ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:

{{infobox national football team
| Name = ฝรั่งเศส
| Name = ฝรั่งเศส
| Badge = โลโก้ฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส.png
| Badge = โลโก้ฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส.png

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:51, 7 กันยายน 2561

| Name = ฝรั่งเศส | Badge = โลโก้ฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส.png | Badge_size = 150px | FIFA Trigramme = FRA | Nickname = Les Bleus ("สีน้ำเงิน")
L'Equipe Tricolore ("ทีมสามสี")
La Sélection ("ผู้ถูกเลือก")
ทีมตราไก่ (ฉายาในภาษาไทย) | Association = สหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศส | Confederation = ยูฟ่า (ยุโรป) | Coach = ดีดีเย เดช็อง | Asst Manager = กี สเตฟาน | Captain = อูว์โก โยริส | Most caps = ลีลีย็อง ตูว์ราม (142) | Top scorer = ตีแยรี อ็องรี (51) | Home Stadium = สตาดเดอฟร็องส์ | FIFA Rank = 9 Steady (15 มีนาคม ค.ศ. 2018) | FIFA max = 1 | FIFA max date = พฤษภาคม ค.ศ. 2001 – พฤษภาคม ค.ศ. 2002 | FIFA min = 27 | FIFA min date = กันยายน ค.ศ. 2010 | Elo Rank = 5 (28 มีนาคม ค.ศ. 2018) | Elo max = 1 | Elo max date = กรกฎาคม ค.ศ. 2007 | Elo min = 44 | Elo min date = พฤษภาคม ค.ศ. 1928
กันยายน ค.ศ. 1930 | pattern_la1 = _fra16h | pattern_b1 = _fra16H | pattern_ra1 = _fra16h | pattern_sh1 = _fra16h | leftarm1 = 12366B | body1 = 115AB9 | rightarm1 = 12366B | shorts1 = 0000FF | socks1 = FF0000 | pattern_la1 = _frank18h | pattern_b1 = _frank18h | pattern_ra1 = _frank18h | pattern_sh1 = _frank18h | pattern_so1 = | leftarm1 = 123163 | body1 = 123163 | rightarm1 = 123163 | shorts1 = FFFFFF | socks1 = CF1015 | pattern_la2=_frank18a | pattern_b2=_frank18a | pattern_ra2=_frank18a | pattern_sh2=_frank18a | pattern_so2= | leftarm2=FFFFFF | body2=FFFFFF | rightarm2=FFFFFF | shorts2=123163 | socks2=FFFFFF | First game = ธงชาติเบลเยียม เบลเยียม 3–3 ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
(บรัสเซลส์, เบลเยียม; 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1904) | Largest win = ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 10–0 อาเซอร์ไบจาน ธงชาติอาเซอร์ไบจาน
(โอแซร์, ฝรั่งเศส; 6 กันยายน ค.ศ. 1995) | Largest loss = ธงชาติเดนมาร์ก เดนมาร์ก 17–1 ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
(ลอนดอน, อังกฤษ; 22 ตุลาคม ค.ศ. 1908) | World cup apps = 14 | World cup first = 1930 | World cup best = ชนะเลิศ, 1998 และ 2018 | Regional name = ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป | Regional cup apps = 8 | Regional cup first = 1960 | Regional cup best = ชนะเลิศ, 1984 และ 2000 | Confederations cup apps = 2 | Confederations cup first = 2001 | Confederations cup best = ชนะเลิศ, 2001 และ 2003 | medaltemplates =

|- ! colspan="3" style="text-align:center;vertical-align:middle;background-color:#eeeeee;" | Men's ฟุตบอล

|- | style="text-align:center;vertical-align:middle;" | เหรียญทอง - ชนะเลิศ|| style="text-align:center;vertical-align:middle;" | 1984 Los Angeles || style="text-align:center;vertical-align:middle;" | Team }} ฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Équipe de France de football) เป็นตัวแทนทีมฟุตบอลจากประเทศฝรั่งเศส เคยเป็นชั้นนำทีมหนึ่งในทวีปยุโรป มีผลงานชนะเลิศฟุตบอลโลก 2 ครั้งใน ฟุตบอลโลก 1998 และ ฟุตบอลโลก 2018 และเป็นแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ใน ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2 ครั้ง ปี ค.ศ. 1984 และ ปี ค.ศ. 2000

ประวัติทีม

ทีมชาติฝรั่งเศสตั้งทีมขึ้นมาในช่วงปี ค.ศ. 1904 ในช่วงที่สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1904 โดยลงเล่นในเกมอย่างเป็นทางการนัดแรกกับเบลเยียมในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1904 ซึ่งเกมดังกล่าวจบลงด้วยผลเสมอ 3-3 ในขณะที่เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1905 ฝรั่งเศสได้ลงเล่นในเกมระดับชาติในสนามของตนเองอย่างเป็นทางการในเกมที่พบกับสวิตเซอร์แลนด์ที่สนามปาร์กเดแพร็งส์ ต่อหน้าผู้ชมราว 500 คน และพวกเขาก็เป็นฝ่ายคว้าชัยชนะไปด้วยคะแนน 1-0

ในปี ค.ศ. 1932 ฝรั่งเศสได้เข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลโลกที่จัดขึ้นที่ประเทศอุรุกวัย โดยเกมแรกในรายการนี้ของฝรั่งเศสคือถล่มทีมชาติเม็กซิโก 4-1 โดยลูว์เซียง โลร็อง ที่เป็นผู้ยิงประตูแรกของเกม กลายเป็นนักเตะที่ทำประตูแรกสุดของศึกฟุตบอลโลกอีกด้วย แต่ฝรั่งเศสกลับแพ้ 1-0 ใน 2 เกมต่อมากับอาร์เจนตินาและชิลี ทำให้ต้องตกรอบไปอย่างน่าเสียดาย

ในปี ค.ศ. 1934 ฝรั่งเศสยังคงต้องผิดหวังต่อไป เมื่อตกรอบแรกจากการแพ้ออสเตรีย แต่พวกเขาทำผลงานได้ดีอย่างผิดหูผิดตาในครั้งที่พวกเขารับหน้าที่เป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี ค.ศ. 1938 หลังจากฝ่าด่านไปถึงรอบก่อนรองชนะเลิศก่อนจะแพ้ให้กับอิตาลีด้วยคะแนน 3-1

ในยุคทศวรรษที่ 1950 นับเป็นยุคทองของวงการฟุตบอลของฝรั่งเศส จากการแจ้งเกิดของนักเตะชื่อดังอย่างฌุสต์ ฟงแตน เจ้าของตำแหน่งดาวซัลโวสูงสุดตลอดกาลของฟุตบอลโลก และแรมง กอปา ตำนานดาวยิงที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงกับเรอัลมาดริด ในปี ค.ศ. 1958 ฝรั่งเศสสามารถคว้าอันดับ 3 จากการถล่มทีมชาติเยอรมนีตะวันตก 6-2 โดยฟงแตนยิงคนเดียว 4 ประตู

ในปี ค.ศ. 1960 ฝรั่งเศสรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป เป็นครั้งแรก แต่พวกเขากลับทำได้แค่อันดับ 4 หลังจากแพ้ทีมชาติเชโกสโลวาเกีย 2-0 แต่หลังจากนั้น ฝรั่งเศสกลับดำดิ่งลงไปอย่างเห็นได้ชัดจากการที่เปลี่ยนตัวผู้จัดการทีมบ่อยครั้ง รวมถึงความล้มเหลวในการผ่านเข้าไปเล่นในการแข่งขันระดับเมเจอร์หลายรายการ โดยพวกเขาไม่สามารถประสบความสำเร็จแบบเป็นชิ้นเป็นอันได้เลยในช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 1970

เมื่อในยุคทศวรรษที่ 1980 ฝรั่งเศสกลับมาประสบความสำเร็จอีกครั้งจากการนำทัพของมีแชล ปลาตีนี ตัวทำเกมจอมเทคนิค และสามสุดยอดกองกลางอย่างฌ็อง ตีกานา, อาแล็ง ฌีแร็ส และลูยส์ แฟร์น็องแดซ ที่ประสานงานร่วมกันจนถูกขนานนามว่า สี่เหลี่ยมมหัศจรรย์ (Magic Square) พวกเขาพาทีมชาติฝรั่งเศสคว้าแชมป์รายการเมเจอร์ระดับนานาชาติได้สำเร็จในศึกยูโร 1984 ที่ฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพ โดยปลาตีนีได้เป็นดาวซัลโวของรายการด้วยการยิงไปถึง 9 ประตู รวมถึงหนึ่งในประตูในเกมที่ชนะสเปนด้วยคะแนน 2-0 ในนัดชิงชนะเลิศ

นอกจากนี้ในปีเดียวกัน ฝรั่งเศสยังสามารถคว้าเหรียญทองโอลิมปิกปี ค.ศ. 1984 ก่อนที่จะคว้าแชมป์รางวัลอาร์เตมีโอ ฟรังกี (คอนเฟเดอเรชันส์คัพในปัจจุบัน) ในปีถัดมาทำให้พวกเขาได้รับการยกให้เป็นทีมเต็ง 1 สำหรับการครองแชมป์ฟุตบอลโลก 1986 แต่แล้วก็ยังคงต้องรอตำแหน่งแชมป์ต่อไป หลังจากทำได้แค่อันดับ 3 ด้วยการแพ้เบลเยียม 4-2

จนกระทั่งปี ค.ศ. 1996 ฝรั่งเศสเริ่มก้าวขึ้นมาสู่การเป็นยอดทีมของวงการลูกฟุตบอลโลก จากการที่เข้าสู่ยุคผลัดใบโดยนำนักเตะดาวรุ่งเข้ามารับใช้ชาติหลายต่อหลายคน ในยูโร 1996 ฝรั่งเศสทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม แต่ก็ต้องหยุดอยู่ที่รอบตัดเชือกเช่นเดิมหลังจากแพ้สาธารณรัฐเช็ก ต่อมาในฟุตบอลโลก 1998 ที่พวกเขาเป็นเจ้าภาพฝรั่งเศสสามารถระเบิดฟอร์มเก่งด้วยการถล่มบราซิล สุดยอดทีมจากฟุตบอลโลก ในนัดชิงชนะเลิศ 3-0 พร้อมทั้งคว้าแชมป์ไปครองอย่างยิ่งใหญ่ของทีม

ในปี ค.ศ. 2000 ฝรั่งเศสยังคงรักษาความฟอร์มที่ดีไว้ได้อย่างต่อเนื่องด้วยการคว้าแชมป์ยูโร 2000 ด้วยการชนะอิตาลี 2-1 ในนัดชิงชนะเลิศ ภายใต้การเล่นเกมและสร้างสรรค์เกมของซีเนดีน ซีดาน สุดยอดกองกลางจอมเทคนิคของฝรั่งเศส ทำให้พวกเขาทำสถิติเป็นชาติแรกที่ครองแชมป์ทั้งฟุตบอลโลกและฟุตบอลยูโรนัลตั้งแต่ที่เยอรมนีตะวันตกเคยทำได้เมื่อปี 1974 นอกจากนี้ฝรั่งเศสยังขึ้นไปอันดับ 1 ในการจัดอันดับโลกของฟีฟ่าอีกด้วย

อย่างไรก็ตามฝรั่งเศสเริ่มจะกลับสู่ความตกต่ำอีกครั้ง หลังจากไม่สามารถป้องกันแชมป์ฟุตบอลโลก 2002 ได้สำเร็จแต่ที่น่าตกใจกว่านั้นคือพวกเขาต้องหยุดอยู่ที่รอบแรกเท่านั้น ก่อนที่ผลงานจะดีขึ้นมาในยูโร 2004 โดยฝรั่งเศสผ่านเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศ แต่ก็ปราชัยต่อกรีซ เจ้าของแชมป์ในเวลาต่อมา

ในปี ค.ศ. 2006 ฝรั่งเศสเกือบจะไม่ผ่านไปเล่นในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2006 แต่ยังดีที่บรรดานักเตะรุ่นเก่าที่เคยประกาศตัดสินใจอำลาทีมชาติเปลี่ยนใจกลับมาช่วยทีมอีกครั้ง และพวกเขาก็ยังโชว์ฟอร์มได้ดีอย่างต่อเนื่องในรอบสุดท้าย หลังจากสู้และสามัคคีกันจนสามารถเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศได้สำเร็จ แต่ก็ต้องแพ้อิตาลีจากการดวลจุดโทษไป 5-3 ไปอย่างน่าเสียดาย 2 ปีต่อมาในยูโร 2008 ฝรั่งเศสก็ไปไม่ถึงฝั่งฝันอีกครั้งหลังจากตกรอบแรก เนื่องจากถูกจับให้อยู่ในกลุ่มที่มีแต่ทีมเต็งที่จะเป็นแชมป์ โดยมีเนเธอร์แลนด์ อิตาลี และโรมาเนีย เป็นสมาชิกร่วมกลุ่มด้วยการเป็นที่ 4 ของกลุ่ม

ต่อมาในปี ค.ศ. 2010 ฝรั่งเศสต้องผิดหวังอีกครั้งหลังตกรอบแรกในการคัดเลือกทีมไปแข่งขันที่ฟุตบอลโลก 2010 ที่ประเทศแอฟริกาใต้ นอกจากนั้นยังมีปัญหาภายในทีมอีกระหว่างนักเตะและผู้ฝึกสอนอีกด้วย ต่อมาในยูโร 2012 ทีมชาติฝรั่งเศสก็เริ่มทำผลงานเริ่มดีขึ้นมา โดยในรอบแบ่งกลุ่มสามารถเป็นรองแชมป์กลุ่มได้ เป็นรองเพียงอังกฤษเท่านั้น แต่แล้วในรอบสิบหกทีมสุดท้ายก็ต้องปราชัยแพ้ให้กับทีมเต็งของรายการนี้อย่างสเปนไป 2-0

ในฟุตบอลโลก 2014 ที่ประเทศบราซิล ทีมชาติฝรั่งเศสผ่านเข้าได้ถึงรอบก่อนรองชนะเลิศ ก่อนแพ้ให้กับทีมชาติเยอรมนีไป 0-1 ซึ่งในครั้งนั้นทีมชาติเยอรมนีก็ได้เป็นแชมป์ฟุตบอลโลกในปี 2014 และในฟุตบอลโลก 2018 ที่ประเทศรัสเซีย ทีมชาติฝรั่งเศสสามารถสร้างผลงานผ่านเข้าไปชิงชนะเลิศกับทีมชาติโครเอเชีย ซึ่งเป็นการผ่านเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกเป็นครั้งที่ 3 ของทีมชาติฝรั่งเศส

และในขณะนี้ฝรั่งเศสได้คว้าแชมป์สมัยที่ 2 เป็นที่เรียบร้อยแล้วโดยการเอาชนะโครเอเชีย 4-2

เกียรติประวัติ

ผู้เล่น

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

รายชื่อผู้เล่นที่ถูกเรียกตัวเพื่อลงแข่งขันรายการฟุตบอลโลก 2018 [1]

0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1 1GK อูว์โก โยริส (กัปตัน) (1986-12-26) 26 ธันวาคม ค.ศ. 1986 (37 ปี) 99 0 อังกฤษ ทอตนัมฮอตสเปอร์
16 1GK สแตฟว์ ม็องด็องดา (1985-03-28) 28 มีนาคม ค.ศ. 1985 (39 ปี) 27 0 ฝรั่งเศส ออแล็งปิกเดอมาร์แซย์
23 1GK อาลฟงส์ อาเรออลา (1993-02-27) 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 (31 ปี) 0 0 ฝรั่งเศส ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง

2 2DF แบ็งฌาแม็ง ปาวาร์ (1996-03-28) 28 มีนาคม ค.ศ. 1996 (28 ปี) 7 0 เยอรมนี เฟาเอ็ฟเบ ชตุทท์การ์ท
3 2DF แพร็สแนล กีมแปมเบ (1995-08-13) 13 สิงหาคม ค.ศ. 1995 (28 ปี) 2 0 ฝรั่งเศส ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง
4 2DF ราฟาแอล วาราน (1993-04-25) 25 เมษายน ค.ศ. 1993 (31 ปี) 43 2 สเปน เรอัลมาดริด
5 2DF ซามุแอล อูมตีตี (1993-11-14) 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1993 (30 ปี) 20 2 สเปน บาร์เซโลนา
17 2DF อาดีล รามี (1985-12-27) 27 ธันวาคม ค.ศ. 1985 (38 ปี) 35 1 ฝรั่งเศส ออแล็งปิกลียอแน
19 2DF จีบรีล ซีดีเบ (1992-07-29) 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 (31 ปี) 17 1 ฝรั่งเศส โมนาโก
21 2DF ลูว์กา แอร์น็องแดซ (1996-02-14) 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996 (28 ปี) 6 0 สเปน อัตเลติโกมาดริด
22 2DF แบ็งฌาแม็ง แมนดี (1994-07-17) 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี) 7 0 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ซิตี

6 3MF ปอล ปอกบา (1993-03-15) 15 มีนาคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 55 10 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
8 3MF ตอมา เลอมาร์ (1995-11-12) 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 (28 ปี) 12 3 ฝรั่งเศส มอนาโก
12 3MF กอร็องแต็ง ตอลีโซ (1994-08-03) 3 สิงหาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี) 10 0 เยอรมนี บาเยิร์นมิวนิก
13 3MF อึงโกโล ก็องเต (1991-03-29) 29 มีนาคม ค.ศ. 1991 (33 ปี) 25 1 อังกฤษ เชลซี
14 3MF แบลซ มาตุยดี (1987-04-09) 9 เมษายน ค.ศ. 1987 (37 ปี) 68 9 อิตาลี ยูเวนตุส
15 3MF สตีแวน อึนซงซี (1988-12-15) 15 ธันวาคม ค.ศ. 1988 (35 ปี) 4 0 สเปน เซบิยา

7 4FW อ็องตวน กรีแยซมาน (1991-03-21) 21 มีนาคม ค.ศ. 1991 (33 ปี) 55 21 สเปน อัตเลติโกมาดริด
9 4FW ออลีวีเย ฌีรู (1986-09-30) 30 กันยายน ค.ศ. 1986 (37 ปี) 75 31 อังกฤษ เชลซี
10 4FW กีลียาน อึมบาเป (1998-12-20) 20 ธันวาคม ค.ศ. 1998 (25 ปี) 16 4 ฝรั่งเศส ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง
11 4FW อุสมาน แดมเบเล (1997-05-15) 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี) 13 2 สเปน บาร์เซโลนา
18 4FW นาบีล เฟกีร์ (1993-07-18) 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1993 (30 ปี) 13 2 ฝรั่งเศส ออแล็งปิกลียอแน
20 4FW ฟลอรีย็อง โตแว็ง (1993-01-26) 26 มกราคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 4 0 ฝรั่งเศส ออแล็งปิกลียอแน

ถูกเรียกตัวเมื่อเร็ว ๆ นี้

รายชื่อผู้เล่นที่เคยถูกเรียกตัวเมื่อเร็ว ๆ นี้

ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร ถูกเรียกครั้งล่าสุด
GK สแตฟว์ ม็องด็องดา (1985-03-28) 28 มีนาคม ค.ศ. 1985 (39 ปี) 16 0 ฝรั่งเศส มาร์แซย์ ฟุตบอลโลก 2014 บาดเจ็บ

DF เบอนัว เทรมูลีนัส (1985-12-28) 28 ธันวาคม ค.ศ. 1985 (38 ปี) 2 0 ฝรั่งเศส แซ็งเตเตียน ฟุตบอลโลก 2014 (สำรอง)
DF ลออิก แปแร็ง (1985-08-07) 7 สิงหาคม ค.ศ. 1985 (38 ปี) 0 0 ฝรั่งเศส แซ็งเตเตียน ฟุตบอลโลก 2014 (สำรอง)
DF เอริก อาบีดาล (1979-09-11) 11 กันยายน ค.ศ. 1979 (44 ปี) 67 0 โมนาโก อาแอ็ส มอนาโก v. ธงชาติยูเครน ยูเครน, 19 พฤศจิกายน 2013
DF กาแอล กลีชี (1985-07-26) 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1985 (38 ปี) 20 0 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ซิตี v. ธงชาติยูเครน ยูเครน, 19 พฤศจิกายน 2013
DF รอด ฟานี (1981-12-06) 6 ธันวาคม ค.ศ. 1981 (42 ปี) 5 0 ฝรั่งเศส มาร์แซย์ v. ธงชาติฟินแลนด์ ฟินแลนด์, 15 ตุลาคม 2013
DF กูร์ต ซูมา (1994-10-27) 27 ตุลาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี) 0 0 ฝรั่งเศส แซ็งเตเตียน v. ธงชาติฟินแลนด์ ฟินแลนด์, 15 ตุลาคม 2013
DF อาดีล รามี (1985-12-27) 27 ธันวาคม ค.ศ. 1985 (38 ปี) 26 1 อิตาลี เอ.ซี. มิลาน v. ธงชาติเบลารุส เบลารุส, 10 กันยายน 2013

MF ฟร็องก์ รีเบรี (1983-04-07) 7 เมษายน ค.ศ. 1983 (41 ปี) 81 16 เยอรมนี บาเยิร์นมิวนิก ฟุตบอลโลก 2014 บาดเจ็บ
MF เกลม็อง เกรอนีเย (1991-01-07) 7 มกราคม ค.ศ. 1991 (33 ปี) 5 0 ฝรั่งเศส ลียง ฟุตบอลโลก 2014 บาดเจ็บ
MF มักซีม กอนาลง (1989-03-10) 10 มีนาคม ค.ศ. 1989 (35 ปี) 6 0 ฝรั่งเศส ลียง ฟุตบอลโลก 2014 (สำรอง)
MF ดีมีทรี ปาแย็ต (1987-03-29) 29 มีนาคม ค.ศ. 1987 (37 ปี) 7 0 ฝรั่งเศส มาร์แซย์ v. ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์, 5 มีนาคม 2014
MF ฌอซูว์อา กีลาวอกี (1990-09-19) 19 กันยายน ค.ศ. 1990 (33 ปี) 5 0 สเปน อัตเลตีโกมาดริด v. ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์, 5 มีนาคม 2014
MF ซามีร์ นัสรี (1987-06-26) 26 มิถุนายน ค.ศ. 1987 (36 ปี) 41 5 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ซิตี v. ธงชาติยูเครน ยูเครน, 19 พฤศจิกายน 2013
MF เอเตียน กาปู (1988-07-11) 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1988 (35 ปี) 7 1 อังกฤษ ทอตนัมฮอตสเปอร์ v. ธงชาติเบลารุส เบลารุส, 10 กันยายน 2013
MF ฌอแฟร กงดอกบียา (1993-02-15) 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 (31 ปี) 1 0 โมนาโก อาแอ็ส มอนาโก v. ธงชาติเบลารุส เบลารุส, 10 กันยายน 2013

FW อาแล็กซ็องดร์ ลากาแซ็ต (1991-05-28) 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 (32 ปี) 2 0 ฝรั่งเศส ลียง ฟุตบอลโลก 2014 (สำรอง)
FW อ็องเดร-ปีแยร์ ฌีญัก (1985-12-05) 5 ธันวาคม ค.ศ. 1985 (38 ปี) 17 4 ฝรั่งเศส มาร์แซย์ v. ธงชาติเบลารุส เบลารุส, 10 กันยายน 2013

สถิติเกี่ยวกับผู้เล่น

ผู้เล่นที่ลงเล่นให้ทีมชาติมากที่สุด

แถบสีฟ้าคือผู้เล่นที่ยังคงเล่นให้ทีมชาติอยู่ในปัจจุบัน

อันดับ ชื่อ ช่วงเวลา จำนวนนัดที่ลงสนาม ประตู สโมสร
1 ลิลิยอง ตูว์ราม 1994–2008 142 2 อาแอส มอนาโก
ปาร์มา
ยูเวนตุส
บาร์เซโลนา
2 ตีแยรี อ็องรี 1997–2010 123 51 อาแอส มอนาโก
ยูเวนตุส
อาร์เซนอล
บาร์เซโลนา
3 มาร์แซล เดอไซยี 1993–2004 116 3 โอลิมปิก มาร์แซย์
เอซี มิลาน
เชลซี
4 ซีเนดีน ซีดาน 1994–2006 108 31 บอร์โด
ยูเวนตุส
เรอัล มาดริด
5 ปาทริค วิเอรา 1997–2009 107 6 อาร์เซนอล
ยูเวนตุส
อินเตอร์ มิลาน
6 ดีดีเย เดช็อง 1989–2000 103 4 โอลิมปิก มาร์แซย์
บอร์โด
ยูเวนตุส
เชลซี
7 โรล็อง บล็องก์ 1989–2000 97 16 มงเปอลีเย
นาโปลี
นีมส์
แซ็ง เตเตียน
โอแซร์
บาร์เซโลนา
โอลิมปิก มาร์แซย์
อินเตอร์ มิลาน
บิเซนเต ลิซาราซู 1992–2004 97 2 บอร์โด
แอธเลติก บิลเบา
บาร์เยิร์น มิวนิค
9 อูว์โก โยริส 2008–ปัจจุบัน 96 0 นิส
โอลิมปิก ลียง
ทอตนัม ฮอตสเปอร์
10 ซิลแว็ง วิลตอร์ 1999–2006 92 26 บอร์โด
อาร์เซนอล
โอลิมปิก ลียง
11 ฟาเบียง บาร์แตซ 1994–2006 87 0 โอลิมปิก มาร์แซย์
อาแอส มอนาโก
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
12 วีลียาม กาลัส 2002–2010 84 5 เชลซี
อาร์เซนอล
13 ยูริ จอร์เกฟฟ์ 1993–2002 82 28 อาแอส มอนาโก
ปารีส แซ็ง-แฌร์แม็ง
อินเตอร์ มิลาน
ไคเซอร์สเลาเทิร์น
โบลตัน
มานุแอล อมอรอส 1982–1992 82 1 อาแอส มอนาโก
โอลิมปิก มาร์แซย์
15 ปาทริส เอวรา 2004–ปัจจุบัน 81 0 อาแอส มอนาโก
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
ยูเวนตุส
การีม แบนเซมา 2007–ปัจจุบัน 81 27 โอลิมปิก ลียง
เรอัล มาดริด
ฟร็องก์ รีเบรี 2006–2014 81 16 โอลิมปิก มาร์แซย์
บาเยิร์น มิวนิค
18 ฟลอร็อง มาลูดา 2004–2012 80 9 โอลิมปิก ลียง
เชลซี
19 รอแบร์ ปีแร็ส 1996–2012 79 14 แม็ส
โอลิมปิก มาร์แซย์
อาร์เซนอล
20 มักซิม บอซิซ 1976–1986 76 1 น็องต์
แอร์เซ ปารีส
ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน, 2016[2]

ผู้เล่นที่ยิงประตูให้ทีมชาติมากที่สุด

แถบสีฟ้าคือผู้เล่นที่ยังคงเล่นให้ทีมชาติอยู่ในปัจจุบัน

อันดับ ชื่อ ช่วงเวลา ประตู จำนวนนัดที่ลงเล่น สโมสร ค่าเฉลี่ย
1 ตีแยรี อ็องรี 1997–2010 51 123 อาแอส มอนาโก
ยูเวนตุส
อาร์เซนอล
บาร์เซโลนา
0.42
2 มีแชล ปลาตีนี 1976–1987 41 72 น็องซี
แซ็งต์-เตเตียน
ยูเวนตุส
0.57
3 ดาวิด เตรเซเแก 1998–2008 34 71 อาแอส มอนาโก
ยูเวนตุส
0.47
4 ซีเนดีน ซีดาน 1994–2006 31 106 บอร์โด
ยูเวนตุส
เรอัล มาดริด
0.28
5 ฌุสต์ ฟงแตน 1953–1960 30 21 โอเฌเซ นิส
แร็งส์
1.42
ฌ็อง-ปีแยร์ ปาแป็ง 1986–1995 30 54 โอลิมปิก มาร์แซย์
เอซี มิลาน
บาเยิร์น มิวนิค
0.55
7 ยูริ จอร์เกฟฟ์ 1993–2002 28 82 อาแอส มอนาโก
ปารีส แซ็ง-แฌร์แม็ง
อินเตอร์ มิลาน
ไคเซอร์สเลาเทิร์น
โบลตัน
0.34
8 การีม แบนเซมา 2007–ปัจจุบัน 27 81 โอลิมปิก ลียง
เรอัล มาดริด
0.33
9 ซิลแว็ง วิลตอร์ 1999–2006 26 92 บอร์โด
อาร์เซนอล
โอลิมปิก ลียง
0.28
10 ฌ็อง แว็งซ็อง 1953–1961 22 46 ลีล
สตาด เดอ แร็งส์
0.47
11 ฌ็อง นีกอลา 1933–1938 21 25 รูอ็อง 0.84
ออลีวีเย ฌีรู 2011–ปัจจุบัน 21 59 มงเปอลีเย
อาร์เซนอล
0.38
13 ปอล นีกอลา 1920–1931 20 35 เรด สตาร์ แอฟเซ 0.57
เอริก ก็องโตนา 1987–1995 20 45 โอลิมปิก มาร์แซย์
มงเปอลีเย
ลีดส์ ยูไนเต็ด
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
0.38
15 ฌ็อง บาแร็ตต์ 1944–1952 19 32 ลีล 0.57
16 โรเฌร์ ปีอ็องโตนี 1952–1961 18 37 น็องซี
แร็งส์
0.48
แรมง กอปา 1952–1962 18 45 แร็งส์
เรอัล มาดริด
0.40
18 โรล็อง บล็องก์ 1989–2000 16 97 มงเปอลีเย
นาโปลี
นีม
แซ็ง-เตเตียน
โอแซร์
บาร์เซโลนา
โอลิมปิก มาร์แซย์
อินเตอร์ มิลาน
0.16
ฟร็องก์ รีเบรี 2006–2014 16 81 โอลิมปิก มาร์แซย์
บาเยิร์น มิวนิค
0.20
20 เออแฌน มาแอส 1911–1913 15 11 เรด สตาร์ แอฟเซ 1.36
แอฟวร์ แรเวลลี 1966–1975 15 30 แซ็ง-เตเตียน
นีซ
0.50
ดอมีนิก รอเชโต 1975–1986 15 49 แซ็ง-เตเตียน
ปารีส แซ็ง-แฌร์แม็ง
0.30
ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน, 2016[3]

อดีตผู้เล่นคนสำคัญ

อ้างอิง

  1. "France - Pays-Bas et France - Luxembourg". FFF. สืบค้นเมื่อ 25 August 2017.
  2. Luis Fernando Passo Alpuin. "Goals for Venezuela National Team". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 2013-07-24.
  3. Luis Fernando Passo Alpuin. "Goals for Venezuela National Team". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 2013-07-24.