รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศอียิปต์
องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศอียิปต์ทั้งสิ้น 7 แหล่ง[1]
ที่ตั้ง[แก้]
สถานที่ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก[แก้]
- *หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
สถานที่ | ภาพ | ที่ตั้ง | ประเภท | พื้นที่ (เฮกตาร์) |
ปีขึ้นทะเบียน (พ.ศ./ค.ศ.) |
หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
เมมฟิสและสุสาน – กลุ่มพีระมิดตั้งแต่กีซาถึงดาห์ชูร์ | ![]() |
กีซา เขตผู้ว่าการกีซา ![]() 30°03′00″N 31°15′40″E / 30.05000°N 31.26111°E |
วัฒนธรรม: (i) (iii) (vi) |
16,358.52 | 2522/1979 | เมืองหลวงของราชอาณาจักรเก่า ประกอบด้วย สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุสาน สถานที่แห่งนี้ถือเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ | 86[2] |
ทีบส์โบราณและสุสาน | ![]() |
เขตผู้ว่าการลักซอร์ ![]() 25°44′00″N 32°36′00″E / 25.73333°N 32.60000°E |
วัฒนธรรม: (i) (iii) (vi) |
7,390.16; พื้นที่กันชน 443.55 | 2522/1979 | เมืองหลวงเก่าของอียิปต์โบราณ ประกอบด้วย วัด วิหารและวังที่คาร์นัคและลักซอร์ รวมทั้งสุสานหลวงหุบเขากษัตริย์และหุบเขาราชินี | 87[3] |
กลุ่มอนุสาวรีย์แห่งนูเบียตั้งแต่อาบูซิมเบลจนถึงฟีลาเอ | ![]() |
เขตผู้ว่าการอัสวาน ![]() 22°20′11″N 31°37′34″E / 22.33639°N 31.62611°E |
วัฒนธรรม: (i) (iii) (vi) |
374.48 | 2522/1979 | ตั้งอยู่ริมแม่น้ำไนล์ มีอนุสรณ์สถานสำคัญ เช่น วิหารของแรเมซีสที่ 2 ที่อาบูซิมเบล และของเทพีไอซิสที่ฟีเล ที่ได้รับการช่วยเหลือจากการจมอยู่ใต้น้ำในทะเลสาบนาสเซอร์อันเป็นผลมาจากการสร้างเขื่อนอัสวาน | 88[4] |
เมืองประวัติศาสตร์ไคโร | ![]() |
ไคโร เขตผู้ว่าการไคโร ![]() 30°03′00″N 31°15′40″E / 30.05000°N 31.26111°E |
วัฒนธรรม: (i) (v) (vi) |
523.66 | 2522/1979 | 89[5] | |
อะบูมีนา | เขตผู้ว่าการอะเล็กซานเดรีย ![]() 30°51′00″N 29°40′00″E / 30.85000°N 29.66667°E |
วัฒนธรรม: (iv) |
182.72 | 2522/1979 | ถูกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย | 90[6] | |
พื้นที่นักบุญแคเทอริน | ![]() |
เขตผู้ว่าการญะนูบซีนาอ์ ![]() 28°33′22″N 33°58′32″E / 28.55611°N 33.97556°E |
วัฒนธรรม: (i) (iii) (iv) (vi) |
60,100 | 2545/2002 | 954[7] | |
วาดีอัลฮีตาน (หุบเขาวาฬ) | ![]() |
เขตผู้ว่าการฟัยยูม ![]() 29°20′00″N 30°11′00″E / 29.33333°N 30.18333°E |
ธรรมชาติ: (viii) |
20,015; พื้นที่กันชน 5,885 | 2548/2005 | ตั้งอยู่ทางส่วนตะวันตกของอียิปต์ มีซากฟอสซิลของ Archaeoceti สัตว์จำพวกวาฬที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เป็นแหล่งศึกษาวิวัฒนาการของวาฬจากสัตว์บกไปเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในน้ำ | 1186[8] |
สถานที่ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น[แก้]
ปัจจุบัน ประเทศอียิปต์มีสถานที่ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อพิจารณาเป็นแหล่งมรดกโลกในอนาคตทั้งสิ้น 34 แห่ง อาทิ[1]
- ปี พ.ศ./ค.ศ. ในวงเล็บ หมายถึงปีที่สถานที่นั้น ๆ ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น
- พื้นที่โบราณคดีดาห์ชูร์ (2537/1994)
- อะเล็กซานเดรีย, ซากโบราณและหอสมุดใหม่ (2546/2003)
- พิพิธภัณฑ์อียิปต์ (2564/2021)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 "World Heritage Properties in Egypt". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2021.
- ↑ "Memphis and its Necropolis – the Pyramid Fields from Giza to Dahshur". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 12 April 2021.
- ↑ "Ancient Thebes with its Necropolis". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 12 April 2021.
- ↑ "Nubian Monuments from Abu Simbel to Philae". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 12 April 2021.
- ↑ "Historic Cairo". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 12 April 2021.
- ↑ "Abu Mena". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 12 April 2021.
- ↑ "Saint Catherine Area". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 12 April 2021.
- ↑ "Wadi Al-Hitan (Whale Valley)". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 12 April 2021.