ข้ามไปเนื้อหา

ออลีวีเย ฌีรู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ออลีวีเย ฌีรู
ฌีรูขณะเล่นให้กับฝรั่งเศสในฟุตบอลโลก 2018
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ออลีวีเย ฌอนาต็อง ฌีรู[1]
วันเกิด (1986-09-30) 30 กันยายน ค.ศ. 1986 (37 ปี)
สถานที่เกิด ช็องเบรี ฝรั่งเศส
ส่วนสูง 1.93 m (6 ft 4 in)[2]
ตำแหน่ง กองหน้า
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
ลอสแอนเจลิส
สโมสรเยาวชน
1992–1999 ฟรอฌ
1999–2005 เกรอนอบล์
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2005–2008 เกรอนอบล์ 23 (2)
2007–2008Istres (ยืมตัว) 33 (14)
2008–2010 ตูร์ 44 (24)
2010–2012 มงเปอลีเย 73 (33)
2010ตูร์ (ยืมตัว) 17 (6)
2012–2018 อาร์เซนอล 180 (73)
2018–2021 เชลซี 75 (17)
2021–2024 มิลาน 97 (39)
2024– ลอสแอนเจลิส 0 (0)
ทีมชาติ
2011–2024 ฝรั่งเศส 137 (57)
เกียรติประวัติ
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 07:45, 26 พฤษภาคม 2024 (UTC)

ออลีวีเย ฌอนาต็อง ฌีรู (ฝรั่งเศส: Olivier Jonathan Giroud, ออกเสียง: [ɔlivje ʒɔnatɑ̃ ʒiʁu]; เกิด 30 กันยายน ค.ศ. 1986) นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส ปัจจุบันเล่นในตำแหน่งกองหน้าให้แก่ลอสแอนเจลิส สโมสรในเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ เขาคือผู้ทำประตูสูงสุดตลอดกาลของฝรั่งเศส

ฟุตบอลอาชีพ

[แก้]

ฌีรูเล่นฟุตบอลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 ให้กับชุดเยาวชนของฟรอฌและเกรอนอบล์ แล้วได้เล่นแบบนักฟุตบอลอาชีพในปี ค.ศ. 2005 กับอิสทร์และตูร์ สโมสรฟุตบอลในประเทศฝรั่งเศส และในปี ค.ศ. 2010 ฌีรูได้ย้ายไปเล่นให้กับมงเปอลีเย สโมสรฟุตบอลชื่อดังจากเมืองมงเปอลีเย ในลีกเอิง โดยฌีรูถนัดในการเล่นบอลเร็ว สามารถชนหรือหนีกองหลังของทีมต่าง ๆ ได้ และด้วยความที่เป็นคนตัวสูง ฌีรูจึงมักจะทำประตูได้ทั้งการโหม่งและการยิง ในปี ค.ศ. 2011 ฌีรูได้ถูกยืมตัวไปตูร์ อดีตสโมสรที่ตนเคยเล่นให้ และเมื่อจบฤดูกาล 2011–12 ฌีรูได้กับมาอยู่มงเปอลีเยอีกครั้ง และอาร์แซน แวงแกร์ ผู้จัดการทีมชาวฝรั่งเศสของอาร์เซนอล สโมสรฟุตบอลชื่อดังจากพรีเมียร์ลีกในอังกฤษได้สนใจในตัวเขา เพราะฌีรูเล่นในตำแหน่งที่แวงแกร์ต้องการปรับปรุงและแก้ไขจุดอ่อนเฉพาะของทีม และเป็นการเลือกกองหน้าที่มาเล่นแทนให้กับโรบิน ฟัน แปร์ซี ที่กำลังย้ายออกไปจากสโมสร และเมื่อแวงแกร์และคณะกรรมการบริหารของอาร์เซนอลได้ตกลงสัญญาของฌีรูกับบอร์ดบริหารของมงเปอลีเยแล้ว ฌีรูก็ได้ย้ายมาอยู่กับอาร์เซนอลอย่างเป็นทางการด้วยค่าตัว 12 ล้านปอนด์ สวมเสื้อหมายเลข 12

ในฤดูกาล 2014–15 ในนัดที่ 18 ของฤดูกาลซึ่งตรงกับวันเปิดกล่องของขวัญ ซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่สำคัญที่อาร์เซนอลพบกับควีนส์พาร์กเรนเจอส์ แม้อาร์เซนอลจะเป็นฝ่ายชนะไปได้ 2-1 แต่ฌีรูเป็นฝ่ายถูกใบแดงไล่ออกจากสนามในนาทีที่ 53 หลังจากไปโขกศีรษะใส่เนดุม โอนูโอฮา ผู้เล่นของควีนส์พาร์กเรนเจอส์ หลังจากถูกกระแทกข้างหลังใส่ แม้แต่อาร์แซน แวงแกร์ ผู้จัดการทีมอาร์เซนอลก็ยังเห็นชอบด้วยกับใบแดงนี้[3]

แต่หลังจากขึ้นปี ค.ศ. 2015 แล้ว ฌีรูสามารถทำประตูได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้อาร์เซนอลชนะติดต่อกันมากถึง 8 นัด ทำสถิติเป็นทีมที่ชนะเลิศติดต่อมากที่สุดในฤดูกาลนี้ของพรีเมียร์ลีก แต่ในช่วง 4 นัดก่อนปิดฤดูกาล ฌีรูกลับไม่สามารถทำประตูได้เลย แต่ในเอฟเอคัพรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งอาร์เซนอลเป็นแชมป์เก่า ฌีรูลงเล่นในฐานะตัวสำรอง เมื่อถูกเปลี่ยนตัวลงมาแทนที่ทีโอ วอลคอตต์ ในช่วง 10 นาทีก่อนหมดเวลา และเป็นผู้ยิงประตูปิดท้ายการแข่งขันไปได้ในช่วงทดเวลาพิเศษนาทีสุดท้าย ทำให้ อาร์เซนอลเอาชนะแอสตันวิลลาไปได้มากถึง 4-0 และทำสถิติเป็นแชมป์รายการนี้มากที่สุดถึง 12 สมัยอีกด้วย[4]

ในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2015–16 รอบแบ่งกลุ่ม อาร์เซนอลอยู่ในกลุ่มเอฟ และมีสถานการณ์บีบบังคับให้ต้องชนะบาเยิร์นมิวนิกให้ได้ที่สนามเอมิเรตส์ เนื่องจากอาร์เซนอลก่อนหน้านั้นแพ้มาแล้ว 2 นัด ยังไม่มีคะแนนเลย ขณะที่บาเยิร์นมิวนิกตั้งแต่เปิดฤดูกาลมายังไม่เคยแพ้ใคร ซ้ำยังเป็นผู้ชนะติดต่อกันรวด 12 นัดในทุกรายการ และผู้เล่นทุกคนเล่นได้อย่างโดดเด่นมาก โดยเฉพาะรอแบร์ต แลวันดอฟสกี กองหน้าของทีมที่ยิงในบุนเดิสลีกาได้ถึง 5 ลูกก่อนหน้านั้น แต่ในครั้งนี้ ฌีรูซึ่งถูกส่งลงสนามในฐานะตัวสำรองแทนที่ทีโอ วอลคอตต์ ในนาทีที่ 74 สามารถยิงประตูได้ในนาทีที่ 77 จบการแข่งขันอาร์เซนอลชนะบาเยิร์นมิวนิกไป 2-0 ทำให้ยังมีโอกาสพลิกสถานการณ์เข้ารอบต่อไป และทำให้บาเยิร์นมิวนิกแพ้เป็นนัดแรกของฤดูกาลอีกด้วย[5]

และในนัดสุดท้าย อาร์เซนอลอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเอาชนะโอลิมเปียกอส ให้ได้ 0-2 จึงจะเข้ารอบ ด้วยการเป็นฝ่ายบุกไปเยือนที่กรุงเอเธนส์ ฌีรูสามารถยิงแฮตทริกได้ในนัดนี้ (ลูกที่ 3 เป็นจุดโทษ) นับเป็นผู้เล่นของอาร์เซนอลคนที่ 4 ที่สามารถยิงแฮตทริกได้ในยูฟ่าแชมเปียนลีก นับตั้งแต่รายการนี้เปลี่ยนชื่อมาอย่างในปัจจุบัน ต่อจากตีแยรี อ็องรี, นีแกลส เปนต์เนอร์ และแดนนี เวลเบก[6]

ในระดับพรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2015–16 ฌีรูถูกวิจารณ์อย่างหนักรวมถึงมีเสียงโห่จากผู้ชมที่สนับสนุนอาร์เซนอล เนื่องจากยิงไม่ได้ติดต่อกันนานถึง 15 นัด ทำให้อาร์เซนอลที่มีโอกาสลุ้นแชมป์เป็นครั้งแรกในรอบหลายปีต้องพลาดโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย แต่ทว่าในนัดสุดท้ายที่พบกับแอสตันวิลลา ฌีรูสามารถทำแฮตทริกได้ ช่วยให้อาร์เซนอลพลิกสถานการณ์ มีคะแนนแซงหน้าทอตนัมฮอตสเปอร์ สโมสรคู่ปรับตลาดกาลไปได้ด้วยการเป็นรองแชมป์[7] และในระดับทีมชาติก็ยิงประตูได้ถึง 2 ลูก ในนัดอุ่นเครื่องที่ฝรั่งเศสพบสกอตแลนด์[8] ก่อนจะถึงรายการฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ซึ่งฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพ และในนัดเปิดสนามที่ฝรั่งเศสลงแข่งขันพบกับโรมาเนียเป็นคู่แรก ฌีรูก็เป็นผู้โหม่งทำประตูให้ฝรั่งเศสทำออกไปก่อน 1-0 ด้วย[9] ในรอบ 8 ทีมสุดท้าย ฌีรูยิง 2 ประตูให้กับฝรั่งเศสในนัดที่พบกับไอซ์แลนด์ และได้รับเลือกให้เป็นผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งนัดอีกด้วย[10]

ในฤดูกาล 2016–17 ฌีรูได้ถูกปรับไปเป็นผู้เล่นสำรอง เนื่องจากอาร์แซน แวงแกร์ ผู้จัดการทีมและหัวหน้าผู้ฝึกสอนให้ได้อาเลกซิส ซานเชซ เปลี่ยนไปเป็นกองหน้าแทน แต่หลายนัดฌีรูก็สามารถยิงประตูสำคัญให้อาร์เซนอลได้ เช่น ในนัดที่ 12 ที่พบกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ที่สนามโอลด์แทรฟฟอร์ด ก็เป็นผู้ยิงประตูตีเสมอให้อาร์เซนอลในช่วงท้ายการแข่งขัน ทำให้ผลการแข่งขันออกมาเสมอกัน 1–1, ในนัดที่ 19 ก็ยิงด้วยลูกไขว้ขาหลังเหมือนหางแมงป่องอย่างสวยงาม ในนัดที่อาร์เซนอลเอาชนะคริสตัลพาเลซไปได้ 2–0[11] และในนัดถัดมาอีกเพียงไม่กี่วัน ฌีรูก็เป็นผู้โหม่งประตูตีเสมอให้กับอาร์เซนอลในช่วงนาทีที่ 2 ของการทดเวลาเจ็บของครึ่งหลัง ในนัดที่บุกไปเยือนบอร์นมัท ที่สนามดีนคอร์ต ผลการแข่งขันจึงออกมาเสมอกัน 3–3 ทั้งที่บอร์นมัทขึ้นนำไปก่อนถึง 0–3 และฌีรูยังมีส่วนร่วมด้วยในทั้ง 3 ประตูของอาร์เซนอล จึงได้รับเลือกให้เป็นผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งนัดด้วย[12]

ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2017 ลูกยิงหางแมงป่องของฌีรูที่ยิงใส่คริสตัลพาเลซได้นั้น ได้รับเลือกให้เป็นลูกยิงยอดเยี่ยมของปี จากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ฌีรูจึงได้รับรางวัลปุชกาช[13]

ในฤดูกาล 2017–18 ฌีรูได้กลายเป็นผู้เล่นสำรอง หลังการย้ายเข้ามาของอาแล็กซ็องดร์ ลากาแซ็ต ทำให้ต่อมาในต้นปี ค.ศ. 2018 จึงได้ย้ายไปสู่เชลซี ในพรีเมียร์ลีกด้วยกัน โดยย้ายมาแทนที่มิตชี บาตชัวอายี ที่ย้ายไปแบบยืมตัวให้กับโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ ด้วยค่าตัว 18 ล้านปอนด์ (ประมาณ 800 ล้านบาท) และสัญญา 18 เดือน รวมระยะเวลาที่ฌีรูเล่นให้กับอาร์เซนอล 6 ปี ทั้งสิ้น 253 นัดทุกรายการ และทำประตูไปทั้งหมด 105 ประตู[14]

นอกจากนี้แล้ว ออวีลีเย ฌีรู ยังได้รับการเลือกจากผู้หญิงชาวอเมริกันจำนวน 250 คน ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2015 ว่าเป็นนักฟุตบอลระดับพรีเมียร์ลีกที่มีหน้าตาดีที่สุด รวมถึงเมื่อปี ค.ศ. 2012 ก็ยังได้รับการโหวตให้เป็นนักฟุตบอลขวัญใจผู้ซึ่งเป็นเกย์อีกด้วย[15] [16]

รางวัลเกียรติยศ

[แก้]

มงเปอลีเย

[แก้]

อาร์เซนอล

[แก้]

เชลซี

[แก้]

มิลาน

[แก้]

ทีมชาติฝรั่งเศส

[แก้]

รางวัลส่วนตัว

[แก้]
  • ทีมยอดเยี่ยมแห่งปีของสหภาพนักฟุตบอลอาชีพแห่งชาติ ลีกเอิง: 2011–12
  • ดาวซัลโวลีกเอิง: 2011–12
  • ผู้เล่นยอดเยี่ยมของพรีเมียร์ลีกประจำเดือน: มีนาคม 2015
  • ผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งปีของสหภาพนักฟุตบอลอาชีพแห่งชาติ ลีกเดอ: 2009–10
  • ดาวซัลโวลีกเดอ: 2009–10
  • ทีมยอดเยี่ยมแห่งปีของสหภาพนักฟุตบอลอาชีพแห่งชาติP ลีกเดอ: 2009–10
  • ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำเดือนของสหภาพนักฟุตบอลอาชีพแห่งชาติ ลีกเดอ: กันยายน 2009, พฤศจิกายน 2009
  • รองเท้าบรอนซ์ของยูฟ่ายูโรเปียนแชมเปียนชิป: 2010
  • รางวัลฟีฟ่าปุชกาช: 2017
  • รองเท้าบรอนซ์ของฟีฟ่าเวิลด์คัพ: 2022
  • ดาวซัลโวยูฟ่ายูโรปาลีก: 2018–19
  • ทีมยอดเยี่ยมแห่งปีของยูฟ่ายูโรปาลีก: 2018–19
  • ประตูยอดเยี่ยมของเชลซี: 2020–21
  • ผู้รักษาประตูยอดเยี่ยมของกัลโชเซเรียอาในสัปดาห์ที่ 8 ฤดูกาล 2023–24
  • อัศวินแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์: 2018

อ้างอิง

[แก้]
  1. "UEFA Champions League 2021/2022: Booking List before Group stage Matchday 5" (PDF). UEFA. 17 November 2021. p. 2. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2022. สืบค้นเมื่อ 26 November 2021.
  2. "Player Profile: Olivier Giroud". Premier League. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-06. สืบค้นเมื่อ 31 August 2012.
  3. "เวนเกอร์รับใบแดงชิรูด์สมควรแล้ว". โพสต์ทูเดย์. 27 December 2014. สืบค้นเมื่อ 29 December 2014.[ลิงก์เสีย]
  4. ""ปืน" ถล่มวิลลา 4-0 ซิวเอฟเอสูงสุด 12 สมัย". ผู้จัดการออนไลน์. 2015-05-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-01. สืบค้นเมื่อ 2015-05-31.
  5. "Arsenal 2 - 0 Bayern Munich". livescore.net. 2015-05-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-24. สืบค้นเมื่อ 2015-10-21.
  6. "Champions League: Olivier Giroud Hat-Trick Hero In Arsenal's Great Escape". nesn.com. 2015-12-9. สืบค้นเมื่อ 2015-12-9. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. "ชิรูด์ องค์ลง! ซัดแฮตทริกพา 'ปืนโต' ถลุง 'วิลลา' 4-0 ผงาดรองแชมป์". ไทยรัฐ. 15 May 2016. สืบค้นเมื่อ 12 June 2016.
  8. "ชิรูด์กดเบิ้ล! "ตราไก่"สมราคาเต็งแชมป์ต้อนวิสกี้ 3-0". sportinter.com. สืบค้นเมื่อ 12 June 2016.[ลิงก์เสีย]
  9. "ชิรูด์ มั่นใจอุดเสียงวิจารณ์หลังยิงเปิดหัวยูโร". arsenal.in.th. 12 June 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-16. สืบค้นเมื่อ 12 June 2016.
  10. Rodden, Mark (5 July 2016). "Olivier Giroud: Win vs. Iceland at Euros 'perhaps my best match' for France". อีเอสพีเอ็น. สืบค้นเมื่อ 6 July 2016.
  11. "ปืนขึ้นที่ 3 "ชีรูด์" ดีด สกอร์เปียน คิก เบิกร่องดับพาเลซ". ผู้จัดการออนไลน์. 2016-01-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-05. สืบค้นเมื่อ 2016-01-04.
  12. "กราบ "ชีรูด์"!! ปืนรัว 3 ตุงแบ่งแต้มบอร์นมัธ". ผู้จัดการออนไลน์. 2016-01-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-05. สืบค้นเมื่อ 2016-01-04.
  13. หน้า 21 ต่อจากหน้า 17, ไม่มีพลิกล็อก 'โด้' ยอดเยี่ยม. ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21827: วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 12 ปีระกา
  14. "สิงห์เปิดตัว "ชิรูด์" ปล่อย "บาตชัวยี" ไปเสือเหลือง". ผู้จัดการออนไลน์. 2018-02-01. สืบค้นเมื่อ 2018-02-01.
  15. "หล่อกระชากใจ! ชิรูด์ คว้านักเตะสุดฮอตแดนผู้ดี เกรียนโอ้ ติดโผขี่เหร่". เอ็มไทยดอตคอม. 12 February 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-02. สืบค้นเมื่อ 12 June 2016.
  16. "ชิรูด์ สุดหล่อขวัญใจสาวๆ ชาวเกย์". ช่อง 3. 27 June 2012. สืบค้นเมื่อ 12 June 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]