้องให้ทบทวนนโยบายของรัฐบาลในการเสนอชื่อสถานที่ใหม่ๆ เนื่องมาจากค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นและมีรายได้จากนักท่องเที่ยวน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ อีกทั้งมีนักท่องเที่ยวไม่มากที่ตระหนักถึงสถานะมรดกโลกของสถานที่เหล่านั้น[5]
เกณฑ์การรับรองแหล่งมรดกโลกข้อที่ i-iv ใช้สำหรับมรดกโลกประเภทวัฒนธรรม และข้อที่ vii-x ใช้สำหรับประเภทธรรมชาติ[6] ในสหราชอาณาจักรมีแหล่งมรดกโลกประเภทวัฒนธรรมยี่สิบสามแห่ง ประเภทธรรมชาติสี่แห่ง และประเภทผสมหนึ่งแห่ง[note 1][1] จำนวนแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรที่แบ่งตามประเภทจะใกล้เคียงจำนวนแหล่งมรดกโลกทั้งหมดในโลกที่แบ่งตามประเภทเช่นกัน คือ จากแหล่งมรดกโลก 890 แห่งทั่วโลก เป็นประเภทวัฒนธรรมร้อยละ 77.4 ธรรมชาติร้อยละ 19.8 และผสมร้อยละ 2.8%[7] โดยเซนต์คิลดาเป็นแหล่งมรดกโลกประเภทผสมแห่งเดียวในสหราชอาณาจักร ซึ่งแต่เดิมนั้นได้ขึ้นทะเบียนเนื่องด้วยเป็นถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติของพันธุ์พืชและสัตว์เท่านั้น[8] ต่อมาใน พ.ศ. 2548 ได้รับการเสนอให้เพิ่มความสำคัญในฐานะที่ตั้งชุมชนเกษตรกรรมในอดีต และกลายเป็นแหล่งมรดกโลกประเภทผสมหนึ่งใน 25 แห่งจากทั่วโลก[9] ส่วนแหล่งมรดกโลกประเภทธรรมชาติได้แก่ ชายฝั่งดอร์เซตและอีสต์เดวอน ไจอันส์คอสเวย์และชายฝั่ง เกาะกอฟและอินักเซสซิเบิล และเกาะเฮนเดอร์สัน ที่เหลือเป็นประเภทวัฒนธรรม[1]
แหล่งมรดกโลก
[แก้]ตารางด้านล่างแสดงข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งมรดกโลกแต่ละแห่ง
- ชื่อ; ตามที่ขึ้นทะเบียนโดยคณะกรรมการมรดกโลก[7]
- ที่ตั้ง; ภายในประเทศองค์ประกอบหรืออาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร พร้อมพิกัดที่ให้โดยยูเนสโก
- ยุคสมัย; ช่วงเวลาสำคัญของสถานที่ มักจะเป็นเวลาที่ก่อสร้าง
- ข้อมูลของยูเนสโก; หมายเลขอ้างอิง ปีที่ขึ้นทะเบียน และเกณฑ์ที่ผ่านการพิจารณา
- คำอธิบาย; คำอธิบายพอสังเขปของแหล่งมรดกโลก
สถานที่ที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก (อังกฤษและเวลส์)
[แก้]แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม
[แก้]- *หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
สถานที่ | ภาพ | ที่ตั้ง | ประเภท | พื้นที่ (ha) |
ปี (พ.ศ./ค.ศ.) | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ปราสาทและอาสนวิหารเดอรัม | เดอรัม, เคาน์ตีเดอรัม, อังกฤษ 54°46′30″N 1°34′32″W / 54.77487°N 1.57558°W |
วัฒนธรรม: (ii) (iv) (vi) |
8.79 | 2529 (1986) | มหาวิหารเดอรัมเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมนอร์มันที่ใหญ่ที่สุดและดีที่สุดในอังกฤษ หลังคาโค้งของมหาวิหารก็เป็นส่วนหนึ่งของต้นกำเนิดสถาปัตยกรรมกอทิก ภายในมหาวิหารเป็นที่เก็บรักษาอัฐิของนักบุญคัทเบิร์ตและนักบุญบีด ส่วนปราสาทเดอรัมซึ่งสร้างด้วยสถาปัตยกรรมนอร์มันเคยเป็นที่พำนักของเจ้าชายมุขนายกเดอรัม | [10] | |
โกรกธารไออันบริดจ์ | ไออันบริดจ์, ชรอปเชอร์, อังกฤษ 52°37′35″N 2°29′10″W / 52.62646°N 2.486°W |
วัฒนธรรม: (i) (ii) (iv) (vi) |
547.9 | 2529 (1986) | โกรกธารไออันบริดจ์เป็นที่ตั้งของเหมือง โรงงาน เรือนพักคนงาน และโครงสร้างทางการขนส่งที่สร้างขึ้นในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม การพัฒนาการผลิตถ่านโค้กในพื้นที่นี้มีส่วนช่วยริเริ่มการปฏิวัติอุตสาหกรรม ไออันบริดจ์เป็นสะพานแห่งแรกของโลกที่สร้างขึ้นจากเหล็กและมีอิทธิพลต่อวงการสถาปัตยกรรมและเทคโนโลยี | [11] | |
อุทยานหลวงสตัดลีย์รวมทั้งซากอารามฟาวน์ทินส์ | นอร์ทยอร์กเชอร์, อังกฤษ 54°06′58″N 1°34′23″W / 54.116111°N 1.573056°W |
วัฒนธรรม: (i) (iv) |
310; พื้นที่กันชน 1,622 | 2529 (1986) | ก่อนการยุบอารามช่วงกลางศตวรรษที่ 16 อารามฟาวน์ทินส์เคยเป็นหนึ่งในอารามซิสเตอร์เชียนที่ใหญ่และร่ำรวยที่สุดในบริเตน และเป็นหนึ่งในไม่กี่อารามที่อยู่รอดมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 ส่วนอุทยานซึ่งสร้างภายหลังและรวมอารามไว้เป็นส่วนหนึ่ง ส่วนใหญ่ยังคงการออกแบบดั้งเดิม เอาไว้ และมีอิทธิพลต่อการออกแบบสวนในยุโรป | [12] | |
สโตนเฮนจ์, เอฟเบอรี และแหล่งโบราณสถานที่เกี่ยวเนื่อง | วิลต์เชอร์, อังกฤษ 51°10′44″N 1°49′31″W / 51.178889°N 1.825278°W |
วัฒนธรรม: (i) (ii) (iii) |
4,985.4 | 2529 (1986) | [13] | ||
ปราสาทและกำแพงเมืองของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดในกวิเนดด์ | คอนวี, เกาะแองเกิลซีย์ และกวิเนดด์, เวลส์ 53°08′23″N 4°16′37″W / 53.139722°N 4.276944°W |
วัฒนธรรม: (i) (iii) (iv) |
6 | 2529 (1986) | ปราสาทแห่งโบมาริส (Beaumaris) และฮาร์เลค (Harlech) (ส่วนใหญ่เป็นงานของวิศวกรทางการทหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของยุคนั้น คือเจมส์ ออฟ เซนต์ จอร์จ/ James of St George) และกลุ่มป้อมปราการแห่งคาร์นาฟอน (Caernafon) และคอนวี (Conwy) ตั้งอยู่ในเขตที่แต่เดิมเป็นแคว้นกวิเน็ดด์ (Gwynedd) ในเวลส์เหนือ (north Wales) โบราณสถานที่ยังได้รับการอนุรักษ์ในสภาพที่ดียิ่งแหล่งนี้ เป็นตัวอย่างของการล่าอาณานิคมและงานด้านการป้องกันที่ดำเนินอยู่ตลอดรัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 และสถาปัตยกรรมทางการทหารของช่วงเวลานั้น | [14] | |
วังเบลนิม | วุดสตอก, ออกซฟอร์ดเชอร์, อังกฤษ 51°50′31″N 1°21′41″W / 51.841944°N 1.361389°W |
วัฒนธรรม: (ii) (iv) |
2530 (1987) | [15] | |||
พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ อารามเวสต์มินสเตอร์ และโบสถ์เซนต์มาร์กริตส์ | เวสต์มินสเตอร์, เกรเทอร์ลอนดอน, อังกฤษ 51°29′59″N 0°07′43″W / 51.499722°N 0.128611°W |
วัฒนธรรม: (i) (ii) (iv) |
10.26 | 2530 (1987) | เป็นสถานที่ที่มีส่วนสำคัญมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 ในการปกครองอังกฤษ และสหราชอาณาจักรต่อมา ตั้งแต่พิธีบรมราชาภิเษกของวิลเลียมที่ 1 กษัตริย์อังกฤษและบริติชทุกพระองค์ทำพิธีบรมราชาภิเษกที่อารามเวสต์มินสเตอร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของรัฐสภาสหราชอาณาจักร เป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก โบสถ์เซนต์มาร์กริตส์เป็นโบสถ์ประจำตำบลของพระราชวัง ก่อสร้างมาก่อนพระราชวังตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 และมีการบูรณะใหม่หลังจากนั้น | [16] | |
เมืองบาท | บาท, ซัมเมอร์เซต, อังกฤษ 51°22′51″N 2°21′37″W / 51.3809°N 2.3603°W |
วัฒนธรรม: (i) (ii) (iv) |
2,900 | 2530 (1987) | ก่อตั้งโดยชาวโรมัน เป็นเมืองรีสอร์ทสปา ต่อมาในยุคกลางเป็นศูนย์กลางสำคัญของอุตสาหกรรมขนแกะ และกลับเป็นรีสอร์ทสปาในคริสต์ศตวรรษที่ 18 | [17] | |
แนวพรมแดนของจักรวรรดิโรมัน (ร่วมกับเยอรมนี) |
อังกฤษ และ สกอตแลนด์ 54°59′33″N 2°36′04″W / 54.992611°N 2.601°W |
วัฒนธรรม: (ii) (iii) (iv) |
526.9; พื้นที่กันชน 5,225.7 | 2530 (1987); ขยาย 2548, 2551 (2005, 2008) |
กำแพงฮาเดรียอานุส ก่อสร้างเมื่อ 122 AD และกำแพงอันโตนินก่อสร้างเมื่อ 142 AD เพื่อป้องกันจักรวรรดิโรมัน จาก "ชนป่า".[18]ในตอนแรกแหล่งมรดกโลกมีแค่กำแพงฮาเดรียอานุส แต่ต่อมาขยายไปรวมพรมแดนทั้งหมดของจักรวรรดิโรมันในยุคที่ขยายใหญ่สุดช่วงศตวรรษที่ 2 ตั้งแต่กำแพงอันโตนินทางเหนือไปถึงกำแพงตรายานุสในยุโรปตะวันออก, เดิมขึ้นทะเบียนเฉพาะส่วนที่ตั้งอยู่ในสกอตแลนด์ ต่อมาจึงได้ขึ้นทะเบียนเพิ่มเติม ในส่วนที่ตั้งอยู่ในอังกฤษ และ Limes Germanicus ที่ตั้งอยู่ในประเทศเยอรมนี | [19] | |
หอคอยแห่งลอนดอน | Tower Hamlets, เกรเทอร์ลอนดอน, อังกฤษ 51°30′29″N 0°04′34″W / 51.508056°N 0.076111°W |
วัฒนธรรม: (ii) (iv) |
2531 (1988) | เริ่มก่อสร้างโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ใน ค.ศ. 1066 ระหว่างการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน เป็นสัญลักษณ์ของพลังและเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมนอร์มันที่กระจายไปทั่วอังกฤษ ต่อมามีการต่อเติมโดยพระเจ้าเฮนรีที่ 3 และพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ทำให้ปราสาทกลายเป็นหนึ่งในปราสาทที่มีอิทธิพลมากที่สุดในอังกฤษ | [20] | ||
อาสนวิหารแคนเทอร์เบอรี อารามเซนต์ออกัสตินส์ และโบสถ์เซนต์มาร์ตินส์ | แคนเทอร์เบอรี, เคนต์, อังกฤษ 51°16′48″N 1°04′59″E / 51.28°N 1.083056°E |
วัฒนธรรม: (i) (ii) (vi) |
18.17 | 2531 (1988) | โบสถ์เซนต์มาร์ตินส์เป็นโบสถ์ที่เก่าแก่ที่สุดในอังกฤษ โบสถ์แห่งนี้กับอารามเซนต์ออกัสตินส์ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ของการแพร่ของศาสนาคริสต์มาสู่พวกแองโกล-แซกซัน ตัวอาสนวิหารเป็นสถาปัตยกรรมแนวโรมาเนสก์และโกธิก และเป็นศูนย์กลางของคริสตจักรแห่งอังกฤษ | [21] | |
เมืองนาวีกรีนิช | กรีนิช ลอนดอน เกรเทอร์ลอนดอน , อังกฤษ 51°28′45″N 0°00′00″E / 51.4791°N 0°E |
วัฒนธรรม: (i) (ii) (iv) (vi) |
109.5; พื้นที่กันชน 174.85 | 2540 (1997) | เป็นที่ตั้งของอาคารสถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอแห่งแรกในอังกฤษ และผลงานของคริสโตเฟอร์ เรน กับ อินิโก โจนส์ รวมทั้งหอดูดาวหลวงกรีนิช | [22] | |
ภูมิทัศน์อุตสาหกรรมไบลแนวัน | ไบลแนวัน, เวลส์ 51°47′N 3°05′W / 51.78°N 3.08°W |
วัฒนธรรม: (iii) (iv) |
3,290 | 2543 (2000) | ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เวลส์เป็นผู้ผลิตเหล็กและถ่านหินที่สำคัญของโลก ไบลแนวันเป็นตัวอย่างของภูมิทัศน์ที่สร้างขึ้นจากกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการผลิตวัตถุดิบเหล่านี้ ในพื้นที่ประกอบด้วยเหมือง อาคารสาธารณะ เรือนพักคนงาน และทางรถไฟ | [23] | |
ซอลแทร์ | ซอลแทร์, นครแบรดฟอร์ด, เวสต์ยอร์กเชอร์, อังกฤษ 53°50′14″N 1°47′25″W / 53.83717°N 1.79026°W |
วัฒนธรรม: (ii) (iv) |
20; พื้นที่กันชน 1,078 | 2544 (2001) | ซอลแทร์ก่อตั้งโดยเจ้าของโรงงานไททัส ซอลท์เพื่อเป็นหมู่บ้านสาธิตสำหรับคนงาน สถานที่นี้ ซึ่งรวมถึงโรงงานซอลทส์ มีอาคารสาธารณะสำหรับผู้อยู่อาศัย และเป็นตัวอย่างของระบบพ่อปกครองลูกยุคศตวรรษที่ 19 | [24] | |
โรงงานแห่งหุบเขาเดอร์เวนต์ | Derwent Valley, ดาร์บีเชอร์, อังกฤษ 53°01′13″N 1°29′59″W / 53.020278°N 1.499722°W |
วัฒนธรรม: (ii) (iv) |
1,228.7; พื้นที่กันชน 4,362.7 | 2544 (2001) | โรงงานแห่งหุบเขาเดอร์เวนต์เป็นจุดกำเนิดของระบบโรงงาน นวัตกรรมจากหุบเขา รวมถึงการพัฒนาที่อยู่คนงาน เช่นที่ครอมฟอร์ด และเครื่องจักรเช่นเครื่องปั่นด้ายพลังน้ำ ซึ่งสำคัญมากต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่งอิทธิพลต่ออเมริกาเหนือและยุโรป[25] | [26] | |
สวนพฤกษศาสตร์หลวง คิว | คิว, เกรเทอร์ลอนดอน, อังกฤษ 51°28′29″N 0°17′44″W / 51.474667°N 0.295467°W |
วัฒนธรรม: (ii) (iii) (iv) |
132; พื้นที่กันชน 350 | 2546 (2003) | วนพฤกษศาสตร์คิว ซึ่งสร้างในปี 1759 และออกแบบโดย ชาลส์ บริดจ์แมน วิลเลียม เคนท์ ลานเซลอต บราวน์ และวิลเลียม แชมเบอรส์ สวนเหล่านี้ใช้ศึกษาพฤกษศาสตร์และนิเวศวิทยาและทำให้เกิดความเข้าใจวิชาเหล่านี้มากขึ้น | [27] | |
ภูมิทัศน์เหมืองคอร์นวอลล์และเวสต์เดวอน | คอร์นวอลล์และเดวอน, อังกฤษ 50°08′10″N 5°23′01″W / 50.136111°N 5.383611°W |
วัฒนธรรม: (ii) (iii) (iv) |
19,719 | 2549 (2006) | การทำเหมืองดีบุกและทองแดงในเดวอนกับคอร์นวอลล์ เจริญอย่างมากในศตวรรษที่ 18 และ 19 โดย ณ จุดสูงสุดพื้นที่นี้ผลิตทองแดงเป็นสองในสามของทั้งโลก เทคนิคและเทคโนโลยีในการทำเหมืองระดับลึกที่คิดค้นในคอร์นวอลล์และเดวอนเป็นที่ใช้ทั้งโลก | [28] | |
สะพานส่งน้ำและคลองพอนต์คะซัลล์เท | เทรเวอร์, เรกซัม, อังกฤษ และ เวลส์ 52°58′14″N 3°05′16″W / 52.97053°N 3.08783°W |
วัฒนธรรม: (i) (ii) (iv) |
105; พื้นที่กันชน 4,145 | 2552 (2009) | สะพานส่งน้ำสร้างขึ้นเพิ่อส่งคลองเอลส์เมียร์ ข้ามหุบเขาดี ออกแบบโดยโทมัส เทลฟอร์ดสร้างเสร็จในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยใช้นวัตกรรมใหม่ของเหล็กหล่อและเหล็กดัด ซึ่งส่งอิทธิพลต่อวิศวกรรมโยธาทั่วโลก | [29] | |
อิงลิชเลกดิสตริกต์ | คัมเบรีย , อังกฤษ 54°28′26″N 3°4′56″W / 54.47389°N 3.08222°W |
วัฒนธรรม: (ii) (v) (vi) |
229,205.19 | 2560 (2017) | มีชื่อเสียงด้านทิวทัศน์ภูเขา ทะเลสาบ บ้านเรือน อุทยานและสวนสาธารณะ ซึ่งถูกวาดไว้ในทัศนศิลป์โรแมนติก ยุคศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา< | [30] | |
เมืองสปาใหญ่แห่งยุโรป (ร่วมกับเช็กเกีย เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรีย และอิตาลี) |
ซัมเมอร์เซต อังกฤษ |
วัฒนธรรม: (ii) (iii) |
7,014; พื้นที่กันชน 11,319 | 2564 (2021) | สถานที่ที่ขึ้นทะเบียนคือเมืองบาธ | [31] | |
ภูมิทัศน์หินชนวนของเวลส์ตะวันตกเฉียงเหนือ | เวลส์ |
วัฒนธรรม: (ii) (iv) |
3,259.01 | 2564 (2021) | [32] |
แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ
[แก้]- *หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
สถานที่ | ภาพ | ที่ตั้ง | ประเภท | พื้นที่ (ha) |
ปี (พ.ศ./ค.ศ.) | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชายฝั่งดอร์เซตและอีสต์เดวอน | ดอร์เซตและเดวอน อังกฤษ 50°42′20″N 2°59′24″W / 50.705556°N 2.989889°W |
ธรรมชาติ: (vii) (viii) |
2,550 | 2544 (2001) | หน้าผาริมชายฝั่งดอร์เซตและเดวอนเป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่สำคัญที่เป็นร่องรอยของสิ่งมีชีวิตทั้งบนแผ่นดินและในทะเลตั้งแต่ 185 ล้านปีก่อน | [33] |
สถานที่ที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก (สกอตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือ)
[แก้]แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม
[แก้]- *หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
สถานที่ | ภาพ | ที่ตั้ง | ประเภท | พื้นที่ (ha) |
ปี (พ.ศ./ค.ศ.) | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
แนวพรมแดนของจักรวรรดิโรมัน (ร่วมกับเยอรมนี) |
อังกฤษ และ สกอตแลนด์ 54°59′33″N 2°36′04″W / 54.992611°N 2.601°W |
วัฒนธรรม: (ii) (iii) (iv) |
526.9; พื้นที่กันชน 5,225.7 | 2530 (1987); ขยาย 2548, 2551 (2005, 2008) | กำแพงฮาเดรียอานุส ก่อสร้างเมื่อ 122 AD และกำแพงอันโตนินก่อสร้างเมื่อ 142 AD เพื่อป้องกันจักรวรรดิโรมัน จาก "ชนป่า".[18]ในตอนแรกแหล่งมรดกโลกมีแค่กำแพงฮาเดรียอานุส แต่ต่อมาขยายไปรวมพรมแดนทั้งหมดของจักรวรรดิโรมันในยุคที่ขยายใหญ่สุดช่วงศตวรรษที่ 2 ตั้งแต่กำแพงอันโตนินทางเหนือไปถึงกำแพงตรายานุสในยุโรปตะวันออก, เดิมขึ้นทะเบียนเฉพาะส่วนที่ตั้งอยู่ในสกอตแลนด์ ต่อมาจึงได้ขึ้นทะเบียนเพิ่มเติม ในส่วนที่ตั้งอยู่ในอังกฤษ และ Limes Germanicus ที่ตั้งอยู่ในประเทศเยอรมนี | [34] | |
เมืองเก่าและเมืองใหม่เอดินบะระ | เอดินบะระ, สกอตแลนด์ 55°56′51″N 3°11′30″W / 55.947572°N 3.191631°W |
วัฒนธรรม: (ii) (iv) |
2538 (1995) | เมืองเก่าเอดินบะระก่อตั้งในยุคกลาง และเมืองใหม่พัฒนาขึ้นในปี 1767–1890 แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างรูปแบบการตั้งถิ่นฐานในยุคกลางและสมัยใหม่ ลักษณะผังเมืองและสถาปัตยกรรมของเมืองใหม่ ออกแบบโดยผู้มีชื่อเสียงอย่างวิลเลียม แชมเบอรส์ และวิลเลียม เพลย์แฟร์ ซึ่งส่งอิทธิพลสำคัญต่อการออกแบบผังเมืองในยุโรปศตวรรษที่ 18 และ 19 | [35] | ||
ใจกลางออร์กนีย์ยุคหินใหม่ | ออร์กนีย์, สกอตแลนด์ 58°59′46″N 3°11′19″W / 58.996056°N 3.188667°W |
วัฒนธรรม: (i) (ii) (iii) (iv) |
6,258 | 2542 (1999) | กลุ่มสถานที่ยุคหินใหม่ที่มีเป้าหมายตั้งแต่ที่อยู่อาศัยไปจนถึงการประกอบพิธีกรรม ได้แก่ที่ตั้งถิ่นฐานสแกรา เบร สุสานห้องเมยส์โฮว์ และวงกลมหินแห่งสเตนเนส และ บรอดการ์ | [36] | |
นิวลานาร์ก | นิวลานาร์ก, เซาท์ลานาร์กเชอร์, สกอตแลนด์ 55°40′N 3°47′W / 55.66°N 3.78°W |
วัฒนธรรม: (ii) (iv) (vi) |
146; พื้นที่กันชน 667 | 2544 (2001) | นิวลานาร์กสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยให้กับคนงาน หลังจากการเกิดระบบโรงงานในเดอร์เวนท์ ต่อมาโรเบิร์ต โอเวน ซื้อที่แล้วแปลงเป็นสังคมตัวอย่าง พร้อมให้สิ่งอำนวยความสะดวก การศึกษา และสนัสนุนการปฏิรูประบบโรงงาน | [37] | |
สะพานฟอร์ท | เอดินบะระ, อินช์การ์วีและไฟฟ์, สกอตแลนด์ 56°00′02″N 3°23′19″W / 56.000421°N 3.388726°W |
วัฒนธรรม: (i) (iv) |
7.5 | 2558 (2015) | สร้างเมื่อ ค.ศ. 1890 | [38] | |
นิคมคริสตจักรมอเรเวีย (ร่วมกับเดนมาร์ก เยอรมนี และสหรัฐ) |
ไอร์แลนด์เหนือ | วัฒนธรรม: (iii) (iv) |
2558 (2015); เพิ่มเติม 2567 (2024) | นิคมคริสตจักรมอเรเวียที่เกรซฮิลล์ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกเมื่อ พ.ศ. 2567 | [39] |
แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ
[แก้]- *หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
สถานที่ | ภาพ | ที่ตั้ง | ประเภท | พื้นที่ (ha) |
ปี (พ.ศ./ค.ศ.) | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ไจอันตส์คอสเวย์และชายฝั่ง | เคาน์ตีแอนทริม ไอร์แลนด์เหนือ 55°14′27″N 6°30′42″W / 55.240833°N 6.511667°W |
ธรรมชาติ: (vii) (viii) |
239.405 | 2529 (1986) | ประกอบด้วยเสาหินบะซอลต์ 40,000 แท่งที่โผล่พ้นเหนือทะเล ซึ่งเกิดจากการคุกรุ่นของภูเขาไฟในยุคเทอร์เชียรี | [40] | |
เดอะโฟลว์คันทรี | สกอตแลนด์ | ธรรมชาติ: (ix) |
187.026 | 2567 (2024) | [41] |
แหล่งมรดกโลกแบบผสม
[แก้]- *หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
สถานที่ | ภาพ | ที่ตั้ง | ประเภท | พื้นที่ (ha) |
ปี (พ.ศ./ค.ศ.) | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
เซนต์คิลดา | เซนต์คิลดา สกอตแลนด์ 57°49′00″N 8°35′00″W / 57.816667°N 8.583333°W |
ผสม: (iii) (v) (vii) (ix) (x) |
24,201.4004 | 2529 (1986) ขยาย 2547, 2548 (2004, 2005) |
หมู่เกาะเซนต์คิลดาเป็นหมู่เกาะเปลี่ยว เคยมีผู้คนอาศัยอยู่เป็นเวลากว่า 2000 ปี แต่ตั้งแต่ 1930 เป็นต้นมา ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่แล้ว มรดกทางมนุษยชนของหมู่เกาะมีสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์จากยุคประวัติศาสตร์และก่อนประวัติศาสตร์ เซนต์คิลดายังเป็นแหล่งผสมพันธุ์ของนกทะเลหลายชนิด รวมถึงฝูงนกแกนเน็ตที่ใหญ่ที่สุดในโลกและนกพัฟฟินกว่า 136,000 คู่ | [42] |
สถานที่ที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก (ดินแดนโพ้นทะเล)
[แก้]แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม
[แก้]- *หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
สถานที่ | ภาพ | ที่ตั้ง | ประเภท | พื้นที่ (ha) |
ปี (พ.ศ./ค.ศ.) | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
เมืองประวัติศาสตร์เซนต์จอร์จและป้อมปราการที่เกี่ยวข้อง เบอร์มิวดา | เซนต์จอร์เจส เบอร์มิวดา 51°22′51″N 2°21′37″W / 51.3809°N 2.3603°W |
วัฒนธรรม: (iv) |
257.5 | 2559 (2016) | เซนต์จอร์เจสก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2155 เป็นเมืองของอังกฤษที่เก่าแก่ที่สุดในโลกใหม่ และเป็นตัวอย่างของนิคมเมืองที่ก่อตั้งขึ้นในโลกใหม่โดยประเทศเจ้าอาณานิคมในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ป้อมปราการแสดงให้เห็นถึงกลวิธีป้องกันเมืองที่พัฒนาขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง 20 | [43] | |
กลุ่มถ้ำกอรัม | ด้านตะวันออกของร็อกออฟยิบรอลตาร์, ยิบรอลตาร์ 36°07′13″N 5°20′31″W / 36.120397°N 5.342075°W
|
ธรรมชาติ: (vii) (x) |
3,700; | 2531 (1988) | เกาะนี้เป็นอะทอลล์ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก สภาพนิเวศวิทยาบนเกาะแทบจะไม่ถูกรบกวนจากมนุษย์ และเนื่องด้วยเป็นเกาะโดดเดี่ยวจึงทำให้สิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการที่แตกต่างจากที่อื่น มีพืชประจำถิ่นอยู่สิบชนิด และสัตว์ประจำถิ่นอยู่สี่ชนิด< | [44] | |
เกาะกอฟและเกาะอินักเซสซิเบิล | เซนต์เฮเลนา อัสเซนชัน และตริสตันดากูนยา, มหาสมุทรแอตแลนติกใต้ 40°19′05″S 9°56′07″W / 40.3181°S 9.9353°W |
ธรรมชาติ: (vii) (x) |
7,900; พื้นที่กันชน 390,000 | 2538 (1995) ขยาย 2547 (2004) |
เกาะกอฟและเกาะอินักเซสซิเบิล เป็นสถานที่ที่อนุรักษ์ระบบนิเวศที่แทบไม่ถูกมนุษย์แตะต้องเอาไว้ มีพืชและสัตว์ท้องถิ่นหลายชนิด | [45] |
แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ
[แก้]ชื่อภาษาไทย | ชื่อภาษาอังกฤษ | ภาพ | เกณฑ์พิจารณา | ปี พ.ศ. (ค.ศ.) | คำอธิบาย |
---|---|---|---|---|---|
เกาะเฮนเดอร์สัน | Henderson Island | ธรรมชาติ:
(vii) (x) |
2531 (1988) | เกาะนี้เป็นอะทอลล์ (เกาะปะการัง) ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก สภาพนิเวศวิทยาบนเกาะแทบจะไม่ถูกรบกวนจากมนุษย์ และเนื่องด้วยเป็นเกาะโดดเดี่ยวจึงทำให้สิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการที่แตกต่างจากที่อื่น มีพืชประจำถิ่นอยู่สิบชนิด และสัตว์ประจำถิ่นอยู่สี่ชนิด[46] |
อดีตแหล่งมรดกโลก
[แก้]สถานที่ | ภาพ | ที่ตั้ง | ประเภท | พื้นที่ (เฮกตาร์) |
ปีขึ้นทะเบียน (พ.ศ./ค.ศ.) |
หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ลิเวอร์พูล เมืองการค้าทางทะเล |
ลิเวอร์พูล เมอร์ซีย์ไซด์ อังกฤษ 53°24′N 2°59′W / 53.40°N 2.99°W สหราชอาณาจักร |
วัฒนธรรม: (ii), (iii), (iv) |
1,930 | 2547/2004 – 2564/2021 | ในศตวรรษที่ 18 และ 19 ลิเวอร์พูลเป็นหนึ่งในเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ความเชื่อมต่อของเมืองนี้มีส่วนสำคัญต่อการสนับสนุนจักรวรรดิบริติช นอกจากนี้เป็นเมืองสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการค้าทาสจนกระทั่งการเลิกทาสปี 1807 และยังเป็นจุดออกเดินทางสำหรับผู้ที่จะย้ายถิ่นไปแอฟริกาเหนือ ท่าเรือลิเวอร์พูลเป็นจุดเริ่มต้นของนวัตกรรมหลายอย่างในการก่อสร้างและบริหารท่าเรือ ถูกถอดจากบัญชีมรดกโลกใน พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) | [47][48] |
บัญชีรายชื่อเบื้องต้น
[แก้]บัญชีรายชื่อเบื้องต้นเป็นรายชื่อสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่แต่ละประเทศยื่นเสนอให้ขึ้นทะเบียนในบัญชีรายชื่อมรดกโลก รายชื่อสามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา แต่การเพิ่มสถานที่ลงในรายชื่อจะต้องทำก่อนเสนอชื่อขึ้นทะเบียนห้าถึงสิบปี[49]
บัญชีรายชื่อเบื้องต้นของสหราชอาณาจักร ประกอบด้วยสถานที่ 5 รายการ[50]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ แหล่งมรดกโลกแบบผสมหมายถึงตรงกับเกณฑ์ทั้งประเภทธรรมชาติและวัฒนธรรม
อ้างอิง
[แก้]- หมายเหตุ
- ↑ 1.0 1.1 1.2 United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland: Properties inscribed on the World Heritage List, UNESCO, สืบค้นเมื่อ 2021-07-29
- ↑ UNESCO Constitution, UNESCO, สืบค้นเมื่อ 2009-08-17
- ↑ Funding, Department for Culture, Media and Sport, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-18, สืบค้นเมื่อ 2009-08-17
- ↑ About us, The United Kingdom National Commission for UNESCO, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-28, สืบค้นเมื่อ 2009-08-17
- ↑ Andy Burnham launches debate on the future designation of World Heritage Sites in the UK, Department for Culture, Media and Sport, 2008-12-02, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-02, สืบค้นเมื่อ 2009-08-17
- ↑ The Criteria for Selection, UNESCO, สืบค้นเมื่อ 2009-07-27
- ↑ 7.0 7.1 World Heritage List, UNESCO, สืบค้นเมื่อ 2009-07-27
- ↑ New publication spotlights St Kilda, Scottish Natural Heritage, 2004-12-09, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-12, สืบค้นเมื่อ 2009-08-16
- ↑ Dual World Heritage Status For Unique Scottish Islands, National Trust for Scotland, 2005-07-14, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-02, สืบค้นเมื่อ 2009-08-16
- ↑ "Durham Castle and Cathedral". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "Ironbridge Gorge". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "Studley Royal Park including the Ruins of Fountains Abbey". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "Stonehenge, Avebury and Associated Sites". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "Castles and Town Walls of King Edward in Gwynedd". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "Blenheim Palace". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "Palace of Westminster and Westminster Abbey including Saint Margaret's Church". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "City of Bath". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ 18.0 18.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อlimes
- ↑ "Frontiers of the Roman Empire". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "Tower of London". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "Canterbury Cathedral, St Augustine's Abbey, and St Martin's Church". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "Maritime Greenwich". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "Blaenavon Industrial Landscape". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "Saltaire". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ Derwent Valley Mills Partnership (2000), pp. 30–31, 96.
- ↑ "Derwent Valley Mills". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "Royal Botanic Gardens, Kew". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "Cornwall and West Devon Mining Landscape". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "Pontcysyllte Aqueduct and Canal". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "The English Lake District". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "The Great Spa Towns of Europe". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "The Slate Landscape of Northwest Wales". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "Dorset and East Devon Coast". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "Frontiers of the Roman Empire". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "Old and New Towns of Edinburgh". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "Heart of Neolithic Orkney". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "New Lanark". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "The Forth Bridge". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "Moravian Church Settlements". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2024.
- ↑ "Giant's Causeway and Causeway Coast". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "The Flow Country". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2024.
- ↑ "St Kilda". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "Historic Town of St George and Related Fortifications, Bermuda". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "Henderson Island". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "Gough and Inaccessible Islands". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2021.
- ↑ เกาะเฮนเดอร์สัน, UNESCO, สืบค้นเมื่อ 2009-07-28
- ↑ "Liverpool – Maritime Mercantile City". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 24 July 2021.
- ↑ "World Heritage Committee deletes Liverpool - Maritime Mercantile City from UNESCO's World Heritage List". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 24 July 2021.
- ↑ Glossary, UNESCO, สืบค้นเมื่อ 2010-01-01
- ↑ Tentative list of United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland, UNESCO, 2006-01-19, สืบค้นเมื่อ 2019-07-12
- บรรณานุกรม
- Benvie, Neil (2000), Scotland's Wildlife, London: Aurum Press, ISBN 978-1854109781
- Derwent Valley Mills Partnership (2000), Nomination of the Derwent Valley Mills for inscription on the World Heritage List, Derwent Valley Mills Partnership
- Keay, J; Keay, J (1994), Collins Encyclopaedia of Scotland, London: Harper Collins, ISBN 0-00-255082-2
- Liddiard, Robert (2005), Castles in Context: Power, Symbolism and Landscape, 1066 to 1500, Macclesfield: Windgather Press Ltd, ISBN 0-9545575-2-2
- Thornbury, Walter (1878), "St Margaret's Westminster", Old and New London, Victoria County History, 3