ข้ามไปเนื้อหา

ไจอันตส์คอสเวย์

พิกัด: 55°14′27″N 6°30′42″W / 55.24083°N 6.51167°W / 55.24083; -6.51167
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไจอันตส์คอสเวย์และชายฝั่งคอสเวย์
ชื่อในภาษาท้องถิ่น
  • Clochán an Aifir/Clochán na bhFomhórach[1] (ไอริช)
  • [Tha Giant's Causey[2]] ข้อผิดพลาด: {{native name list}}: ไม่รู้จักแท็กภาษา: ข้อผิดพลาด: ไม่พบภาษา: Ulster Scots (ช่วยเหลือ) (language?)
ไจอันตส์คอสเวย์
ที่ตั้งเทศมณฑลแอนทริม
พิกัด55°14′27″N 6°30′42″W / 55.24083°N 6.51167°W / 55.24083; -6.51167
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนไจอันตส์คอสเวย์และชายฝั่งคอสเวย์
ประเภทธรรมชาติ
เกณฑ์VII, VIII
ขึ้นเมื่อ1986 (ครั้งที่ 10)
เลขอ้างอิง369
ประเทศสหราชอาณาจักร
ภูมิภาคยุโรป
ไจอันตส์คอสเวย์ตั้งอยู่ในไอร์แลนด์เหนือ
ไจอันตส์คอสเวย์
สถานที่ตั้งของไจอันตส์คอสเวย์และชายฝั่งคอสเวย์

ไจอันตส์คอสเวย์ (อังกฤษ: Giant's Causeway) เป็นพื้นที่ที่มีเสาหินบะซอลต์ประสานกันประมาณ 40,000 เสา ซึ่งเป็นผลมาจากการปะทุตามรอยแยกของภูเขาไฟในสมัยโบราณ[3][4] ตั้งอยู่ในเทศมณฑลแอนทริมบนชายฝั่งทางเหนือของไอร์แลนด์เหนือ ห่างจากเมืองบุชมิลส์ประมาณ 3 ไมล์ (4.8 กิโลเมตร) ทางตะวันออกเฉียงเหนือ

ไจอันตส์คอสเวย์ได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก ในปี 1986 และเป็นเขตอนุรักษ์ธรรมชาติแห่งชาติในปี 1987 โดยกรมสิ่งแวดล้อมของไอร์แลนด์เหนือ ในการสำรวจความคิดเห็นของผู้อ่าน Radio Times ในปี 2005 พบว่าไจอันตส์คอสเวย์เป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสี่ในสหราชอาณาจักร[5] ยอดของเสาก่อตัวเป็นบันไดหินที่ทอดลงมาจากตีนผาไปยังใต้ทะเล เสาส่วนใหญ่เป็นทรงหกเหลี่ยม แต่ก็มีบางเสาที่มีรูปร่างเป็น สี่ ห้า เจ็ด หรือแปดเหลี่ยมด้วย[6] เสาที่สูงที่สุดมีความสูงประมาณ 12 เมตร (39 ฟุต) และลาวาที่แข็งตัวในหน้าผามีความหนา 28 เมตร (92 ฟุต)

องค์การอนุรักษ์แห่งชาติเป็นเจ้าของและจัดการแหล่งมรดกโลกไจอันตส์คอสเวย์และชายฝั่งคอสเวย์เป็นส่วนใหญ่ พื้นที่ส่วนที่เหลือเป็นของคราวน์เอสเตตและเจ้าของที่ดินเอกชนอีกหลายคน ไจอันตส์คอสเวย์เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในไอร์แลนด์เหนือ[7]และต้อนรับผู้เยี่ยมชมมากกว่า 998,000 ในปี 2019[8] นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงไจอันตส์คอสเวย์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่จำเป็นต้องผ่านศูนย์บริการนักท่องเที่ยวซึ่งคิดค่าธรรมเนียม[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Clochán an Aifir / Giant's Causeway – Placenames Database of Ireland". Placenames Commission. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2014. สืบค้นเมื่อ 8 September 2014.
  2. The Crack: Yin giant step for mankind[ลิงก์เสีย] The News Letter. Retrieved 16 October 2011.
  3. "Giant's Causeway and Causeway Coast". UNESCO World Heritage Centre. สืบค้นเมื่อ 21 June 2009.
  4. Jack Challoner; John Farndon; Rodney Walshaw (2004). Rocks, Minerals and the Changing Earth. Southwater. p. 19. ISBN 9781842159750.
  5. Report of poll result BBC.co.uk Retrieved 10 December 2006.
  6. Meng, Qingxiang; Yan, Long; Chen, Yulong; Zhang, Qiang (9 November 2018). "Generation of numerical models of anisotropic columnar jointed rock mass using modified centroidal Voronoi diagrams". Symmetry. 10 (11): 618. doi:10.3390/sym10110618.
  7. "Giant's Causeway remains Northern Ireland's Top Attraction" (Press release). Northern Ireland Tourist Board. 18 August 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2011. สืบค้นเมื่อ 19 March 2009.
  8. "ALVA – Association of Leading Visitor Attractions". alva.org.uk. สืบค้นเมื่อ 23 October 2020.
  9. "Giant's Causeway: Public right of way to be protected". BBC News Online. 14 March 2018.